xs
xsm
sm
md
lg

"ซูจี" หมดสิทธิ์..ใครจะกุมอำนาจในพม่าหลังเลือกตั้ง?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#FF0000>ภาพเอเอฟพีวันที่ 27 มี.ค.2552 พลเอกอาวุโสตานฉ่วย ประธานคณะปกครองทหาร งามสง่าเมื่อยืนบนรถลิโม่เปิดประทุน ขณะตรวจแถวกองเกียรติยศ นำเหล่าทัพต่างๆ ฉลองวันแห่งกองทัพที่เมืองเนย์ปีดอ ห่างจากกรุงย่างกุ้งขึ้นไปทางเหนือกว่า 300 กม.ย้ายเมืองหลวงหนีจะได้ไม่ต้องยุ่งกับการเรียกร้องประชาธิปไตยในกรุงย่างกุ้งอีกต่อไป ครองอำนาจติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2546 ขุนทหารพวกนี้จะก้าวลงจากอำนาจอย่าง่งายดายเช่นนั้นหรือ? ไม่มีทาง.. เพียงแต่ว่า เดอะเลดี้ คนนั้นเป็นก้างชิ้นโตที่ขวางคอของพวกเขา จึงต้องหาวิธีกำจัดออกไป </FONT></bR>
กรุงเทพฯ (รอยเตอร์)—เกือบจะเป็นที่แน่นอนแล้วว่า นางอองซานซูจีจะไม่มีส่วนร่วมใดๆ ในการเลือกตั้งแบบหลายพรรคที่จะจัดขึ้นในปีหน้า หลังจากถูกศาลตัดสินให้ต้องโทษกักขังในบ้านพักเป็นเวลา 1 ปีกับ 6 เดือน ในวันอังคาร (11 ส.ค.) ที่ผ่านมาฐานละเมิดกฎหมายความมั่นคง

ฝ่ายตรงข้ามกล่าวว่า ระบอบทหารพม่าได้ใช้การพิจาณาคดีดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการป้องกันมิให้ผู้นำฝ่ายค้าน ทำการรณรงค์ก่อนการเลือกตั้ง ที่กำลังจะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา เมื่อนางซูจีกับสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD (National League for Democracy) ชนะอย่างท่วมท้วนแต่คณะปกครองทหารไม่ยอมมอบอำนาจการปกครองสู่ฝ่ายพลเรือน

ฝ่ายทหารกล่าวว่าการเลือกตั้งปีหน้านี้จะเป็น “บันไดขั้นสุดท้าย” ในการแผนการไปสู่ประชาธิปไตย

ทำไมพม่าจึงจัดเลือกตั้ง?

การคว่ำบาตร (จากโลกตะวันตก) ได้ทำให้เศรษฐกิจพม่าเป็นง่อย และการที่ระบอบทหารปฏิเสธที่จะปฏิรูป ไม่ยอมปล่อยนักโทษการเมืองและไม่หยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้ทำให้พม่าเป็นไม้เบื่อไม้เมาของประชาคมระหว่างประเทศ และโลกตะวันตกปฏิเสธที่จะคบค้าสมาคมด้วย

นักวิเคราะห์กล่าวว่า พม่าต้องการจะเข้าร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศและขยายการค้า แต่บรรดานายพลที่อยู่ในอำนาจตระหนักดีว่า การจะได้สิ่งนี้มาพวกเขาจะต้องลงจากอำนาจ

พวกเขาหวังว่าการเลือกตั้งจะทำให้ระบอบทหารมีความชอบธรรมในสายตาประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอินเดีย จีนและประเทศไทย ซึ่งการค้าขายกับประเทศเหล่านี้ได้ทำให้เศรษฐกิจของพม่าอยู่ได้
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 6 พ.ค.2545 ปีสุดท้ายที่นางอองซานซูจียังมีอิสรภาพ.. เรียนสำเร็จมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ด้วยการปราศรัยที่ทรงพลังอำนาจและความสามารถในการนำคนนับหมื่นนับแสนเรียกร้องประชาธิปไตย ปีนี้ 64 แล้ว สตรีผู้นี้ยังสามารถทำให้บรรดานายพลทั้งกองทัพหวาดผวาได้เสมอ คนเหล่านั้นพยายามทุกทางกีดดันบุตรีของนายพลอองซาน วีรบุรุษอิสรภาพแห่งชาติ ของพม่า ให้พ้นจากเวทีการเมือง ฝ่ายทหารอาจะประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ แต่จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศในวันข้างหน้า หลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น? </FONT></bR>
จะเลือกตั้งกันเมื่อไร?

ยังไม่มีการกำหนดเงื่อนเวลาสำหรับเรื่องนี้และยังจะต้องมีการจัดเตรียมการอะไรอีกหลายอย่าง บรรดานายพลทั้งหลายกำลังจะต้องร่างกฎหมายเลือกตั้งขึ้นมา ยังไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมากำกับดูแลกรเลือกตั้ง และ คณะปกครองทหารได้ปัดปฏิเสธข้อเสนอของประชาคมระหว่างประเทศที่จะเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งโดยระบุว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน

เหตุใด"ซูจี" จึงเป็นภัยข่มขู่?

บุตรีของนายพลอองซาน วีรบุรุษเอกราชแห่งชาติ เป็นผู้ทรงเสน่ห์ การศึกษาดีและยังคงได้รับความนิยมอย่างสูง จึงกลายเป็นภัยข่มขู่ใหญ่ที่สุดในการกุมอำนาจของฝ่ายทหาร สิ่งนี้แสดงออกให้เห็นเมื่อครั้งที่นางซูจีนำพรรคฝ่ายค้านไปสู่ชัยชนะอันท่วมท้นในการเลือกตั้งปี 2533 ซึ่งได้จำนวนผู้แทนถึง 392 จากทั้งหมด 485 คน

เพราะว่าการปราศรัยที่ทรงพลังกับความสามารถในการระดมคนนับหมื่นนับแสนในการเรียกร้องประชาธิปไตย จึงทำให้คณะปกครองทหารกักบริเวณผู้นำฝ่ายค้าน เป็นเวลารวมประมาณ 14 ปี ตลอด ช่วงเวลา 20 ปีมานี้

"พวกเขาผวาดผวาซูจีและอิทธิพลของซูจีที่มีต่อประชาชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนการเลือกตั้ง" เด็บบี้สตอดฮาร์ด (Debbie Stodhart) นักรณรงค์ประชาธิปไตยเพื่อพม่า แห่งองค์กรเอเชียทางเลือก กล่าว

ใครจะกุมอำนาจหลังเลือกตั้ง?

รัฐธรรมนูญที่จัดร่างขึ้นโดยคณะปกครองทหารร่วมกับพลเรือนส่วนหนึ่ง ได้ผ่านการลงประชามติเมื่อปีที่แล้ว มีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนพม่าเข้าสู่ "ประชาธิปไตยที่เฟื่องฟูอย่างมีวินัย" นำโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง

พลเอกอาวุโสตานฉ่วย ผู้นำสูงสุดของคณะปกครองทหารกล่าวเมื่อปีที่แล้วว่า ฝ่ายทหารมี "ความมุ่งหมายอันจริงใจที่จะพัฒนาประเทศโดยหวังที่จะอยู่ในอำนาจ" แต่ก็มีคนเชื่อถือน้อยมาก

รัฐธรรมนูญกำหนดให้หนึ่งในสี่ของสมาชิกสภา 440 ที่นั่ง ได้รับแต่งตั้งจากฝ่ายทหาร บรรดานายพลที่เกษียณแล้วสามารถได้รับการแต่งตั้งเพิ่มเติมอีกได้นอกเหนือจากโควตา 25% ดังกล่าว

รัฐธรรมนูญยังระบุอีกว่า ผู้บัญชาการของกองทัพยังจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศต่อไป มีอำนาจที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญ สามารถแต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ และ กุมอำนาจเด็ดขาดทั้งหมด "ในสภาวะฉุกเฉิน"
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 30 ม.ค.2551 หรือ 5 เดือนหลังการปราบปรามประชาชนที่เรียกร้องประช่าธิปไตยอย่างโหดเหี้ยม รัฐบาลทหารพม่าประกาศตั้งรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานเป็นผู้แทนเจรจาสร้างความสมานฉนัท์กับผู้นำฝ่ายค้าน แต่แล้วทั้งหมดก็เป็นเพียงการลวงโลก เพราะว่ายุทธศาสตร์ในการกุมอำนาจต่อไปก็คือ กีดกันสตรีผู้นี้ให้พ้นจากเส้นทางกาารเมืองของพวกเขา  </FONT></bR>
ใครจะเข้าร่วมการเลือกตั้ง?

ระบอบทหารให้การรับรองพรรคการเมืองจำนวน 10 พรรค แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ทราบจำนวนพรรคการเมืองที่จะเข้าร่วมการเลือกตั้งและคาดว่า NLD กับสันนิบาติแห่งชนชาติชานเพื่อประชาธิปไตย (Shan Nationalities League for Democracy) กับพรรคเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Party) ซึ่งเป็น 3 พรรคการเมืองใหญ่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการเลือกตั้งปี 2533 จะเข้าร่วมการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย

สันนิบาติแห่งชาติฯ ซึ่งเป็นหัวหอกสำคัญในการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่ายังไม่ได้ยืนยันว่าจะเข้าร่วมการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น คนวงในกล่าวว่า มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันภายใน NLD ระหว่างสมาชิกรุ่นเก่าที่ปฏิเสธกฎเกณฑ์ของฝ่ายทหาร และ ส่วนอื่นๆ ทีมีความเห็นว่าควรจะให้โอกาสแก่ฝ่ายทหาร

แต่สิ่งที่แน่นอนในขณะนี้ก็คือ ตัวผู้นำพรรค นางซูจีจะไม่มีส่วนร่วมใดๆ ไม่เพียงแต่จะต้องคำพิพากษาเท่านั้น แต่การที่นางมีสามีเป็นคนต่างชาติ คือนักวิชาการชาวอังกฤษที่ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2542 รวมทั้งการที่ลูกๆ ได้รับสัญชาติอังกฤษ ทำให้นางซูจีหมดสิทธิ์ที่จะลงเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

นักวิเคราะห์กล่าวว่าคณะปกครองทหารอาจจะจัดตั้งพรรคตัวแทนของตัวแทนขึ้นมาแต่ออกหน้าโดยพลเรือน

แต่ที่แน่นอนก็คือ การเลือกตั้งครั้งนี้จะไม่สามารถเรียกได้ว่า เป็นการเลือกตั้งแบบหลายพรรค อย่างเสรีและเป็นธรรมได้ ในขณะที่นักโทษการเมืองอีกกว่า 2,000 คน ยังถูกคุมขังในเรือนจำทั่วประเทศ

จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น?

พล.อ.ตานฉ่วยบอกกับนายบันคีมูนเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติที่ไปเยือนเมื่อต้นเดือนที่แล้วว่า เมื่อกลับไปพม่าอีกครั้งหนึ่งคราวต่อไป ตัวผู้นำสูงสุดกับบรรดาผู้นำระดับบนจะกลายสภาพเป็นพลเรือนทั้งหมด แต่ก็มีคนไม่มากที่เชื่อว่าบรรดาขุนทหารจะลงจากอำนาจ

นักวิเคราะห์กล่าวว่า บรรดาสีเขียวทั้งหลายจะยังคงชักใยอยู่เบื้องหลังฉากการเมืองในพม่าต่อไป โดยใช้ "บันไดไปสู่ประชาธิปไตย" ที่ดำเนินมาทั้งหมดในหลายปีมานี้ เป็นพิมพ์เขียวสำหรับกองทัพในการกุมอำนาจ ที่ยึดครองมาอย่างเหนียวแน่นตั้งแต่ปีการรัฐประหารปี 2505

"จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในด้านเนื้อหา แต่จะยังมีพวกในเครื่องแบบเข้าสู่การเมืองมากยิ่งขึ้น" นายเดเร็ก ทอนคิน (Derek Tonkin) อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ซึ่งกลายเป็นนักวิเคราะห์เกี่ยวกับพม่ากล่าว

"การเลือกตั้งจะไม่มีความสำคัญอะไรมากมาย แต่มีความไม่แน่นอนมากขึ้น เกี่ยวกับว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น" นายทอนคินกล่าว.

กำลังโหลดความคิดเห็น