xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ-พม่าสถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#3366ff>สร้างประวัติศาสตร์-- ภาพรอยเตอร์วันที่ 16 ส.ค.2552 วุฒิสมาชิกจิม เว็บบ์ ก้าวลงจากเครื่องบินที่ท่าอากาศยานทหารในกรุงเทพฯ หลังเยือนพม่า 3 วันซึ่งได้พบ กับ พล.อ.ตานฉ่วย ผู้นำสูงสุด กับ นางอองซานซูจี  ผู้นำฝ่ายค้านที่ถูกกักบริเวณ และ ยังสามารถโน้มน้าวขอให้พม่าปล่อยนักโทษชาวอเมริกันผู้หนึ่งที่ถูกตัดสินจำคุกพร้อมนางซูจีได้สำเร็จอีกด้วย.</FONT></bR>

ย่างกุ้ง (รอยเตอร์)-- วุฒิสมาชิกจากสหรัฐฯ ได้พบหารือกับผู้นำสูงสุดของพม่า พร้อมกับผู้นำฝ่ายค้านของประเทศนั้น ขณะเดียวกันก็สามารถชักชวนให้พม่าปล่อยนักโทษชาวอเมริกันคนหนึ่งได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการเปิดทางใหม่ๆ สู่ความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้นกับประเทศที่ถูกโดดเดี่ยวจากโลกตะวันตก

วุฒิสมาชิกจิม เว็บบ์ (Jim Webb) พรรคดีโมแครตแห่งรัฐเวอร์จิเนีย เดินทางถึงกรุงเทพฯ ในวันอาทิตย์ (16 ส.ค.) และให้สัมภาษณ์ที่ท่าอากาศยานกรุงย่างกุ้งว่า กำลังจะเดินทางจากพม่าพร้อมกับนายจอห์น เยตทอว์ (John Yettaw) ชาวอเมริกันวัย 54 ปีที่ว่ายน้ำข้ามบึงใหญ่ในกรุงย่างกุ้งไปยังบ้านพักของนางอองซานซูจี และนำมาซึ่งปัญหาทั้งหลายทั้งปวงในช่วง 2-3 เดือนมานี้ รวมทั้งเจ้าของบ้านถูกกักบริเวณอีกครั้งหนึ่ง

วุฒิสมาชิกเว็บบ์ได้เข้าเยี่ยมคำนับหารือข้อราชการกับ พลเอกอาวุโสตานฉ่วย ประธานคณะสภาเพื่อสั้นติภาภและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council) ซึ่งเป็นองค์กรของคณะปกครองทหาร ในเมืองเนย์ปีดอ (Naypyidaw) เมื่อวันเสาร์ ก่อนเดินทางไปยังกรุงย่างกุ้งและพบกับนางซูจีที่เรือนรับรองของรัฐบาล

นายเว็บบ์กล่าวว่า (ระหว่างพบกับ พล.อ.ตานฉ่วย) ได้เรียกร้องให้พม่าปล่อยนางอองซานซูจี และเมื่อถูกถามถึงท่าทีของผู้นำพม่า เขาตอบว่า "ผมเปี่ยมด้วยความหวังเกี่ยวกับเรื่องนี้"

นายเยตทอว์ถูกนำตัวจากเรือนจำอิงเส่ง Insein) กรุงบางกุ้งตรงไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ และ เข้าร่วมทีมของวุฒิสมากเว็บบ์ที่นั่น เครื่องบินทหารเที่ยวบินพิเศษออกเดินทางเวลาประมาณ 13:30 น.มุ่งสู่กรุงเทพฯ

ทางการพม่าอนุญาตให้งวุฒิสมาชิกจากสหรัฐฯ พบสนทนากับนางอองซานซูจีเป็นเวลาประมาณ 45 นาที หลังจากก่อนหน้านั้นๆได้พลกับสมาชิกสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy) ของนางซูจี กับพรรคการเมืองอื่นๆ ที่ลงทะเบียนจะเข้าร่วมการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นในปีหน้า ทั้งหมดได้รับเชิญจากรัฐบาลให้เดินทางไปยังเนย์ปีดอ

"เขา (นายเว็บบ์) ต้องการทราบความคิดเห็นของพรรคการเมืองต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน" นายตานทุน (Than Tun) ผู้นำอาวุโสวัย 88 ปีของ NLD กล่าวกับรอยเตอร์เมื่อวันอาทิตย์
<br><FONT color=#3366ff>ตัวปัญหา-- ภาพรอยเตอร์วันที่ 156 ส.ค.2552 นายจอห์น เยตทอว์ เดินทางถึงกรุงเทพฯ พร้อมคณะวุฒิสมาชิกจิม เว็บบ์ นักโทษชาวอเมริกันผู้นี้ถูกศาลพม่าตัดสินจำคุก 7 ปี หลังจากว่ายน้ำข้ามบึงใหญ่ไปยังบ้านพักของนางอองซานซูจีต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาและถูกดำเนินคดีพร้อมกัน ฝ่ายเจ้าของบ้านถูกตัดสินจำคุก 3 ปี แต่ได้การลดหย่อนโทษกึ่งหนึ่ง.</FONT></bR>
"เราคิดว่าการเยือนของเขาจะนำไปสู่การปฏิบัติความปรองดองอะไรสักอย่างในประเทศของเรา" นายทุนกล่าว

แต่ผู้สังเกตการณ์คนอื่นๆ ยังคงรู้สึกเจ็บปวดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับนางซูจี

"ผลการเยือนที่เป็นรูปธรรมที่สุดของเขาก็คือ การปล่อยตัวนายเยตทอว์ คนที่ทำให้ทุกสิ่งทุกอดย่างยุ่งเหยิง" นายทาคินชันทุน (Takhin Chan Tun) อดีตเอกอัครราชทูตพม่าประจำเกาหลีเหนือกล่าว ทั้งยังย้ำอีกว่า สำหรับนางอองซานซูจีซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ 100% ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยังคงถูกกักบริเวณในบ้านพัก

ทางการทหารพม่ากล่าวว่า การที่นายเยตทอว์พักอยู่ในบ้านนางซูจีเป็นเวลาสองวันนั้น เป็นการขัดต่อข้อตกลงกักบริเวณก่อนหน้านั้น

นางซูจีถูกศาลตัดสินในอังคาร (11 ส.ค.) ที่แล้ว ให้จำคุก 3 ปีฐานกระทำผิดต่อกฎหมายความมั่นคง แต่ทันที่ที่ศาลอ่านคำพิพากษาแล้วเสร็จ รัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในของพม่าก็ได้ประกาศลดหย่อนโทษ ให้นางซูจีเหลือกึ่งหนึ่ง ส่วนนายเยตทอว์ถูกตัดสินลงโทษ 7 ปี ในความผิดถึง 3 กระทง รวมทั้งข้อหา "ว่ายน้ำในสถานที่ไม่อนุญาต" ส่วนแม่บ้านของนางซูจีอีก 2 คนได้รับโทษหลดหลั่นกันไป

นักโทษชาวอเมริกันสุขภาพไม่ค่อยจะดี รัฐบาลทหารพม่าต้องจัดแพทย์ไปตรวจรักษาระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำในเดือนนี้

**สหรัฐฯยังห้ามลงทุนในพม่า**

นางซูจีเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศ และ ถูกรัฐบาลทหารกักบริเวณให้อยู่ในบ้านพักรวมเป็นเวลาประมาณ 14 ปี ในช่วง 20 ปีมานี้ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ กล่าวก่อนหน้านี้ว่าการพิกาษานางซูจีขัดต่อหลักการพื้นฐานสิทธิมนุษยชน และเรียกร้องให้ปล่อยตัวผุ้นำฝ่ายค้านในทันที

เดือน พ.ค.นายโอบามาได้สั่งขยายเวลาคว่ำบาตรต่อพม่าที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2540 ออกไปอีก 1 ปี เนื่องจากการกดขี่ปราบปรามทางการเมืองในประเทศนั้น รวมทั้งยังต่ออายุการคว่ำบาตรนำเข้าสินค้าสำคัญจากพม่าด้วย

ก่อนหน้าจะมีการพิพากษาคดีนางอองซานซูจี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นางฮิลลารี คลินตัน ได้แสดงความปรารถนาที่จะมีสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้นกับพม่า แต่ก็มีเงื่อนสำคัญคือ ต้องปล่อยผู้นำฝ่ายค้านกับนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ทั้งหมด

วุฒิสมาชิกเว็บบ์ซึ่งเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการเอเชียแปซิฟิก คณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้กลายเป็นเจ้าหน้าที่ทางการระดับสูงสุดคนแรกที่เดินทางไปเยือนพม่าอย่างเป็นทางการในช่วงเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา
<br><FONT color=#3366ff>ภาพจากเอเอฟพีวันที่ 15 ส.ค.2552 วุฒิสมาชิกจิม เว็บบ์ พบกับนางอองซานซูจีเป็นเวลา 45 นาทีในวันเดียวกัน ที่เรือนรับรองของรัฐบาลในกรุงย่างกุ้ง ภาพนี้เผยแพร่โดยสำนักงานของวุฒิสมาชิกเว็บบ์ในกรุงวอชิงตันดีซี นายเว็บกล่าวว่าเขาเองมีความหวังว่าพม่าจะปล่อยนางซูจี</FONT></bR>
สำนักงานของนายเว็บบ์ออกคำแถลงฉบับหนึ่งเมื่อวันอาทิตย์นี้ ระบุว่าเขาเป็น "ชาวอเมริกันคนแรกที่ได้พบกับประธานาธิบดีตานฉ่วยแห่งพม่า"

วุฒิสมาชิกเว็บเป็นอดีตทหารผ่านศึกเวียดนามและสามารถพูดภาษาเวียดนามได้ ก่อนหน้าเคยดำรงตำแหน่งวรัฐมนตรีทบวงทหารเรือในสมัยรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan) เมื่อต้นปีนี้ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า สหรัฐฯ ควรจะใช้การปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์กับรัฐบาลทหารพม่าให้มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามนายเว็บบ์ยอมรับในเวลาต่อมาว่า การฟ้องร้องและไต่สวนนางอองซานซูจีในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้การปฏิบัตินโยบายอลุ้มอล่วยเป็นไปได้ยาก

ตลอดหลายปีมานี้สหรัฐฯ ได้ใช้นโยบายคว่ำบาตรเพื่อกดดันให้ผู้นำทหารพม่าปล่อยนักโทษการเมือง แต่ก็ประสบผลสำเร็จเพียงน้อยนิด

หลายประเทศในเอเชียรวมทั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนที่พม่าร่วมเป็นสมาชิกอยู่ด้วย โต้แย้งว่าการเจรจาและค้าขายกับประเทศที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากรอย่างพม่าน่าจะดีกว่า พม่ามีที่ตั้งอันเหมาะสมอยู่ระหว่างอินเดียกับจีน

อย่งไรก็ตามประเทศไทย กำลังพยายามหยั่งเสียงสมาชิกของกลุ่ม เพื่อขอให้พม่าอภัยโทษนางซูจี.
กำลังโหลดความคิดเห็น