xs
xsm
sm
md
lg

ลาว-จีนจับมืออนุรักษ์ช้างป่าหลวงน้ำทา-สิบสองปันนา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00cc>ช้างป่าที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติกำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเพราะความเจริญของชุมชนเมืองได้บุกรุกพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ทำให้ลาวและจีนตกลงตั้งเขตป่าสงวนขึ้นในบริเวณชายแดนร่วมกันเพื่อรักษาพื้นที่ป่าให้มีขอบเขตกว้างขวางมากขึ้น </font></b>

ซินหัว - จีนและลาวได้ลงนามในสัญญาร่วมกันสร้างเขตป่าสงวนทางธรรมชาติระหว่างประเทศในบริเวณชายแดนสองชาติ เพื่อหาทางอนุรักษ์ช้างเอเชียและสัตว์หายากสายพันธุ์ต่างๆ ไม่ให้สูญพันธุ์และมีพื้นที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้น

นายตั้งจงหมิง (Tang Zhongming) รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเขตป่าสงวนแห่งเขตปกครองตนสิบสองปันนา กล่าวว่า เขตป่าสงวนทางธรรมชาติแหง่นี้มีเนื้อที่ครอบคลุมพื้นที่ป่า 31,300 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์/6.25 ไร่) ในฝั่งประเทศจีน และครอบคลุมพื้นที่ป่าในฝั่งลาวอีก 23,400 เฮกตาร์

การดูแลอนุรักษ์สัตว์ป่าหายาก ที่รวมทั้งช้างเอเชีย และเสีอสายพันธุ์อินโดจีน กำลังเผชิญกับภาวะกดดันจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการเพิ่มขึ้นของมนุษย์ที่ขยายตัวรุกล้ำมาในเขตป่า ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคนี้ตกอยู่ในความเสี่ยง

"เขตป่าสงวนทางธรรมชาติในบริเวณชายแดนนี้เป็นการบุกเบิกหนทางในการอนุรักษ์ธรรมชาติและยังเป็นงานที่จำเป็นต้องทำ" นายจงหมิงกล่าว

ตามข้อตกลงดังกล่าว ทั้งสองประเทศจะให้การฝึกฝนอบรมทางเทคนิคแก่สมาชิกที่ทำงานในเขตป่าสงวนนี้รวมทั้งเพิ่มความตระหนักในการดูแลรักษาธรรมชาติให้กับคนในหมู่บ้าน

ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันดำเนินการศึกษาความขัดแย้งระหว่างคนและช้าง และร่วมกันหาทางแก้ไข ทั้งยังมีการจัดลาดตระเวนร่วมกันเพื่อเผ้าระวังแหล่งธรรมชาติ และตรวจสอบความหลากหลายทางชีวภาพ

นอกจากนั้นทั้งสองประเทศจะเริ่มโครงการรณรงค์ส่งเสริมการป้องกันทรัพยากรทางธรรมชาติและตั้งระบบการแบ่งปันข้อมูลทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับเขตป่าสงวนทางธรรมชาตินี้

ในปัจจุบันมีช้างเอเชียประมาณ 250 เชือก อาศัยอยู่ในป่าทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลหยุนหนัน ซึ่งช้างป่าเหล่านี้มักจะข้ามชายแดนไปมาเพื่อหาอาหาร

ตามข้อมูลของกองทุนอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก (WWF) ปี 2538 มีช้างเอเชียประมาณ 25,600-32,750 เชือก ที่ยังคงอาศัยอยู่ในป่าบนพื้นที่ตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงเวียดนาม

นับแต่นั้นเป็นต้นมา ประชากรช้างได้ลดจำนวนลงอีกเรื่อยๆ ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างกลัวกันว่า ในตอนนี้ประชากรช้างอาจเหลือเพียงแค่ 1,995 เชือกเท่านั้น

นายหยางซงห่าย (Yang Songhai) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเขตป่าสงวนเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา กล่าวว่า หลังจากทั้งสองประเทศได้มีการแลกเปลี่ยนและร่วมมือกันในด้านต่างๆ ทั้งสองประเทศได้บรรลุถึงข้อสรุปให้มีการดูแลอนุรักษ์ธรรมชาติแบบไร้พรมแดน

"การอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นหน้าที่ของเราที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่าและรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ในพื้นที่ชายแดนนี้" นายซงห่ายกล่าว

เขตป่าสงวนทางธรรมชาติร่วมกันระหว่างจีนและลาวนี้ เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามที่จะสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยที่ดีให้กับสัตว์ป่าในบริเวณพื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศ

ความพยายามที่จะเชื่อมต่อพื้นที่เขตป่าฝนซึ่งแยกออกจากกันเพราะพรมแดนประเทศให้กลายเป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่ดียิ่งขึ้นสำหรับสัตว์ป่าและสัตว์ขนาดใหญ่เช่นช้าง

นอกจากนั้นธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ยังได้มอบทุนในโครงการต้นแบบเพื่อสร้างแนวเชื่อมต่อระหว่างสิบสองปันนาและแขวงหลวงน้ำทาของลาวด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น