xs
xsm
sm
md
lg

“เขมรนอก” ล่ารายชื่อต้านแผนที่ใหม่ เตือนสตินักการเมือง สูญดินแดนแก่เวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033O>ภาพประวัติศาสตร์-- วันที่ 25 ต.ค.2552 นายสัม รังสี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านนำราษฎรถอนหลักปักปันเขตแดนไม้ออกจากที่นาของพวกเขา ที่ชายแดน จ.สวายเรียง นายรังสีถูกจับข้อหา ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ แต่ภายหลบังมีการถอนหลักปักปันนี้ออกไปโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นครั้งแรกที่เปิดเผยให้เห็นปัญหาที่ชายแดนด้านตะวันออกซึ่งกัมพูชาเสียเปรียบ สองประเทศมีชายแดนร่วมกัน 1,270 กม. มีหลักเขตแดน 375 หลัก กว่าครึ่งหนึ่งไม่มีเส้นเขตแดนตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันกัมพูชามีแผนที่อ้างอิงที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ ยืนยันถึงอธิปไตยและเขตแดนของประเทศอยู่แล้ว สองฝ่ายกำลังจะจัดพิมพ์แผนที่ชายแดนใหม่.--ภาพ: วิทยุเอเชียเสรีภาษาขะแมร์ (RFA-Khmer). </font>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ชาวเขมรที่อาศัยทำกินในต่างแดนหลายกลุ่ม เคลื่อนไหวกันคึกคักออกล่ารายชื่อ ต่อต้าน และคัดค้านการจัดพิมพ์แผนที่เขตแดนกัมพูชา-เวียดนาม ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ซึ่งพวกเขากล่าวว่า กำลังจะทำให้กัมพูชาสูญบูรณภาพแห่งดินแดน ที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยปัญหากัมพูชาปี 2534 และได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ

ชาวเขมรในต่างแดนกลุ่มล่าสุดเริ่มออกรณรงค์เรื่องนี้ในวันที่ 19 ม.ค.2554 ผ่านเว็บไซต์ GoPetition จนถึงวันอาทิตย์ 22 ม.ค.นี้ มีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 500 ราย

การณรงค์ของกลุ่มนี้พุ่งเป้าไปยังบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก สังกัดพรรครัฐบาลฮุนเซน ให้ตลอดจน ส.ส.พรรคฝ่ายค้านต่างๆ ที่มีเสียงข้างน้อยในสภา ให้ตระหนักถึงการสูญเสียของประเทศและของประชาชน โดยระบุว่า การจัดทำแผนที่ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งชาติ

การจัดทำแผนที่กับการปักปันเขตแดนเป็นไปตามอนุสัญญาปี 2548 ต่อท้ายสัญญาว่าด้วยเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศที่เวียดนาม กับระบอบเฮงสัมริน-เจียซิม ที่เวียดนามจัดตั้งขึ้น เซ็นกันในปี 2525 หรือ 2 ปีหลังจากกองทัพเวียดนามเข้าขับไล่รัฐบาลเขมรแดงกลุ่มโปลโป้ท เอียงสารี กับเคียวสมพร และยึดครองกัมพูชาต่อมาอีก 10 ปี

“สนธิสัญญาปี 2525 ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมาย เนื่องจากจัดทำขึ้นภายใต้การครอบครองของต่างชาติ หลังจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จัดตั้งรัฐบาลหุ่นสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา” หรือ ระบอบเฮงสัมริน--เจียซิม ขึ้นมาในยุคนั้น

กลุ่มรณรงค์นี้ ยังระบุอีกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา หมวดที่ 4 มาตรา 55 ระบุไว้ว่า สนธิสัญญากับความตกลงใดๆ ที่ไม่สอดคล้องกับเอกราชอธิปไตย บูรณภาพเหนือดินแดน ความเป็นกลางและเอกภาพแห่งชาติของกัมพูชา ย่อมเป็นโมฆียะ

เอกสารประกอบบัญชีรายชื่อ ระบุว่า แผนที่ที่กำลังจัดพิมพ์ขึ้นใหม่นี้ ขัดแย้งกับแผนที่ที่ใช้อ้างอิงในปัจจุบันโดยรัฐธรรมนูญแห่งชาติ และเป็นการละเมิดต่ออธิปไตยของกัมพูชาที่จะล่วงละเมิดมิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปักปันเขตแดนตามแนวชายแดนด้านตะวันออก
<bR><FONT color=#000033O>นายวารกิมฮอง รมช.ต่างประเทศกัมพูชา (ขวา) นายโห่ซวนเซิน รมช.ต่างประเทศเวียดนาม (ซ้าย) กับนายเคล้าส์ โปเอ๊ตซ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัทการพิมพ์จากเดนมาร์ก เซ็นสัญญาเพื่อจัดพิมพ์แผนที่ชายแดนกัมพูชา-เวียดนามขึ้นใหม่ รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับแผนที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน นายกิมฮองกล่าวว่าแผนที่ใหม่จะทำให้สองประเทศมีเส้นเขตแดนที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ด้วยความร่วมมือที่เต็มไปด้วยมิตรภาพและการพัฒนา.--ภาพ: Agence Kampuchean-Presse.</font>
2

บัญชีรายชื่อในนามของประชาชนกัมพูชาจะส่งไปยังสมาชิกรัฐสภากัมพูชาทุกคน

หนังสือแนบฯ ยังเรียกร้องให้ทุกฝ่ายให้ความสนใจต่อเจตนารมณ์ของสัญญาสันติภาพกรุงปารีส เดือน ต.ค.2534 ซึ่งแผนที่ที่ใช้อ้างอิงได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ ซึ่ง “ยืนยันถึงเอกราช อิสรภาพ บูรณภาพแห่งเขตแดน และเอกภาพกับความเป็นกลางของกัมพูชาที่จะล่วงละเมิดมิได้”

ชาวเขมรในต่างแดนได้เรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาทุกคน ทุกฝ่ายได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็นต่างๆ และ เรียกร้องให้สภาแห่งรัฐธรรมนูญกัมพูชา ปฏิเสธการมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แผนที่ที่จัดทำขึ้นใหม่นี้

ก่อนหน้านี้ ชาวกัมพูชาที่อาศัยทำกินในอเมริกา และ ยุโรป ได้ออกรณรงค์ในเรื่องเดียวกันนี้ ชาวเขมรทุกคนที่เข้าร่วมการคัดค้านจะใช้ชื่อจริงและที่อยู่จริง

พรรคฝ่ายค้านและกลุ่มสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา ได้ออกสำรวจเขตแดนที่กำลังอยู่ระหว่างการปักปันใหม่ และพบว่า ฝ่ายเวียดนามได้ปักล้ำเข้ามาในดินแดนกัมพูชาในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ชายแดน จ.กัมปงจาม (Kampong Cham) สวายเรียง (Svay Rieng) ลงไปจนถึงเปรย์แวง (Prey Veng)

เดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว ส.ส.พรรคสัมรังสี ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านใหญ่ที่สุดจำนวน 18 คน ได้เดินทางไปสำรวจหลักเขตแดนที่ จ.กัมปงธม และยังเข้าไปไม่ถึงแต่มีทหารเวียดนามอาวุธครบมือจำนวน 12 คน ข้ามแดนเข้าไปขัดขวางการโดยที่ฝ่ายกัมพูชาไม่สามารถทำอะไรได้ ทำให้การสำรวจหยุดชะงักลง

อย่างไรก็ตาม พรรคฝ่ายค้านได้เผยแพร่เรื่องนี้ผ่านอินเทอร์เน็ตไปยังชาวกัมพูชาทั่วโลก
<bR><FONT color=#000033O>วันที่ 6 ธ.ค.2553 นายรง ชุน หัวหน้าศูนย์สิทธิมนุษยชนกัมพูชานำคณะสำรวจหลักเขตแดน 108 ห่างจากหลักที่ 109 ลงไปไม่ถึง 2 กม. ใน จ.กัมปงจาม  ซึ่งการก่อสร้างเสร็จไปราว 701% แล้ว ราษฎรกัมพูชากล่าวว่า ไร่อ้อยที่เห็นในภาพตกไปอยู่ในดินแดนเวียดนาม ทั้งๆ ที่พวกเขาทำกินมานานกว่า 20 ปี เป็น  ชายแดนกัมพูชา-เวียดนามในช่วงนี้ลงไป ไม่มีแนวพรมแดนธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำลำธารหรือภูเขา.--ภาพ: ศูนย์สิทธิมนุษยชนกัมพูชา (CWC).</font>
3
<bR><FONT color=#000033O>วันที่ 6 ธ.ค.2553 นายรง ชุน หัวหน้าศูนย์สิทธิมนุษยชนกัมพูชานำคณะสำรวจหลักเขตแดน 108 ห่างจากหลักที่ 109 ลงไปไม่ถึง 2 กม. ใน จ.กัมปงจาม  ซึ่งการก่อสร้างเสร็จไปราว 701% แล้ว ราษฎรกัมพูชากล่าวว่า ไร่อ้อยที่เห็นในภาพตกไปอยู่ในดินแดนเวียดนาม ทั้งๆ ที่พวกเขาทำกินมานานกว่า 20 ปี เป็น  ชายแดนกัมพูชา-เวียดนามในช่วงนี้ลงไป ไม่มีแนวพรมแดนธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำลำธารหรือแนวเขาที่จะยึดหลักสันปันน้ำในการแบ่งเขตแดนได้.--ภาพ: ศูนย์สิทธิมนุษยชนกัมพูชา (CWC).</font>
4
<bR><FONT color=#000033O>วันที่ 6 ธ.ค.2553 นายรง ชุน หัวหน้าศูนย์สิทธิมนุษยชน ในกรุงพนมเปญนำคณะสำรวจหลักเขตแดน 108 ห่างจากหลักที่ 109 ลงไปไม่ถึง 2 กม. ใน จ.กัมปงจาม ราษฎรกัมพูชากล่าวว่า ไร่อ้อยที่เห็นอยู่นั้นตกไปอยู่ในดินแดนเวียดนาม ทั้งๆ ที่พวกเขาทำกินมานานกว่า 20 ปี เป็น  ชายแดนกัมพูชา-เวียดนามในช่วงนี้ลงไป ไม่มีแนวพรมแดนธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำลำธารหรือภูเขา.--ภาพ: ศูนย์สิทธิมนุษยชนกัมพูชา (CWC).</font></font>
5
กำลังโหลดความคิดเห็น