นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา กระบวนการปกครองของไทยมีความวุ่นวายการปฏิวัติรัฐประหาร การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ที่ประกอบด้วยนักวิชาการพลเรือนและทหาร ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาจากยุโรปและได้รับทุนหลวงไปเรียนต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อังกฤษและฝรั่งเศส กลุ่มชนชั้นกลางหัวทันสมัยในประเทศได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติในจีนและอินโดจีน ซึ่งเป็นเรื่องของการต่อสู้ของกลุ่มชาตินิยมกับจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ซึ่งนำสู่ความคิดเสรีนิยม สังคมนิยม และลัทธิคอมมิวนิสต์
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ กลุ่มทหารที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ยกเว้นพวกที่จบจากโรงเรียนนายร้อยรัสเซีย ซึ่งมองเห็นการปฏิวัติเป็นการล้มล้างระบอบกษัตริย์ที่ทารุณเกินไป เพราะพวกอนาธิปไตยรัสเซียมองภาพเดียว คือ ราชวงศ์โรมานอฟเป็นศัตรูต้องทำลายเหมือนกับการทำลายล้างราชวงศ์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกจับโดยกลุ่มอนาธิปไตยฝรั่งเศสที่เมืองวารอนส์ (Varennes) ในวันที่ 21 มิถุนายน 1791 ทั้งๆ ที่ทรงยอมรับรัฐธรรมนูญใหม่เขียนโดยกลุ่มกรรมาธิการปฏิวัติแห่งสภานิติบัญญัติ แต่ถูกตัดสินประหารชีวิตข้อหาทรยศต่อชาติ ในวันที่ 21 มกราคม 1793 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วยกับการประหาร 361 ไม่เห็นด้วย 288 และไม่ออกเสียง 72 เสียง เป็นเหตุให้มีการต่อต้านจากกลุ่มราชภักดีที่เมืองวังเด จนนำสู่ยุคหฤโหด (Regign of Terror) ที่นำโดยแมกซิมิเลียน โรเบสปิแอร์ (Masimillian Robespiere)
ความบ้าคลั่งของกลุ่มอนาธิปไตยนิยมที่ไม่ยอมรับระบอบหรือการปกครองโดยสถาบันกษัตริย์ที่ทำให้ปัญญาชนส่วนใหญ่และทหารส่วนหนึ่งไม่ยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสและรัสเซีย ซึ่งเป็นอันตรายต่อประเทศไทย ดังนั้นทหารกลุ่มหนึ่งจึงขอเข้าเฝ้า พลเอก พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกลาโหม เพื่อขอให้พระองค์ทรงรับตำแหน่งหัวหน้าคณะกู้บ้านเมือง และทรงนำทหารหัวเมืองเข้าต่อต้านรัฐบาลคณะราษฎรในวันที่ 11 ตุลาคม 2476 แต่ทรงพ่ายแพ้เมื่อพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ้น ท่าราบ) แม่ทัพหน้าฝ่ายทหารหัวเมืองถูกยิงเสียชีวิตขณะบัญชาการรบบริเวณทางรถไฟใกล้กับสถานีรถไฟหินลับ อำเภอปากช่อง นครราชสีมา ทำให้กองทัพทหารฝ่ายหัวเมืองขาดผู้นำและเสียขวัญถอยร่น กลายเป็นกบฏ เรียกว่า กบฏบวรเดช
อย่างไรก็ดี หลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร ได้แก่ จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศให้การประทุษต่อกันลดน้อยลง จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอกัน จะต้องให้ราษฎรมีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระเมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 6 ประการ ที่กล่าวไว้ข้างต้น จะต้องให้การศึกษาเต็มที่กับราษฎร
ซึ่งทุกข้อนั้นมีความสมบูรณ์ในตัวเอง และเป็นสิ่งที่มนุษย์แสวงหา แต่เกิดความเลยเถิดเมื่อนายถวัลย์ ฤทธิเดช ได้ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากกรณีที่พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ หรือเรียกกันว่า สมุดปกเหลืองที่เกิดความไม่ชอบธรรมต่อกลุ่มเจ้าและเจ้าของที่ดิน รวมถึงวิธีการปฏิรูปที่ดินขณะนั้น ขาดระบบที่ยุติธรรม ซึ่งหมายถึงอาจจะมีการแอบอ้างได้แล้วฮุบเอาที่ดินที่ควรตกเป็นของราษฎร จนเกิดรัฐประหารครั้งแรกระหว่างกลุ่มคณะราษฎร ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และปลดพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรก แล้วไปเลือกพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากทหารคนแรก จึงมีการล้างมลทินให้นายปรีดี พนมยงค์เกี่ยวกับนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่ไร้ความเป็นธรรมต่อกลุ่มเจ้าและเจ้าของที่ดิน และกรณีการฟ้องร้องต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7ให้เป็นโมฆะไป ซึ่งนับได้ว่าเป็นการแสดงเจตจำนงของทหารสายกลางครั้งแรก
โดยพื้นนิสัยในสายเลือดคนไทยแล้ว ย่อมรู้ดีว่าความเหมาะสมในเรื่องการปกครองที่สามารถยอมรับได้ มีลักษณะอย่างไร เพราะคนไทยมีวิจารณญาณที่ยอดเยี่ยมในการวิเคราะห์ถึงระบอบการปกครองต่าง ๆ ที่ในเชิงรัฐศาสตร์ที่มีมาตั้งแต่ พลาโต เมื่อ 2,500 ปี มาแล้ว จนถึงลูกศิษย์อริสโตตัล ผู้เป็นพระอาจารย์พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช รัฐศาสตร์เป็นตรรกะอันเป็นรากเหง้าของหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยที่คนไทยรับรู้ระบบความยุติธรรมและสิทธิมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้ว
ประชาคมโลกยอมรับการปกครองที่เป็นตรรกะมากที่สุดคือการปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือการใช้เสียงข้างมากในการออกกฎหมายปกครอง แต่ความละเอียดอ่อนอยู่ที่ขั้วชนะขั้วแพ้ ว่ามีมากน้อยกันอย่างไร และนี่แหละ คือ จุดอ่อนของประชาธิปไตย ดังนั้น หลักจริยธรรมและคุณธรรมเป็นเครื่องมือทำให้จิตใจสงบยอมรับความต่างแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่ปัจจุบัน ความเข้มข้นของกิเลสคนเพิ่มขึ้นมาก จึงดิ้นรนเพื่อเอาชนะให้ได้ทุกกรณี ทุกวิถีทาง ระบอบประชาธิปไตยของไทยจึงเพี้ยนไป เพราะมีการเรียนลัด มีการซื้อเสียงเพื่อจะมีเสียงข้างมากในสภา
ช่วงของการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมือง พ.ศ. 2475 ของไทยและการขยายตัวของลัทธิปลดปล่อยจากอำนาจอาณานิคมตะวันตกและเผด็จการฮิตเลอร์เปิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นตัวแปรที่ชาติสัมพันธมิตรตะวันตก จะต้องเลือกสนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์ต่อสู้กับเผด็จการ โดยรัฐบาลชาติตะวันตกให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ต่อต้านเผด็จการนาซี-เยอรมัน และจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น จนกองโจรคอมมิวนิสต์และพรรคคอมมิวนิสต์เข้มแข็ง แต่ครั้นสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดสงครามเย็นระหว่างค่ายโลกเสรีตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกากับค่ายคอมมิวนิสต์ นำโดยอดีตโซเวียตรัสเซีย ทำให้รัฐบาลเผด็จการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลชาติตะวันตกให้ทำลายพรรคคอมมิวนิสต์และกองกำลังติดอาวุธ
ประเทศไทยก็อยู่ในกระแสนี้ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นประเทศอาณานิคมของชาติตะวันตกใดๆ แต่ได้รับอิทธิพลทั้งจากอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตกและจักรวรรดินิยมแห่งญี่ปุ่น และขณะเดียวกันก็มีกลุ่มเสรีนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ และกลุ่มอนาธิปไตยไทยที่มีมุมมองแง่คิดและปรัชญาทางการเมืองต่างกันไป และหากจะมองความต่างนี้ก็เหมือนการมองถนนเส้นหนึ่งที่ทอดจากสายตาตัวเราเองจนสุดขอบฟ้าและไม่รู้ว่าที่ขอบฟ้านั้นเป็นอย่างไร
และจากแผลสงครามกลางเมืองย่อยระหว่างทหารไทยกับกันเองใน พ.ศ. 2476 และสงครามอุดมการณ์ระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2508 จน พ.ศ. 2525 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย ตัดสินใจยุติการสู้รบเพราะว่าถึงแม้ว่าจะชนะรัฐบาลไทยก็ตาม จะไม่ได้ปกครองประเทศไทยโดยตรง แต่จะมีการนำเข้าคณะกรรมาธิการบริหารจากพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามหรือกัมพูชา ตามแต่อิทธิพลของคอมมิวนิสต์สากลจะกำหนด ทำให้พลรบพรรคที่มีใจไทย ยุติการสู้รบกับคนไทยด้วยกัน (อ่านต่อวันศุกร์หน้า)
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ กลุ่มทหารที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ยกเว้นพวกที่จบจากโรงเรียนนายร้อยรัสเซีย ซึ่งมองเห็นการปฏิวัติเป็นการล้มล้างระบอบกษัตริย์ที่ทารุณเกินไป เพราะพวกอนาธิปไตยรัสเซียมองภาพเดียว คือ ราชวงศ์โรมานอฟเป็นศัตรูต้องทำลายเหมือนกับการทำลายล้างราชวงศ์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกจับโดยกลุ่มอนาธิปไตยฝรั่งเศสที่เมืองวารอนส์ (Varennes) ในวันที่ 21 มิถุนายน 1791 ทั้งๆ ที่ทรงยอมรับรัฐธรรมนูญใหม่เขียนโดยกลุ่มกรรมาธิการปฏิวัติแห่งสภานิติบัญญัติ แต่ถูกตัดสินประหารชีวิตข้อหาทรยศต่อชาติ ในวันที่ 21 มกราคม 1793 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วยกับการประหาร 361 ไม่เห็นด้วย 288 และไม่ออกเสียง 72 เสียง เป็นเหตุให้มีการต่อต้านจากกลุ่มราชภักดีที่เมืองวังเด จนนำสู่ยุคหฤโหด (Regign of Terror) ที่นำโดยแมกซิมิเลียน โรเบสปิแอร์ (Masimillian Robespiere)
ความบ้าคลั่งของกลุ่มอนาธิปไตยนิยมที่ไม่ยอมรับระบอบหรือการปกครองโดยสถาบันกษัตริย์ที่ทำให้ปัญญาชนส่วนใหญ่และทหารส่วนหนึ่งไม่ยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสและรัสเซีย ซึ่งเป็นอันตรายต่อประเทศไทย ดังนั้นทหารกลุ่มหนึ่งจึงขอเข้าเฝ้า พลเอก พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกลาโหม เพื่อขอให้พระองค์ทรงรับตำแหน่งหัวหน้าคณะกู้บ้านเมือง และทรงนำทหารหัวเมืองเข้าต่อต้านรัฐบาลคณะราษฎรในวันที่ 11 ตุลาคม 2476 แต่ทรงพ่ายแพ้เมื่อพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ้น ท่าราบ) แม่ทัพหน้าฝ่ายทหารหัวเมืองถูกยิงเสียชีวิตขณะบัญชาการรบบริเวณทางรถไฟใกล้กับสถานีรถไฟหินลับ อำเภอปากช่อง นครราชสีมา ทำให้กองทัพทหารฝ่ายหัวเมืองขาดผู้นำและเสียขวัญถอยร่น กลายเป็นกบฏ เรียกว่า กบฏบวรเดช
อย่างไรก็ดี หลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร ได้แก่ จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศให้การประทุษต่อกันลดน้อยลง จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอกัน จะต้องให้ราษฎรมีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระเมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 6 ประการ ที่กล่าวไว้ข้างต้น จะต้องให้การศึกษาเต็มที่กับราษฎร
ซึ่งทุกข้อนั้นมีความสมบูรณ์ในตัวเอง และเป็นสิ่งที่มนุษย์แสวงหา แต่เกิดความเลยเถิดเมื่อนายถวัลย์ ฤทธิเดช ได้ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากกรณีที่พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ หรือเรียกกันว่า สมุดปกเหลืองที่เกิดความไม่ชอบธรรมต่อกลุ่มเจ้าและเจ้าของที่ดิน รวมถึงวิธีการปฏิรูปที่ดินขณะนั้น ขาดระบบที่ยุติธรรม ซึ่งหมายถึงอาจจะมีการแอบอ้างได้แล้วฮุบเอาที่ดินที่ควรตกเป็นของราษฎร จนเกิดรัฐประหารครั้งแรกระหว่างกลุ่มคณะราษฎร ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และปลดพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรก แล้วไปเลือกพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากทหารคนแรก จึงมีการล้างมลทินให้นายปรีดี พนมยงค์เกี่ยวกับนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่ไร้ความเป็นธรรมต่อกลุ่มเจ้าและเจ้าของที่ดิน และกรณีการฟ้องร้องต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7ให้เป็นโมฆะไป ซึ่งนับได้ว่าเป็นการแสดงเจตจำนงของทหารสายกลางครั้งแรก
โดยพื้นนิสัยในสายเลือดคนไทยแล้ว ย่อมรู้ดีว่าความเหมาะสมในเรื่องการปกครองที่สามารถยอมรับได้ มีลักษณะอย่างไร เพราะคนไทยมีวิจารณญาณที่ยอดเยี่ยมในการวิเคราะห์ถึงระบอบการปกครองต่าง ๆ ที่ในเชิงรัฐศาสตร์ที่มีมาตั้งแต่ พลาโต เมื่อ 2,500 ปี มาแล้ว จนถึงลูกศิษย์อริสโตตัล ผู้เป็นพระอาจารย์พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช รัฐศาสตร์เป็นตรรกะอันเป็นรากเหง้าของหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยที่คนไทยรับรู้ระบบความยุติธรรมและสิทธิมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้ว
ประชาคมโลกยอมรับการปกครองที่เป็นตรรกะมากที่สุดคือการปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือการใช้เสียงข้างมากในการออกกฎหมายปกครอง แต่ความละเอียดอ่อนอยู่ที่ขั้วชนะขั้วแพ้ ว่ามีมากน้อยกันอย่างไร และนี่แหละ คือ จุดอ่อนของประชาธิปไตย ดังนั้น หลักจริยธรรมและคุณธรรมเป็นเครื่องมือทำให้จิตใจสงบยอมรับความต่างแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่ปัจจุบัน ความเข้มข้นของกิเลสคนเพิ่มขึ้นมาก จึงดิ้นรนเพื่อเอาชนะให้ได้ทุกกรณี ทุกวิถีทาง ระบอบประชาธิปไตยของไทยจึงเพี้ยนไป เพราะมีการเรียนลัด มีการซื้อเสียงเพื่อจะมีเสียงข้างมากในสภา
ช่วงของการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมือง พ.ศ. 2475 ของไทยและการขยายตัวของลัทธิปลดปล่อยจากอำนาจอาณานิคมตะวันตกและเผด็จการฮิตเลอร์เปิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นตัวแปรที่ชาติสัมพันธมิตรตะวันตก จะต้องเลือกสนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์ต่อสู้กับเผด็จการ โดยรัฐบาลชาติตะวันตกให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ต่อต้านเผด็จการนาซี-เยอรมัน และจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น จนกองโจรคอมมิวนิสต์และพรรคคอมมิวนิสต์เข้มแข็ง แต่ครั้นสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดสงครามเย็นระหว่างค่ายโลกเสรีตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกากับค่ายคอมมิวนิสต์ นำโดยอดีตโซเวียตรัสเซีย ทำให้รัฐบาลเผด็จการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลชาติตะวันตกให้ทำลายพรรคคอมมิวนิสต์และกองกำลังติดอาวุธ
ประเทศไทยก็อยู่ในกระแสนี้ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นประเทศอาณานิคมของชาติตะวันตกใดๆ แต่ได้รับอิทธิพลทั้งจากอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตกและจักรวรรดินิยมแห่งญี่ปุ่น และขณะเดียวกันก็มีกลุ่มเสรีนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ และกลุ่มอนาธิปไตยไทยที่มีมุมมองแง่คิดและปรัชญาทางการเมืองต่างกันไป และหากจะมองความต่างนี้ก็เหมือนการมองถนนเส้นหนึ่งที่ทอดจากสายตาตัวเราเองจนสุดขอบฟ้าและไม่รู้ว่าที่ขอบฟ้านั้นเป็นอย่างไร
และจากแผลสงครามกลางเมืองย่อยระหว่างทหารไทยกับกันเองใน พ.ศ. 2476 และสงครามอุดมการณ์ระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2508 จน พ.ศ. 2525 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย ตัดสินใจยุติการสู้รบเพราะว่าถึงแม้ว่าจะชนะรัฐบาลไทยก็ตาม จะไม่ได้ปกครองประเทศไทยโดยตรง แต่จะมีการนำเข้าคณะกรรมาธิการบริหารจากพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามหรือกัมพูชา ตามแต่อิทธิพลของคอมมิวนิสต์สากลจะกำหนด ทำให้พลรบพรรคที่มีใจไทย ยุติการสู้รบกับคนไทยด้วยกัน (อ่านต่อวันศุกร์หน้า)