xs
xsm
sm
md
lg

"ฮุนเซน" นำทีมเขมรแดงเก่าฉลอง 32 ปีแห่งอำนาจบนกองกระดูก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนปล่อยนักพิราบ ในพิธีรำลึกครบรอบ 32 ปีการโค้นล้มระบอบเขมรแดงกลุ่มโปลโป้ท-เอียงสารี-เคียวสมพร 7 ม.ค.2522 โดยเขมรแดงกลุ่มเฮงสัมริน-เจียซิม-เพ็ญสุวรรณ-ฮุนเซน เชื้อเชิญกองทัพเวียดนามที่ใช้กำลังพลกว่า 100,000 คน เพื่อการดังกล่าว และ นำเขมรแดงกลุ่มใหม่ขึ้นสู่อำนาจเป็นรัฐบาลหุ่นเชิด สถานการณ์ที่พลิกผันไปเวียดนามถูกต่อต้านถูกคว่ำบาตรจากโลกตะวันตก และสหภาพโซเวียตที่ให้การสนุบสนุนกำลังจะล่มสลาย ทำให้เวียดนามต้องถอนทหารออกไปในเดือน ต.ค.2532 หลังจากยึดครองกัมพูชาเกือบ 11 ปี การฉลองวันที่ 7 ม.ค. ยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน เพราะไม่ได้ยอมรับกันทุกฝ่าย รัฐบาลจัดงานนี้ขึ้นในนามของพรรคประชาชนกัมพูชาเท่านั้น ไม่ใช่การฉลองระดับประเทศ.-- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.</font>

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- วันศุกร์นี้นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนได้ทำพิธีรำลึกและเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 32 เหตุการณ์วันที่ 7 ม.ค.2522 ซึ่งเขมรแดงกลุ่มเฮง สัมริน-เพ็ญ สุวรรณ-เจียซิม-ฮุนเซน ได้เชื้อเชิญกองทัพเวียดนาม เข้าขับไล่โค่นล้มเขมรแดงอีกกลุ่มหนึ่งที่นำโดยโปลโป้ท เอียง สารี กับเคียว สมพร ลงจากอำนาจ ซึ่งทำให้กลุ่มแรกครองอำนาจมาจนกระทั่งถึงวันนี้ โดยไม่ขาดช่วง

สำหรับฮุนเซน- อดีตผู้บังคับกองพันเขมรแดง เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศนี้ติดต่อกันมานาน 24 ปี และในวันนี้อาศัยอยู่ในคฤหาสน์ส่วนตัวหลังใหญ่ที่สุดในเมืองหลวง มีวงวานว่านเครือแห่งอำนาจท่าใหญ่โต และ มีกองทัพส่วนตัว

กล่าวกันว่า ระบอบเขมรแดงของโปลโป้ท เอียง สารี กับ เคียว สมพร ที่ครองอำนาจระหว่างเดือน เม.ย.2518 จนถึงเดือน ม.ค.2522 ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตล้มตายของ ชาวกัมพูชาราว 1.7 ล้านคน

ตามรายงานของสื่อตะวันตก ชาวเขมรส่วนใหญ่ล้มตายลง เพราะความอดอยากในช่วงสงคราม และในช่วงที่สงครามสิ้นสุดลงใหม่ๆ ทุกคนถูกเกณฑ์ออกจากเมืองเพื่อทำนาและผลิตอาหารเลี้ยงตัวเอง จำนวนมากล้มตายจากการทำงานหนัก โรคระบาด ที่ขาดยารักษา เนื่องจาก "ระบอบโปลโป้ท" ปิดกั้นตัวเองจากโลกภายนอกเกือบจะสิ้นเชิง

เขมรแดงกลุ่มโปลโป้ที่นิยมลัทธิมาร์กซ์-เลนินกับความคิดเหมาเจ๋อตง และ ได้รับการขนานนามจากสื่อตะวันตกเป็น "คอมมิวนิสต์สายจีน" ช่วงปีที่กลุ่มนี้ครองอำนาจยังเต็มไปด้วยการช่วงชิงการนำภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มที่มีกองกำลังอยู่ทางตะวันออกติดชายแดนเวียดนาม ที่เป็น "เขมรแดงสายโซเวียต"

เท่าที่มีการบันทึกเอาไว้ ในช่วงปีดังกล่าว มีความพยายามทำรัฐประหารยึดอำนาจในกรุงพนมเปญไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง นำมาซึ่งการเข่นฆ่าศัตรูทางการเมืองอย่างทารุนและโหดเหี้ยม

โรงเรียนมัธยมตวลสะแลงในกรุงพนมเปญ ที่ถูกดัดแปลงเป็นคุกคุมขังนักโทษ เป็นประจักษ์พยานสำคัญ มีผู้ถูกคุมขัง ถูกทรมานและเสียชีวิตในนั้น หรือถูกส่งไปประหารระหว่าง 8,000-20,000 คน ตามตัวเลขที่ “สหายดุจ” ให้การต่อคณะตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งแตกต่างกันออกไปกับตัวเลขของผู้รอดชีวิตและฝ่ายอื่นๆ

อย่างไรก็ตามนักโทษในเรือนจำตวลสะแลงส่วนใหญ่เป็นนักโทษการเมืองและเครือญาติ เป็นสมาชิกครอบครัวของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล จำนวนหนึ่งถูกกล่าวหาเป็นสายลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกล่าวหาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ เป็น "จารชนซีไอเอ" อันหมายถึงองค์การสืบราชการลับของสหรัฐฯ

เวลา 3 ปีเศษของกัมพูชาภายใต้โปลโป้ท เอียง สารี และ เคียว สมพร ยังเป็นช่วงปีแห่งการพิพาทพรมแดนกับเวียดนาม ซึ่งมีการปะทะนองเลือดหลายครั้งระหว่างคอมมิวนิสต์ต่างอุดมการณ์สองฝ่าย สถานีวิทยุกระจายของทั้งสองประเทศ รายงานเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้นับจำนวนครั้งไม่ถ้วนในช่วงปี 2519-2521

ระบอบเขมรแดงในกรุงพนมเปญยุคนั้น จึงเป็นศัตรูที่ชัดเจนของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ที่เพิ่งจะได้รับชัยชนะอย่างลิงโลด จากการทำสงคราม 20 ปีกับสหรัฐฯ
 <bR><FONT color=#000033>สามผู้ยิ่งใหญ่ เฮงสัมริน เจียซิม กับ ฮุนเซน ร่วมกันปลายนักพิราบในพิธีรำลึกครบรอบปีที่ 32 เหตุการณ์วันที่ 7 ม.ค. ที่ผู้นำเขมรแดงกลุ่มนี้นำทหารเวียดนามกว่า 100,000 คน เข้าจับไล่เขมรแดงกลุ่มโปลโป้ท เอียงสาร กับ เคียวสมพร ลงจากอำนาจ และ ยึดครองกัมพูชาต่อมาอีกเกือบ 11 ปี การฉลองวันที่ 7 ม.ค. ยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน เพราะไม่ได้ยอมรับกันทุกฝ่าย รัฐบาลจัดงานนี้ขึ้นในนามของพรรคประชาชนกัมพูชาเท่านั้น ไม่ใช่การฉลองระดับประเทศ.-- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.</font>
นักวิเคราะห์ในกลุ่มความคิดหนึ่งจึงมองว่า เวียดนามส่งทหารระหว่าง 100,000-200,000 คน เข้ากัมพูชา เข้าโค่นล้มระบอบเขมรแดงโปลโป้ทฯ ด้วยเหตุผลทางการเมืองมากกว่า เหตุผลเข้าไปช่วย “ปลดปล่อย” ชาวกัมพูชา ตามที่มีการแถลงในภายหลัง

เป็นที่ชัดเจนอย่างยิ่งว่า สิ่งที่เวียดนามได้รับจากการเข้ายึดครองกัมพูชาและจัดตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นมาในเดือน ม.ค.2522 นั้นก็คือ สงครามตามแนวชายแดนยุติลงอย่างสิ้นเชิง และ ไม่มี “หอกข้างแคร่” เหลืออยู่ในกัมพูชาอีก

แต่เวียดนามได้สิ่งนี้มาโดยใช้ชีวิตทหารหลายหมื่นคนเข้าแลก ยังไม่นับชีวิตของชาวกัมพูชาอีกนับจำนวนไม่ถ้วน ที่ตกเป็นเหยื่อของการสู้รบ

ในช่วงปีแห่งสงครามอันยาวนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือระหว่างปี 2512-2518 ยังมีชาวเขมรจำนวนมากล้มตายจากทิ้งระเบิดปูพรมของกองทัพสหรัฐฯ

การศึกษาจากภาพถ่ายดาวเทียมในยุคใหม่แสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ ไม่ได้ทิ้งระเบิดเฉพาะบริเวณรอยต่อชายแดนกัมพูชา-เวียดนาม เพื่อทำลายกองกำลังเวียดกง อันเป็นเหตุผลที่รัฐบาลประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ชี้แจงเพื่อขออนุมัติจากรัฐสภาสหรัฐฯ เท่านั้น หากยังทิ้งลงในพื้นที่อื่นๆ อย่างกว้างขวางค่อนประเทศ ครอบคลุมถึงภาคตะวันตกติดชายแดนไทย

ทั้งหมดนั้นเป็นความพยายามช่วยเหลือรัฐบาลของ พล.อ.ลอนนอล ผู้บัญชาการทหารที่สหรัฐฯ หนุนหลังให้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล “เจ้าสีหนุ” ในอดีต และ ฟูมฟัก อุ้มชู ช่วยเหลือในการต่อสู้กับกองโจรคอมมิวนิสต์เขมรแดงในเวลาต่อมา แต่ไม่สำเร็จ

ชาวเขมรอีกจำนวนมากล้มตายในช่วงปีสุดท้ายของระบอบลอนนอล เมื่อกองโจรเขมรแดงรุกใหญ่ ในสงครามขั้นสุดท้ายเตรียมเข้ายึดกรุงพนมเปญ

มีการบันทึกเอาไว้ว่า 6 เดือนสุดท้ายก่อนพนมเปญแตก ชาวเมืองหลวงและในเมืองใหญ่ต่างๆ รวมทั้งพระตะบอง ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 มีชีวิตอยู่ได้เพราะข้าวสารกับอาหารที่ส่งไปจากประเทศไทยโดยองค์การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ หรือ ยูเสด (USAID) เนื่องจากชาวกัมพูชาไม่สามารถออกทำงานหรือหาอาหารตามธรรมชาติในเขตชนบทได้อีก ขณะที่ "ทหารป่าชุดดำ" กำลังล้อมเมือง
 <bR><FONT color=#000033>ชมกันเองครื้นเครงในคณะ-- นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนแสดงความยินดีกับนายเจียซิม ประธานวุฒิสภาที่มีตำแหน่งเป็นประธานพรรคประชาชนกัมพูชา ในโอกาสที่พรรครัฐบาลจัดรำลึกเหตุการณ์วันที่ 7 ม.ค.2522 ที่ทหารเวียดนามกว่า 100,000 คน ยาตราข้ามพรมแดนเข้าขับไล่รัฐบาลเขมรแดงของกลุ่มโปลโป้ท เอียงสารี เคียวสมพร ในกรุงพนมเปญ เวียดนามนำเขมรแดงกลุ่มใหม่นี้ขึ้นสู่อำนาจ และอยู่ต่อมาจนถึงวันนี้.-- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.</font>
 <bR><FONT color=#000033>นายเฮงสัมริน ออกทักทายเยาวชนของพรรค นี่คือประธานาธิบดีคนแรกของรัฐบาลหุ่นเชิดเวียดนามหลังเหตุการณ์วันที่ 7 ม.ค.2522 วันนี้เป็นประธานสภาพผู้แทนราษฎร และเป็น ประธานกิตติมศักดิ์ ของพรรคประชาชนกัมพูชา ซึ่งก็คือ พรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา พรรคคอมมิวนิสต์ของเขมรแดงสายโซเวียตในอดีต การฉลองวันที่ 7 ม.ค. ยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน เพราะไม่ได้ยอมรับกันทุกฝ่าย รัฐบาลจัดงานนี้ขึ้นในนามของพรรคประชาชนกัมพูชาเท่านั้น ไม่ใช่การฉลองระดับประเทศ.-- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.</font>
มีชาวเขมรอีกจำนวนมากล้มตายในการสู้รบระหว่างปี 2522-2532 ซึ่งทหารเวียดนามนับแสนคนประจำการในกัมพูชา เพื่อพิทักษ์รัฐบาลหุ่นกลุ่มเฮง สัมริน เพ็ญ สุวรรณ และเจียซิมในพนมเปญ ที่ต้องเผชิญหน้ากับกองโจรเขมรแดงโปลโป้ทฯ ที่มีจำนวนมากกว่า

เวียดนามเคยแถลงว่า มีทหารเสียชีวิตในกัมพูชากว่า 50,000 คนในช่วง 10 ปีแห่งการยึดครอง ในนั้นกว่าครึ่งหนึ่งล้มตายจากโรคระบาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ มาลาเรีย

กัมพูชาในช่วงหลังสงครามจึงเต็มไปด้วยกองกระดูกกับหลุมฝังศพหมู่ ซึ่งจำแนกได้ลำบากว่าส่วนไหนเป็นเหยื่อของใคร หรือ เสียชีวิตในเหตุการณ์ใดบ้างในประวัติศาสตร์ที่ชุ่มด้วยเลือด แต่ทุกอย่างง่ายขึ้นเมื่อความผิดทั้งหมดถูกโยนไปให้แก่ “ระบอบล้างชาติโปลโป้ท”

ปีที่แล้วคณะตุลาการระหว่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ ได้ตัดสินลงโทษนายกางกึ๊กเอียว หรือ "สหายดุจ" ผู้บัญชากรเรือนจำตวลสะแลง เป็นรายแรก ด้วยโทษจำคุก 32 ปี แต่ถูกลดหย่อนลงเหลือ 17 ปี

ปีนี้คณะตุลาการจะเริ่มไต่สวนอดีตผู้นำที่ยังมีชีวิตอีก 4 คนคือ นายเคียว สมพร นายเอียง สารี นายนวน เจีย กับ นางเอียง ธิริต ท่ามกลางความยากลำบาก

รัฐบาลฮุนเซนปฏิเสธที่จะให้ตุลาการระหว่างประเทศสอบสวนอดีตผู้นำเขมรแดงหลายคนในกลุ่มของตน รวมทั้งนายเกียตชน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการเงิน ที่เคยต่อสู้เคียงไหล่กับกลุ่มโปลโป้ทฯ และ นายฮอร์นัมฮอง รองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศคนปัจจุบัน ที่เป็นนักการทูตสมัยลอนนอล และ ระบอบโปลโป้ทฯ ตั้งขึ้นเป็นผู้บัญชาการเรือนจำบึงกาก ในกรุงพนมเปญ

นายสัม รังสี ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ที่แสดงหลักฐานเปิดโปงเรื่องนี้ถูกนายฮองฟ้องดำเนินคดี แต่หลักฐานก็บ่งบอกชัดว่า เขมรแดงอดีตผู้บัญชาการเรือนจำผู้นี้ ต้องรับผิดชอบต่อนักโทษที่เสียชีวิตจำนวนหนึ่งในช่วง 2 ปีที่อยู่ในตำแหน่ง

ฮุนเซนได้ปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะไม่เข้าให้การในฐานะพยานหรือฐานะใดๆ ในการไต่สวนอาชญากรสงครามเขมรแดง และ ยังเคยขู่ว่าหากการไต่สวนครอบคลุมถึงคณะผู้นำปัจจุบัน ก็จะทำให้กัมพูชากลับเข้าสู่ยุคนองเลือดอีกครั้งหนึ่ง โดยไม่ได้อธิบาย
 <bR><FONT color=#000033>นาฎศิลปินแสดงที่สำนักงานใหญ่พรรคประชาชนกัมพูชาวันที่ 7  ม.ค.2554 ในโอกาสครบรอบปีเหตุการณ์ที่เวียดนามส่งทหารกว่า 100,000 คน เข้าโค่นล้มระบอบเขมรแดงกลุ่มโปลโป้ท เอียงสารี เคียวสมพร คอมมิวนิสต์สายจีน ลงจากอำนาจ และ ตั้งคอมมิวนิสต์กลุ่มใหม่ สายโซเวียต ขึ้นมาแทน ผุ้นำกลุ่มนี้ยังคงอยู่ในอำนาจต่อมาอีก 32 ปีในวันนี้ การฉลองวันที่ 7 ม.ค. ยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน เพราะไม่ได้ยอมรับกันทุกฝ่าย รัฐบาลจัดงานนี้ขึ้นในนามของพรรคประชาชนกัมพูชาเท่านั้น ไม่ใช่การฉลองระดับประเทศ.-- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.</font>
คำว่า "ไม่แทรกแซง" ของฮุนเซน จึงมีความหมายไม่ต่างกับคำว่า "แทรกแซง" เนื่องจากคณะตุลาการฯ ไม่ได้รับความร่วมมือใดๆ จากบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงในซีกรัฐบาล ซึ่งทำให้ไม่ได้ข้อเท็จจริงทั้งหมด อันเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้พิพากษาผู้หนึ่งในองค์คณะลาออกจากตำแหน่ง และกลายเป็นกรณีอื้อฉาวปีที่แล้ว

ในกัมพูชาเองยังมีความแตกแยกทางความคิดเห็นดันอยู่มากเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ต่างๆ พรรคฝ่ายค้านจะไม่ยอมรับการฉองอะไรก็ตาม ที่เกี่ยวกับการยึดครองของเวียดนาม

กว่า 10 ปีมานี้ รัฐบาลฮุนเซนได้จัดรำลึกวันที่ 7 มกราคม ประจำทุกปี แต่จัดในนามของพรรคประชาชนกัมพูชา ซึ่งก็คือพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชาในอดีต โดยเรียกว่า “วันแห่งปีรติ” แต่ในขณะเดียวกันก็จัดรำลึกวันที่ 17 เม.ย. ทุกปี แต่เรียกว่า “วันแห่งความเกลียดชัง” เนื่องจากเป็นวันที่เขมรแดงกลุ่มโปลโป้ทฯ ยึดอำนาจ

ชาวเขมรจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตจังหวัดภาคเหนือกับภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่เคยเป็นฐานที่มั่นเก่ามานานหลายสิบปี ยังคงศรัทธาผู้นำเขมรแดงเก่าที่นำโดยโปลโป้ทไม่เสื่อมคลาย ราษฎรในหลายหมู่บ้านที่ จ.ไพลิน ปัจจุบันนี้ยังไม่ยอมให้ลูกๆ ท่องหนังสือแบบเรียนของรัฐบาลฮุนเซนที่ประณามระบอบโปลโป้ท

32 ปีของกลุ่มฮุนเซน เจีย ซิม และ เฮง สัมริน เป็น 32 ปีบนกองเลือดและน้ำตาของชาวเขมรนับล้านเช่นกัน ในนั้น 10 ปี ยังเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ประเทศตกอยู่ภายใต้การยึดครองของต่างชาติอีกด้วย

อย่างไรก็ตามฮุนเซนกล่าวในวันศุกร์นี้ เรียกร้องประชาคมระหว่างประเทศให้ช่วยสนับสนุนคณะตุลาการฯ ต่อไปให้ประสบความสำเร็จ "บนพื้นฐานการพิทักษ์ปกป้องผลสำเร็จแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ สันติภาพกับเสถียรภาพในกัมพูชา ที่ได้มาด้วยความยากลำบาก".
กำลังโหลดความคิดเห็น