xs
xsm
sm
md
lg

30 ปีผ่านไปการไต่สวนคดีเขมรแดงเพิ่งเริ่ม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=660099> ภาพ AFP วันที่ 5 ก.พ.2551 นักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธู์ในกรุงพนมเปญ ซึ่งก็คือ คุกตวลสะแลง (Tuol Sleng) ที่ระบอบเขมรแดงใช้คุมขัง ทรมานและสังหารนักโทษนับพันๆ ในอดีต ภาพของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้สะท้อนกระจกเงาทำให้บรรยากาศดูวังเวง การไต่สวนคดีจะเริ่มเป็นครั้งแรกในวันอังคาร (17 ก.พ.) นี้ จำเลยคนแรกคือ ผู้คุมของที่นี่  </FONT></CENTER>
ASTVผู้จัดการรายวัน-- เวลาผ่านไป 30 ปี นับตั้งแต่เริ่มยุคการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาจนก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ที่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เหยื่อระบอบเขมรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่กำลังจะได้เห็นการไต่สวนหาผู้กระทำความผิด หรือผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการมีผู้เสียชีวิตกว่า 1 ล้านคนในช่วงเวลาเพียงสามปีเศษจากต้นปี 2518 ถึงต้นปี 2522

ชาวกัมพูชาเกือบทุกครอบครัวได้สูญเสียสมาชิกในช่วงปีดังกล่าว รวมทั้งสมเด็จพระนโรดมสีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชาที่ทรงสูญเสียพระราชโอรสพระราชธิดาตลอดจนพระญาติไปจำนวน 7 พระองค์ แต่นั้นเป็นต้นมาก็ยังไม่เคยมีผู้นำเขมรแดงคนใดถูกนำตัวขึ้นไต่สวนในศาล จนกระทั่งในวันอังคาร (17 ก.พ.) ที่จะถึงนี้

คณะตุลาการระหว่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ กำลังจะเปิดไต่สวนนายกางกึ๊กเอียว (Kaing Keuk Eav) หรือ "สหายดุจ" (Duch) อดีตผู้บัญชาการเรือนจำเอส-21 (S-21) ที่ดัดแปลงโรงเรียนมัธยมทั้งหลังในพนมเปญ ให้กลายเป็นที่คุมขัง ซึ่งรู้จักกันดีกว่าในชื่อ "เรือนจำตวลสะแลง"

ปัจจุบันอายุ 66 ปี เมื่อครั้งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำหนุ่ม เขาต้องรับผิดชอบต่อการทรมานจับกุมคุมขังบุคคลที่รัฐบาลเขมรแดงเรียกว่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองนับพันๆ รวมทั้งผู้รอดชีวิตมาจนถึงปัจจุบันจำนวนหนึ่ง ซึ่งถูกปลดปล่อยจากพันธนาการเมื่อทหารเวียดนามยาตราทัพเข้าถึงพนมเปญในวันที่ 7 ม.ค.2522

นายจุมเมย (Chum Mey) ผู้รอดชีวิตคนหนึ่งซึ่งปัจจุบันอายุ 60 ปี กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ที่เรือนจำตวลสะแลงว่า เขาเองอยากจะถามสหายดุจว่าเข่นฆ่าชาวเขมรด้วยกันได้อย่างไร และทำไมพวกนั้นจึงทรมานเขา

นายเมยเป็นหนึ่งในบรรดาผู้รอดชีวิตจากตวลสะแลงจำนวน 14 คน ที่ไปร่วมเป็นพยานการไต่สวนครั้งนี้กล่าวว่า ที่นั่นเป็นสถานที่กักกันและทรมานนักโทษ ก่อนจะถูกนำตัวไปทุบด้วยท่อนไม้จนเสียชีวิต ณ สถานที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นอนุสรณ์สถานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เจืองแอ็ก (Choeung Ek) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงพนมเปญออกไปราว 40 กิโลเมตร

สถานที่แห่งนั้นเป็นที่มาของคำว่า "ทุ่งสังหาร" (Killing Field)
<CENTER><FONT color=660099> ภาพแฟ้ม AFP จากปีที่แล้ว สหายดุจ กำลังปรึกษาฟรองซัว รูซ ์(Francois Roux) ทนายความในวันถูกนำขึ้นฟ้องต่อคณะตุลาการระหว่างประเทศ อดีตผู้บัญชาการเรือนจำตวลสะแลงหรือศูนย์ S21 เป็นจำเลยคนแรก หลังจากเตรียมการเรื่องนี้มานานถึง 6 ปี  </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=660099> ภาพ AFP วันที่ 12 ก.พ.2551 ฮิมฮุย (Him Huy) อดีตรองหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยตวลสะแลง (Tuol Sleng)กำลังมองดูรูปของกางกึ๊กเอียว (Kaing Geuk Eav) สหายดุจ (Duch) ฮุยกับเพื่อนอีกจำนวนหนึ่งถูกกันเป็นพยานในการไต่สวนเอาผิดอดีตเจ้านายของเขาเอง หลังเหตุการณ์ผ่านไป 30 ปี </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพ AFP วันที่ 4 ก.พ.2551 นายจุมเมย (Chum Mey) ผู้รอดชีวิตอีกคนหนึ่งชี้ให้ผู้สื่อข่าวดูรูปของเขาเองครั้งที่เป็นนักโทษในศูนย์ S21 เขาบอกว่า พวกเขมรแดงไม่เคยเปลี่ยน ปากก็พูดไปแต่จิตใจเหี้ยมโหดตลอดกาล นายเมยเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังจะขึ้นให้การในฐานะพยานโจทย์ </FONT></CENTER>
"อะไรเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาก่ออาชญากรรมที่โหดร้ายป่าเถื่อนเช่นนี้" นายเมยกล่าวขึ้นมาระหว่างเดินทางไปยังตวลสะแลง ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เป็นประจักษ์พยานความโหดร้ายของระบอบคอมมิวนิสต์เขมรแดง ที่นิยมลัทธิเหมาเจ๋อตง

เมื่อ "ทหารชุดดำ" จากเขตชนบทยาตราเข้าสู่พนมเปญในวันที่ 17 เม.ย.2518 ชาวเมืองหลวงได้ให้การต้อนรับ "ทหารป่า" พวกนั้นด้วยการสวมกอด หวังว่านั่นจะเป็นการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนามาข้ามทศวรรษ โดยไม่ทราบว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้นของฝันร้ายที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่า

นักประวัติศาสตร์หลายคนกล่าวว่า สงครามในกัมพูชาเป็นผลพวงจากสงครามที่คอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือต่อสู่กับกองทัพสหรัฐฯ ในเวียดนาม แต่สำหรับพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาหรือเขมรแดงในอดีต มันเป็นสงครามปลดปล่อยประเทศชาติเพื่อก่อตั้งระบอบใหม่ สถาปนาสังคมใหม่ที่ปราศจากการกดขี่ขูดรีด

แต่เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากยึดครองกรุงพนมเปญได้เบ็ดเสร็จ สหายโปลโป้ท (Pol Pot) หรือ "พลพต" ซึ่งมีชื่อจริงว่า "สโลตสาร" (Slot Sar) ก็ได้เริ่มนำประเทศเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า "ปีแห่งความมืดมิด" (Year of Zero) ที่ภายนอกรับรู้ความเป็นไปในประเทศนี้น้อยมาก

เขมรแดงได้เริ่มขับไล่ผู้คนออกจากพนมเปญและเมืองใหญ่ทั่วไปลงสู่การผลิต โดยเห็นว่าในเมืองไม่มีอาหารเหลืออยู่และไม่สามารถพึ่งพาการช่วยเหลือจากภายนอกได้ ทุกคนจะต้องออกไปผลิตอาหาร
<CENTER><FONT color=660099> ภาพ AFP วันที่ 5 ก.พ.2551 นายบูเม็ง (Bou Meng) ผู้รอดชีวิตอีกคนหนึ่งไปที่ตวลสะแลง สาธิตตอนที่ถูกจองจำให้นักข่าวได้ดูเป็นตัวอย่าง เขาถูกขังและถูกทรมานที่นั่นเป็นเวลากว่า 1 ปี ภรรยาก็เสียชีวิตที่นั่น เม็งกำลังจะขึ้นเป็นพยาน อีกคนหนึ่ง </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=660099>ภาพ AFP วันที่ 2 ก.พ.2551  นักท่องเที่ยวมองดู หญิงชุดดำ อุ้มลูกน้อย เขมรแดงไม่เพียงแต่สังหารประชาชนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเข่นฆ่า สหายชุดดำ ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีกด้วย หลังการยึดอำนาจวันที่ 17 เม.ย.2518 กลุ่มของโปลโป้ท (Pol Pot) มีศัตรูทางการเมืองมากมาย มีความพยายามรัฐประหารยึดอำนาจโดยกลุ่มอื่นหลายครั้ง </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพ AFP วันที่ 2 ก.พ.2551 เหยื่อที่ศูนย์ S21 จำนวนมากเป็นเด็กๆ และเยาวชน ที่เป็นลูกหลานของสหายชุดดำด้วยกัน คนเหล่านี้ถูกนำไปสอบสวนเค้นเอาความจริง ก่อนจะถูกสังหารแบบ ฆ่าทั้งโคตร เป็นการกำจัดศัตรูทางการเมืองอย่างเหี้ยมโหดโดยคนของโปลโป้ท </FONT></CENTER>
ตัวเลขบางสำนักกล่าวว่าประชากราวเมืองหลวงที่มีอยู่ราว 2 ล้านคนในปีนั้น ในเวลาเพียง 3 วันเหลืออยู่เพียงประมาณ 25,000 คน

รัฐบาลใหม่ได้ประกาศห้ามใช้เงินอันเป็นสัญลักษณ์ระบอบทุนนิยม พลพรรคเขมรแดงระเบิดที่ทำการธนาคารแห่งชาติทิ้ง มีการนำรถยนต์ไปกองพะเนินไว้ที่ท่าอากาศยาน เนื่องจากนั่นเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญก้าวหน้า

จากคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิต เขมรแดงจะสังหารทุกคนที่สวมแว่นสายตาหรือพูดภาษาต่างประเทศได้ รวมทั้งพวกที่มืออันนิ่มบางก็ได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก "ปัญญาชน" และ "พวกชนชั้นกลาง" ซึ่งเป็นศัตรูกับการปฏิวัติของชาวนา (Peasant Revolution) ของโปลโป้ท

สำหรับนายเมยซึ่งในขณะนั้นเป็นช่างซ่อมรถยนต์ ถูกกล่าวว่าเป็นสายลับให้แก่ซีไอเอ หรือ องค์การประมวลข่าวกลางสหรัฐฯ (Central Intelligence Agency) เขาถูกจับยัดคุกแคบๆ ที่ตวลสะแลง ถูกพันธนาการตีตรวน และถูกทรมานแทบจะรายวัน เพื่อให้รับสารภาพ

"ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยเฆี่ยนผมถึง 200 ครั้งด้วยสายไฟเพราะได้ยินเสียงเคลื่อนไหวของโซ่ (ที่มั่นขา)" เมยหวนรำลึกความหลังด้วยน้ำตานองใบหน้า

"พวกเขาฆ่าภรรยากับลูกชายของผม พวกนั้นฆ่ากระทั่งทารกอายุเพียงไม่เดือน" เหยื่อรอดชีวิตรายเดียวกันกล่าว

เป็นเวลาร่วม 6 ปีนับตั้งแต่สหประชาชาติได้ตกลงจัดตั้งคณะตุลาการระหว่างประเทศขึ้นไต่สวนอดีตผู้นำเขมรแดง กลุ่มผู้ทำหน้าที่อัยการกล่าวว่า สามารถจัดเตรียมพยานเอกสาร พยานบุคคล ตลอดจนพยานแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งภาพถ่ายได้จำนวนมาก

นายวิลเลียม สมิธ (William Smith) อัยการคนหนึ่งกล่าวว่า กรณี S-21 นี้ชัดเจน และตัดสินความผิดได้ไม่ยาก
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพ AFP ถ่ายวันที่ 9 ก.พ.2552 อนุสรณ์สถาน ทุ่งสังหาร ที่เจืองแอ็ก (Choueng Ek) ใน จ.กันดาล (Kandal) ห่างจากกรุงพนมเปญ 40 กม.เศษ หลุมศพหมู่ยังปรากฏเรียงรายให้เห็นอยู่ นักโทษจำนวนมากถูกส่งไปจากตวลสะเลงและถูกสังหารที่นี่ด้วยวิธีการต่างๆ นานา </FONT></CENTER>
โปลโป้ทผู้ที่ควรจะถูกลงโทษหนักที่สุดได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2541 ในเขตป่า ใกล้ชายแดนไทย หลังจากผู้นำแตกกันเป็นหลายฝ่ายและถูกยึดอำนาจโดยชิตเจือน (Chhit Choeun) หรือ “ตาม๊อก” (Ta Mok) ผู้บัญชาการทหารที่ไม่ยอมจำนน

ม๊อกตาซึ่งถูกตั้งฉายาให้เป็น “คนฆ่าสัตว์” (Butcher) ถูกทางการจับกุมในปี 2543 และถูกคุมขังมาตลอด จนกระทั่งเสียชีวิตลงในปี 2549 ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของกรุงพนมเปญ

นอกจากสหายดุจแล้ว อดีตผู้นำเขมรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่และจะถูกไต่สวนต่อไป ได้แก่ นายเคียวสมพร (Khieu Samphan) นายเอียงซารี (Ieng Sary) นายนวลเจีย (Nuol Chea) กับ นางเอียงธิริต (Ieng Thirith).
กำลังโหลดความคิดเห็น