xs
xsm
sm
md
lg

สื่อเขมรเย้ยข้ามแดน มรดกโลกปัดข้อเสนอของไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#cc00cc>ภาพจากแฟ้มเดือน ก.ค.2551 ทหารพรานของไทยกับทหารกัมพูชาเข้าประจำการในบริเวณวัดแห่งหนึ่ง ใกล้ปราสาทพระวิหาร ที่นี่คือ ดินแดนพิพาท ที่ฝ่ายกัมพูชาไม่เคยเข้าใจและยอมรับ ที่นี่อยู่ในเขตสันปันน้ำของไทย แท้จริงเป็นดินแดนของไทยที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้ และไม่สามารถจะเป็นอื่นไปได้ หรือจะต้องเผชิญหน้ากันเช่นนี้ตลอดไป? </FONT></CENTER>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- สื่อต่างๆ ในกัมพูชาพากันตีพิมพ์ข่าวที่เกี่ยวกับข้อเสนอของไทยถูกคณะกรรมการมรดกโลกปัดปฏิเสธ ไม่นำขึ้นพิจารณาในการประชุมประจำปี สื่อบางแห่งพาดหัวข่าวว่า “เป็นความปราชัยที่น่าอดสู” ของรัฐบาลไทย

ตามรายงานของสำนักข่าวตะวันตก คณะกรรมการมรดกโลกได้ปิดการประชุมที่เมืองเซวิลล์ (Seville) หรือ “เซวีนญา” ประเทศสเปน ในวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่มีการนำข้อเสนอของไทย ที่ขอให้ทบทวนการพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และ ประเทศไทยได้ขอร่วมขึ้นทะเบียนอาณาบรนิเวณปราสาทพระวิหารส่วนที่อยู่ในประเทศไทยด้วย

“ประเทศไทยปราชัยอย่างน่าอดสูที่สุดในการเรียกร้องให้ทบทวนการขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก..” หนังสือพิมพ์ดืมอัมปึล (Deum Ampil) กล่าว

ข่าวนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่อออนไลนส์ กับหนังสือพิมพ์ภาษาเขมรหลายฉบับ อีกทั้งมีการออกบทวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ในช่วงวันจันทน์กับวันอังคาร (29-30 มิ.ย.) ระบุว่า คณะกรรมการมรดกโลกไม่ได้นำข้อเสนอของไทยขึ้นพิจารณา
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือน ก.ค. 2551 ทหารกัมพูชาเข้าประจำการที่ปราสาทพระวิหาร หลังคณะกรรมการของยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในวันที่ 7 ตั้งแต่นั้นมานักท่องเที่ยวชาวไทยก็ไม่สามารถขึ้นไปเที่ยวได้อีก </FONT></CENTER>
“ผู้แทนจากประเทศไทยไม่ได้รับอนุญาตให้แถลงใดๆ ในการประชุม” ดืมอัมปึล กล่าว

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พยายามอธิบายให้เห็นว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดตามแนวชายแดนระหว่างสองประเทศ และยังจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในระยะเวลาข้างหน้า

คณะผู้แทนของไทยได้ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ ระบุว่า คณะกรรมการมรดกโลกไม่มีข้อมูลเพียงพอในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และ ไม่ได้รับฟังข้อมูลจากฝ่ายไทยเกี่ยวกับความจำเป็นในการขอร่วมขึ้นทะเบียน

ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดสูง ริมหน้าผาชันของเทือกเขาดงรัก และอยู่ในเขตสันปันน้ำของไทยอันเป็นเส้นเขตแดนตามกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ศาลระหว่างประเทศในกรุงเฮกได้ตัดสินยกให้เป็นของกัมพูชา ในปี 2506 โดยไม่ได้มีการตัดสินเกี่ยวกับอาณาบริเวณโดยรอบ ซึ่งอยู่ในเขตสันปันน้ำของไทยเช่นกัน
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือน ก.ค. 2551 พระสงฆ์เดินผ่านบริเวณโคปุระชั้นที่ 3 ก่อนเข้าปราสาท.. ก่อนหน้านี้เคยอยู่กันอย่างเป็นสุข ทางขึ้นที่สะดวกอยู่ทางฝั่งไทย การขึ้นทะเบียนนำมาซึ่งความขัดแย้ง ปฏิเสธได้อย่างไร?  </FONT></bR>
รัฐบาลไทยได้โต้แย้ง ทำบันทึกถึงศาลโลก ยืนยันในสิทธิเหนือดินแดนรอบๆ ปราสาทพระวิหารมาตั้งแต่นั้น

ปัจจุบันอาณาบริเวณบางส่วนของปราสาทพระวิหารอยู่ในอาณาเขตของไทย นอก “พื้นที่พิพาท” รวมทั้งบริเวณที่เรียกว่า “ผามออีแดง” ด้วย นอกจากนั้น ทางขึ้นที่สะดวกที่สุดไปยังปราสาท ก็ต้องขึ้นจากฝั่งไทย รัฐบาลไทยได้พยายามขอร่วมขึ้นทะเบียนอาณาบริเวณเหล่านี้เป็นมรดกโลกด้วย เพื่อพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน

ที่ผ่านมา ทางการกัมพูชาได้เบี่ยงเบนประเด็นให้เห็นว่า ประเทศไทยกำลังขอร่วมขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เพื่อร่วมเป็นเจ้าของ ทั้งๆ ที่ศาลโลกได้ยกให้เป็นของกัมพูชาแล้วตั้งแต่เกือบ 50 ปีก่อน “พร้อมกับพื้นที่โดยรอบ”
กำลังโหลดความคิดเห็น