xs
xsm
sm
md
lg

นิรโทษกรรมสากลหาพม่าก่ออาชญากรรมต่อมนุษย์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF>ทหารพม่าหลังจากที่เข้าไปโจมตีหมู่บ้านยอคี ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของรัฐกะเหรี่ยงเมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว จนทำให้ผู้คนที่อาศัยอยูในหมู่บ้านดังกล่าวกว่า 120 คนต่างพากันหลบหนีเข้าไปในป่า (ภาพ : www.freeburmarangers.org).</CENTER>

ผู้จัดการออนไลน์-- องค์การนิรโทษกรรมสากลได้กล่าวหาว่า รัฐบาลทหารพม่าก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งมีประชาชนพลเรือนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบในช่วงระหว่างการโจมตีกลุ่มกบฏชนชาติส่วนน้อยต่างๆ โดยเอไอ (Amnesty International) กล่าวในรายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (5 มิ.ย.)

คณะทหารพม่าได้ต่อสู้กับสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ กะเหรี่ยงเคเอ็นยู (KNU) ทางภาคตะวันออกของประเทศมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่องค์การนิรโทษกรรมสากล หรือ AI (Amnesty International) กล่าวว่าการรุกรบครั้งหลังๆ นี้เป็นการจงใจก่อกรรมทำเข็ญต่อประชาชน

องค์การนิรโทษกรรมซึ่งมีสำนักงานในกรุงลอนดอน ของอังกฤษ กล่าวว่า ประชาชนกว่า 147,800 คนต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นอยู่ภายในบริเวณรัฐกะเหรี่ยง (Karen State) และทางภาคตะวันออกของเขตพะโค (Bago Division) หลังจากที่มีการปะทะกันเมื่อ 2 กว่าปีที่แล้ว

ผู้คนที่อาศัยในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวมักจะถูกกดขี่ข่มเหงอย่างรุนแรงซึ่งรวมถึงการทรมาน ถูกบังคับให้เป็นแรงงาน ถูกฆ่า หรือถูกจับโดยไร้ข้อกล่าวหา รวมทั้งที่พักอาศัย หมูบ้าน พื้นที่เกษตรกรรม ถูกทำลายเสียหาย องค์การนิรโทษกรรม กล่าว

"ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านกะเหรี่ยงแห่งหนึ่งกล่าวกับ AI ว่าพวกเขาใช้ชีวิตด้วยความหวาดกลัวภัยต่อชีวิตความเป็นอยู่ ต่อเกียรติและศักดิ์ศรีรวมทั้งทรัพย์สินต่างๆ" รายงานกล่าว

"การล่วงละเมิดนี้คือการก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ" องค์การนิรโทษกรรมสากล กล่าว

องค์การนี้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าหยุดการกระทำอันทารุณต่อประชาชนอย่างเร่งด่วนที่สุด ตรวจสอบข้อกล่าวหาต่างๆ เกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และให้การชดเชยแก่เหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีของรัฐบาล

องค์การนี้ยังกล่าวต่อว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC ควรที่จะกำหนดสั่งห้ามไม่ให้มีการส่งอาวุธให้แก่พม่า

รัฐบาลทหารพม่าซึ่งขึ้นมามีอำนาจในการปกครองประเทศตั้งแต่ปี 1962 ได้ตกลงหยุดรบกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยต่างๆ แล้ว 17 กลุ่ม แต่กลุ่มกะเหรี่ยง KNU นั้นเป็นกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่ได้เจรจาตกลงดังกล่าว

มีผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงกว่า 100,000 คนที่มาอาศัยรวมกันอยู่ในค่ายพักบริเวณพรมแดนไทย-พม่า หลายคนในจำนวนดังกล่าวอาศัยอยู่ที่ค่ายพักมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว.
กำลังโหลดความคิดเห็น