xs
xsm
sm
md
lg

“เกดสะหนา” กลับถึงลาว ถนนไฟฟ้า นาข้าวเสียหายยับ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 ทางหลวงเลข 6 ช่วงปากซอง-ปากเซ กับเสาไฟแรงสูงจากเขื่อนห้วยเฮาะ เพื่อส่งข้ามประเทศไปยังโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินทรของไทย สายส่งไฟฟ้าระหว่างแขวงถูกตัดขาด ย้อนจากจุดนี้ไปข้างหลังราว 50 กม.จะเข้าเขตแขวงเซกอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ลาวกล่าวว่า พายุเกดสะหนาทำให้ทางหลวงสายนี้ขาดไปหลายช่วง 4 แขวงภาคใต้ เซกอง สาละวัน อัตตะปือ จำปาสัก ไม่สามารถเชื่อมถึงกันได้ </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- พายุเกดสะหนา (Ketsana) ได้สร้างความเสียหายอย่างมากมายในหลายจังหวัดทางภาคใต้ของลาว เส้นทางคมนาคมสายหลักถูกตัดขาด ระบบส่งไฟฟ้าขัดข้อง น้ำในลำน้ำต่างๆ เออขึ้นท่วมนาข้าวเสียหาย ตั้งแต่อัตตะปือทางใต้สุด ไปจนถึงเซกอง จำปาสักกับสาละวัน เจ้าหน้าที่ทางการได้กล่าวเตือนระวังน้ำยังจะท่วมสูงอีก

ตามรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว ไต้ฝุ่นเกดสะหนาที่อ่อนกำลังลงขณะเคลื่อนเข้าสู่ลาว ตั้งแต่บ่ายวันอังคาร (29 ก.ย.) ได้ตัดขาดทางหลวงเลข 16 ซึ่งเป็นถนนสายหลักเพียงสายเดียวจากเมืองปากเซ แขวงขำปาสัก ไปยังแขวงเพื่อนบ้านทางตะวันออก คือ สาละวัน กับเซกอง ก่อนจะวกลงใต้ไปยังแขวงอัตตะปือ

มีสะพานหลายแห่งถูกน้ำท่วม และ พายุยังทำให้ระบบสื่อสารกับการส่งไฟฟ้าถูกตัดขาด

ในแขวงเซกองราษฎรจำนวนหลายร้อยครอบครัวที่อาศัยอยู่ริมฝั่งลำซกอง ในเขตเมืองละมาม “ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำที่เอ่อขึ้นเลยขีดปกติ”

นายเลี้ยง คำพูน รองเจ้าแขวงเซกอง กล่าวกับหนังสือพิมพ์ “เวียงจันทน์ใหม่” ว่า ถนนไปยังเมืองกะลืม กับดากจึง ติดชายแดนเวียดนามถูกตัดขาด เช่นเดียวกับถนนเลข 16 ที่ลงไปยังแขวงอัตตะปือทางใต้ ไม่สามารถไปมาหาสู่กันได้

“แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่า ก็คือ ไม่สามารถนำความช่วยเหลือไปยังผู้ประสบภัยได้” นายเลี้ยง กล่าว
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 ยวดยานกำลังข้ามสะพานข้ามลำน้ำเซโดนแห่งใหม่ที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ข้างหลังคือเมฆฝนทะมึนทึน ภาคใต้ของลาวฟ้าฝนดีมีน้ำท่าสมบูรณ์ดีตลอด แต่พายุเกดสะหนานำน้ำส่วนเกินไปให้ น้ำจากลำเซโดนเอ่อขึ้นท่วมไร่นา บ้านเรือนราฎรในแขวงสาละวันที่อยู่ทางตะวันออก</FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 ถ่ายจาก สกายแล็บ พาหนะทางเลือก มองเห็นลำน้ำเซโดนกับเมืองปากเซ เจ้าหน้าที่ลาวกล่าวว่าระดับน้ำในลำเซโดนสูงขึ้นมากในช่วง 2-3 วันมานี้ เนื่องจากการกลับบ้านของจากพายุเกดสะหนา</FONT></bR>
เจ้าหน้าที่ผู้นี้ กล่าวอีกว่า เมื่อเวลา 09.00 น.วันพุธ ที่ผ่านมาน้ำในลำย้ำเซกอง ได้สูงขึ้น “เกินระดับอันตรายระหว่าง 3-4 เมตร” อันเนื่องมาจากฝนที่ตกหนัก 3 วันติดๆ กัน

นายสีดา สุวันนะไส หัวหน้าสำนักงานบริหารแขวงเซกอง กล่าวว่า สะพานหลายแห่งบนถนนเลข 16 จมน้ำ ระดับน้ำในลำเซกอง สูงขึ้น จาก 17 เป็น 28 เมตร และ คาดว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ หากฝนยังไม่หยุดตก แต่ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต

ทางการแขวงได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่ออกชวยเหลือราษฎรในเขตประสบภัย ซึ่งได้พบว่าตามหมู่บ้านต่างๆ ขาดพาหนะที่จำเป็นในยามนี้คือ เรือ และ ยังขาดแคลนอาหาร หลายท้องถิ่นมีผู้ไร้ที่อาศัย

เหนือขึ้นไปในแขวงสาละวัน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแขวง กล่าวว่า พายุเกดสะหนา เริ่มส่งผลกระทบต่อลาวตั้งแต่ยังเคลื่อนตัวอยู่ในเวียดนาม ด้วยความเร็วลมศูนย์กลางกว่า 150 กม./ชม.ซึ่งได้ทำให้เกิดฝนตกหนักตลอดเวลา ระดับน้ำในลำเซโดนสูงขึ้น 1.30 เมตรในวันเดียวกัน

นายแก้วมะนี สุวันนะสิน นักวิชาการอุตุนิยมวิทยาแขวงสาละวันบอกกับ ขปล.ว่า น้ำในลำเซโดนได้เอ่อขึ้นท่วม นาข้าวราษฎรในหมู่บ้านหลายแห่งได้รับความเสียหาย ในเขตเมือง (อำเภอ) โขงเซโดนกับเมืองวาปี แขวงสาละวัน แต่ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 เด็กๆ หน้าตาสดใสในสวนกาแฟของครอบครัวที่เมืองปากซอง ที่นั่นไม่มีทางรอดการทำลายของเกดสะหนาไปได้ พายุทำให้เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมไร่นาของราษฎรเสียหาย แต่ยังไม่มีข่าวคราวใดๆ เกี่ยวกับสวนกาแฟนับแสนๆ ไร่ในเขตเมืองนี้ </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 เม็ดกาแฟพันธุ์อะราบิก้ากำลังสุกแดงในสวนของครอบครัวหนึ่งที่เมืองปากซอง ชาวสวนกล่าวว่าช่วงเดือนที่ผ่านมาได้เก็บเกี่ยวกาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่สุกก่อนจนหมดแล้ว ส่วนอะราบิก้าที่สุกทีหลังจะเก็บกันในเดือน ต.ค.นี้ ยังไม่มีข่าวคราวใดๆ จากสวนกาแฟของประเทศ หลังพายุเกดสะหนาพัดเข้ากระหน่ำ</FONT></bR>
รายงานล่าสุดจากแขวงอัตตะปือ แจ้งว่า วันอังคารที่ผ่านมาน้ำในลำเซกองได้เอ่อขึ้นท่วมนาข้าวของราษฎรและหมู่บ้านหลายแห่งเช่นกัน แต่ยังไม่มีรายละเอียดมากกว่านี้ ขปล.กล่าว

“เกดสะหนา” เป็นคำในภาษาลาว เป็นชื่อไม้มงคลที่เนื้อไม้มีกลิ่นหอมและมีราคาแพง เนื่องจากสามารถนำไปสกัดเป็นน้ำหอมได้ ทางการลาวส่งเสริมให้ปลูกไม้ชนิดนี้เป็นสินค้าส่งออก

เกดสะหนาเป็นพายุในเขตแปซิฟิกตะวันตกอีกลูกหนึ่ง ที่ตั้งชื่อโดยทางการลาว และ “พายุชื่อลาว” ที่เคยทำลายล้างรุนแรงก่อนหน้านี้ ก็คือ “ซ้างสาน” (Xangsane) หรือ “ช้างสาร” ในเดือน ก.ย.-ต.ค.2549 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 160 คน ในเวียดนาม

ความรุนแรงของ “ช้างสาร” ทำให้ชื่อนี้ถูกถอดออกจากระบบชื่อของพายุในเขตร้อน และ ทางการลาวได้เสนอชื่อ “หลี่ผี” (Li Pee) ไปแทน

ก่อนหน้านี้ ไทยก็ได้เคยเสนอให้ถอดชื่อ “ทุเรียน” ออกสารบบ หลังจากไต้ฝุ่นลูกนี้พัดทำลายล้างภาคใต้เวียดนามอย่างรุนแรงในช่วงกลางปี 2549 ก่อนหน้าพายุช้างสาร
กำลังโหลดความคิดเห็น