xs
xsm
sm
md
lg

หม่องทำเก๊กไม่สน ตปท.ช่วยเหยื่อไซโคลน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099>ชาวบ้านเข้าคิวกันรอน้ำตอนเช้าวันจันทร์ (5 พ.ค.) ในกรุงย่างกุ้ง เจ้าหน้าที่กล่าวว่าเด็กๆ เริ่มอดอาหาร หลายย่านไม่มีน้ำสะอาดดื่ม แต่รัฐบาลทหารที่ตั้งอยู่ห่างกรุงย่างกุ้งขึ้นไปทางเหนือกว่า 2100 กม.ยังไม่รู้ร้อนรู้หนาว (ภาพ: AFP)  </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน—รัฐบาลทหารพม่ายังไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ ต่อความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ที่จะเข้าไปให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบเคราะห์กรรมจากพายุไซโคลนนาร์ยิสซึ่งสื่อของทางการกล่าวว่า พบผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 350 คน กับอีกหลายหมื่นคนไร้ที่อยู่อาศัย

สื่อของทางการระบุว่า บนเกาะๆ หนึ่งเพียงแห่งเดียวมีบ้านเรือนราษฎรกว่า 20,000 หลังคาเรือนถูกทำลาย หลังจากที่ถูกไซโคลนดังกล่าวซึ่งมีความเร็วประมาณ 190 กม./ชม.พัดเข้าถล่มเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (3 เม.ย.) ก่อนจะเคลื่อนเข้าสู่ฝั่งเต้นรำวดีสร้างความเสียหายตามรายทาง

จำนวนผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังพยายามติดต่อกับหมู่บ้านและเกาะต่างๆ บริเวณในเขตที่ราบปากแม่น้ำ อันเป็นอู่ข้าวอู่ใหญ่ของประเทศ

"รัฐบาลประสบปัญหาอย่างมากอย่างที่ไม่ต่างกับฝ่ายต่างๆ ในการสรุปภาพทั้งหมด (ของเหตุการณ์) ถนนใช้การไม่ได้ และหมู่บ้านเล็กๆ จำนวนมากโดยพายุถล่มและเราต้องใช้เวลาในการเข้าไปถึง" นายเทอร์เจ สคาวดาล (Terje Skavdal) หัวหน้าสำนักงานประจำภูมิภาคของสำนักงานความร่วมมือกิจการมนุษยธรรมของสหประชาชาติ หรือ UNOCHA (Coordination of Humanitarian Affairs) กล่าวกับผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ในกรุงเทพฯ

การดำเนินการขององค์กรความช่วยเหลือนานาชาตินั้นถูกกำจัดโดยทางคณะทหาร ซึ่งปกครองประเทศมาเป็นเวลายาวนานถึง 46 ปี อันเนื่องมาจากนโยบายที่เคร่งครัดในการควบคุมสังคมและประชาชน

นโยบายใหม่ของปี 2006 นี้ กำหนดให้องค์กรความช่วยเหลือจากต่างประเทศต้องขออนุญาตในการเดินทางรวมทั้งจะต้องมีเจ้าหน้าที่ในการนำทางไปยังสถานที่ต่างๆ นโยบายดังกล่าวยังเข้มงวดในเรื่องของการขนส่งเสบียงและสิ่งของต่างๆ

"นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ต่างประเทศ วิธีการทำงานขององค์กรต่างประเทศส่วนใหญ่คือการใช้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ซึ่งจะมีอิสระในการดำเนินการมากกว่า" นายสคาวดาลกล่าว

เจ้าหน้าที่ของยูเอ็นผู้นี้ยังกล่าวอีกว่า UNOCHA จะต้องต้องเจรจากับรัฐบาลเพื่อพยายามเข้าถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

ขณะเดียวกันคณะปกครองทหารพม่าได้ตั้งให้ นายกรัฐมนตรี พล.อ.เต็งเส่ง (Thein Sein) เป็นผู้นำในการให้ความช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ของประชาชนในเขตพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติทั้ง 5 เขต และความเสียหายที่เกิดจากพายุนาร์ยิสนี้จะไม่ทำให้ต้องยกเลิกการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นโดยคณะทหารในวันที่ 10 พ.ค.นี้
<CENTER><FONT color=#660099>ภาพถ่ายวันที่ 5 พ.ค.2551-- ย่านใจกลางกรุงย่างกุ้งยังเละอยู่เหมือนเมื่อสองวันก่อน การออกเก็บกวาดดำเนินไปอย่างล่าช้า องค์การระหว่างประเทศหาทางเข้าไปช่วยเหลือประชาชนที่กำลังอดอยาก (ภาพ: AFP) </FONT> </CENTER>
"การลงประชามติจะจัดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้าและประชาชนก็ตั้งตาคอยการลงคะแนนเสียงครั้งนี้อย่างใจจดใจจ่อ" คณะทหารกล่าวในแถลงการณ์ที่ยืนยันว่าการลงประชามติจะยังคงดำเนินต่อไปตามแผนที่กำหนดไว้

รัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปูทางไปสู่วิถีประชาธิปไตย โดยจะนำไปสู่การเลือกตั้งที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคลงสมัครแข่งขันในปี 2010 แต่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการปูทางให้แก่คณะทหารได้ดำรงอยู่ในอำนาจต่อไปมากกว่า

**เริ่มเก็บกวาดซากหักพัง**

ในกรุงย่างกุ้ง หลังคาบ้านเรือนราษฎรและอาคารจำนวนหลายหลังถูกพัดหายไป และคาดว่าความเสียหายจะมีความรุนแรงมากขึ้นในเขตชานเมืองซึ่งมีจำนวนประชากรกว่า 5 ล้านคนเนื่องจากที่พักอาศัยส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเพิงที่สร้างขึ้นอย่างหยาบๆ

ในกรุงย่างกุ้งยังไม่สามารถรับชมโทรทัศน์ของทางการได้เมื่อวันจันทร์นี้ และเริ่มขาดแคลนน้ำสะอาด ร้าสนค้าแห่งต่างๆ ขายเทียนไขและถ่านไฟฉายจนหมดเกลี้ยง และยังไม่มีฝ่ายใดแถลงว่าเมื่อไรจึงจะมีไฟฟ้าใช้อีก

ผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งกล่าวว่า ในชานเมืองทางด้านตะวันตก กลุ่มพระสงฆ์จำนวนกว่า 100 รูปออกมาช่วยชาวบ้านเก็บกวาดกิ่งไม้และซากปรักหักพังที่ระเกะระกะบนท้องถนน

"ตอนนี้กำลังเริ่มการเก็บกวาดทำความสะอาดต่างๆ แต่อาจจะต้องใช้เวลานาน เพราะความเสียหายในเขตรอบๆ ตัวเมืองนั้นหนักหนาสาหัส" นักการทูตตะวันตกคนหนึ่งกล่าว และยังบอกกับรอยเตอร์อีกว่า สนามบินนานาชาติกรุงย่างกุ้งได้เปิดทำการอีกครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันจันทร์

สื่อของทางการกล่าวว่า มีผู้เสียชีวิต 19 คนในกรุงย่างกุ้งและอีกประมาณ 222 คนในบริเวณที่ราบปากแม่น้ำอิรวดี ซึ่งสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของรัฐกล่าวว่า เกิดคลื่นลมสูงถึง 12 ฟุต

ราษฎรกว่า 90,000 คนบนเกาะฮายจี (Haingyi) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร ไร้ที่อยู่อาศัย

ขณะเดียวกันบรรดาผู้เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาภัยพิบัติขององค์การสหประชาชาติได้ประชุมกันในกรุงเทพ เพื่อประเมินความเสียหายและหาวิธีส่งความช่วยเหลือไปยังประชาชนที่ประสบเคราะห์ในพม่า


เนื่องจากตึกและอาคารต่างๆ ถูกทำลายเสียหาย แผ่นผ้าพลาสติกจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน เพื่อจัดสร้างเพิงพักขณะที่ภูมิภาคนี้กำลังอยู่ในช่วงฤดูฝน

สารส้มสำหรับกวนน้ำให้ใส มุ้งกันยุง ตลอดจนอุปกรณ์สำหรับหุงหาอาหาร รวมทั้งอาหารที่รับประทานได้ทันที ก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน นายสคาวดาลกล่าว
<CENTER><FONT color=#660099>พายุนาร์ยิสคร่าชีวิตคนไปกว่า 350 มีแนวโน้มว่าจะพบคนตายมากกว่านี้ในอีกไม่กี่วันซึ่งการค้นหาเพิ่งจะเริ่มต้น ถนนถูกตัดขาด เจ้าหน้าที่กู้ภัยเข้ายังไม่ถึงพื้นที่ (ภาพ: AFP) </FONT> </CENTER>
บรรดาผู้นำทหารที่อาศัยอยู่ในเมืองเนย์ปีดอห่างจากกรุงย่างกุ้งขึ้นไปทางเหนือกว่า 200 กม. ยังไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ ต่อความพยายามขององค์การระหว่างประเทศ ซึ่งก็เหมือนกันครั้งก่อนๆ ที่ผู้นำทหารเหล่านี้ไม่ได้เรียกร้องต้องการความช่วยเหลือใดๆ จากภายนอก

อย่างไรก็ตามนายสคาวดาลเปิดเผยว่า รัฐมนตรีกระทรวงสวัสดิการสังคมพม่าได้บอกกับว่า ยินดีต้อนรับความช่วยเหลือ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามีเงื่อนไขอะไรหรือไม่

"ผมคิดว่ามันเป็นสัญญาณในทางบวก" เจ้าหน้าที่ยูเอ็นกล่าว

หลายปีมานี้รัฐบาลทหารพม่าตกอยู่ใต้การคว่ำบาตรของชาติตะวันตก หลังจากได้ทำการกักบริเวณนางอองซานซูจีผู้นำฝ่ายค้านให้อยู่แต่ในบ้านพักมานาน กว่า 10 ปี ทำให้ได้รับความช่วยเหลือต่างๆ น้อยลง

เมื่อปีที่แล้วความช่วยเหลือต่างๆ เข้าสู่พม่าเป็นเงินประมาณ 2.5 ดอลลาร์ต่อหัวประชากรเท่านั้น เทียบกับความช่วยเหลือที่กัมพูชาและลาวได้คือรับ 47 ดอลลาร์ กับ 63 ดอลลาร์ตามลำดับ แต่ต่ำกว่า14 ดอลลาร์อันเป็นระดับเฉลี่ยประเทศที่มีรายได้ประชากรต่ำได้รับจากประชาคมระหว่างประเทศ

ไซโคลนนาร์ยิสพัดขึ้นฝั่งที่บริเวณปากแม่น้ำอิรวดีในคืนวันศุกร์ (2 พ.ค.) ที่นั่นอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากกรุงย่างกุ้งราว 220 กม. ก่อนจะเคลื่อนตัวเข้ากระหน่ำเมืองหลวงเก่า ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ

แรงลมเฉลี่ยตั้งแต่ 190-240 กม./ชม. ทำความเสียหายให้แก่กรุงย่างกุ้งอย่างหนัก ไฟฟ้าดับทั้งเมือง เหมือนถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เนื่องจากไฟฟ้าดับทั้งเมือง สายโทรศัพท์ขาดและเสียหาย ข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เกือบเป็นอัมพาต ต้นไม้ถูกพัดหักโค่นลงทับบ้านเรือนราษฎร ถนนหนทางกีดขวางการจราจรไปทั่ว.
กำลังโหลดความคิดเห็น