xs
xsm
sm
md
lg

กว่าสองเดือนผ่านไปพม่าวอนนานาชาติช่วย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#00CC00>ที่นี่อยู่ในเขตเมืองดัลลา (Dalla) ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางใต้ราว 20 กม. ชาวนาเพิ่งจะเริ่มการหว่านไถทำนาปี หลังพายุนาร์กิสพัดทำลายเสียหายหนักเมื่อกว่า 2 เดือนก่อน (ภาพ: AFP)  </FONT></CENTER>

กรุงเทพฯ -- เวลาผ่านไปนานกว่า 2 เดือน นับตั้งแต่พายุไซโคลนเข้าทำลายล้างเขตอู่ข้าวอู่น้ำใหญ่ของพม่า ชาวนานับหมื่นๆ ยังไม่สามารถกลับเข้าทำนาได้ ท่ามกลางความห่วงใยเกี่ยวกับการขาดแคลนข้าวและอาหารในฤดูกาลข้างหน้า หากการช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศหมดลง

เหยื่อพายุนับหมื่นๆ คน ยังอาศัยอยู่ในเต็นท์ผ้ายางกับเงินปันส่วนที่องค์การสหประชาชาติจ่ายให้เดือนละประมาณ 45 ดอลลาร์ และอะไรก็ตามที่สามารถหารับประทานได้ในชีวิตประจำวัน

พายุนาร์กิส ได้พัดเข้าทำลายล้างเขตที่ราบปากแม่น้ำอรวดีอย่างหนักเมื่อวันที่ 2 พ.ค.มีผู้เสียชีวิตและสูญหายกว่า 138,000 คน อีกหลายหมื่นคนบาดเจ็บ ผืนนาที่เคยอุดมสมบูรณ์ถูกทำลาย หรือกลายสภาพเป็นแอ่งน้ำเค็ม หลายแห่งปลูกข้าวไม่ได้ตลอดฤดูข้างหน้า

ในบางท้องที่คลื่นยักษ์ถาโถมขึ้นมาจากแม่น้ำและทะเลเบงกอล กวาดคนหายไปทั้งหมู่บ้าน พร้อมสัตว์เลี้ยงวัวควายที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการทำนา และยังไม่มีอะไรไปทดแทนตั้งแต่นั้น

ในวันจันทร์ (14 ก.ค.) รัฐบาลทหารพม่าได้เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศ เพิ่มการบริจาคและเร่งการฟื้นฟูเขตที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี ช่วยเหลือประชาชนนับล้านให้กลับคืนสู่ภาวะปกคติโดยเร็ว

หลังพายุพัดเข้าทำลายใหม่ๆ ระบอบทหารในพม่านิ่งเฉยไม่สนใจรัฐบาลและองค์การระหว่างประเทศที่หยิบยื่นส่งความช่วยเหลือให้แก่ประชาชน

เวลาผ่านไปข้ามเดือนก่อนที่พวกผู้นำทหารในเมืองหลวงเนย์ปีดอว์จะยอมเปิดประตูรับความช่วยเหลือจากภายนอก ท่ามกลางเสียงก่นประณามและการดดันจากรอบทิศ แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญการกู้ภัยเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ภัยพิบัติ
<CENTER><FONT color=#00CC00> ชาวนาในเขตเมืองดัลลาอีกส่วนหนึ่งกำลังเร่งปักดำ สร้างอนาคตใหม่ ลดการพึ่งพาความช่วยเหลือจากประชาคมนานาชาติ (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>
การเจรจาต่อรองดำเนินไปหลายสัปดาห์ก่อนรัฐบาลทหารที่เคยยโสโอหังจะยอมให้ทีมประเมินความเสียหายของสหประชาชาติกับกลุ่มกลุ่มอาเซียนลงพื้นที่ แต่อยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่ทางการตลอดเวลา

แต่เมื่อวันจันทร์นี้ รัฐบาลทหารพม่ากลับเป็นฝ่ายร้องขอความช่วยเหลือ หลังจากก่อนหน้านั้นไม่เคยอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าผู้ปฏิบัติงานของประชาคมนานาชาติ

หนังสือพิมพ์ในนิวไลต์ออฟเมียนมาร์ของรัฐบาล กล่าวว่า ความช่วยเหลือที่ประชาคมระหว่างประเทศหยิบยื่นให้นั้นส่วนใหญ่จะเป็นอาหารกับสิ่งของยังชีพ แต่ในปัจจุบันพม่าต้องการความช่วยเหลือเพื่อก่อสร้าง (ทุกอย่าง) ขึ้นมาใหม่

“เห็นได้ว่าความช่วยเหลือเกือบทั้งหมดที่ส่งจากประชาคมระหว่างประเทศจะเป็นของยังชีพกับพวกอาหาร” หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ กล่าว

“เขตที่ถูกพายุพัดทำลายกับเหยื่อทั้งหลายต้องการสิ่งของและอุปกรณ์เพื่อการฟื้นฟู การก่อสร้างขึ้นใหม่กับการเตรียมความพร้อม มากกว่าสิ่งของยังชีพ อาหารและยา” หนังสือพิมพ์ของทางการกล่าว

แต่ตอนนี้พม่าต้องการอุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์ฝึกฝนอาชีพ เพื่อช่วยผ่อนคลายให้แก่ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นเหล็ก ตะปู ไม้หรืออุปกรณ์ทำการเกษตร

“เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีงานทำก่อน เรื่องอื่นๆ ก็จะเรียบร้อยหลังจากนั้น” นิวไลต์ออฟเมียนมาร์ กล่าว

พายุนาร์กิส ทิ้งศพเหยื่อเอาไว้เกลื่อนทุ่งนา ตามลำน้ำลำคลอง บางศพถูกน้ำซัดขึ้นถึงยอดไม้และยังคงถูกทิ้งเอาไว้บนกิ่งไม้เป็นเวลานานเกือบเดือน ศพจำนวนมากถูกปล่อยให้ขึ้นอืดและเน่าเปื่อยมลายไปเอง โดยไม่มีการเก็บกู้
<CENTER><FONT color=#00CC00> แต่ไกลออกไปจากกรุงย่างกุ้งกว่า 200 กม. ที่เมืองลาบุตตา (Labutta) ในเขตปากแม่น้ำอิรวดี ชาวบ้านนับหมื่นๆ คนยังคงอาศัยอยู่ในเต็นท์ใช้ผ้าพลาสติกกันฝน จากองค์การระหว่างประเทศ ยังทำนาไม่ได้  (ภาพ: AFP)</FONT></CENTER>
องค์การช่วยเหลือระหว่างประเทศ กล่าวว่า สิ่งที่น่าหวาดกลัวที่สุด ก็คือ โรคระบาดหลังพายุสงบ แต่นับว่าโชคดีเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานอยู่ในพม่ามาก่อนแล้วกอบกู้สถานการณ์ได้ทัน

การประเมินขององค์การระหว่างประเทศ ได้พบว่า ผืนนาในเขตที่ราบปากแม่น้ำใหญ่เสียหายหนัก แม้ว่าความเสียหายจะไม่กินอาณาบริเวณกว้างขวางเท่ากับที่ประเมินกันก่อนหน้านี้ก็ตาม

แต่สำหรับราษฎรตามหมู่บ้านต่างๆ นับร้อยๆ แห่งที่ถูกกระแสคลื่นกับพายุทำลายยับเยินก็ยังไม่ทราบว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไรในเมื่อยังไม่สามารถปลูกข้าวได้

หมู่บ้านเหล่านั้นยังตั้งอยู่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งจ้างงาน การเข้าถึงพื้นที่มักจะทำได้โดยทางเรือเท่านั้น ทุกอย่างจึงเต็มไปด้วยความยากลำบาก

สำหรับผู้ที่มีผืนนาพร้อมอยู่แล้ว ถึงวันนี้ก็เลยฤดูการผลิตนาปีมาแล้ว ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะต้องใช้ชีวิตอยู่กับอาหารและสิ่งของบริจาคต่อไปจนถึงสิ้นปีเป็นอย่างเร็ว

“ทุกครอบครัวเริ่มต้นชีวิตใหม่จากศูนย์กันทั้งสิ้น เราต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าว น้ำมัน เครื่องมือไถหว่าน กระทั่งวัวและควาย” ชาวนาวัย 55 ปีคนหนึ่งกล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี

“ตอนนี้ชาวนาอย่างพวกเราต้องขอข้าวกิน เราไม่อยากจะอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้” ชาวนาคนเดียวกันกล่าว
<CENTER><FONT color=#00CC00> ชาวบ้านในเขตปากแม่น้ำซึ่งถูกพายุทำลายเสียหายหนักที่สุด ยังชีพอยู่ได้ด้วยอาหารปันส่วนกับสิ่งของยังชีพในชีวิตประจำวัน แต่ทำนาไม่ได้ก็ไร้อนาคต  </FONT></CENTER>
วันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่แล้ว องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องขอบริจาคเป็นเงิน 481.8 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยพิบัติในพม่า แต่ยอดบริจาคก็มีเพียง 1.3 ล้านดอลลาร์เท่านั้น

ปัจจุบันราษฎรในเขตที่ราบปากแม่น้ำยังชีพอยู่ได้ด้วยอาหาร เมล็ดธัญพืชพวกถั่วต่างๆ และสิ่งของเครื่องใช้ประจำวันที่สนับสนุนโดยหน่วยงานสหประชาชาติ แต่หลายคนเริ่มเป็นกังวลว่าความช่วยเหลือนี้จะไปได้อีกไม่นาน

“ตอนนี้เราไม่กล้ากระทั่งจะทิ้งเมล็ดข้าวที่เน่าเสียแล้ว ถ้าหากความช่วยเหลือถูกตัดไปพวกเรานำกลับมากินได้” นายเต็งมี้นต์ (Thein Myint) ชาวนาวัย 56 ปีกล่าว

หลวงพี่อายุนา (Ayuna) พระสงฆ์วัย 29 ที่เคยนำคณะแพทย์จากตอนกลางของประเทศไปยังเขตที่ราบปากแม่น้ำกล่าวว่า ทั่วทั้งอาณาบริเวณกำลังเป็นกังวลกับอนาคต

“ชาวบ้านทำอะไรไม่ได้เลยตอนนี้ พวกเขาอยู่เพื่อให้รอดไปวันๆ เท่านั้น.. หากทำงานได้ก็จะช่วยลดความเครียดได้มาก” พระรูปเดียวกันกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น