xs
xsm
sm
md
lg

ADB จี้เวียดนามเร่งขับเคลื่อนรถหัวกระสุน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099> ไม่ว่าหน้าตาของรถไฟฟ้าความเร็วสูงเวียดนามใจออกมาเป็นเช่นไร เอดีบีได้เร่งเร้าให้เวียดนามใช้วิกฤติการเงินโลกในขณะนี้เป็นโอกาส ในการสร้างระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ต่างๆ ขณะที่มีงบประมาณหรือเงินทุนพร้อมอยู่แล้ว   </FONT></CENTER>

ASTVผู้จัดการรายวัน-- ท่ามกลางวิกฤตภายนอกประเทศ แขนงก่อสร้างในเวียดนามยังมีความคึกคัก โครงการใหญ่หลายโครงการมีความพร้อมด้านการเงิน และ สัปดาห์ที่แล้วธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ได้เร่งเร้าให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์รีบดำเนินการโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต่างๆ ซึ่งรวมทั้งรถไฟฟ้าหัวกระสุนมูลค่าเกือบ 60,000 ล้านดอลลาร์ด้วย

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์แทงเนียน เวียดนามมีเงินพร้อมสำหรับโครงการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินงบประมาณ เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ตลอดจนเงินกู้จากญี่ปุ่นที่ไม่ติดปัญหาใดๆ ทำให้เอดีบีเร่งเร้าให้เร่งดำเนินการ

นายอะยูมิ โคนิชิ (Ayumi Konishi) ผู้อำนวยการเอดีบีประจำเวียดนาม ออกเรียกร้องในเรื่องนี้ในวันที่ 17 มี.ค. และต่อมาวันที่ 20 ธนาคารแห่งนี้ก็ได้ประกาศเกี่ยวกับเงินกู้ก้อนใหม่สำหรับทางหลวงสายสำคัญอีกสายหนึ่บงในภาคใต้ของประเทศ

ผู้อำนวยการของเอดีบีกล่าวว่า เวียดนามจำเป็นต้องเร่งก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นเร่งด่วน รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้พลังความร้อนจากถ่านหินในภาคใต้ ท่าเรืออีกหลายแห่ง และ ระบบรถไฟฟ้าความยาว 1,550 กม.ระหว่างกรุงฮานอยกับนครโฮจิมินห์ ที่กำลังอยู่ระหว่างการสรุปโครงการ

นายโคนิชิกล่าวว่า การล่าช้าจะไม่เกิดผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม นักลงทุนต่างชาติจะถอนตัวออกไปหากไม่รีบแก้ไขการขาดแคลนกระแสไฟฟ้า โครงการโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซจึงเป็นหนึ่งในความจำเป็นรีบด่วน

เวียดนามมีประชากร 86 ล้านคนมีผลผลิตมวลรวมภายในประเทศมูลค่า 85,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่มีความจำเป็นมากในการเชื่อมเมืองหลวงฮานอยในภาคเหนือ เข้ากับศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศในภาคใต้

นายเหวียนหูบ่าง (Nguyen Huu Bang) ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารรัฐวิสาหกิจรถไฟเวียดนามบอกกล่าวเรื่องนี้กับที่ประชุมสัมมนาเกี่ยวกับระบุบรถไฟในย่านแปซิฟิก ที่จัดขึ้นในกรุงฮานอยในสัปดาห์เดียวกัน

นายบ่างกล่าวว่าโครงการรถไฟฟ้าหัวกระสุนเวียดนามจะแบ่งเป็นสองช่วง คือ เปิดให้บริการสองช่วงแรกในปี 2562 และให้บริการได้ตลอดเส้นทางในปี 2578 นั่นคืออีก 10-25 ปีข้างหน้า

เมื่อเปิดให้บริการได้เสร็จสมบูรณ์ การเดินทางด้วยความเร็วปกติระหว่างฮานอยกับโฮจิมินห์จะใช้เวลาเพียงประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง จาก 32-36 ชั่วโมงในปัจจุบัน ขณะนี้หน่วยงานและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น เยอรมนี และฝรั่งเศส

ตามรายงานของสื่อทางการ รัฐวิสาหกิจรถไฟฯ กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องจะสรุปผลการศึกษาในเดือน มี.ค.นี้ เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากรัฐสภา ที่มีกำหนดจะเปิดประชุมสมัยสามัญต้นปีมนเดือน เม.ย.

ทางรถไฟที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นแบบรางแคบ 1.00 เมตร สร้างโดยฝรั่งเศสในช่วงปี 2425-2479

การประชุมสัมมนาดังกล่าวมีผู้แทนจากบริษัทอาลสตอม (Alstom SA) แห่งฝรั่งเศส เจ้าของเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง "เตเชเว" (TGV) ตลอดจนบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ต่างๆ เข้าร่วมด้วย

นอกจากนั้นกำลังจะมีการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการก่อสร้างอีกวงหนึ่งในนครโฮจิมินห์วันที่ 26-30 มี.ค.นี้ มีตัวแทนธุรกิจและอุตสาหกรรมจาก 15 ประเทศและดินแดน รวมทั้งจากไทย เกาหลี ญี่ป่นและฝรั่งเศสเข้าร่วมด้วย ราว 400 คน

ในงาน Vietbuild 2009 นี้จะมีการออกร้านแสดงสินค้ารวม 900 คูหา ในนั้นเป็นร้านของบริษัทเวียดนามกว่า 192 แห่ง ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์ลาวด่ง (Lao Dong) หรือ แรงงาน

ในสัปดาห์เดียวกันเอดีบีได้อนุมัติเงินกู้อีก 410.2 ล้านดอลลาร์แก่เวียดนาม เพื่อสมทบโครงการสร้างทางหลวงระยะทาง 51 กม. ช่วงนครโฮจิมินห์ไปยัง อ.ลองแถ่ง (Long Thanh) จ.ด่งนาย (Dong Nai) ซึ่งถูกเลือกเป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งใหม่ และใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของประเทศ

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เยินซเวิน (Nhan Dan) ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ถนนช่วงดังกล่าวซึ่งจะต้องสาร้างสะพานข้ามลำน้ำนับสิบแห่งมีมูลค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 932.4 ล้านดอลลาร์ รัฐบาลเวียดนามจะสมทบเงินงบประมาณเข้าโครงการอีกเพียง 5.7 ล้านดอลลาร์เท่านั้น อีก 516.5 ล้านดอลลาร์จะเป็นเงินกู้ผ่อนปรนจาก องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นหรือ JICA
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพรถไฟฟ้าชินกันเซ็นอีกขบวนหนึ่งในญี่ปุ่น.. แต่เจ้าหน้าที่เวียดนามพูดชัด ขณะนี้กำลังเร่งพิจารณาทั้งชินกันเซ็น  เตเฌเว (TGV) ของฝรั่งเศสและระบบของเยอรมนีด้วย  </FONT></CENTER>
ทางหลวงสี่ช่องทางจราจรจะเป็นถนนวงแหวนสายที่สองของโฮจิมินห์ เชื่อมกับทางหลวงสาย 1A ซึ่งเป็นทางหลวงสายหลักเชื่อมภาคเหนือกับภาคใต้ ซึ่งในอนาคตจะใช้เป็นเส้นทางเชื่อมไปยังประเทศกัมพูชาภายใต้กรอบกลุ่มความร่วมมืออนุภูมิภาคแม่น้ำโขงหรือ GMS ที่เอดีบีให้การสนับสนุน

แต่เส้นทางสายนี้จะมีสะพานข้ามแม่น้ำด่งนายรวมความยาวถึง 1,700 เมตร ทำให้ค่าก่อสร้างสูงมาก เยินซเวินกล่าว

ตามรายงานของสื่อทางการก่อนหน้านี้ โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ในเวียดนามยังคงดำเนินได้ต่อไป มีเพียง 2 หรือ 3 โครงการที่ประสบปัญหาการเงิน รวมทั้งทางด่วนอีกสายหนึ่งในภาคใต้แต่เป็นปัญหาติดขัดที่การเจรจาระหว่างผู้รับสัมปทานกับธนาคารเพื่อการพัฒนาและการลงทุน (Bank for Development and Investment of Vietnam) หรือ BIDV ที่ยังไม่ลงตัว

ทางด่วนสายสำคัญนี้มีความยาว 62 กม.จากโฮจิมินห์ ไปยัง จ.เตี่ยนซยาง (Tien Giang) กับจังหวัดอื่นๆ ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 2548 ภายใต้สัมปทานแบบ BoT โดยรัฐบาลเวียดนามตกลงออกค่าใช้จ่ายให้ส่วนหนึ่งล่วงหน้า จนกว่าผู้รับสัมปทานจะเริ่มมีรายได้จากการเก็บค้าผ่านทางจึงจะก่อสร้างเฟสต่อไป

เวลาต่อมาเจ้าของสัมปทาน ได้ตกลงขายสิทธิ์เก็บค่าผ่านทางให้แก่ธนาคารดังกล่าวที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินลงทุนด้วย

ถนนสายนี้เป็นโครงการหนึ่งที่เอดีบีออกเรียกร้องให้การก่อสร้างดำเนินต่อไป เนื่องจากจะเป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมต่อไปยังภาคใต้ของกัมพูชา ในแผนการถนน "ระเบียงเศรษฐกิจสายใต้" ที่จะทะลุผ่ายชายแดนภาคตะวันออกของไทยไปจนถึงกรุงเทพฯ
กำลังโหลดความคิดเห็น