xs
xsm
sm
md
lg

“ฮุนเซน” ปูดลับ หนำใจขู่ได้ทั้ง “เทพเทือก-ประวิตร!!”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มจากเดือน ส.ค.2551 สมเด็จฯ ฮุนเซน กำลังออกท่าออกทาง ระหว่างให้สัมภาษณ์หลังต้อนรับการเยือนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสหรัฐฯ บุคลิกนี้เฉพาะตัว ลอกเลียนได้ยาก</FONT></bR>

ผู้จัดการออนไลน์ - นายกรัฐมนตรีกัมพูชาสมเด็จฯ ฮุนเซน ได้ออกเตือนไทยอีกครั้งหนึ่งในวันอังคาร (30 มิ.ย.) หากคิดจะบุกยึดปราสาทพระวิหารกลับคืน จะต้องสู้รบกับทหารเขมรที่กรำศึกมาตลอด และฝ่ายไทยอาจจะต้องใช้ทหาร 30,000-50,000 คนเพื่อการศึกครั้งนี้

สมเด็จฯ ฮุนเซนกล่าวว่า ได้เตือนเรื่องนี้กับนายสุเทพ เทือกสุบบรรณ กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ แล้วครั้งหนึ่งวันเสาร์ (27 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ที่บ้านพักเมืองตาขะเมา (Ta Khmao) ชานกรุงพนมเปญ

เว็บไซต์ข่าวภาษาเขมรยอดนิยม Everyday.com.kh ตีพิมพ์เผยแพร่คำเตือนและคำขู่ของผู้นำกัมพูชาเมื่อวันอังคาร โดยกล่าวว่าสมเด็จฯ ฮุนเซนประกาศเรื่องนี้ระหว่างปราศรัยที่สถาบันการศึกษาแห่งชาติ (National Education Institute) ในตอนเช้า

“ถ้าหากทหารไทยจะทำศึกเพื่อเอาคืนปราสาทพระวิหาร กองทัพบกไทยจะต้องเตรียมพร้อมที่จะใช้กำลังพลอย่างน้อย 30,000-50,000” เว็บไซต์ข่าวดังกล่าวระบุ

ผู้นำกัมพูชาอ้างว่า ก่อนหน้านี้ได้เตือนนายสุเทพ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กับ พล.อ.ประวิตร รัฐมนตรีกลาโหม ที่ไปเยือนกัมพูชาอย่างไม่เป็นทางการ ระบุว่าไทยจะต้องใช้ทหาร 3-5 หมื่นคน เพื่อรบกับทหารกัมพูชาราว 10,000 คน แต่ทั้งหมดเป็นทหารที่มีประสบการณ์ในสงครามและกรำศึกมาตลอด

นายกฯ กัมพูชากล่าวด้วยว่า ประเทศไทยมีประชากร 66 ล้านคน และกองทัพกำลังพลกว่า 300,000 คน แต่กัมพูชามีประชากรแค่ 14 ล้าน กับกำลังพลในกองทัพ 100,000 คน แต่ฝ่ายไทยจะต้องใช้กำลังพล 3-5 หมื่นสู้กับทหารกัมพูชา 10,000 คน
<bR><FONT color=#cc00cc>ขู่ผู้นำฝ่ายค้าน-- ภาพจากสื่อในกัมพูชาเดือน ส.ค.2552 หลังการเลือกตั้ง ซึ่งฝ่ายค้านประกาศจะไม่เข้าร่วมเปิดสมัยประชุมรัฐสภาเพื่อประท้วงการทุจริต สมเด็จฯ ฮุนเซน บอกกับนายสมรังสีว่า หากไม่ร่วมประชุมก็จะไม่ได้เข้าสภาฯ ตลอดไป นับเป็นบุคลิกเฉพาะตัว</FONT></bR>
ขณะเดียวกัน สัปดาห์นี้สื่อต่างๆ ในกัมพูชาพากันตีพิมพ์ข่าวเกี่ยวกับข้อเสนอของไทยถูกคณะกรรมการมรดกโลกปัดปฏิเสธไม่นำขึ้นพิจารณาในการประชุมประจำปี สื่อบางแห่งพาดหัวข่าวว่า “เป็นความปราชัยที่น่าอดสู” ของรัฐบาลไทย

คณะกรรมการมรดกโลกได้ปิดการประชุมที่เมืองเซวิลล์ (Seville) ประเทศสเปน ในวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่มีการนำข้อเสนอของไทยที่ ขอให้ทบทวนการพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

“ประเทศไทยปราชัยอย่างน่าอดสูที่สุดในการเรียกร้องให้ทบทวนการขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก” หนังสือพิมพ์ดืมอัมปึล (Deum Ampil) กล่าว
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มเอเอฟพี-- พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหมของไทยโค้งคำนับเจ้าภาพอย่างสุภาพ ระหว่างเข้าพบหารือข้อราชการกับสมเด็จฯ ฮุนเซน ในเดือน ก.พ.ปีนี้ แต่การเยือนอีกครั้งหนึ่งในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กลายเป็นไปรับคำขู่??</FONT></bR>
สื่อออนไลนส์กับหนังสือพิมพ์ภาษาเขมรหลายฉบับ ออกบทวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ในช่วงวันจันทน์กับวันอังคาร (29-30 มิ.ย.) กรณีที่คณะกรรมการมรดกโลกไม่นำข้อเสนอของไทยขึ้นพิจารณา

“ผู้แทนจากประเทศไทยไม่ได้รับอนุญาตให้แถลงใดๆ ในการประชุม” ดืมอัมปึลกล่าว

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดตามแนวชายแดนระหว่างสองประเทศ และยังจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในระยะเวลาข้างหน้า
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มจากเดือน ส.ค.2551 สมเด็จฯ ฮุนเซน กำลังชี้ประเด็นระหว่างให้สัมภาษณ์ ขณะออก เรียลิตี้โชว์ ที่ท้องทุ่ง จ.สวายเรียง นายกรัฐมนตรีลงทุนไถนาและปักดำต้นกล้า ร่วมกับราษฎรที่นั่น </FONT></bR>
คณะผู้แทนของไทยได้ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ระบุว่า คณะกรรมการมรดกโลกไม่มีข้อมูลเพียงพอในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และ ไม่ได้รับฟังข้อมูลที่จำเป็นของฝ่ายไทยก่อนขึ้นทะเบียน

ปราสาทตัวปัญหาตั้งอยู่บนยอดสูงริมหน้าผาชันและอยู่ในเขตสันปันน้ำของไทย ศาลระหว่างประเทศในกรุงเฮกตัดสินยกให้เป็นของกัมพูชาในปี 2506 โดยไม่ได้มีการตัดสินเกี่ยวกับอาณาบริเวณโดยรอบ

รัฐบาลไทยได้โต้แย้ง ทำบันทึกถึงศาลโลกยืนยันในสิทธิเหนือดินแดนรอบๆ ปราสาทพระวิหารมาตั้งแต่นั้น

ปัจจุบันอาณาบิเวณบางส่วนของปราสาทพระวิหารอยู่ในอาณาเขตของไทย นอก “พื้นที่พิพาท” รวมทั้งบริเวณที่เรียกว่า “ผามออีแดง” นอกจากนั้น ทางขึ้นที่สะดวกที่สุดไปยังปราสาทก็ต้องขึ้นจากฝั่งไทย รัฐบาลไทยได้พยายามขอร่วมขึ้นทะเบียนอาณาบริเวณเหล่านี้เป็นมรดกโลกด้วย เพื่อพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น