xs
xsm
sm
md
lg

40 ปีผ่านไปฆาตกรโหดสังหารหมู่ “หมีลาย” สำนึก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#FF0000>ภาพนี้ได้ช่วยเร่งวันเร่งคืนให้สหรัฐฯ ต้องถอนทหารออกจากเวียดนามเร็วยิ่งขึ้น และทำให้สงครามสิ้นสุดลงก่อนเวลา นำมาซึ่งชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ และไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี ภาพนี้ก็ยังหลอกหลอนจิตสำนึกของผู้คนนับล้านทั่วโลก</FONT></bR>

เอเอฟพี/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ -- หลังจากเวลาผ่านพ้นไปกว่า 40 ปี นายทหารแห่งกองทัพสหรัฐฯ ที่ถูกตัดสินจำคุกกรณีสังหารชาวเวียดนามที่หมู่บ้านหมีลาย (My Lai) ได้กล่าวขอโทษอย่างเป็นทางการต่อสาธารณะ

กว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา นายทหารผู้นี้ปฏิเสธที่จะพูดถึงเหตุการณ์เศร้าสะเทือนใจคนทั้งโลกนี้มาตลอด

“ไม่มีวันใดสักวันที่ผ่านไปโดยที่ผมไม่ได้รู้สึกเศร้าสลดใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นที่หมีลายในวันนั้น” อดีต ร้อยโทวิลเลียม แคลลีย์ (William Calley) กล่าวระหว่างปราศรัยที่สโมสรคิวานิส (Kiwanis Club) แห่งเกรตเทอร์โคลัมบัส (Greater Columbus) มลรัฐจอร์เจีย (Georgia)

“ผมรู้สลดใจต่อชาวเวียดนามที่ถูกสังหาร ต่อครอบครัวของพวกเขา ต่อทหารอเมริกันที่เกี่ยวข้องและครอบครัวของพวกเขา ผมเสียใจเป็นอย่างมาก” ร.ท.แคลลีย์กล่าวเมื่อวันพุธ (19 ส.ค.) แต่เนื่องจากความเข้มงวดเกี่ยวกับผู้ฟังทำให้คำปราศรัยของเขาถูกเก็บเอาไว้ไม่เป็นที่รูจัก จนกระทั่งวันเสาร์

เท่าที่มีการบันทึกนั้น กว่า 40 ปี ตั้งแต่วันเกิดเหตุ ถึงวันที่ถูกสั่งฟ้อง วันที่ถูกศาลทหารสั่งจำคุก ในระหว่างถูกจำคุก และหลังได้รับการปล่อยตัว หมวดแคลลีย์ยังไม่เคยปริปากให้สัมภาษณ์ใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้


กรณีสังหารหมู่หมีลายเกิดขึ้นวันที่ 16 มี.ค.2511 ในเขตหมู่บ้านชื่อเดียวกันของเวียดนามใต้ในอดีต ซึ่งได้สร้างความแค้นเคืองให้กับผู้คนทั้งโลก และยังส่งผลทำให้สงครามเวียดนามสิ้นสุดเร็วยิ่งขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้การทำสงครามในเวียดนามได้รับการสนับสนุนน้อยลง

เรื่องราวโดยสังเขป ก็คือ ในวันเกิดเหตุ กองร้อยลาดตระเวน “ชาร์ลี” (Charlie) ที่นำโดย ร.ท.แคลลี ได้ฝ่าดงกับระเบิดของกองโจรคอมมิวนิสต์เวียดกงเข้าไปถึงหมู่บ้านหมีลาย ในปฏิบัติการ “ค้นหาและทำลาย” (Search and Destroy Operation)

ตามบันทึกของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หมวดแคลลีย์ ได้สั่งให้ทหารเข้าไปในหมู่บ้านและยิงทุกคนที่เห็น แม้จะไม่มีรายงานการยิงโต้ตอบก็ตาม
<bR><FONT color=#FF0000>หมวดแคลลีย์ระหว่างถูกนำตัวไปขึ้นศาลทหารที่ฟอร์ตเบ็นนิงปี 2512 ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ให้กักบริเวณในบ้านเพียงไม่กี่ปีก็ถูกปล่อยตัว วันพุธสัปดาห์นี้เขาได้พูดถึงเรื่องราวสังหารหมู่เป็นครั้งแรก ด้วยการแสดงความเสียใจ หลังจากเวลาผ่านไปนานกว่า 40 ปี </FONT></bR>
ตามรายงานของผู้เห็นเหตุการณ์ มีชายชราหลายคนถูกแทงจนเสียชีวิตด้วยมีดปลายปืน เด็กๆ และผู้หญิงที่นั่งคุกเข่าอ้อนวอนขอชีวิตถูกยิงเข้าที่ด้านหลังศีรษะ และ มีเด็กหญิงถูกข่มขืนอย่างน้อย 1 คน ก่อนจะถูกสังหาร

ผู้เห็นเหตุการณ์ กล่าวอีกว่า ร.ท.แคลลี ได้ไล่ให้ชาวบ้านจำนวน 170 คน ลงไปรวมกันในคูน้ำแห่งหนึ่ง ก่อนจะรัวกระสุนปืนกลปลิดชีวิตทุกคน

จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับจำนวนผู้ที่ถูกสังหารในเหตุการณ์ แต่ฝ่ายสหรัฐฯ ประมาณว่าจะอยู่ระหว่าง 374-504 คน

เรื่องราวอันน้าเศร้าสลดใจนี้ยังไปไม่ถึงชาวอเมริกันในสหรัฐฯ จนกระทั่งเดือน พ.ย.2512 หรือเกือบ 2 ปีต่อมา เมื่อนักข่าวชื่อ ซีมัวร์ เฮิร์ช (Semour Hersh) เขียนรายงานเหตุการณ์จากการบอกเล่าของ รอน ไรเดนอาวร์ (Ron Ridenhour) ทหารผ่านศึกเวียดนาม ที่ได้รับฟังเรื่องราวต่างๆ ที่หมู่บ้านหมีลายจากทหารหน่วยชาร์ลีอีกคนหนึ่ง

และก่อนที่ ไรเดนอาวร์ จะเปิดเผยเรื่องนี้กับเฮิรช เขาได้เรียกร้องให้รัฐสภาสหรัฐฯ ทำเนียบขาวและกระทรวงกลาโหม สอบสวนเรื่องนี้ 2 เดือนก่อนจะมีการตีพิมพ์รายงานของนักข่าวสาว

เพนตากอนได้สั่งสอบสวนกรณีสังหารหมู่ที่บ้านหมีลาย และ ในที่สุดก็ได้ส่งฟ้องหมวดแคลลี่ในเดือน ก.ย.2532 ข้อหาฆาตกรรม

ภาพที่ชาวบ้านนอนล้มตายมากมายก่ายกอง เป็นหนึ่งในบรรดาภาพอันโหดร้ายรุนแรงที่ช็อกคนทั้งโลก ไม่ต่างจากภาพ “นาทีชีวิต” ที่นายตำรวจกรุงไซ่ง่อนคนหนึ่งใช้ปืนพกยิงเข้าที่ศีรษะของผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นพวกเวียดกงตรงริมถนน ท่ามกลางสายตาของผู้คนนับร้อย หรือ ภาพ “หนูน้อยนาปาล์ม” กับเด็กๆ ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งวิ่งหนีการทิ้งระเบิดเพลิงด้วยสีหน้าที่หวาดกลัวสุดขีด
<bR><FONT color=#FF0000>คำสั่งถึงกองร้อยชาร์ลี: ฆ่าให้หมด แล้วกลับมาคนเดียว!</FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>แต่เหยื่อสังหารหมู่เกือบทั้งหมดเป็นหญิงสูงอายุกับเด็กๆ เหตุเกิดขณะที่คนหนุ่มสาวกำลังทำงานในนาข้าว เพราะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูหนาว</FONT></bR>
เมื่อกรณีสังหารหมู่หมีลายเผยแพร่ออกไป ก็ได้ทำให้ขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามในสหรัฐฯ ที่กำลังคุกรุ่นอยู่แล้ว ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง นักเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพจากทั่วโลกได้ตื่นตัวขึ้นเป็นพลังหนุนเนื่อง

การสังหารหมู่ที่บ้านหมีลายยังได้ทำให้เกิด “วีรบุรุษสงคราม” ขึ้นมา 3 คน คือ ร.ท.ฮิวจ์ ทอมป์สัน (Hugh Thompson) นักบินเฮลิคอปเตอร์ กับลูกเรืออีก 2 คน ที่ผ่านไปเห็นเหตุการณ์ทหารกองร้อยชาร์ลีกำลังสาดกระสุนเข้าใส่ชาวบ้าน

นายทหารนักบินกองทัพบกผู้นี้ตัดสินใจนำ ฮ.ร่อนลงขวางทางปืนเอาไว้ เพื่อให้ทหารราบที่กำลังบ้าคลั่งยุติการเข่นฆ่า จากนั้นจึงผู้หมวดทอมป์สันได้นำชาวบ้านที่ยังรอดชีวิตอยู่หยิบมือหนึ่งออกจากที่เกิดเหตุ และรายงานเหตุการณ์สังหารหมู่ถึงผู้บังคับบัญชา และต่อมาก็ได้เป็นประจักษ์พยานในการสอบสวนหาผู้กระทำผิด

แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น หมวดทอมป์สันกับทีม ถูกกล่าวประณามจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ จำนวนหนึ่ง ได้รับจดหมายข่มขู่เอาชีวิต กระทั่งมีผู้นำซากสัตว์ที่ถูกฆ่าอย่างโหดร้ายทารุณไปวางเอาไว้ถึงประตูบ้าน เป็นการข่มขู่และแสดงความอาฆาตมาดร้าย

30 ปีต่อมา “วีรกรรม” ของหมวดทอมป์สันกับทหารชั้นประทวนอีก 2 นาย จึได้รับการดุดีจากชาวอเมริกัน

ผลการสอบสวนของฝ่ายทหารได้ข้อสรุปว่า ร.ท.แคลลีย์ได้กระทำความผิด และ ในเดือน ก.ย.2512 (หรือ 2 เดือนก่อนจะมีการตีพิมพ์บทเขียนของเฮิร์ช) ศาลก็ได้ตัดสินลงโทษนายทหารผู้นี้ในข้อหาฆาตกรรม
<bR><FONT color=#FF0000>หมวดแคลลีย์บนปกนิตยสารไทมส์ (รวมทั้งนิวส์วีค) ในเดือน เม.ย.2514 เหตุการณ์นี้มีจำเลยเพียงคนเดียว จึงมีการตั้งคำถามโตๆ ขึ้นมาว่า ใครบ้างที่จะต้องแบ่งปันความรับผิดชอบ? </FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>หมวดทอมป์สัน วีรบุรุษสงคราม ที่มีอยู่จริง แต่เวลาล่วงเลยมาอีก 30 ปี เสียงสดุดีจึ่งดังขึ้น ก่อนหน้านั้นเขาถูกขู่ฆ่า โดนดูถูกเหยียดหยาม กระทั่งถูกประณามเป็นคนไม่รักชาติ เป็นผู้ทรยศต่อชาติ  </FONT></bR>
เรื่องราวไม่จบลงแค่นั้น การสังหารหมู่ที่หมีลายเป็นกรณีที่สะเทือนจิตวิญญาณและความรู้สึกของวิญญูชนในสหรัฐฯ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างหนักระหว่าง “พวกใช้สมอง” กับ “พวกใช้กำลัง” ในกองทัพ เกิดการดูถูกดูแคลนระหว่างทหารที่จบจากโรงเรียนนายร้อย กับพวก “ฮาร์วาร์ด” หรือ นายทหารสัญญาบัตร “ปัญญาชน” ที่เรียนสำเร็จจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป

หลายฝ่ายกล่าวว่า ถ้าหากให้ “พวกฮาร์วาร์ด” บัญชาการที่หมีลาย ก็อาจจะไม่เกิดการสังหารหมู่สะเทือนขวัญขึ้นมา

สำหรับหมวดแคลลีย์นั้นความจริงก็เคยเป็น “พวกฮาร์วาร์ด” แต่ได้พักการเรียนจากวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยในช่วงสงคราม จนสำเร็จการศึกษาจากฟอร์ตเบ็นนิง (Fort Benning) รัฐจอร์เจียเมื่อปี 2510 และ เดินทางไปศึกในเวียดนามเกือบจะทันที

เขาให้การว่า ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นนายทหารยศร้อยเอกให้สังหารทุกคนที่พบในหมู่บ้านหมีลาย

อย่างไรก็ตาม ศาลทหาร กล่าวว่า มีหลักฐานภาพถ่ายและประจักษ์พยานอย่างเพียงพอที่จะเอาผิดกับ ร.ท.แคลลีย์ เพียงผู้เดียว
<bR><FONT color=#FF0000>ปัจจุบันที่หมู่บ้านเซินหมี (Son My) ใน จ.กว๋างหงาย (Quang Nghai) มีพิพิธภัณฑ์เล็ก เอาไว้กระตุ้นจิตสำนึกของผู้คน </FONT></bR>
<br><FONT color=#ff0000>และมีอนุสรณ์สถานซึ่งหลายปีมานี้บรรดานักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่ไปเยี่ยมชม ยังรวมทั้งสมาชิกครอบทหารอเมริกันที่มีส่วนร่วมในการสังหารหมู่ด้วย </FONT></bR>
ฆาตกรมือเปื้อนเลือดจากบ้านหมีลายถูกศาลทหารตัดสินจำคุกตลอดชีวิตปี 2512 โดยให้กักบริเวณในบ้านพัก แต่ในปี 2517 ก็ได้รับการอภัยโทษ หลังจากได้ยื่นอุทธรณ์หลายต่อหลายครั้ง

ผู้กระทำผิดเพียงคนเดียวในคดีนี้ได้รับการปล่อยตัวในเดือน พ.ย.2518 หลังสงครามเวียดนามยุติสุดลง

ในเวียดนาม กรณีสังหารหมู่หมีลายมักจะได้ยินในอีกชื่อหนึ่ง คือ "เหตุการณ์สังหารหมู่ที่เซินหมี" (Son My) อันหมายถึงหมู่บ้านที่อยู่ติดกับหมีลาย ที่มีคนถูกยิงตายมากที่สุด

แต่สำหรับกองทัพสหรัฐฯ เรียกที่นั่นว่า พิงค์วิลล์ (Pinkville) หรือ “หมู่บ้านสีชมพู” ซึ่งหมายถึงหมู่บ้านในเขตที่มีการแทรกซึมของกองโจรเวียดกงนั่นเอง

หลังเกิดเหตุการณ์รัฐบาลเวียดนามใต้ได้ทำลายหลักฐานสำคัญไปหลายอย่าง ในความพยายามปิดบังอำพรางเหตุการณ์ หวังจะไม่ให้แพร่งพรายออกไปสู่โลกภายนอก

ปัจจุบันหมู่บ้านหมีลายกับเซินหมี อยู่ในท้องที่ จ.กว๋างหงาย (Quang Nghai) ในภาคกลางของเวียดนาม หลังครามสงบลงมีการสร้างอนุสรณ์สถานการสังหารหมู่ขึ้นที่นั่น และหลายปีมานี้มีชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยเดินทางไปรำลึกอดีต

ในนั้นรวมทั้งสมาชิกครอบครัวของเหล่าทหารที่อยู่ในเหตุการณ์สังหารหมู่ด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น