xs
xsm
sm
md
lg

เสี่ยตานฉ่วยรวย $4 พันล้านช่วยชาวบ้านกะจี๊ดเดียว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000>  ภาพถ่ายวันที่ 10 พ.ค.2551 ใกล้กับเมืองกุงย่างกุ้ง ชาวบ้านที่รอดชีวิตจากไซโคลนเดินผ่านซากควาย 3 ตัวที่กำลังขึ้นอืดเน่าในบริเวณเดียวกัน ต้องใช้มือปิดจมูกป้องกันกลิ่นเหม็น (ภาพ: Reuters)  </FONT></CENTER>
พลาดคลิปมหาวิวาห์เมื่อปีก่อน?
คลิกที่นี่เลย

ผู้จัดการรายวัน-- นักวิเคราะห์กล่าวว่าบรรดานายพลในคณะปกครองทหารพม่าพากันนั่งอยู่บนความร่ำรวยมหาศาล แต่ควักออกมาเพียงไม่กี่ล้านดอลลาร์สำหรับประชาชนนับล้านๆ ที่ประสบภัยพาในขณะที่ประชาคมระหว่างประเทศประกาศให้ความช่วยเหลือรวมกันนับร้อยล้านดอลลาร์ในขณะนี้

เหล่านายพลผู้นำระดับสูงของพม่าใช้เงินทองมากมายในการย้ายเมืองหลวงและใช้เวลาเพียงข้ามปีเนรมิตเมืองเนย์ปีดอ (Naypyidaw) ขึ้นมาใหม่จากสภาพเดิมที่เป็นเพียงป่าละเมาะในเขตป่าเขาทางภาคกลางของประเทศ แล้วขนานนามเป็น "ราชธานีแห่งมหากษัตริยาธิราช"

งานแต่งของธิดาผู้นำสูงสุดพม่าเมื่อปี 2549 ซึ่งจัดขึ้นในคฤหาสน์หลังใหญ่ มีการเปิดแชมเปญเลี้ยงฉลองแบบหรูหรา ล้วนเป็นพยานแวดล้อมที่ช่วยบ่งชี้ให้เห็นความร่ำรวยของผู้คนในวงการนำของประเทศและทั้งหมดแสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้นำชั้นบนสุดของประเทศ "เลือกที่จะจ่าย"

รัฐบาลทหารในเมืองเนย์ปีดอประกาศจะใช้เงินเพียงประมาณ 4 ล้านดอลลาร์ในการช่วยเหลือประสบเคราะห์ ขณะเดียวกันก็ปิดกั้นการช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศ
<CENTER><FONT color=#FF0000> ผู้รอดชีวิตเดินไปที่ซากหักพังกลางทุ่งนาซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเคยเป็นบ้านของเขาเอง ศพผู้เสียชีวิต 1 ศพขึ้นอืดอยู่ใกล้ๆ แต่ไม่มีใครสนใจ ทุกคนต้องหาทางเอาตัวรอด ไม่มีรหน่วยงานรัฐหน่วยไหนไปที่นั่นในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
เจ้าหน้าที่สหประชาชาตินับร้อยคนที่จะต้องเข้าไปทำหน้าที่แจกจ่ายอาหารกับเครื่องยังชีพเบื้องต้นในเขตภัยพิบัติ และช่วยประชาชนผู้ประสบเคราะห์ฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ทั้งในวันนี้และในวันข้างหน้า ยังคงรอการอนุมัติวีซ่าจากสถานทูตสถานกงสุลพม่าในประเทศและดินแดนต่างๆ ทั่วโลก

ในขณะที่คัวเลขผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนที่ประสบเคราะห์อีกราว 2 ล้าน ก็กำลังรออาหาร น้ำ และยารักษาโรค แต่รัฐบาลได้หยิบยื่นความช่วยเหลือให้เพียงแค่กระผีก

นักวิเคราะห์กล่าวว่าผู้นำระดับสูงของพม่านั้นร่ำรวยอย่างมหาศาลจากการขยายทรัพยากรของชาติที่อุดมสมบูรณ์

"พวกเขารวยมาก ร่ำรวยอย่างฉงน นี่คือเผด็จการทหาร เมื่อคุณขึ้นไปมีตำแหน่งที่มีอำนาจในกองทัพ คุณก็สร้างความร่ำรวยให้ตัวเองได้อย่างง่ายดาย" นายอองนายอู (Aung Naing Oo) นักวิเคราะห์ชาวพม่าที่พำนักอยู่ในไทยกล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี

"พวกเขาผูกขาดในหลายกิจการตั้งแต่การออกใบอนุญาตตัดไม้ซุง ขายข้าว อะไรต่างๆ ที่สามารถขายได้ในโพ้นทะเล" นักวิเคราะห์รายนี้กล่าว
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพถ่ายวันที่ 11 พ.ค.2551 ชาวบ้านที่หมู่บ้านกอหวู่ (Kaw Hwu) รวมตัวกันที่ริมทางถือป้ายขอความช่วยเหลือ ผู้คนที่นั่นกล่าวว่า 8 วันที่ผ่านมายังไม่เคยเห็นเฮลิคอปเตอร์ของทางการผ่านไปแถวนั้น ไม่ว่าจะไปที่ไหนในย่านปากแม่น้ำก็จะพบผู้รอดชีวิตรวมตัวกันขอความช่วยเหลือคล้ายกันนี้ เจ้าหน้าที่ยูเอ็นกล่าวว่าทุกคนกำลังเสี่ยงกับโรคระบาด (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพถ่ายวันที่ 11 พ.ค.2551 เด็กๆ ถูกนำไปรวมกันที่โรงเรียนหลังหนึ่งในหมู่บ้านกอหวู่ (Kaw Hwu) ใกล้เมืองกุงย่างกุ้ง รอรับความช่วยเหลือจากหน่วยองค์การบรรเทาทุกข์บุคคลพลัดถิ่น (Internationally Displaced People) หลายคนเพิ่งจะได้รับประทาน ข้าว เป็นมื้อแรก นอกจากความช่วยเหลือจากรัฐบาลจะไม่เคยไปถึงแล้ว ทางการยังกักอาหารกับสิ่งของช่วยเหลือของสหประชาชาติไว้ที่กรุงย่างกุ้งอีกด้วย (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>
หลังจากทหารผูกขาดการปกครองมาเป็นเวลา 45 ปี พม่าได้กลายเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศยากจนที่สุดทั้งๆ ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) หรือ จีดีพี ต่ำกว่าของประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา ลาว หรือบังกลาเทศ

คณะปกครองทหารพม่าใช้งบประมาณเพียง 0.3% ของจีดีพีเพื่อการสาธารณสุข กับ 1.3% เพื่อการศึกษา เอเอฟพีอ้างตัวเลขของสหประชาชาติ

ขณะที่ประชาชนนับวันยากจนลงเรื่อยๆ ฝ่ายตรงข้ามก็ได้ชี้ให้เห็นว่า เหล่านายพลพากันรวยกระเป๋าฉีกเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากน้ำมันดิบและก๊าซปริมาณมหาศาลในประเทศ การจำหน่ายไม้เนื้อแข็ง และอัญมณีกับหินล้ำค้าชนิดต่างๆ ที่มีมากมาย

สหรัฐฯ กับอังกฤษๆได้ขันเกลียวการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจขึ้นอีกหลังจากรัฐบาลทหารปราบปรามผู้เดินขบวนประท้วงอย่างหนักเมื่อปีที่แล้วซึ่งประทุขึ้นจากความไม่พอใจที่รัฐบาลขึ้นราคาน้ำมันพรวดเดียวหลายร้อยเปอร์เซ็นต์

แต่ประเทศเพื่อนบ้านเช่น ไทย อินเดียและพม่าก็ยังคงเป็นลูกค้ารายใหญ่ของทรัพยากรพม่าสืบต่อมา
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพถ่ายวันที่ 11 พ.ค.2551 ชาวบ้านช่วยกันฝังศพเหยื่อพายุนาร์กิสตามมีตามเกิดที่หมู่บ้านจ๊อกตัน (Kyauktan) ทางใต้กรุงย่างกุ้ง ยังไม่มีหน่วยราชการใดไปที่นั่น (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
หนังสือพิมพ์กึ่งทางการรายงานเมื่อเดือนที่แล้วว่า ปี 2550 พม่ามีรายได้จากการจำหน่ายก๊าซ 2,700 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 80% จากปีก่อนเนื่องจากมีการพบก๊าซเพิ่มขึ้นอีกหลายหลุม

ศาสตราจารย์ฌอน เทอร์เนล (Sean Turnell) ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจพม่าที่มหาวิทยาลัยแม็คควารี ในออสเตรเลียประมาณว่า เหล่านายพลระดับนำมีเงินตราต่างประเทศสำรองราว 4,000 ล้านดอลลาร์

"นั่นคือเพิ่มขึ้นเดือนละ 150 ล้านดอลลาร์" ศ.เทอร์เนล กล่าวกับเอเอฟพี

ผู้เชี่ยวชาญคนเดียวกันนี้ยังกล่าวด้วยว่า มีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า มีเพียงนายพลระดับสูงไม่กี่คนเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าถึงเงิน นอกจากนั้นแม้กระทั่งในหมู่ผู้นำเองก็คงจะไม่ทราบว่าประเทศพม่ามีเงินมากมายถึงเพียงนี้

นายจอห์น เวอร์โก (John Virgoe) ผู้อำนวยการประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของกลุ่ม International Crisis Group ก็มีความเห็นคล้ายกันว่า กลุ่มปกครองทหารใช้เงินเพียงกระผีกเดียวของความร่ำรวยเท่านั้นลงไปสู่ประชาชนพม่าราว 50 ล้านคน
<CENTER><FONT color=#FF0000> หมู่บ้านแห่งนี้คนตายเป็นเบือ ไม่ไกลจากเมืองกุงย่างกุ้งในเขตที่ราบปากแม่น้ำ ชาวบ้านกล่าวว่าช่วยกันฝังศพไปแล้วราว 2,000 ศพ ไม่มีใครยื่นมือเข้าไปช่วย ภาพถ่ายวันที่ 10 พ.ค.2551 โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ </FONT></CENTER>
แต่ในขณะเดียวกันชาวพม่ายังต้องทุกข์ระทมกับการลงทุนแบบรัฐบาลทหาร ซึ่งมีการเกณฑ์แรงงาน และการบังคับให้โยกย้ายถิ่นฐาน นายเวอร์โกกล่าวดับเอเอฟพี

ในปลายปี 2549 วิดีโอคลิปที่ลอดออกนอกประเทศได้ถูกนำขึ้นเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต แสดงให้เห็นงานวิวาห์อันหรูหราของตันดาร์ฉ่วย (Thandar Shwe) ธิดาของพล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ที่จัดขึ้นในคฤหาสน์หรูของท่านผู้นำ

วิวาห์นี้ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันลิบลับระหว่างชาวพม่าส่วนใหญ่ที่ยากจนข้นแค้นแบบติดดินกับคนอีกหนึ่งหยิบมือที่ร่ำรวยล้ำฟ้า

ภาพที่ทำให้ผู้คนรู้สึกสะท้อนใจก็คือ ภาพเจ้าสาวที่ประดับประดาไปด้วยเพชรเม็ดเขื่องกับอัญมณีล้ำค่าชนิดอื่นๆ ตั้งแต่เรือนผมลงไปจรดรองเท้า ขณะที่เจ้าบ่าวซึ่งเป็นนายทหารเปิดแชมเปญราคาแพง พุ่งฟองฟู่ออกจากปากขวด ราดลงบนแก้วที่วางเรียงรายรองรับอยู่บนโต๊ะ ท่ามกลางเสียงปรบมือกึกก้องของแขกเหรื่อนับร้อยๆ

แต่เงินก้อนใหญ่กว่านั้นเชื่อกันว่าถูกทุ่มไปในการย้ายเมืองหลวงจากกรุงย่างกุ้งในปลายปีเดียวกัน และไปสร้างเมืองแห่งมหากษัตริยาธิราชขึ้นมาใหม่จากป่าละเมาะในภาคกลางของประเทศ ห่างขึ้นไป 200 กม.เศษ
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพจับจากจอทีวีพม่าเช้าวันเสาร์ (10 พ.ค.) ที่ผ่านมา พล.อ.ตานฉ่วยกับภริยาคือ นางจ๋ายจาย (Kyaing Kyaing) ไปลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในเมืองเนย์ปีดอ ไกลออกไปทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศผู้ประสบเคราะห์เรือนล้านกำลังอดอยากและเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ทางการประกาศอย่างภูมิใจประชาชนไปใช้สิทธิ์อย่างล้านหลาม (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>
"หากคุณได้เห็นงานวิวาห์ที่หรูหรานั้น คุณคงจะไม่เห็นด้วยหากมีคนพูดว่า พม่ายกจนสุดๆ " อองนายอูกล่าว

นักวิเคราะห์รายนี้บอกว่า เพียงแต่กลุ่มผู้นำลดความเห็นแก่ตัวตนลงเพียงเล็กน้อย พม่าก็จะเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความแตกต่างมาก

ที่น่าเศร้าก็คือ กลุ่มนายพลไม่จำเป็นต้องใช้เงินในกระเป๋าสักนิดในการช่วยเหลือกู้ภัยจากไซโคลนนาร์กิสที่พัดกระหน่ำเข้าภาคตะวันตกเฉียงใต้กับกรุงย่างกุ้งสุดสัปดาห์ก่อน ซึ่งทางการกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 23,000 คนเท่านั้น ขณะที่ตัวเลขอื่นๆ เชื่อว่าจำนวนคนตายอาจจะสูงถึง 100,000

จนถึงขณะนี้ประชาคมระหว่างเทศได้เสนอหยิบยื่นความช่วยเหลือแก่พม่าแล้วเป็นเงินเกือบ 100 ล้านดอลลาร์ แต่ทางการทหารยังคงปิดกั้นและกักอาหารกับสิ่งของต่างๆ ไว้ที่สนามบิน ไม่ออกวีซ่าให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ภัยเข้าประเทศและยืนยันจะนำของช่วยเหลือทั้งหมดไปแจกจ่ายเอง.
กำลังโหลดความคิดเห็น