xs
xsm
sm
md
lg

พม่าเลิกกักบริเวณอองซานซูจี แต่ขังคุกแทน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00> ภาพเหตุการณ์วันที่ 20 พ.ค.ถ่ายจากภาพรายการของสถานีโทรทัศน์พม่า นางอองซานซูจีกำลังถูกนำไปยังรถยนต์ หลังจากทางการอนุญาตให้พบกับนักการทูตสามประเทศ ซึ่งรวมทั้งเอกอัครราชทูตไทยในกรุงย่างกุ้งด้วย นางซูจีปฏิเสธข้อกล่าวหาละเมิดกฎการกักบริเวณที่ทางการเพิ่งประกาศยกเลิกไปเมื่อวันอังคาร (26 พ.ค.) นี้</FONT></br>

ย่างกุ้ง (AFP) - ระบอบทหารในพม่าได้ประกาศยุติการกักบริเวณนางอองซานซูจีอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ได้กักขังไว้ในเรือนจำแทนขณะที่การไต่สวนคดียังดำเนินต่อไปโดยยังไม่รู้กำหนดการสิ้นสุด โดยผู้นำฝ่ายค้านได้ปฏิเสธข้อกล่าวหา

ในวันเดียวกัน ผู้นำฝ่ายค้านได้ให้การต่อศาล ปฏิเสธต่อศาลข้อกล่าวหาละเมิดข้อตกลงการกักบริเวณ อันเป็นข้ออ้างที่ทางการใช้ในการจับกุม

นายเนียนวิน (Nyan Win) โฆษกสันนิบาติเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติหรือ NLD (National League for Democracy) กล่าวว่า นายตำรวจระดับสูงผู้หนึ่งได้นำหนังสือส่งถึงนางซูจีแจ้งให้ทราบว่า รัฐบาลได้ยกเลิกคำสั่งกักบริเวณแล้วหลังดำเนินติดต่อกันมาเป็นเวลา 6 ปี

บรรดาผู้สนับสนุนผู้นำฝ่ายค้านกล่าวว่า เรื่องนี้ไม่แน่ใจนางซูจีจะรู้สึกยินดีหรือว่าเป็นทุกข์ยิ่งกว่าเดิม เพราะว่าทางการเลิกกักบริเวณในบ้านพัก แต่ใช้วิธีคุมขังในเรือนจำแทน

ผู้นำวัย 63 ปีของฝ่ายค้านพม่า ถูกบังคับให้ใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านพักเป็นเวลารวมกันประมาณ 13 ปี ตลอด 19 ปีมานี้ โดยได้รับอนุญาตให้มีเพียงหญิงรับใช้ 2 คนคอยช่วยงานบ้าน ไม่โทรศัพท์ ไม่มีโทรทัศน์ มีเพียงวิทยุคลื่นสั้นเพื่อติดตามข่าวสารจากโลกภายนอกเท่านั้น

“พลจัตวามี้นเต็ง (Myint Thein) มาที่เรือนจำและอ่าน (ข้อความ) ในหนังสือยกเลิกคำสั่งจำกัดบริเวณและให้ปล่อยตัว หนังสือลงวันนี้ พวกเขายังให้สำเนาไว้กับนางซูจีอีกด้วย” นายวินกล่าวกับผู้สื่อข่าววันอังคาร (26 พ.ค.) ที่ผ่านมา
<br><FONT color=#cc00>ภาพที่นำออกเผยแพร่โดยสำนักข่าวเสียงประชาธิปไตยพม่าวันที่ 22 พ.ค.2552 ปัจจุบันอายุ 63 ปี สตรีสูงวัยผู้นี้ยังสามารถทำให้นายพลพม่าทั้งกองทัพหวาดวิตกต่อชะตากรรมและอนาคตของพวกเขาได้เสมอ  </FONT></br>
ทางการพม่าได้ใช้อำนาจตามกฎหมาย “ป้องกันอันตรายและการบ่อนทำลาย” ต่อรัฐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เก่าแก่ล้าสมัยมาก ในการกักบริเวณนางซูจี เช่นเดียวกันการดำเนินคดี หลังจากชาวอเมริกันวัย 53 ปีคนหนึ่งได้ว่ายน้ำข้ามบึงใหญ่ในกรุงย่างกุ้งไปยังบ้านพักของผู้นำฝ่ายค้านเมื่อต้นเดือนนี้

ทนายความของนางซูจีกล่าวว่า คำสั่งกักบริเวณครั้งล่าสุดที่ออกปีที่แล้ว กำลังจะสิ้นสุดลงในวันพุธ (27 พ.ค.) นี้ และ ยังได้อ้างมติของคณะกรรมาธิการสหประชาชาติชุดหนึ่งที่ระบุว่า คำสั่งกักบริเวณนางซูจีขัดทั้งกฎหมายของพม่าเองและกฎหมายระหว่างประเทศ

พล.จ.มี้นเต็ง ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวกับนักการทูตในกรุงย่างกุ้งว่า เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนจะมีการออกประกาศคำสั่งยกเลิกการกักบริเวณว่า ทางการมีอำนาจในการกักนางซูจีให้อยู่บ้านพักต่อไปได้อีก 6 เดือน

“เราไม่ทราบว่าเราควรจะยินดีหรือรู้สึกเสียใจ เพราะว่านาง (ซูจี) ยังคงถูกคุมขังด้วยข้อหาพวกนี้ ผมไม่อาจจะคาดคะเนคำพิพากษาได้ แต่ตามกฎหมายแล้วนางควรได้รับการปล่อยตัวอย่างสมบูรณ์” โฆษกของเอ็นแอลดีกล่าว

นางซูจี เป็นเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี 2534 แต่ไม่สามารถเดินทางไปร่วมพิธีมอบในกรุงออสโล ประเทศนอรเวย์ได้ในปีนั้น ในปัจจุบันผู้นำฝ่ายค้านพม่าเป็นเจ้าของรางวัลเกียรติยศนี้เพียงคนเดียวของโลกที่ยังถูกคุมขัง

เจ้าหน้าที่ได้จับกุมผู้นำฝ่ายค้านพม่าและนำออกจากบ้านพักไปยังเรือนจำใหญ่ที่สุดในประเทศเมื่อวันที่ 14 พ.ค.และเริ่มไต่สวนในวันที่ 18 โดยไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน อนุญาตให้เพียงทีมที่ปรึกษาทางกฎหมายไม่กี่คนเท่านั้น

วันพุธสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางแรงกดดันจากทั่วสารทิศ รวมทั้งจากกลุ่มอาเซียนที่พม่าเป็นสมาชิกอยู่ด้วย และเสียงประณามจากรัฐบาลชาติตะวันตก รัฐบาลทหารได้อนุญาตให้ผู้แทนสื่อมวลชนในและต่างประเทศ นักการทูตจากสถานทูตทั้ง 30 แห่งในกรุงย่างกุ้งเข้ารับฟังการไต่สวนได้เป็นครั้งแรก

วันเดียวกัน นางซูจียังได้รับอนุญาตให้พบกับเอกอัครราชทูตไทย สิงคโปร์ และรัสเซียได้อีกด้วย แต่ในวันถัดมาทางการพม่าก็ปิดประตูไต่สวนนางซูจีต่อไปอีก
<br><FONT color=#cc00> ภาพเอเอฟพีวันที่ 22 พ.ค.2552 ตำรวจยังคงปิดกั้นถนนไปสู่เรือนจำอิงเส่งประจำทุกวัน นับตั้งแต่เริ่มมีการดำเนินคดีนางอองซานซูจีเมื่อวันที่ 18 ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออก ผู้สนับสนุนก็ไม่ย่อท้อเช่นกัน หาอาณาบริเวณที่ใกล้ที่สุด เพื่อติดตามข่าวคราวต่างๆ
<br><FONT color=#cc00>ภาพที่นำออกเผยแพร่โดยสำนักข่าวเสียงประชาธิปไตยพม่าวันที่ 22 พ.ค.2552 ผู้สนับสนุนนางอองซานซูจี รวมตัวกันในจุดใกล้เรือนจำที่สุด เพื่อติดตามการไต่สวนคดีผู้นำ ทางการประกาศเมื่อวันอังคาร (26 พ.ค.) ยกเลิกการกักบริเวณ ที่ดำเนินติดต่อกันมา 6 ปีในช่วงหลังสุดนี้ แต่ขังนางซูจีในคุกแทน </FONT></br>
การไต่สวนเมื่อวันอังคารสัปดาห์นี้นี้ นางซูจีได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยระบุว่า หญิงรับใช้ได้ปลุกให้ตื่นนอนเมื่อเวลาประมาณ 4 นาฬิกา และแจ้งให้ทราบว่า นายจอห์น เยตทอว์ (John William Yeatthaw) ว่ายน้ำไปถึงบ้านพักแล้ว

“ดิฉันไม่ได้แจ้งพวกเขา (ทางการทหาร)” นางซูจีกล่าวในศาล โดยยืนยันว่าเป็นการให้ที่พักชั่วคราวแก่ชาวอเมริกันคนนั้น ก่อนที่จะออกจากบ้านพักของนางไปในวันที่ 5 พ.ค. นางซูจีให้การอันเป็นการโต้ตอบการกล่าวหาที่ว่า ให้ชายแปลกหน้าพักอยู่ในบ้านอันเป็นการละเมิดกฎแห่งการกักบริเวณ

“ฉันทราบแต่เพียงว่าเขาไปที่ริมบึง (อินเล) แต่ไม่ทราบไปว่าไปทางไหนเนื่องจากมืดมาก” นางซูจีกล่าว

ทางการพม่าได้ดำเนินคดีกับนายเยตทอว์ข้อหาละเมิดกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง เขาบอกกับตำรวจก่อนหน้านั้นว่า ว่ายน้ำไปที่บ้านพักเพื่อจะบอกกับนางซูจีว่า เธออาจจะถูกฆาตกรรม อันเป็นความเชื่อของตัวเอง

หลายฝ่ายได้กล่าวหาว่า รัฐบาลทหารพม่า พยายามทำเรื่องนี้ให้ใหญ่โตเกินความเป็นจริง ทั้งนี้เพื่อหาทางกักบริเวณผู้นำฝ่ายค้าน ไม่ให้มีส่วนร่วมใดๆ ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีหน้า

นางซูจีเคยนำพรรคฝ่ายค้านมีชัยด้วยคะแนนท่วมท้นในการเลือกตั้งปี 2533 แต่กลุ่มปกครองทหารพม่าไม่ยอมก้าวลงจากอำนาจ
กำลังโหลดความคิดเห็น