ASTVผู้จัดการรายวัน - ทูตอังกฤษดันก้น "มาร์ค" เพิ่มมาตรการ "แซงชั่น" พม่า จากกรณีสั่งจำคุก "อองซานซูจี" นายกฯ ให้เวลา "กษิต" 3-4 วัน หารือประเทศสมาชิกอาเซียนกำหนดจุดยืน
เมื่อวานนี้ (13ส.ค.) นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ห้องทำงานตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาลว่า ได้หารือถึงกรณีที่ศาลประเทศพม่า ตัดสินจำคุกนางอองซาน ซูจี ต่ออีก 18 เดือน ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าสำคัญมาก โดยประชาคมนานาชาติได้ประณามการตัดสินของศาลพม่าในคดีนี้ และทางนายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ออกแถลงการณ์ประณามอย่างรุนแรง
"ผมเห็นด้วยกับแถลงการณ์ที่รัฐบาลไทยออกมาในฐานะที่เป็นประธานอาเซียน ที่บอกว่าควรจะมีการปล่อยนักโทษทุกคนทันที และการตัดสินของศาลก็ไม่ได้ช่วยให้มีความก้าวหน้าในอนาคตทางการเมืองของพม่าเลย" เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางอียู จะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการแซงชั่นพม่าหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ใช้ไม่ได้ผล นายควินตัน เควลย์ กล่าวว่า เรากำลังพิจารณาอยู่ เรามีการลงโทษหรือแซงชั่น มาตรการต่างๆ ซึ่งเป้าหมายที่มีมาตรการเหล่านี้ ไม่ใช่ทำกับพม่า แต่เราพยายามที่จะมีเป้าหมายไปที่รัฐบาลพม่า โดยเฉพาะทหารพม่า ซึ่งเรากำลังจะพิจารณาว่าจะทำอะไรเพื่อที่จะให้มีปฏิกิริยาของนานาชาติที่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการตัดสินของศาลพม่า
"ขณะนี้เรากำลังพิจารณากันในสหภาพยุโรป และในยูเอ็นด้วย ซึ่งจะหารือกันเร็วๆนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่พม่าควรจะมีการเลือกตั้งอย่างอิสระ และทุกฝ่ายควรจะมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ออง ซาน ซูจี การที่ ออง ซานซูจี ถูกลงโทษก็เป็นวิธีที่จะกีดกันไม่ให้ ออง ซานซูจี มีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง ซึ่งก็แย่มาก และแม้ว่าทางรัฐบาลทหารพม่าจะไม่แคร์ แต่พม่าเป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งทางกลุ่มประเทศอาเซียน ก็ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยมาแล้ว และหลายประเทศเขาก็จะพยายามทำความเข้าใจกับพม่า เพราะพม่าจะเป็นอย่างนี้ไม่ได้ ผมอยากจะเปรียบเทียบสถานการณ์ในพม่ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยที่ผมอยู่ที่ประเทศไทยมาแล้ว 30 ปี สมัยนั้นนายกฯไทย ยังเป็นนักเรียนอยู่ ส่วนผมเป็นนักการทูต หลัง 6 ตุลา และ 14 ตุลา ที่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในประเทศไทย ตอนนั้นประชาคมนานาชาติไม่ได้เงียบ ได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจนว่า เรารับไม่ได้ คนไทยก็คงจำกันได้ดี ดังนั้นก็ต้องอธิบายให้พม่าเห็นว่า กรณีนี้เรารับไม่ได้ และเราก็อยากให้พม่ามีความก้าวหน้าทางการเมือง" เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าว
เมื่อถามว่าได้หารือเพื่อขอให้มีการเรียกประชุมผู้นำอาเซียนเป็นกรณีเร่งด่วนหรือไม่ นายควินตัน เควลย์ กล่าวว่า เข้าใจว่านายกฯ และรมว.ต่างประเทศของไทย กำลังหารือกับประเทศอาเซียนว่าจะทำอะไรต่อไป นอกจากการออกแถลงการณ์แล้ว ก็ต้องลองดู
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ จะใช้เวลา 3-4 วัน ในการพิจารณาหารือกับประเทศอาเซียนอื่นๆ และในช่วงที่ตนเดินทางไปเยือนประเทศฟิลิปปินส์ ก็จะหารือกับนางกอเรีย อาลาโย่ นายกฯฟิลิปปินส์ เพราะดีที่สุดคือการที่อาเซียน มีจุดร่วมกำหนดเส้นทางเดินต่อไป.
เมื่อวานนี้ (13ส.ค.) นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ห้องทำงานตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาลว่า ได้หารือถึงกรณีที่ศาลประเทศพม่า ตัดสินจำคุกนางอองซาน ซูจี ต่ออีก 18 เดือน ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าสำคัญมาก โดยประชาคมนานาชาติได้ประณามการตัดสินของศาลพม่าในคดีนี้ และทางนายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ออกแถลงการณ์ประณามอย่างรุนแรง
"ผมเห็นด้วยกับแถลงการณ์ที่รัฐบาลไทยออกมาในฐานะที่เป็นประธานอาเซียน ที่บอกว่าควรจะมีการปล่อยนักโทษทุกคนทันที และการตัดสินของศาลก็ไม่ได้ช่วยให้มีความก้าวหน้าในอนาคตทางการเมืองของพม่าเลย" เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางอียู จะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการแซงชั่นพม่าหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ใช้ไม่ได้ผล นายควินตัน เควลย์ กล่าวว่า เรากำลังพิจารณาอยู่ เรามีการลงโทษหรือแซงชั่น มาตรการต่างๆ ซึ่งเป้าหมายที่มีมาตรการเหล่านี้ ไม่ใช่ทำกับพม่า แต่เราพยายามที่จะมีเป้าหมายไปที่รัฐบาลพม่า โดยเฉพาะทหารพม่า ซึ่งเรากำลังจะพิจารณาว่าจะทำอะไรเพื่อที่จะให้มีปฏิกิริยาของนานาชาติที่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการตัดสินของศาลพม่า
"ขณะนี้เรากำลังพิจารณากันในสหภาพยุโรป และในยูเอ็นด้วย ซึ่งจะหารือกันเร็วๆนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่พม่าควรจะมีการเลือกตั้งอย่างอิสระ และทุกฝ่ายควรจะมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ออง ซาน ซูจี การที่ ออง ซานซูจี ถูกลงโทษก็เป็นวิธีที่จะกีดกันไม่ให้ ออง ซานซูจี มีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง ซึ่งก็แย่มาก และแม้ว่าทางรัฐบาลทหารพม่าจะไม่แคร์ แต่พม่าเป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งทางกลุ่มประเทศอาเซียน ก็ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยมาแล้ว และหลายประเทศเขาก็จะพยายามทำความเข้าใจกับพม่า เพราะพม่าจะเป็นอย่างนี้ไม่ได้ ผมอยากจะเปรียบเทียบสถานการณ์ในพม่ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยที่ผมอยู่ที่ประเทศไทยมาแล้ว 30 ปี สมัยนั้นนายกฯไทย ยังเป็นนักเรียนอยู่ ส่วนผมเป็นนักการทูต หลัง 6 ตุลา และ 14 ตุลา ที่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในประเทศไทย ตอนนั้นประชาคมนานาชาติไม่ได้เงียบ ได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจนว่า เรารับไม่ได้ คนไทยก็คงจำกันได้ดี ดังนั้นก็ต้องอธิบายให้พม่าเห็นว่า กรณีนี้เรารับไม่ได้ และเราก็อยากให้พม่ามีความก้าวหน้าทางการเมือง" เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าว
เมื่อถามว่าได้หารือเพื่อขอให้มีการเรียกประชุมผู้นำอาเซียนเป็นกรณีเร่งด่วนหรือไม่ นายควินตัน เควลย์ กล่าวว่า เข้าใจว่านายกฯ และรมว.ต่างประเทศของไทย กำลังหารือกับประเทศอาเซียนว่าจะทำอะไรต่อไป นอกจากการออกแถลงการณ์แล้ว ก็ต้องลองดู
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ จะใช้เวลา 3-4 วัน ในการพิจารณาหารือกับประเทศอาเซียนอื่นๆ และในช่วงที่ตนเดินทางไปเยือนประเทศฟิลิปปินส์ ก็จะหารือกับนางกอเรีย อาลาโย่ นายกฯฟิลิปปินส์ เพราะดีที่สุดคือการที่อาเซียน มีจุดร่วมกำหนดเส้นทางเดินต่อไป.