xs
xsm
sm
md
lg

พม่าให้ "จำคุก" อองซานซูจี 18 เดือนในบ้านพัก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#3366FF>กลับสู่วิมานของเรา-- ภาพถ่ายวันที่ 4 ก.ค.2552 มองข้ามทะเลสาบอินยา (Inya Lake) ในกรุงย่างกุ้ง บ้านพักของนางอองซานซูจีเป็นบ้านร้าง มีเพียงหญิงรับใช้สองคนดูแล เจ้าของบ้านกำลังจะกลับไปอยู่ที่นี่อีกครั้งหนึ่งหลังออกจากบ้านไปนานข้ามเดือน แต่กลับไปคราวนี้เป็นการถูกลงโทษ จำคุก ในบ้านของตัวเอง ตามคำสั่งของศาลพม่า.</FONT></bR>

ASTVผู้จัดการออนไลน์/รอยเตอร์-- ศาลพม่าได้พิพากษาเมื่อวันอังคาร (11 ส.ค.) ให้จำคุกผู้นำฝ่ายค้านเป็นเวลา 3 ปี ในความผิดต่อกฎหมายความมั่นคงภายใน ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการตัดสินเช่นนี้กำลังจะทำให้ชาติตะวันตกไม่พึงพอใจอย่างยิ่งและพม่ายิ่งจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวต่อไป

ศาลได้ตัดสินจำคุกเป็นเวลา 3 ปี แต่ขณะเดียวกันก็ได้สั่งลดระยะเวลาโทษจำคุกลงเหลือ 1 ปีกับ 6 เดือน ตามคำสั่งของรัฐบาล ซึ่งพร้อมๆ กันนั้นได้สั่งให้กักบริเวณนางซูจีในบ้านพัก แทนการกักขังในเรือนจำอิงเส่ง (Insein) กรุงย่างกุ้ง ที่ตั้งของศาลดังกล่าว

การพิพากาษาตัดสินดังกล่าวได้เป็นที่คาดหมายของหลายฝ่ายก่อนหน้านี้ ขณะที่กล่าวหาทางการพม่าว่าพยายามเสกสรรปั้นแต่งความผิดให้แก่ผู้นำฝ่ายค้าน เพื่อหาทางกีดกันออกไปจากการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นในปีหน้า

การจับกุมและตั้งข้อกล่าวหามีขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์ที่น่าประหลาด โดยนายจอห์น เยตทอว์ (John Williams Yettaw) ชายชาวอเมริกันวัย 53 ปี ว่ายน้ำข้ามบึงใหญ่อินเล (Inle Lake) ไปยังบ้านพักนางซูจี โดยให้การว่าเพื่อนำคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ไปมอบให้แก่ผู้นำฝ่ายค้านที่อาจจะถูกลอบสังหาร และ ถือโอกาสพักที่นั่นเป็นเวลา 3 วัน แม้ว่าเจ้าของบ้านกับหญิงรับใช้จะได้ขอร้องให้ออกไปก็ตาม

แทนที่จะเอาผิดกับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัย ทางการพม่ากลับเอาผิดกับเจ้าของบ้าน ทั้งๆ ที่ทางเข้าไปสู่บ้านพักของนางซูจี ที่ถนนมหาวิทยาลัย (University Boulevard) ถูกปิดตายตลอดเวลา และ จัดตั้งด่านตรวจ จัดเวรยามรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด

นายเยตทอว์เคยลักลอบเข้าไปยังบ้านพักของนางซูจีครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว เจ้าของบ้านได้แจ้งให้ทางการทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้และขอการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
<br><FONT color=#3366FF>ไม่มีใครช่วยได้-- ภาพแฟ้มรอยเตอร์วันที่ 10 มี.ค.2551 ทางการพม่าจัดให้ผู้นำฝ่ายค้านได้พบกับนายอิบรอฮิม แกมบารี (Ibrahim Gambari) ทูตพิเศษสหประชาชาติที่เรือนรับรองในกรุงย่างกุ้ง ต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา เลขาธิการใหญ่สหประชาชาตินายบันคีมูน (Ban Kimoon) เดินทางเยือนพม่า แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้พบ ไม่กี่วันต่อมาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีข้อมติเรียกร้องให้รัฐบาลทหารปล่อยตัวนางซูจี แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น</FONT></bR>
นางซูจีถูกกักบริเวณในบ้านพักหลังนี้เป็นเวลารวมกันประมาณ 13 ปี ตลอดเวลา 19 ปีมานี้ รัฐบาลทหารเพิ่งสั่งยกเลิกการกักบริเวณไปในเดือน มิ.ย. ขณะที่นางซูจีถูกนำขึ้นไต่สวนในศาลที่เรือนจำอิงเส่ง ท่ามกลางเสียงประณามของประชาคมระหว่างประเทศ

การไต่สวนคดีนางซูจีระยะแรกๆ ทางการไม่อนุญาตให้ผู้ใดเข้าเป็นสักขีพยาน แม้กระทั่งที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัว แต่หลังจากถูกกดดันจากประชาคมระหว่างประเทศอย่างหนัก รัฐบาลทหารได้ยอมผ่อนคลายกฎเหล็กต่างๆ และ อนุญาตให้ทีมกฎหมายของผู้นำฝ่ายค้านเข้าร่วมในการไต่สวนได้

ทางการพม่าเปิดการไต่สวนคดีผู้นำฝ่ายค้านรอบสุดท้ายในสัปดาห์ปลายเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาและนัดหมายล่วงหน้า จะมีการอ่านคดตัดสินในวันจันทร์นี้

เช้าวันเดียวกันชาวพม่าพลัดถิ่นในหลายประเทศ รวมทั้งในกรุงโซล ของเกาหลี ในกรุงโตเกียว และในกรุงเทพฯ ได้จัดชุมนุมประท้วงเรียกร้องอีกครั้งหนึ่งให้รัฐบาลทหารปล่อยตัวนางซูจีกับนักโทษการเมืองคนอื่นๆ อย่างไม่มีเงื่อนไข
<br><FONT color=#3366FF>ภาพเอเอฟพีวันที่ 11 ส.ค.2552 ชาวพม่าพลัดถิ่นในกรุงโตเกียวราว 100 คน ไปชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานทูตพม่า เรียกร้องให้ปล่อยตัวนางซูจีกับนักโทษการเมืองทั้งหมด วันเดียวกับที่ศาลตัดสินให้ผู้นำฝ่ายค้านถูก จำคุก ในบ้านของตัวเองอีก 18 เดือน </FONT></bR>
คณะปกครองทหารได้ใช้เวลานานหลายปีในการจัดร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา ก่อนให้ลงประชามติรับรองในเดือน พ.ค.ปีที่แล้ว ท่ามกลางความหายนะจากพายุนาร์กิสที่พัดกระหน่ำเข้าทำลายเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี และมีผู้เสียชีวิตกับสูญหายเกือบ 300,000 คน

การลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังมีขึ้นท่ามกลางการกล่าวหาขาดความโปร่งใส ไม่เป็นประชาธิปไตยและชี้นำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

พม่าถูกปกครองโดยคณะทหารติดต่อกันมาตลอดเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2505 บรรดาขุนทหารได้ผลัดกันขึ้นครองอำนาจผ่านการยึดอำนาจและการรัฐประหารเงียบ และเปลี่ยนชื่อองค์กรการปกครองมาแล้วหลายครั้ง
<br><FONT color=#3366FF>ภาพเอเอฟพีวันที่ 11 ส.ค.2552 กลุ่มนักเคลื่อนไหวประาธิปไตยในเกาหลี ผนึกกำลังกับชาวพม่าพลัดถิ่น ชุมนุมเรียกร้องที่หน้าสถานทูตพม่าในกรุงโซล เรียกร้องในเรื่องเดียวกัน  </FONT></bR>
คณะปกครองชุดปัจจุบันที่นำโดย พลเอกอาวุโสตานฉ่วย (Than Shwe) ได้ "ยึดอำนาจเงียบ" จากคณะของพลเอกซอหม่อง (Zaw Maung) หลังจากทำการปราบปรามประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งใหญ่ในปี 2531 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตและสูญหายกว่า 3,000 คน

นางซูจีเคยนำพรรคฝ่ายค้านสู่ชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งปี 2532 แต่ถูก “ปล้นอำนาจ” เนื่องจากคณะปกครองทหารไม่ยอมก้าวลงจากอำนาจ

คณะปกครองทหารได้ปราบปรามประชาชนที่เดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างสงบอีกครั้งหนึ่งในเดือน ก.ย.2550 การเดินขบวนเริ่มขึ้นในกรุงยางกุ้ง โดยมีพระสงฆ์นำหน้า และเริ่มจากประเด็นความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจหลังจากรัฐบาลขึ้นราคาก๊าซและน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดถึง 600% โดยไม่มีการประกาศล่วงหน้า

ต่อมาการประท้วงได้ขยายวงไปสู่ประเด็นทางการเมือง เกิดการเรียกร้องประชาธิปไตย และขยายออกไปยังตัวเมืองต่างๆ รวมทั้งเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสอง เมืองพะโค (Bago) ที่อยู่ใกล้ชายแดนไทย กระทั่งในรัฐที่อยู่ห่างไกลออกไปเช่น สะกาย (Sagaing) กับ ยะไข่ (Rakhine) กระทั่งในเมืองเล็กๆ อีกหลาย
แห่ง
<br><FONT color=#3366FF>ภาพรอยเตอร์วันที่ 11 ส.ค.2552 ชาวพม่าที่อาศัยทำกินในประเทศไทย จัดชุมนุมที่หน้าสถานทูตถนนสาธรเหนือ เรียกร้องให้รัฐบาลทหารปล่อยนางอองซานซูจีกับนักโทษการเมืองทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไข วันเดียวกับศาลในกรุงย่างกุ้งได้ตัดสินจำคุกผู้นำฝ่ายค้าน 3 ปีแต่ลดโทษให้เหลือปีครึ่ง และให้ จำคุก ในบ้านพักของตัวเอง </FONT></bR>
ทางการกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิตเพียงประมาณ 30 คน ในเหตุการณ์เดินขบวน แต่หน่วยงานสิทธิมนุษยชนกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่านั้นหลายเท่าตัว

พม่าเป็นดินแดนที่อุดมมั่งมีด้วยทรัพยากรล้ำค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด นอกจากนั้นยังมีแร่สำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด เป็นแหล่งผลิตพลอยคุณภาพดีที่สุดของโลกเพียงแห่งเดียวในปัจจุบัน แต่ถึงกระนั้นก็ยังเป็นประเทศที่หล้าหลัง ประชาชนยังยากจนติดอันดับต้นๆ ของโลก

หลายประเทศในเอเชียทวีปรวมทั้งจีน อินเดีย ไทยและเกาหลี ต่างถือโอกาสเข้าเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในพม่า ขณะที่โลกตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลทหาร กดดันเพื่อให้ปฏิรูปประชาธิปไตย ซึ่งหลายฝ่ายกล่าวว่าไม่ใช่มาตรการที่ใช้ได้ผล.
กำลังโหลดความคิดเห็น