xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามฟองสบู่แตก 2 เด้ง GDP ครึ่งปี 6.5%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#663399>รัฐสภาเวียดนามเปิดประชุมต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาอนุมัติให้รัฐบาลลดเป้าการขยายตัวทมางเศรษฐกิจลงจาก 8.8-9% เป็น 7% แต่ครึ่งแรกของปีนี้จีดีพีขยายตัวเพียง 6.5% หลายสำนักฟันธงปีนี้ไปไม่ถึงดวงดาว (ภาพ: AFP) <FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน -- ผลพวงของเงินเฟ้อรุนแรง ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามครึ่งปีหล่นวูบลงเหลือ 6.5% จากเกือบ 8% ในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว นักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกที่ประจำอยู่ในกรุงฮานอย มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี กล่าวว่า เวียดนามเจอฟองสบู่แตกถึง 2 ฟอง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงให้เศรษฐกิจชะลอตัว นั่นก็คือ ตลาดหุ้นกับอสังหาริมทรัพย์

ไม่ต่างกับสำนักงานใหญ่สถิติ (General Statistics Office) ซึ่งระบุว่า การขยายตัวของ GDP ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ นับเป็นอัตรา “ช้าที่สุด” อย่างน้อยในรอบ 7 ปี โดยมีสาเหตุตรงที่สุดจากการชะลอตัวของภาคก่อสร้าง อันเนื่องมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นซบเซา

ปัจจัยดังกล่าวเป็นเหตุให้นักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ต้องชะลอการก่อสร้างโครงการต่างๆ ออกไป ท่ามกลางเงินเฟ้อในอัตรา “สูงที่สุดในรอบ 15 ปี”

การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 นี้ นับว่า “อ่อนแอที่สุด” ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ซึ่งรัฐบาลได้เริ่มจำแนกการเติบโตตามรายไตรมาสเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์แท็งเนียน

ดัชนี VN-Index ตลาดหลักทรัพย์นครโฮจิมินห์ หล่นวูบลง 56% ขณะที่รายงานเดือน พ.ค.ของ มอร์แกน สแตนลีย์ กล่าวว่า เงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วได้ทำให้โครงการอสังริมทรัพย์มองไม่เห็นความเป็นไปไดทางเศรษฐกิจอีกต่อไป

รัฐบาลเวียดนามได้ลดเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงเหลือ 7% ในปีนี้จาก 8.5% เมื่อต้นปี นายเรย์มอยด์ มัลลอน (Raymond Mallon) นักเศรษฐศาสตร์ที่ประจำในกรุงฮานอยตั้งแต่ปี 2534 กล่าวว่า “การเติบโตได้รับผลกระทบจากฟองสบู่แตก 2 ฟอง คือ ตลาดหุ้นกับตลาดอสังหาฯ”
<CENTER><FONT color=#663399>ภาพจากแฟ้มวันที่ 2 พ.ค.2551 คนงานจากโรงงานในเขตอุตสาหกรรมทางลอง ชานกรุงฮานอย ช่วงเลิกงาน เงินเฟ้อทำให้เกิดการหยุดงานประท้วงถี่ยิบในช่วงต้นปีนี้อัตราปีต่อปีในเดือน มิ.ย.นี้พุ่งทะลุ 26.8% (ภาพ: AFP)<FONT></CENTER>
“ทันทีที่หุ้นตกตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ตกไปด้วย ซึ่งได้ส่งผลถึงธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อให้ตลาดอสังหาฯ คุณจะเห็นบริษัทก่อสร้างหลายแห่งมีปัญหากับแบงก์เจ้าหน้าหนี้อยู่ขณะนี้” นักเศรษฐศาสตร์คนเดียวกันกล่าว

นายมัลลอย ได้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าครึ่งปีแรกนี้ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างจะขยายตัว 7% และคิดเป็น 39% ของจีดีพี แต่เฉพาะภาคก่อสร้างขยายตัวเพียง 0.9% เท่านั้น

“การขาดเงินทุนทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในสภาพย่ำแย่หนัก” นายอลัน ยัง (Alan Young) หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท Vietnam Industrial Investments บริษัทจดทะเบียนในออสเตรเลีย ซึ่งมีกิจการค้าเหล็กหลายบริษัท ให้ความเห็นเป็นกระแสเดียวกัน

การศึกษาของสถาบันการเงินของต่างชาติหลายแห่งได้พบว่า ปีนี้ทางการเวียดนามมีเป้าที่จะลดการขยายตัวของสินเชื่อธนาคารแห่งต่างๆ ลงเหลือ 30% จาก 54% ในปี 2550 เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ซึ่งอัตราปีต่อปีพุ่งขึ้นสูง 26.8% ในเดือน มิ.ย.นี้

ธนาคาร HSBC ในเวียดนามออกรายงานลงวันที่ 27 มิ.ย.ระบุว่า เครดิตจากธนาคารแห่งต่างๆ เกือบจะอยู่ในสภาพหยุดนิ่ง เนื่องจากธนาคารของรัฐบาลและธนาคารพาณิชย์เอกชนหลายแห่งได้ปล่อยกู้จนชนเพดาน 30% แล้ว

ตามตัวเลขของ มอร์แกน สแตนเลย์ ระหว่างเดือน ธ.ค.2550 กับเดือน พ.ค.ปีนี้ ยอดจำหน่ายห้องพักของโครงการอาคารที่อยู่อาศัยในนครโฮจิมินห์ทรุดตัวถึง 25% ภาคบริการขยายตัว 7.6% ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในองค์ประกอบการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมที่จำแนกโดย GSO

แต่นักลงทุนต่างชาติจำนวนไม่น้อยกำลังมองวิกฤตในเวียดนามอย่างเป็นโอกาส

รายงานภายใต้หัวชื่อ “Vietnam Economics: Reining In the Tiger Cub” ของ มอร์แกน สแตนเลย์ ที่เผยแพร่วันที่ 20 มิ.ย.คาดการณ์ว่า การขยายตัวของจีดีพีจะชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วเป็น5.5%-6% ในปี 2552 จาก 7.5% ในปี 2551 และ 8.5% เมื่อปี 2550
<CENTER><FONT color=#663399>ภาพจากแฟ้มเดือน พ.ค.2551 ชาวฮานอยที่ว่างงานจะรอลูกค้าอยู่ริมถนนในย่านเมืองเก่าพร้อมเลื่อยในมือ พวกเขาพร้อมจะทำงานรับจ้างทุกอย่างเพื่อให้มีรายได้ เศรษฐกิจชะลอตัวย่อมหมายถึงว่าโอกาสที่จะได้งานนั้นมีน้อยลง (ภาพ: AFP)  <FONT></CENTER>
รายงานชิ้นเดียวกันยังพยากรณ์ ว่า ปีนี้ทั้งปีจีดีพีอาจจะขยายตัวเพียง 6.5% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย 7% ของรัฐบาล ซึ่งตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาทางการเวียดนามต้องทำสงครามอย่างหนักกับเงินเฟ้อ อันมีราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งขึ้นสูงทั่วโลกเป็นตัวกระตุ้นหลัก

ราคาอาหารและวัสดุก่อสร้าง ตลอดจนการขยายตัวอย่างสูงของสินเชื่อในประเทศพุ่งขึ้นสูง เช่นเดียวกับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI (Foreign Direct Investment)

แต่ทางการก็กล่าวว่า ตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคที่ออกมาในครึ่งแรกของปีนี้ เป็น “ความสำเร็จ” ต่อหน้าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก แม้จะยอมรับว่าภายภาคหน้ายังมีความยากลำบากอีกมากมาย

สำนักงานใหญ่สถิติฯ กล่าวว่า “ในครึ่งหลังของปีนี้สถานการณ์เศรษฐกิจสังคมจะยังคงสลับซ้อน เรายังจะเผชิญกับความยากลำบากที่ยังดำรงอยู่ รวมทั้งการท้าทายที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ล้วงหน้าได้ ซึ่งรวมทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติด้วย”

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งเร็วดุจจรวด ดูเหมือนจะชะลออัตราลงในเดือน มิ.ย.นี้ แต่ก็ยังคงสูง 20.34% ในช่วงครึ่งแรกจากช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งนับเป็นอัตราสูงสุดในช่วงกว่า 10 ปี

ตามตัวเลขของ GSO จีดีพีขยายตัว 7.36% ในครึ่งแรกของปี 2549 และ 7.91% ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ในเดือน พ.ค.รัฐบาลได้แถลงต่อที่ประชุมสมัยสามัญรัฐสภาเกี่ยวกับการปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงเหลือ 7% จากเดิมที่ตั้งเอาไว้สูง 8.5-9% หลังจากได้พบว่าจีดีพีปี 2550 ขยายตัว 8.45% ถึงแม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะพุ่งไม่หยุดก็ตาม

ในช่วง 6 เดือนแรกนี้ตัวเลขขาดดุลการค้ามีมูลค่าถึง 14,800 ล้านดอลลาร์ จากการนำเข้าเชื้อเพลิง เครื่องจักรเครื่องกล วัสดุก่อสร้าง ปุ๋ยและรถยนต์ชนิดต่างๆ ตัวเลขนี้สูงกว่าตัวเลขขาดดุลปี 2550 ทั้งปีที่มีจำนวนเพียง 12,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น

แต่ตัวเลข FDI ครึ่งปีก็ยังสูงถึง 31,600 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นอัตราเพิ่มถึง 370% เทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว และเป็นสถิติใหม่ลบล้างตัวเลขเดิม 21,300 ล้านดอลลาร์ ตลอดทั้งปีในปี 2550 สื่อของทางการกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น