xs
xsm
sm
md
lg

2553 เวียดนาม จีน ไทย ขับเคี่ยวชิงพื้นที่ลงทุนลาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มวันที่ 3 ธ.ค.2553 รถไฟความเร็วสูงขบวนหนึ่งกำลังแล่นทดสอบในมณฑลอานฮุย (Amhui) รถไฟฟ้า CRH380A ทำสถิติใหม่ด้วยความเร็ว 486 กม./ชม. เป็นรถที่ไม่มีการดัดแปลงและใช้งานได้จริงที่มีความเร็วสูงสุดในโลกปัจจุบัน</font> <FONT color=#3366ff>เดือน เม.ย.นี้</font>วิศวกรจีนและลาวก็จะเริ่มก่อสร้างรถไฟหัวกระสุนสายหนึ่ง จากชายแดนเข้าสู่เมืองหลวงของลาวมาเชื่อมต่อกับไทย อีกไม่นานจีนก็จะเป็นนักลงทุนยักษ์ใหญ่ในแถบนี้ ชนิดที่ไม่มีผู้ใดเทียบได้.-- REUTERS/Stringer. </font>

ผู้จัดการ360องศารายสัปดาห์ — ลาวได้กลายเป็นพื้นที่ขับเคี่ยวกันระหว่างนักลงทุนจาก 3 ประเทศ เวียดนาม จีน และ ไทย ซึ่งหลายปีมานี้ได้ผลัดกันขึ้นครองอันดับ 1 ขณะที่เงินทุนจากจีนไหลบ่าแรงมาก

นับแต่ปี 2543 เป็นต้นมา มีนักลงทุนจาก 39 ประเทศและดินแดนเข้าไปลงทุนในลาวใน 13 แขนง แต่หลายปีมานี้ไทยกับเวียดนามช่วงชิงกันเป็นอันดับ 1 มาตลอด โดยมีจีนซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้าเป็นตัวแปรสำคัญ

ถึงแม้เวียดนามจะครองอันดับ 1 อย่างเหนียวแน่นในช่วง 2 ปีมานี้ แต่เงินลงทุนก็สูสีอย่างมากกับเบอร์ 2 คือ จีน และ ไทย ตามติดอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ เป็นรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว ที่อ้างการเปิดเผยของ นายสินละวง คุดไพทูน รัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน

ปัจจุบันเวียดนามลงทุนในลาว 252 โครงการ 2,770 ล้านดอลลาร์ ส่วนจีนที่มาแรงพุ่งขึ้นเป็นอันดับ 2 รวม จำนวน 397 โครงการ 2,710 ล้านดอลลาร์ ส่วนไทยหล่นไปอันดับ 3 เป็นปีแรกรวม 269 โครงการ 2,600 ล้านดอลลาร์

การลงทุนของจีนเพิ่มขึ้นในอัตราสูงจาก 247 ล้านดอลลาร์ ในปี 2552 เป็น 556 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในปีหน้าเมื่อเริ่มก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่หลายแห่งที่จีนได้รับอนุญาตให้ทำการสำรวจศึกษา

การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากจีนเข้าเวียงจันทน์ และไปเชื่อมต่อกับระบบรถไฟของไทยที่ จ.หนองคาย ก็จะเริ่มขึ้นในปี 2554 นี้เช่นกัน

ขณะเดียวกัน ลาวกำลังพยายามอย่างยิ่งดึงดูดการลงทุนที่มีคุณภาพในแขนงอื่นๆ นอกเหนือจากการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำกับเหมืองแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ทุนญี่ปุ่นที่เน้นในเรื่องอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งช่วยสร้างงานได้มากกว่า

นับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาภาคธุรกิจเอกชนลาวและญี่ปุ่นได้ประชุมพบปะกันทุกปีในนครเวียงจันทน์ ตามความตกลงกันระหว่างนายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรีของลาว กับ นายชินโซ อาเบ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในปี 2550

อย่างไรก็ตาม การลงทุนของญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับต่ำ นับแต่ปี 2543 เป็นต้นมามีเพียง 43 โครงการ 437 ล้านดอลลาร์ และ ในปี 2553 มีเพียง 2 โครงการด้วยเงินทุน 12 ล้านดอลลาร์

ลาวมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะได้เห็นนักลงทุนญี่ปุ่นขยายการลงทุนจากไทยเข้าสู่ลาว หลังจากลงหลักปักฐานแน่นหนาในประเทศเพื่อนบ้านมานานกว่า 30 ปี แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ
กำลังโหลดความคิดเห็น