xs
xsm
sm
md
lg

เห็นมากับตา 8 วันผ่านไปศพยังเกลื่อนทุ่ง!!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพถ่ายวันที่ 11 พ.ค.2551 -- ครอบครัวเดียวกัน 4 คนกลายเป็นศพลอยน้ำใกล้กับเมืองเดะเด (Dedaye) ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีกลับจากที่นั่นรายงานว่าพบศพหลายสิบศพในแม่น้ำกับอีกหลายสิบตามท้องนาปะปนกับซากสัตว์เลี้ยงที่มีเกลื่อนกลาดระหว่างทาง ผู้คนผ่านไปมาเป็นปกติ ทุกคนต้องเอาตัวรอด (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>

ผู้จัดการออนไลน์-- ขณะที่รัฐบาลพม่าแถลงอย่างภาคภูมิใจ ชาวพม่าไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญอย่างล้นหลบามในวันเสาร์ (10 พ.ค.) ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวของเอเอฟพีที่เดินทางไปยังเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี และได้เห็นสภาพที่น่าอเนจอนาถใจ เพราะความช่วยเหลือต่างๆ ยังเข้าไปไม่ถึง ขณะที่ศพคนตายและซากสัตว์ยังเกลื่อนทุ่งนาและลำน้ำ

นอกจากนั้นยังได้พบเห็นศพสมาชิกทั้งครอบครัวจำนวน 4 คน ที่ลำตัวผูกติดกันด้วยเชือก

หลังพายุสงบลง 8 วันศพของคนทั้ง 4 ยังคงลอยขึ้นอืดที่ริมแม่น้ำสายเล็กๆ แห่งหนึ่ง คนกลุ่มนี้อาจจะพยายามช่วยเหลือตัวให้รอดจากพายุ แต่สิ่งที่พรากชีวิตของพวกเขาอาจจะเป็นคลื่นสูงที่ถาโถมจากทะเลเบงกอล

ใกล้กับเมืองเดะเด (Dedaye) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางตะวันตกเฉียงใต้ มีผู้คนนับหมื่นๆ รอคอยการช่วยเหลืออย่างไร้ความหวัง ขณะที่ทางการแถลงด้วยความภาคภูมิใจว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์มีประชาชนไปสิทธิ์อย่างท่วมท้น

คนอีกนับพันๆ กำลังยังทยอยตามกันไปรวมตัวยืนอยู่ริมทางหรือหรืออยู่ตามซากหักพังของบ้านเรือน รอการช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่ก็ไม่มีอะไรไปที่นั่น
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพถ่ายวันที่ 10 พ.ค.2551-- ชาวบ้านยังคงช่วยเหลือตัวเองตามลำพังในเขตเมืองกุงย่างกุ้ง (Gungyangon) ที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี ขณะที่ท้องฟ้ามืดคลึ้มกับลมพัดแรงและเกิดฝนตกหนักแทบทุกวันในพักหลังนี้ (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
ผู้คนทั้งหิว ทั้งกระหายน้ำ หน้าตาเต็มไปด้วยริ้วรอยและรอยแผล เห็นได้ชัดว่าหลายคนคงจะไม่ได้กลืนอะไรลงท้องไปในช่วงหลายวันมานี้

รัฐบาลทหารบอกกับชาวโลกว่าทางการใช้เฮลิคอปเตอร์นำอาหารและสิ่งของช่วยเหลือไปแจกจ่ายถึงมือประชาชนในเขตภัยพิบัติ แต่ผู้สื่อข่าวรายงานว่าอยู่ที่นั่นมา 3 วันเห็นเฮลิคอปเตอร์เพียง 1 ลำ จอดอยู่พื้นดินและกำลังซ่อม

ชาวบ้านที่รอคอยความช่วยเหลือตามริมถนนยืนยันว่า พวกเขายังไม่เคยเห็นเฮลิคอปเตอร์ของรัฐบาลไปแจกจ่ายอะไรที่นั่น สถานการณ์เลวร้ายกว่าที่ทุกฝ่ายคาดคิดและอย่างไม่น่าเชื่อ

วันอาทิตย์ (11 พ.ค.) นี้เกิดฝนตกหนัก ชาวบ้านส่วนมากไม่มีที่พักพิงหลบฝน หลายคนนั่งรวมกันอยู่ใต้ร่ม คอยความช่วยเหลืออย่างเลื่อนลอย
<CENTER><FONT color=#FF0000> ภาพถ่ายวันที่ 10 พ.ค.2551-- วันที่มีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ศพคนกับซากวัวขึ้นอืดเคียงข้างกัน อีกศพหนึ่งอยู่ถัดไปในท้องนาใกล้เมืองกุงย่างกุ้ง (Gungyangon) ที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี เชื่อกันคนทั้งสองเสียชีวิตขณะพยายามนำวัวหนีพายุ เมื่อไซโคลนนาร์กิสหอบคลื่นจากทะเลเบงกอลขึ้นตีกระหน่ำที่นี่ (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
บางครั้งมีผู้เมตตาผ่านไปซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มมุสลิมหรือกลุ่มชาวพุทธ นำอาหารซึ่งมักจะเป็นข้างหุงและบะหมี่สำเร็จรูป หรือขนมปังกรอบไปฝาก บางคนเอาเทียนไขกับขนมหวานไปให้ด้วย

แต่บางครั้งทันทีที่เปิดกล่องออกมาทหารก็จะกรูเข้าไปยึดสิ่งของต่างๆ เอาไปกินกันเสียเอง ทหารก็คงจะหิวเช่นเดียวกันกับชาวบ้าน

เป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์นับตั้งแต่พายุนาร์กิสผ่านไป ยังคงเห็นศพเห็นเกลื่อกลาดตามท้องทุ่ง ส่งกลิ่นเน่าเหม็น มีหลายสิบศพลอยฟ่องตามริมแม่น้ำเปียะโปน (Pyapon) นอกจากศพของคนครอบครัวเดียวกันจำนวน 4 คนดังกล่าว

ผู้คนละแวกนั้นไม่มีที่จะไป ศพคนกับซากสัตว์เลี้ยงตอนนี้ขึ้นอืด เปลี่ยนเป็นสีดำและเริ่มเน่าเปื่อย ศพคนบางศพปรากฏอยู่ใกล้ซากวัวควาย ดูเหมือนว่าจะเสียชีวิตขณะพยายามช่วยเหลือสัตว์เลี้ยง

แต่ชาวบ้านก็เดินผ่านศพกับซากเหล่านั้นทุกวันอย่างไม่รู้สึกอะไร ทุกคนดำเนินชีวิตตามปกติเพื่อให้มีชีวิตรอด
<CENTER><FONT color=#FF0000>กาชาดสากลเผยแพร่ภาพนี้เมื่อวันเสาร์ (10 พ.ค.) ชาวบ้านใกล้กับเมืองลาบุตตา (Labutta) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี จับกลุ่มกันท่ามกลางสายฝนรอความช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ไปไม่เคยถึง ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีกลับจากเขตเมืองเดะเดเมื่อวันอาทิตย์ก็ได้เห็นสภาพไม่ต่างกัน และฝนเริ่มตกหนัก (ภาพ: AFP)</FONT></CENTER>
ความช่วยเหลือขยับได้เล็กน้อย

วันอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นวันแรกที่องค์กรสหประชาชาติเริ่มมีความหวัง ขณะที่หน่วยงานสาธารณกุศลแห่งหนึ่งในฝรั่งเศสกล่าวว่าได้รับอนุญาตจากทางการพม่าให้ขนส่งของไปแจกจ่ายในเขตภัยพิบัติได้แล้ว

นางอลิซาเบ็ธ บีร์ส โฆษกสำนักงานประสานงานกิจการมนุษยธรรมหรือ OCHA องค์การสหประชาชาติกล่าวในนครเจนีวาเมื่อวันอาทิตย์ว่า เที่ยวบินจากอิตาลีพร้อมอุปกรณ์กรองน้ำ ถังใส่น้ำ รวมทั้งเต็นท์ กับสิ่งของอื่นๆ น้ำหนัก 30 ตันมีกำหนดถึงสนามบินย่างกุ้งตอนค่ำวันเดียวกัน

สิ่งของทั้งหมดจัดซื้อด้วยเงินบริจาคของรัฐบาลนอร์เว กับรัฐบาลไอร์แลนด์เพื่อส่งถึงมือผู้ประสพสบเคราะห์กรรมในพม่า

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านกู้ภัยช่วยเหลือของยูเอ็นจำนวนหนึ่งยังคงรอวีซ่าอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อเดินทางเข้าพม่า

<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพถ่ายวันที่ 11 พ.ค. 2551-- ศพเหยื่อไซโคนนาร์กิสรายนี้ถูกทิ้งเอาไว้เดียวดายริมแม่น้ำเปียะโปน (Pyapon) ใกล้กับเมืองเดะเด (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพถ่ายวันที่ 11 พ.ค. 2551-- ชาวบ้านตามสองฟากฝั่งยังคงใช้น้ำจากลำน้ำเปียะโปนอย่างไม่ทางเลี่ยง ลำน้ำสายนี้ยังมีศพลอยฟ่องอยู่หลายสิบศพ ซากสัตว์เลี้ยงอีกนับไม่ถ้วน ทุกคนเสี่ยงต่อโรคระบาด (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>
นอกจากนั้นด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินย่างกุ้ง ยังไม่ยอมเจ้าหน้าที่ยูเอ็น 2 หรือ 3 คนที่เดินทางไปถึงเมื่อวันพุธ (7 พ.ค.) ผ่านเข้าประเทศ แม้ว่าทั้งหมดจะถือหนังสือเดินทางของสหประชาชาติก็ตาม มีเพียง 2 คนได้รับอนุญาตให้ผ่านได้

องค์การเพื่อการกุศลที่ชื่อ "แพทย์เพื่อโลก" (Medecins du Monde) แถลงในกรุงปารีสเมื่อวันอาทิตย์ว่า ทางการพม่าได้อนุญาตให้นำสิ่งของช่วยเหลือน้ำหนัก 22 ตันแจกจ่ายผู้ประสบภัยได้แล้ว ทั้งหมดจะไปถึงย่างกุ้งกับเที่ยวบินเช่าเหมาลำในเช้าวันจันทร์ (12 พ.ค.)

ทางการพม่ารับความช่วยเหลือจากต่างประเทศอย่างจำกัดและไม่มีคำอธิบาย สิ่งของช่วยเหลือของโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติหรือ WFP (World Food Programme) 2 เที่ยวบินไปถึงย่างกุ้งตั้งแต่วันศุกร์และยังคงถูกกักไว้ที่นั่น.
กำลังโหลดความคิดเห็น