xs
xsm
sm
md
lg

"แม็กกี้" กำลังจะออกตามล่าหาเสือในกัมพูชา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=660099> ภาพจากแฟ้มปี 2543 ของ WCS เจ้าโคร่งตัวนี้กำลังตรวจเช็คกล้องอัตโนมัติด้วยความสงสัยในป่าอีกแห่งหน่งที่ จ.มณฑลคีรี และทำชัตเตอร์ลั่น องค์การนี้ประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์เสือโคร่งอินโดจีนที่นั่น และกำลังหาข้อมูลในเขตป่าสงวนสีมา ที่อยู่ใกล้กันโดยใช้สุนัขตามดมกลิ่นค้นหามูลเสือ  </FONT></CENTER>
ASTVผู้จัดการออนไลน์-- สัปดาห์นี้ "แม็กกี้" (Maggie) จะเริ่มภารกิจสำคัญในป่า จ.มณฑลคีรี (Mondolkiri) ของกัมพูชา คือ ดมหามูลของเสือในเขตป่าสงวนแห่งชาติสีมา (Seima Biodiversity Conservation Area) เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์นำเอาไปตรวจ เพื่อนับจำนวนเสือที่อาจจะยังหลงเหลืออยู่ในธรรมชาติ

นี่เป็นทางเลือกสุดท้ายของนักวิทยาศาสตร์แห่งสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society) หรือ WCS ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในแห่งนครนิวยอร์ก หลังจากการใช้กล้องอัตโนมัติดักถ่ายรูปก็แล้ว ส่งหน่วยอาสาออกค้นหาร่องรอยก็แล้ว ไม่พบแม้แต่ตัวเดียว

อย่างไรก็ตามในปี 2550 ได้มีผู้พบรอยเท้าเสือในเขตป่าสงวนสีมา อันเป็นหลักฐานเพียงชิ้นเดียวที่แสดงให้เห็นว่า ยังมีเจ้าโคร่งอยู่ที่นั่น

WCS กับองค์การแพนเซอรา (Panthera) ซึ่งเป็นกลุ่มเอ็นจีโออนุรักษ์เสืออีกกลุ่มหนึ่ง ร่วมกันลงขันเป็นเงิน 20,000 ดอลลาร์ในการนำแม็กกี้ไปปฏิบัติภารกิจสำคัญนี้ สาวสวยพันธุ์เยอรมันพอยเตอร์ถูกฝึกขึ้นมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ เธอเดินทางจากรัสเซียถึงกรุงพนมเปญตั้งแต่วันวาเลนไทน์ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา
<CENTER><FONT color=660099>  โคร่งตัวนี้สิ้นลมในป่า จ.โพธิสัตว์ ทางตะวันตกกรุงพนมเปญ ถูกพรานป่ายิงเมื่อปี 2541 ปัจจุบันยังมีเสือโคร่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แต่การล่ากับแหล่งอาศัยถูกลุกล้ำเป็นเหตุให้ประชากรเสือลดลง </FONT></CENTER>
แม็กกี้เคยไปตามหาเสือโคร่งไซบีเรียในรัสเซีย และประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่ในกัมพูชา เธอไม่ได้ทำงานตามลำพัง แต่จะมีเพื่อนร่วมงานอีกตัวหนึ่งซึ่งประจำอยู่ที่นั่นก่อนแล้ว

ทั้งหมดนี้กำลังจะเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของ WCS และ Panthera ในความพยายามที่จะเพิ่มประชากรเสือในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้อีกสัก 50% ในช่วง 10 ปีข้างหน้า

เทคนิคการใช้สุนัขดมกลิ่นเพื่อสำรวจประชากรสัตว์ป่าใช้อย่างได้ผลมาแล้วในเขตที่การค้นหาโดยวิธีปกติไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งในอเมริกาใต้และแอฟริกา แต่ภารกิจของแม็กกี้กับเพื่อนร่วมทีม กำลังจะเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย

ปี 2549 กล้องที่ติดตั้งเอาไว้ในเขตป่าสงวนแห่งเดียวกันนี้ สามารถจับภาพเสือดาวได้คู่หนึ่ง เป็นแม่กับลูกชายวัยหนุ่ม ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์มีกำลังใจมากขึ้น หลังจากเคยเชื่อว่าเสือดาวสูญพันธุ์ไปทั้งหมดแล้วในป่าแถบนี้

แต่สำหรับประชากรเสือโคร่งในกัมพูชาซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์อินโดจีนนั้น ยังมีข้อมูลไม่มากนัก ทั้งๆ ที่ยังพบเห็นกระจายตามป่าธรรมชาติหลายแห่งทั่วประเทศ

ตามข้อมูลของ WCS เมื่อประมาณหนึ่งศตวรรษก่อน ทั่วทั้งทวีปเอเชียเคยมีเสือโคร่งทุกสายพันธุ์รวมกันประมาณ 100,000 ตัว แต่เนื่องจากการล่า และการสูญเสียถิ่นที่อาศัย ได้ทำให้ประชากรของแมวป่าขนาดใหญ่ลดลงเรื่อยๆ จนน่าจะเหลืออยู่ราวๆ 5,000 ส่วนใหญ่อยู่ในอินเดีย
<CENTER><FONT color=660099>  ภาพถ่ายหน้าตรง โคร่งสายพันธุ์อินโดจีนหล่อเหลาเอาการ </FONT></CENTER>
กว่า 10 ปีมานี้องค์การอนุรักษ์สัตว์ป่ารวมทั้ง WCS ได้พบเสือโคร่งในป่าหลายแห่งในกัมพูชา แต่พบมากที่สุดในเขตป่าทางตะวันตกและตะวันออกเฉียงเหนรือของประเทศ บางท้องถิ่นพบเพียงร่องรอย แต่ยังไมใคยพบตัว

ปัจจุบันมีการนำเทคนิคใช้สุนัขตามค้นหามูลเสือมาใช้กว้างขวางยิ่งขึ้น ดีเอ็นเอ (DNA) ในมูลที่พบจะบอกรหัสพันธุกรรมที่แตกต่างกัน นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถนับจำนวนเสือในป่าได้

เมื่อสองปีก่อนนักชีววิทยาได้ใช้วิธีเดียวกันนี้นับประชากรช้างในเขตป่าสงวนตะมันเนการา (Taman Negara National Park) ของมาเลเซีย

ขณะนี้เสือในกัมพูชาฝากอนาคตไว้กับแม็กกี้กับเพื่อนร่วมทีมของเธอ.
กำลังโหลดความคิดเห็น