เจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัท Vietnam-Japan Consulting Joint Venture ซึ่งตั้งขึ้นโดยเงินทุนช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประชุมร่วมกับบริษัทรถไฟเวียดนามในกรุงฮานอย เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อรายงานการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง เชื่อมระหว่างกรุงฮานอยในภาคเหนือ กับนครโฮจิมินห์ ในภาคใต้
บริษัทปรึกษาได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบระบบชินกันเซ็น (Shinkansen) ของญี่ปุ่น ระบบ TGV (train à grande vitesse) ของฝรั่งเศส กับระบบ ICE (intercity express train) ของเยอรมนี และได้เสนอแนะให้รัฐบาลเวียดนามเลือกใช้ระบบของญี่ปุ่น ที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนมากที่สุด เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์เวียดนาม ซึ่งเป็นดินแดนแนวเหนือใต้มากที่สุด
เวียดนามจะต้องใช้งบประมาณถึง 35,000 ล้านดอลลาร์ ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รองรับระบบรถไฟหัวกระสุน (ซึ่งมากกว่ามูลค่าก่อสร้างทั้งโครงการตามประมาณการเดิม) ตลอดเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ สำหรับระยะทาง 1,550 กิโลเมตร ประกอบด้วย 27 สถานี และแล่นด้วยเร็วเฉลี่ย 350 กม.ต่อชั่วโมง ทั้งนี้ เป็นรายงานของสำนักข่าวเวียดนาม (VNA)
จะเห็นได้ว่า ระยะทางของรถไฟหัวกระสุนสั้นลงเกือบ 100 กม.จากระยะทางประมาณการเบื้องแรง 1,630 กม.ตามแนวทางรถไฟในปัจจุบันที่ใช้มานานกว่าครึ่งศตวรรษ
ถึงแม้ว่านายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) จะเคยมีคำสั่งให้บริษัทรถไฟฯ ก่อสร้างแบบเฟสเดียวจบ ไม่ต้องแบ่งเป็นระยะๆ แต่บริษัทที่ปรึกษาได้เสนอว่า ควรจะเริ่มก่อสร้างช่วงต้นกับช่วงปลายพร้อมๆ กัน เพื่อเปิดใช้บริการให้ได้ในอีก 10-11 ปี จากนั้นจึงก่อสร้างช่วงกลางที่เป็นช่วงยาวที่สุดไปชนกัน ซึ่งจะใช้เวลาอีกกว่า 10 ปี
บริษัทที่ปรึกษา กล่าวว่า ถ้าหากทุกอย่างเป็นไปตามกำหนด เฟสแรกระหว่างฮานอย กับเมืองวีงห์ (Vinh) จ.เหงะอาน (Nghe An) จะเปิดใช้ได้ในปี 2563 ระยะทาง 291 กม.เนื่องจากต้องแล่นผ่านเขตเขาซับซ้อนจะใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง กับ 24 นาที พร้อมๆ กับช่วง ไซ่ง่อน-ญาจาง (Nha Trang) ใน จ.แค๊งฮว่า (Khanh Hoa) ระยะทางตามพื้นราบกว่า 439 กม.แต่ใช้เวลาวิ่งเพียง 90 นาทีเท่านั้น
ไกลออกไปในปี 2573 รถไฟหัวกระสุนฮานอย-โฮจิมินห์ จะเปิดทะลุถึงกันได้ตลอดทั้งสายโดยใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมงกับ 30 นาที
อีก 3 บริษัท และหน่วยงานที่รัฐบาลญี่ปุ่นแต่งตั้งให้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนในการสำรวจศึกษาระบบรถไฟความเร็วสูงในเวียดนามได้แก่ บริษัท Japan Transportation Consultant Inc บริษัท Japan Railway Technical Service และ บริษัท Nippon Koei
นายหว่างจุงหาย (Hoang Trung Hai) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงขนส่ง ได้เข้าร่วมการประชุมกับบริษัทรถไฟเวียดนาม เพื่อสรุปรายงานครั้งสุดท้ายก่อนนำเสนอรัฐบาลและขออนุมัติโครงการต่อรัฐสภา ซึ่งคาดว่า จะเสร็จสิ้นกระบวนการทางนิติบัญญัติภายในสมัยประชุมปลายปีนี้
การสำรวจศึกษาได้ครอบคลุมถึงเส้นทาง ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและท้องถิ่นต่างๆ ตลอดจนที่ดินที่จะต้องใช้ เงินลงทุนทั้งหมด กำหนดการก่อสร้าง การเปิดให้บริการ รวมทั้งภาพรวมเกี่ยวกับการระดมเงินทุนสำหรับโครงการ
โครงการรถไฟความเร็วสูงสร้างขึ้นมา เพื่อรองรับการคมนาคมขนส่งของประเทศที่มีประชากรราว 86.7 ล้านคน ในปัจจุบัน และคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 100 ล้านคน ในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่คาดว่า จะเปิดให้บริการสองช่วงแรกได้
บริษัทที่ปรึกษา กล่าวว่า เวียดนามกำลังต้องการระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพสูงระหว่างภาคเหนือกับภาคใต้ ระบบรางที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่อาจรองรับได้ เนื่องจากไม่สามารถพัฒนาความเร็วขึ้นได้ การเดินทางระหว่างสองนครใหญ่ในปัจจุบันต้องใช้เวลา 28-30 ชั่วโมง
ภายในปี 2563 เชื่อว่า ผู้สัญจรไปมาระหว่างกรุงฮานอย กับนครโฮจิมินห์ จะมีจำนวนถึง 48,000 คนต่อวัน จำนวนจะเพิ่มขึ้นเป็น 85,000 คนต่อวัน ภายในปี 2568
บริษัทที่ปรึกษา เห็นว่า ระบบชินกันเซน ที่ใช้แพร่หลายในญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นระบบที่เหมาะที่สุด ทั้งด้านความเร็ว ความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้และให้บริการ ขีดความสามารถกับประสิทธิภาพในการลำเลียงและขนส่งผู้โดยสาร เมื่อเทียบกับอีกสองระบบซึ่งก้าวหน้าที่สุดในยุโรปปัจจุบัน
นอกจากนั้น การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของเวียดนาม จะดำเนินไปภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ซึ่งระบบของญี่ปุ่นจะใช้จ่ายต่ำที่สุด โดยแบ่งเป็นการลงทุน 4 ขั้นตอน ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด และใช้พื้นที่ตลอดเส้นทางน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอีกสองระบบ
ตามรายงานดังกล่าว รถไฟชินกันเซน เวียดนามจะมีการเวนคืนที่ดินตลอดเส้นทาง 4,170 เฮกตาร์ หรือ 26,000 ไร่เศษ รวมมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 55,700 ล้านดอลลาร์ และกำหนดแล้วเสร็จตลอดเส้นทางในปี 2578
สื่อของทางการรายงานก่อนหน้านี้ ว่า ในเดือน พ.ย.2551 รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณก้อนแรก 2,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อเริ่มงานเคลียร์หน้าดินตลอดเส้นทาง ซึ่งถือเป็นการเริ่มการก่อสร้าง โดยไม่ต้องรอผลการศึกษาให้แล้วเสร็จ
ตามแผนการเงินดั้งเดิมนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นจะสนับสนุนเงินทุนทั้งในรูปเงินร่วมลงทุนกับเงินกู้ส่วนหนึ่ง ส่วนเวียดนามจะระดมทุนอีก 23,100 ล้านดอลลาร์สมทบ ในนั้น 9,900 ล้านดอลลาร์จะเป็นเงินทุนของบริษัทรถไฟเวียดนาม เป็นค่าเวนคืนที่ดิน ค่าชดเชย ตลอดจนจัดสร้างถาวรวัตถุ
วิศวกรชุดแรกจำนวน 10 นาย มีกำหนดจะเดินทางไปฝึกอบรมที่องค์การรถไฟญี่ปุ่นระหว่าง เดือน มี.ค.-พ.ย.ปีนี้ ด้วยความร่วมมือตามความตกลงที่รัฐบาลสองประเทศร่วมกันลงนามในปี 2549 สื่อของทางการ กล่าว
บริษัทที่ปรึกษาเห็นว่า ระบบชินกันเซน ที่ใช้แพร่หลายในญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นระบบที่เหมาะที่สุด ทั้งด้านความเร็ว ความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้และให้บริการ ขีดความสามารถกับประสิทธิภาพในการลำเลียงและขนส่งผู้โดยสาร เมื่อเทียบกับอีกสองระบบซึ่งก้าวหน้าที่สุดในยุโรปปัจจุบัน
นอกจากนั้น การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของเวียดนาม จะดำเนินไปภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ซึ่งระบบของญี่ปุ่นจะใช้จ่ายต่ำที่สุด โดยแบ่งเป็นการลงทุน 4 ขั้นตอน ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด และใช้พื้นที่ตลอดเส้นทางน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอีกสองระบบ
ตามรายงานดังกล่าว รถไฟชินกันเซน เวียดนาม จะมีการเวนคืนที่ดินตลอดเส้นทาง 4,170 เฮกตาร์ หรือ 26,000 ไร่เศษ รวมมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 55,700 ล้านดอลลาร์ และ กำหนดแล้วเสร็จตลอดเส้นทางในปี 2578
สื่อของทางการรายงานก่อนหน้านี้ ว่า ในเดือน พ.ย.2551 รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณก้อนแรก 2,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อเริ่มงานเคลียร์หน้าดินตลอดเส้นทาง ซึ่งถือเป็นการเริ่มการก่อสร้าง โดยไม่ต้องรอผลการศึกษาให้แล้วเสร็จ
ตามแผนการเงินดั้งเดิมนั้ นรัฐบาลญี่ปุ่นจะสนับสนุนเงินทุนทั้งในรูปเงินร่วมลงทุนกับเงินกู้ส่วนหนึ่ง ส่วนเวียดนามจะระดมทุนอีก 23,100 ล้านดอลลาร์สมทบ ในนั้น 9,900 ล้านดอลลาร์จะเป็นเงินทุนของบริษัทรถไฟเวียดนาม เป็นค่าเวนคืนที่ดิน ค่าชดเชย ตลอดจนจัดสร้างถาวรวัตถุ
วิศวกรชุดแรกจำนวน 10 นาย มีกำหนดจะเดินทางไปฝึกอบรมที่องค์การรถไฟญี่ปุ่นระหว่าง เดือน มี.ค.-พ.ย.ปีนี้ ด้วยความร่วมมือตามความตกลงที่รัฐบาลสองประเทศร่วมกันลงนามในปี 2549 สื่อของทางการกล่าว