xs
xsm
sm
md
lg

เลขาฯ ยูเอ็นบอกพม่ายอมรับจนท.ต่างชาติแล้ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099>พลเอกอาวุโสตานฉ่วย กับ รองพลเอกอาวุโสหม่องเอ ผู้นำหมายเลข 2 เพิ่งจะโผล่ออกมาให้เห็นเป็นครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ ระหว่างรอต้อนรับเลขาธิการสหประชาชาติเข้าพบ ผู้นำทหารของพม่าจะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาหรือไม่? (ภาพ: AFP) </FONT> </CENTER>

กรุงเทพฯ-- เลขาธิการสหประชาชาตินายบันคีมูนกล่าวเมื่อวันศุกร์ (23 พ.ค.) ว่า ผู้นำสูงสุดของพม่าได้ตกลงจะรับเจ้าหน้าที่ต่างชาติเข้าไปปฏิบัติงานกู้ภัยช่วยเหลือประชาชนที่ประสบเคราะห์จากพายุแล้ว หลังจากปล่อยให้เรื่องนี้ยืดเยื้อมานาน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้รอดชีวิตเสียชีวิตอีกจำนวนมาก

นายบันประกาศหลังจากที่ได้เข้าพบพลเอกอาวุโสต่าน ฉ่วยเป็นเวลานานกว่า 2 ชม. ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปฏิเสธที่จะ

การตัดสินใจดังกล่าวนี้กินเวลาถึง 3 สัปดาห์หลังจากไซโคลนนาร์กิสพัดถล่มภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศวันที่ 2-3 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งทางการกล่าวว่าทำให้มีผู้ที่เสียชีวิตหรือสูญหายจำนวนกว่า 133,000 รายในขณะนี้ และองค์การสหประชาชาติแถลงว่า ผู้รอดชีวิตอีกราว 2.4 ล้านคนกำลังต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

"พลเอกตาน ฉ่วยได้ตกลงยอมรับทีมช่วยเหลือต่างๆ" นายบันกล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังจากที่ได้พบหารือกับผู้นำคณะปกครองทหารวัย 75 ปีที่เมืองเนปิดอว์

อย่างไรก็ตามโฆษกโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติหรือ WFP (World Food Programme) ยังแสดงความสงสัยว่า เรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จริงๆ หรือไม่ เจ้าหน้าที่ประเภทใดบ้างที่ทางการพม่าจะยอมรับ ให้ทำอะไรได้บ้างหรือเข้าไปยังพื้นที่ใดได้บ้าง
<CENTER><FONT color=#660099>บ้านก็พังยุ้งฉางก็พินาศ ภาพถ่ายวันที่ 23 พ.ค.2551 ชาวบ้านที่หมู่บ้านชองลิน (Chaung Lin) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดีกำลังเก็บข้าวเปลือกที่นำออกตากแดดให้แห้ง หวังว่ามันคงจะยังใช้เป็นอาหารได้ ช่วงการทำนาปีเริ่มแล้ว แต่เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ระบบชลประทานถูกทำลายไปหมด ตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาตั้งแต่พายุผ่านไป ที่นี่ยังไม่เคยได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาล (ภาพ: AFP) </FONT> </CENTER>
เมื่อถูกถามว่าการเจรจาครั้งนี้ประสบผลสำเร็จหรือไม่ เลขาธิการยูเอ็นกล่าวว่า "คิดว่าเป็นเช่นนั้น พลเอกตานฉ่วยตกลงที่จะยอมรับทีมช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยไม่ได้คำนึงถึงเชื้อชาติ"

องค์กรบรรเทาภัยพิบัติจากนานาชาติได้ย้ำเตือนแก่รัฐบาลพม่าว่า จำนวนผู้เสียชีวิตอาจจะเพิ่มมากขึ้นหากยังคงไม่ได้รับความช่วยเหลือในด้านอาหาร น้ำดื่ม ที่พักรวมทั้งยารักษาโรคอย่างเร่งด่วน และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในการกู้ภัยช่วยเหลือมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการติดตามนำสิ่งของและติดตามขึ้นตอนการให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย

ที่ผ่านมารัฐบาลยินดีรับความช่วยเหลือในรูปแบบสิ่งของเป็นจำนวนหลายพันตัน แต่ยังคงไม่อนุมัติวีซ่าแก่ทีมผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศนับร้อยคนให้เข้าประเทศ รวมทั้งโต้แย้งข่าวภายนอกที่ว่าประชาชนยังคงไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เพียงพอ โดยกล่าวว่าเป็นเพียงข่าวลือที่สร้างขึ้นจากกลุ่ม "พวกทรยศต่อชาติ" เท่านั้น

นายบันกล่าวเมื่อวันพฤหัส (22 พ.ค.) ว่า ตนเดินทางมาไปพม่าพร้อมกับ "สารแห่งความหวัง" (Message of Hope) และได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่ 2 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณทางตอนใต้ของที่ราบปากแม่น้ำโดยเฮลิคอปเตอร์ หลังจากก่อนหน้านี้พื้นที่ดังกล่าวถูกรัฐบาลทหารสั่งห้ามคนภายนอกเข้าไปตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
<CENTER><FONT color=#660099>เกษตรกรในเขตที่ราบอิรวดีครอบครัวนี้wfhพยายามซ่อมแซม บ้าน ขึ้นมาใหม่ แต่ก็ไม่มีผ้ายางมากพอมุงหลังคาขณะที่ฝนตกเกือบจะทุกวัน ที่นี่ยังไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลเช่นเดียวกัน แม้ว่าสื่อของทางการจะฟุ้งว่าที่ผ่านมามี พวกทรยศ ปล่อยข่าวให้ร้ายสร้างความแตกแยกระหว่างทหารกับประชาชนก็ตาม (ภาพ: AFP) </FONT> </CENTER>
ฝรั่งเศสตั้งประเด็นว่า การปิดกั้นการช่วยเหลือและเจ้าหน้าที่กู้ภัยจากต่างประเทศของรัฐบาลทหารนั้นเข้าข่ายเป็นความผิดฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และกล่าวว่าจะผลักดันให้มีการประชุมในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หากการเดินทางเยือนของนายบันไม่สามารถทำให้ความช่วยเหลือเข้าไปสู่ผู้ประสบภัยได้

สมาชิกรัฐสภาแห่งสหภาพยุโรป (EU Parliament) ได้ลงมติอย่างท่วมท้นในวันพฤหัสบดี ให้มีการนำ พล.อ.ตานฉ่วยขึ้นไต่สวนในศาลระหว่างประเทศฐานก่ออาชญากรรมต่อประชาชนชาวพม่า ถ้าหากรัฐบาลทหารยังดึงดันปิดกั้นการนำความช่วยเหลือไปให้แก่ประชาชนต่อไป

พล.อ.เต็งเส่ง (Thein Sein) นายกรัฐมนตรีพม่าบอกกับคณะของนายบันเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การจัดเตรียมความช่วยเหลือทางด้านอาหาร เสื้อผ้า ที่พักและยารักษาโรคดำเนินไปเกือบจะสมบูรณ์แล้วในขณะนี้

แต่ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีซึ่งเล็ดลอดเข้าไปในพื้นที่บริเวณที่ราบปากแม่น้ำยังคงพบกับสภาพความเสียหายอย่างหนัก หมู่บ้านถูกพายุพัดทำลายหายไปทั้งหมู่บ้าน ซากศพยังคงลอยอยู่ในอยู่ในน้ำแม้จะผ่านมาเป็นเวลา 3 สัปดาห์แล้วก็ตาม ชาวบ้านจำนวนมากกล่าวว่า ตนยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทางรัฐบาล

ผู้สื่อข่าวเห็นชาวบ้านกระโดดลงไปในแม่น้ำที่สกปรกเพื่อลงไปเก็บห่อบะหมี่สำเร็จรูปที่อาสาสมัครโยนให้
<CENTER><FONT color=#660099>ภาพถ่ายวันที่ 23 พ.ค.2551 ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านชองลิน ถ่ายภาพร่วมดกับลูกบ้านที่รอดชีวิตจากพายุนาร์กิส ที่นี่เป็นพื้นที่ห่างไกลในเขตที่ราบปากแม่น้ำเข้าถึงได้โดยทางเรือเท่านั้น ตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา นับตั้งแต่พายุผ่านไป ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ทางการโผล่ไปที่นั่น พล.อ.ตานฉ่วย บอกจะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยนานาชาติเข้าไปได้แล้ว?  (ภาพ: AFP)   </FONT> </CENTER>
หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์เมียนซึ่งเป็นกระบอกเสียงของทางการทหารรายงานในสัปดาห์นี้ ทางการได้ปฏิเสธที่จะรับความช่วยเหลือใดๆ ที่ขนไปโดยเรือรบสหรัฐฯ แต่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กล่าวในกรุงวอชิงตันว่า ยังไม่ได้รับการปฏิเสธหรือยอมรับใดๆ อย่างเป็นทางการ

เรือรบสหรัฐฯ 4 ลำพร้อมกองเรือสนับสนุนอีกจำนวนหนึ่ง อันได้แก่ เรือเอ็สเส็ก (USS Essex) หรือ ฮาร์เปอร์สเฟอร์รี (USS Harpers Ferry) เรือจูโน (USS Juneau) กับเรือพิฆาตมัสติน (USS Mustin) ยังคงลอยลำเตรียมพร้อมอยู่ห่างจากน่านน้ำเขตปากแม่น้ำอิรวดีของพม่าราว 80 ไมล์ทะเลพร้อมนาวิกโยธินราว 1,000 คน เตรียมส่งความช่วยเหลือได้ตลอดเวลา

กองเรือรบฝรั่งเศสที่นำโดยเรือจู่โจมยกพลขึ้นบกมิสตราล (Mistral) ก็จอดอยู่ในอาณาบริเวณใกล้เคียงกัน เช่นเดียวกันกับเรือฟรีเกทส์เวสต์มินสเตอร์ (Westminster) ของอังกฤษ ทั้งหมดไปที่นั่นพร้อมสิ่งของความช่วยเหลือที่ตั้งใจจะนำส่งถึงมือผู้ประภัย
<CENTER><FONT color=#660099>ภาพถ่ายวันที่ 23 พ.ค.2551 เด็กๆ ที่หมู่บ้านชองลิน เล่นกันสนุกสนานบนซากบ้านหลังหนึ่งที่ถูกพายุพัดถล่มจนพังราบเมื่อ 32 สัปดาห์ก่อน  มีชีวิตรอดมาได้ก็บุญแล้ว แต่การอยู่ให้รอดต่อไปจนกว่าความช่วยเหลือจะไปถึงนั้นยังเต็มไปด้วยความเสี่ยง ขาดอาหาร ขาดน้ำดื่มสะอาด และมีโรคภัยอยู่ใกล้ตัว (ภาพ: AFP)   </FONT> </CENTER>
ทั้งสหรัฐฯ ฝรั่งเศสและอังกฤษ ปฏิเสธที่จะส่งมอบสิ่งของช่วยเหลือเหล่านั้นให้แก่ทางการพม่าโดยผ่านกรุงย่างกุ้ง

เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศกล่าวว่า ความช่วยเหลือที่ส่งเข้าพม่าส่วนใหญ่ยังคงติดค้างในกรุงย่างกุ้ง มีเพียงจำนวนน้อยนิดที่ถูกนำส่งถึงมือประชาชนในเขตรอบๆ กรุงย่างกุ้ง แต่ประชานชนในเขตภัยพิบัติรุนแรงปากแม่น้ำอิรวดีส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ

องค์การระหว่างประเทศกล่าวว่าพม่าขาดแคลนพาหนะที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือยนต์กับเฮลิคอปเตอร์ทำให้การขนส่งความช่วยเอดำเนินไปอย่างล่าช้า

เจ้าหน้าที่สหประชาชาติกล่าวว่า 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาประชาชนที่ประสบภัยพิบัติราว 25-30% เท่านั้นที่ได้รับอาหารกับสิ่งของยังชีพพื้นฐานต่างๆ ไปแล้ว.
กำลังโหลดความคิดเห็น