xs
xsm
sm
md
lg

พม่าสร้างสนามบินบูมท่องเที่ยวหาดเบงกอล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF> นักท่องเที่ยวสาวจากดินแดนอันไกลโพ้นยังอุตส่าห์เดินทางไปถึงเงวซอง ผู้คนเริ่มรู้จักกันมากขึ้น สนามบินอีกแห่งที่นั่นอาจจะเป็นคำตอบที่ดี (ภาพ: picasaweb.google.com)  </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน— ทางการพม่าเริ่มทำการสำรวจพื้นที่เพื่อก่อสร้างสนามบินเงวซอง (Ngwe Saung) ตั้งแต่เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวทางทะเลและหาดทรายที่สวยงามริมฝั่งทะเลเบงกอง

สมาคมการท่องเที่ยวและสมาคมโรงแรมในพม่ากำลังพยายามอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศขึ้นใหม่ หลังจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปราบปรามการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยในเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว

เจ้าหน้าที่พม่ากล่าวว่าไซโคลนนาร์กิส (Nargis) ที่พัดเข้าทำลายล้างเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี (Irawaddy) เขตย่างกุ้ง และเขตพะโค (Bago) ในเดือน พ.ค. ได้เข้าซ้ำเติมการท่องเที่ยวของประเทศ

ตามรายงานของนิตยสารข่าวเมียนมาร์ไทมส์ การสำรวจพื้นที่สร้างสนามบินเริ่มขึ้นในกลางเดือน ก.ย. อยู่ห่างจากบริเวณหาดเงวซองราว 1.5 กิโลเมตร ใกล้กับหมู่บ้านตาซิน (Thazin)
<CENTER><FONT color=#3366FF> พม่ากำลังพัฒนาเขตชายหาดริมอ่าวเบงกอลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ข้อเสียก็คือพายุแรง สองหรือสางปีจะมีพายุไซโคลนเข้าทำลายล้าง เช่นเดียวกับไซโคลนนาร์กิสเมื่อต้นปีนี้  </FONT></CENTER>
แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเปิดเผยว่าสนามบินเงวซองจะมีความกว้าง 2,256 เมตร ความยาว 4,570 เมตร โดยสร้างทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินขนานกับชายฝั่งทะเล คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี

หาดเงวซองได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อปี 2542 แต่เนื่องจากขาดระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานทำให้การพัฒนาค่อนข้างล่าช้า ปัจจุบันเดินทางจากกรุงย่างกุ้งไปที่นั่นได้โดยรถยนต์ตามถนนระยะทาง 232 กม.

อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้เลือกการขึ้นเครื่องบินจากย่างกุ้งไปลงเมืองพะสิม (Patein) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี และเดินทางโดยรถยนต์เป็นระยะทางอีก 48 กม.ไปยังหาด

ปัจจุบันนักลงทุนทั้งชาวพม่าและชาวต่างชาติได้เข้าไปลงทุนสร้างโรงแรม รีสอร์ทระดับคุณภาพต่างๆ ตามหาดทรายหลายแห่ง รวมทั้งหาดชองตา (Chaung Tha) และหาดงาปาลี (Ngapali) ด้วย

“หาดต่างๆ ในพม่า ปัจจุบันมีเพียงหาดงาปาลีเท่านั้นที่สามารถเดินทางไปโดยเครื่องบินได้ หาดเงวซองจะเป็นแห่งที่สอง และจะทำให้นักเดินทางแห่ไปที่นั่น” เจ้าของโรงแรมชาวรัสเซียผู้หนึ่งกล่าว
<CENTER><FONT color=#3366FF> เทศกาลติงกาน (Thingyan) หรือ สงกรานต์ของทุกปี หาดทรายริมทะเลเบงกอลก็จะเป็นเป้าหมายของหนุ่มสาวจากทั่วสารทิศ  </FONT></CENTER>
ความเสี่ยงของการท่องเที่ยวหาดทรายริมทะเลเบงกอลก็คือ ที่นั่นจะมีพายุไซโคลนจากมหาสมุทรอินเดียพัดเข้ากระหน่ำ 2-3 ปีต่อครั้ง เช่นเดียวกันกับไซโคลนนาร์กิสในต้นเดือน พ.ค.ปีนี้

ตามรายงานของสื่อทางการ ในเดือน เม.ย.2549 ไซโคลนมาลา (Mala) เคยพัดกระหน่ำแถบชายฝั่งจนถึงเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี หมู้บ้าน รีสอร์ทและเรือนพักของนักท่องเที่ยวจำนวนมกาถูกทำลายราบ

หลังไซโคนนาร์กิส พัดเข้าถล่มระหว่างวันที่ 1-3 พ.ค.ปีนี้ โรงแรมรีสอร์ตริมหาดหลายแห่งได้รับความเสียหายต้องซ่อมแซม

พายุไม่เพียงแต่ทำลายอาคารและบ้านเรือนราษฎรเท่านั้น แต่ยังทำลายโบราณวัตถุสำคัญจำนวนมาก แม้กระทั่งเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญการท่องเที่ยวของประเทศในกรุงย่างกุ้งก็ได้รับความเสียหาย

ความเสียหายจากพายุลูกนี้ลุกลามไปจนถึงเขตพะโค (Bago) หรือหงสาวดี ปลายทางท่องเที่ยวสำคัญที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงย่างกุ้ง
<CENTER><FONT color=#3366ff> มองออกจากรีสอร์ทซันนีพาราไดซ์ (Sunny Paradise) มีทัศนียภาพสวยงาม หาดเงวซองไม่ใช่ถิ่นทุระกันดารอีกต่อไป โรงแรม-รีสอร์ทผุดขึ้นที่นั่นหลายสิบแห่งในช่วงปีใกล้ๆ นี้ (ภาพ: Flickr.com)  </FONT></CENTER>
การท่องเที่ยวที่กำลังโลดแล่นได้หยุดชะงักลงหลังการปราบใหญ่ประชาชนในเดือนก.ย.2550 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 33 คน ขณะที่รัฐบาลประเทศตะวันตกกล่าวว่าจำนวนมากกว่านั้นหลายเท่าตัว

จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงอย่างมากในปีงบประมาณ 2550-2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีงบประมาณก่อน คือระหว่างเดือน เม.ย.2549- มี.ค.2550

ในเดือน พ.ค. มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าพม่า เพียง 9,258 คน ลดลง 41.4% เทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวนลดลงอีก 19.4% ในเดือน มิ.ย.เหลือเพียง 10,968 คน เทียบกับ 13,621 คน เมื่อปีที่แล้ว

ตัวเลขเดือน ก.ค. ก็ลดลงประมาณครึ่งหนึ่งจาก 14,799 คนในเดือนเดียวกันของปี 2550.
กำลังโหลดความคิดเห็น