xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามเร่งระบายข้าวยอดส่งออก 5 เดือนพุ่ง 87%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#cc00cc>ภาพรอยเตอร์วันที่ 3 มิ.ย.2552 ชาวนาที่หมู่บ้านหง็อกหนือ (Ngoc Nu) ชานกรุงฮานอยกำลังเร่งเก็บเกี่ยว เตรียมทำนาปรังฤดูแรกของปี ยอดส่งออกข้าวถึงวันที่ 10 เดือนนี้ขยายตัวกว่า 80% เทียบกับช่วยเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว คาดว่ายอดส่งออกรวมตลอดทั้งปีอาจทะลุ 6 ล้านตัน </FONT></br>

ASTVผู้จัดการรายวัน-- ผู้ค้าข้าวในเวียดนามเร่งเซ็นสัญญาซื้อขายกับลูกค้าต่างประเทศหลังจากได้รับไฟเขียวซึ่งทำให้ยอดเซ็นซื้อขายจนถึงวันที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา พุ่งเป็น 4.76 ล้านตัน คิดเป็นอัตราขยายตัว 87% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว กระทรวงที่เกี่ยวข้องรวมทั้งธนาคารกลางกำลังเตรียมหลายมาตรการดันส่งออกทะลุเป้า

การเซ็นสัญญาซื้อขายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ มีขึ้นหลังจากสัปดาห์ก่อนผู้ค้าข้าวได้ออกเรียกร้องไปยังรัฐบาล เพื่อกดดันให้สมาคมอาหารเวียดนามหรือ VietFood ขยายเพดานส่งออกตลอดปีขึ้นเป็น 6 ล้านตันจากเป้าหมายเดิม 4.5-5 ล้านตัน เนื่องจากมีข้าวค้างสตอกอยู่จำนวนมหาศาล

ยังไม่มีการเปิดเผยมูลค่าและรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของข้าวที่เซ็นซื้อขาย แต่หนังสือพิมพ์เตื๋อยแจ๋ (Tuoi Tre) รายงานโดยอ้างตัวเลขของ VietFood ระบุว่า สัญญาซื้อขายในขณะนี้มีมูลค่ารวม 1,300 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 51% จากช่วงเดียวกันของปี 2551 ถึงต้นเดือน มิ.ย.มีการส่งมอบข้าวให้ลูกค้าจำนวน 3.2 ล้านตัน

ผู้ค้ากับผู้ส่งออกหลายจังหวัดในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงได้รวมตัวกันเรียกร้องไห้เพิ่มโควตาส่งออก เนื่องจากมีข้าวเหลือในตลาดจำนวนมาก ไม่เป็นผลดีต่อชาวนานและต่อประเทศโดยรวม ราคาตลาดโลกก็เริ่มตกลง และ ไทยกับอินเดียกำลังจะส่งออกข้าวหลายล้านตันในช่วงเดือนข้างหน้านี้

จนถึงสิ้นปีนี้ชาวนาทั่วประเทศเวียดนามยังจะมีฤดูเก็บเกี่ยวอีก 2 ฤดู ซึ่งจะทำให้มีข้าวเหลือตกค้างในสตอกเพิ่มขึ้นอีก ราคาจะตกต่ำลงยิ่งกว่านี้ ถ้าหากไม่รีบระบายออก
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพรอยเตอร์วันที่ 7 มิ.ย.2552 ชาวนากำลังเก็บเกี่ยวข้าวที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชานเมืองสิลีกูรี (Siliguri) ทางภาคตะวันออกของประเทศ ปีนี้อินเดียผลิตข้าวได้มากและกำลังจะส่งออกอีกนับล้านตันในเดือนข้างหน้า ปีที่แล้วอินเดียปีนขึ้นมาครองตำแหน่งแทนเวียดนามในฐานะประเทศส่งออกข้าวมากอันดับ 2 ของโลก </FONT></br>
เขตที่ราบปากแม่น้ำโขงเป็นแหล่งผลิตข้าวราว 60% ของทั้งประเทศ และ ประมาณ 99% ของข้าวที่ส่งออก

หนังสือพิมพ์ไซ่ง่อนเตี๊ยบถี (Saigon Tiep Thi) รายงานปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า อ้างตัวเลขประมาณการของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทว่า ฤดูนาปรังที่จะเก็บเกี่ยวในไตรมาสที่สามของปีนี้ เขตที่ราบใหญ่จะผลิตข้าวได้อีกประมาณ 2 ล้านตัน

การส่งออกข้าวได้กลายเป็นกระทู้ที่เผ็ดร้อนในการประชุมรัฐสภา (National Assembly) เวียดนามสัปดาห์ที่แล้ว โดยผู้แทนราษฎรจากจังหวัดภาคใต้ได้ ตั้งคำถามเกี่ยวกับมาตรการที่จำเป็นในการจัดการกับการส่งออกสินค้าการเกษตรหลักสำคัญที่สุดของประเทศ

ตามรายงานของสำนักข่าวเวียดนามเน็ต สส.หลายคนได้ยกประเด็นราคาข้าวในประเทศตกต่ำลงอย่างน่าใจหายในปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาการส่งออกข้าวที่สะท้อนให้เห็นความไม่ปกติอยู่หลายประการ

นายหวูฮวีหว่าง (Vu Huy Hoang) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้ยอมรับในความไม่สมประกอบเกี่ยวกับการส่งออกข้าวในปีนี้

รัฐมนตรีผู้นี้กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการหารือกับ VietFood หลายครั้ง หน่วยงานนี้ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ติดามดูการส่งออกข้าวและสถานการณ์ข้าวโลก แต่ถูกกล่าวหาจากทุกฝ่ายว่า พยากรณ์อะไรต่างๆ ไม่เที่ยงตรงและให้คำแนะนำไม่เพียงพอแก่ผู้ค้าและผู้ส่งออก

ในการตอบกระทู้ผู้แทนราษฎรเมื่อวันศุกร์ (12 มิ.ย.) นายหว่างยอมรับว่า มีความอ่อนด้อยหลายประการในการส่งออกข้าวของประเทศซึ่งตนเองมีส่วนรับผิดชอบอยู่ด้วย แต่จะทำงานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอื่นๆ หาทางแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านั้น

นายหว่างกล่าวว่า ถึงอย่างไร 5 เดือนแรกของปีนี้เวียดนามส่งออกข้าวทะลุเป้าหมาย และส่งออกมากอย่างเป็นประวัติการณ์ อันเป็นความพยายามร่วมกันของทุกฝ่าย แม้ว่าราคาในตลาดโลกจะผันผวน และไม่ขยับขึ้นสูงเช่นเมื่อปีที่แล้วก็ตาม

การส่งออกข้าวของเวียดนามขึ้นอยู่กับผลผลิตการเกษตรในแต่ละปี ทั้งนี้เพื่อให้มีความมั่นคงด้านเสบียงอาหารสำหรับประชากร 87 ล้านคน และ ป้องกันมิให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อ พุ่งขึ้นสูง

นายหว่างกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา VietFood มีความอ่อนด้อยในเรื่องนี้ ทำให้มีข้าวค้างสตอกประมาณมหาศาล ส่งผลกระทบต่อราคาในประเทศ รวมทั่งราคารับซื้อจากนา นายกรัฐมนสตรีได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมฯ กระทรวงเกษตรฯ เข้าไปมีบทบาทในเรื่องนี้มากขึ้น แม้ VietFood จะเป็นเจ้างานอยู่ก็ตาม
<br><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มรอยเตอร์วันที่ 6 พ.ค.2552 คนงานกำลังขนกระสอบข้าวจากกุดังเก็บของรัฐบาลในกรุงมะนิลา ทั้งหมดเป็นข้าวที่นำเข้าจากเวียดนาม ต้นปี 2552 ฟิลิปปินส์เซ็นซื้ออีก 1.5 ล้านตัน รัฐบาลได้ไฟเขียวให้เอกชนทำสัญญาซื้อขายได้อีกครั้งหนึ่งถึงวันที่ 10 มิ.ย.นี้ทำให้ยอดรวมขยายตัวกว่า 80% เทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว</FONT></br>
สัปดาห์ที่แล้วเช่นกันนายเหวียน-วัน-ซโหย่ว (Nguyen Van Giau) ผู้ว่าการธนาคารแห่งรัฐได้ตอบคำถามในรัฐสภาเกี่ยวกับเรื่องข้าว ระบุว่าธนาคารพาณิชย์หลายแห่งยังไม่ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่ชาวนา ทั้งๆ ที่ได้รับการสนับสนุนเกี่ยวกับดอกเบี้ยจากธนาคารแห่งรัฐ (State Bank of Vietnam) ไปแล้ว

ถ้าหากแบงก์พาณิชย์แห่งใด ไม่ปฏิบัติภาระหน้าที่ตามข้อตกลง ก็จะถูกลงโทษ ผู้ว่าฯ แบงก์แห่งรัฐกล่าว

จนถึงปัจจุบันแบงก์พาณิชย์ได้ปล่อยกู้ให้กับชาวนา เป็นค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย สารปราบศัตรูข้าว ตลอดจนค่าจ้างแรงงานปักดำและเก็บเกี่ยว รวมประมาณ 84.3 ล้านดอลลาร์ เป็นจำนวนน้อยหากเทียบกับงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ 8,000 ล้านดอลลาร์ และ น้อยมากหากเทียบกับการปล่อยกู้ให้แก่แขนงเศรษฐกิจอื่น

รัฐบาลเวียดนามได้เพิ่มวงเงินงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านดอลลาร์ปลายปีที่แล้ว เป็น 8,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป่าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ 5 ในปีนี้.
กำลังโหลดความคิดเห็น