xs
xsm
sm
md
lg

เลี้ยงปลาแซลมอน-สเตอร์เจียนในลาวไม่หมู

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ ปลาแซลมอนมีหลายพันธุ์ กระจายกันอยู่ตามแหล่งต่างๆ ทั่วโลก บางพันธุ์เช่นแซลมอนชินุ้ก (Chinook Salmon) หรือ แซลมอนแปซิฟิก ก็เป็นปลาเฉพาะท้องถิ่น ยังไม่ทราบว่าที่ทดลองเพาะเลี้ยงในลาวเป็นสายพันธุ์ใด แต่เจ้าหน้าที่กล่าวว่า เลี้ยงยากกว่าปลาสเตอร์เจียนจากโซนยุโรปเสียอีก แม้จะมีรายงานว่าการทดลองเลี้ยงในเวียดนามประสบความสำเร็จอย่างดีก็ตาม  </FONT>

ASTV ผู้จัดการรายวัน--- การเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนกับปลาสเตอร์เจียนในลาวไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ในเวียดนามประสบผลสำเร็จ แต่ในลาวสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งแซลมอนต้องการอุณหภูมิที่เย็นจัด และการทดสอบจะยังดำเนินต่อไป

ทางการ จ.เลิมด่ง (Lam Dong) กับ แขวงจำปาสักของลาว ได้ร่วมกันเซ็นความตกลงฉบับหนึ่งในเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว เพื่อทดลองเลี้ยงปลาแซลมอนกับปลาสเตอร์เจียนน้ำจืด ในเขตพัฒนาแห่งหนึ่งของเมืองงปากซอง แขวงจำปาสัก ซึ่งเป็นเขตที่มีอุณหภูมิต่ำตลอดทั้งปีของลาว เพื่อผลิตเนื้อแซลมอนกับไข่คาเวียร์

แต่การทดลองเพาะเลี้ยงครั้งแรก ไม่ประสบผลสำเร็จ ปลาแซลมอนตายไปจำนวนมากเหลือเพียง 457 ตัว แต่ละตัวมีน้ำหนักราว 900-1,000 กรัม และปลาสเตอร์เจียนเหลืออยู่ 300 ตัว มีน้ำหนักตัวละประมาณ 1,000 -1,300 กรัม หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์รายงานอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น

อย่างไรก็ตามเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก จะกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบโครงการเพาะเลี้ยงปลาเศรษฐกิจทั้งสองชนิด ก่อนจะขยายไปยังแขวงอื่นๆ ในอนาคต ทั้งเพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออก

นางคำแฟง เฮืองสีสะหวาด เจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักงานการเกษตรและป่าไม้แขวงกล่าวว่า พื้นที่ทดลองมีแหล่งน้ำที่เย็นตามธรรมชาติเนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ และมีแม่น้ำ ป่าและทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์

เวียงจันทน์ไทมส์กล่าวว่า แท้จริงแล้ว โครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้นในเดือน ก.ย. 2552 รัฐบาลเวียดนามได้มอบลูกปลาสเตอร์เจียน 1,500 ตัว และลูกปลาแซลมอนอีก 2,500 ตัว

สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงานก่อนหน้านี้ว่า การทดลองเลี้ยงครั้งแรกนี้จะใช้ลูกแซลมอนราว 4,000 ตัว ที่นำเข้าจากจากฟินแลนด์ กับลูกปลาสเตอร์เจียนอีกประมาณ 1,500 ตัว จากรัสเซียและ ทดลองเลี้ยงโดยใช้อาหารสำเร็จรูปที่นำเข้าจากฝรั่งเศส
<bR><FONT color=#3366ff>เจ้าหน้าที่ของลาวกล่าวว่า แซลมอนต้องการน้ำที่มีอุนหภูมิต่ำกว่าปลาสเตอร์เจียนมาก ปลาส่วนใหญ่ตายไปเพราะปัญหาเรื่องนี้ แต่การเพาะเลี้ยงรอบใหม่ก็กำลังจะเริ่มขึ้นอีกครั้ง  </FONT>
เวียงจันทน์ไทมส์กล่าวอีกว่า ลูกปลาสเตอร์เจียนบางตัวได้ตายในระหว่างการขนส่งจาก จ.เลิมด่ง ของเวียดนามมายังแขวงจำปาสัก แซลมอนหลายตัวตายในช่วงที่พายุไต้ฝุ่นเกดสะหนาพัดกระหน่ำด้วย หลังจากเหตุการณ์ต่างๆ สงบลง ปลาที่เหลือเติบโตอย่างไม่มีปัญหา เจ้าหน้าที่กล่าว

"ปลาทั้งสองชนิดเพาะเลี้ยงได้ยาก เฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านปลาสายพันธุ์นี้ที่มีประสบการณ์สูงเท่านั้นที่สามารถเลี้ยงดูพวกมันได้" เจ้าหน้าที่คนเดียวกันกล่าว

ผู้เชี่ยวชาญชาวเวียดนามได้ยืนยันว่า พื้นที่ดังกล่าว เหมาะสมสำหรับเพาะเลี้ยงปลาสเตอร์เจียน เนื่องจากสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี แต่ความเหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาแซลมอนยังจะต้องประเมินและตรวจสอบ เนื่องจากปลาชนิดนี้จำเป็นต้องอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิ 12-18 เซลเซียส

รัฐบาลต้องการผลิตปลาเหล่านี้เพื่อใช้บริโภคภายในประเทศ และลดความจำเป็นในการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน

ภายในสิ้นเดือน มี.ค. นี้ สำนักงานการเกษตรและป่าไม้แขวงจะนำเข้าลูกปลาสเตอร์เจียนและแซลมอน รวมทั้งอาหารปลา ซึ่งได้รับมอบจากรัฐบาลเวียดนามอีกชุดหนึ่ง.
กำลังโหลดความคิดเห็น