เอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชนทำจดหมายเปิดผนึกถึงพันธมิตรฯ เรียกร้องให้เปิดเจรจากับรัฐบาล เพื่อตกลงกันในวิธีการต่อสู้ทางการเมือง เพื่อป้องกันมิให้ความขัดแย้งนำพาสังคมไทยไปสู่วิกฤติการณ์ความรุนแรง แนะให้ควบคุมมวลชนให้อยู่ในขบวนการอหิงสาอย่างเคร่งครัด เตือนรัฐอย่าใช้กำลังแก้ปัญหา ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ ให้ทหารยึดอำนาจ
วันนี้ (6 ก.ย.) องค์กรพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ)ด้านสิทธิมนุษยชนประกอบด้วย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.) คณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD) และ Amnesty International Thailand ได้ทำจดหมายเปิดผนึก ถึง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) มีเนื้อหาดังนี้
สืบเนื่องจากการปฏิบัติการทางการเมืองของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” โดยเฉพาะตั้งแต่วันอังคารที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยการใช้ยุทธศาสตร์ดาวกระจาย บุกเข้าไปปิดล้อมและชุมนุมในสถานที่ราชการหลายแห่ง เช่น ทำเนียบรัฐบาล กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีของรัฐบาล โดยต้องการที่จะบังคับให้เจ้าหน้าที่ยุติการดำเนินงาน เพื่อกดดันและเรียกร้องให้รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง และภายหลังได้ปักหลักยึดทำเนียบรัฐบาลเพื่อชุมนุมทางการเมืองกดดันรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่องนั้น
องค์กรสิทธิมนุษยชนตามรายนามข้างท้าย ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่ทำหน้าที่ติดตามสอดส่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เฝ้าติดตามสถานการณ์ในประเทศไทยด้วยความห่วงใยมาโดยตลอด มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการทางการเมืองของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ดังต่อไปนี้
1. ความขัดแย้งทางการเมืองได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมืองด้วยวิถีทางการใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเหตุการณ์ปะทะกันจากกลุ่มมวลชนแนวร่วมประชาชนขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา จนนำมาซึ่งการสูญเสียหนึ่งชีวิตฝ่ายแนวร่วมประชาชนขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เข้ามาควบคุมสถานการณ์นั้น เป็นเรื่องน่าเศร้าในสังคมไทยที่เราไม่สามารถยับยั้งสถานการณ์ความรุนแรงได้ กระทั่งความขัดแย้งหรือเห็นต่างทางความคิดทางการเมืองไม่สามารถพูดคุยกันได้ด้วยการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในชีวิตและร่างกายระหว่างกัน ความขัดแย้งอันขาดขันติและอหิงสาธรรมที่นำไปสู่การปะทะ การคุกคามต่อสิทธิในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินนี้ กำลังนำมาสู่วิกฤติเหตุการณ์ความรุนแรงในสังคมไทยจากความขัดแย้งทางการเมืองดังกล่าว และมีแนวโน้มขยายตัวรุนแรงขึ้นในอนาคตจนกระทั่งอาจตีบตันต่อหนทางออกของสภาพสังคมการเมืองไทย
ความหวังของสังคมไทยในขณะนี้ อยู่ที่ทุกฝ่าย หากสามารถเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด จะสามารถค้ำประกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงได้ในอนาคต ดังนั้นสำหรับ“พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เราขอเรียกร้องให้ยึดมั่นในหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยปฏิบัติตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด รวมถึงกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR) ยุติเงื่อนไขภายในและภายนอกที่อาจทำให้เกิดความรุนแรงทางสังคม หรือการเผชิญหน้า หรือการสร้างความเกลียดชัง (ดังที่ฝ่าย นปช. ก็มีการปลุกระดมทางข่ายวิทยุให้จัดการพันธมิตรฯ ด้วยความรุนแรง) ซึ่งมีบทเรียนทางประวัติศาสตร์อันเลวร้ายจากประเทศรวันดาในปี พ.ศ. 2537 บนพื้นฐานที่ว่า “ทุกคนต่างเสมอกันในกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่เท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ และมีสิทธิในการเยียวยาอันเป็นผลจริงจังจากศาลที่มีอำนาจแห่งชาติ จากการกระทำอันละเมิดต่อสิทธิขั้นมูลฐาน ซึ่งตนได้รับตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทุกคนในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม มีสิทธิในความมั่นคงทางสังคม และมีสิทธิในการบรรลุถึงซึ่งสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคมและทางวัฒนธรรม อันจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกียรติศักดิ์ของตน การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการสงครามใดๆ เป็นสิ่งพึงต้องห้ามตามกฎหมาย และการสนับสนุนความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนา ซึ่งนำไปสู่การยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การจงเกลียดจงชัง หรือความโหดเหี้ยมเป็นสิ่งพึงต้องห้ามตามกฎหมาย” ซึ่งหากการปฏิบัติการของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยึดมั่นหลักการสิทธิมนุษยชนนี้อย่างเคร่งครัด ปฏิบัติการที่สังคมยังสามารถร่วมตั้งคำถามเพื่อสร้างบรรทัดฐานทางสังคมขึ้นใหม่นี้ จะยังสามารถนำไปสู่ทางออกบนวิถีทางการพัฒนาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยได้
2. การที่ประชาชนเข้าไปชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลและสถานที่ราชการอื่นๆ นั้น แม้จะถือเป็น “สิทธิทางการเมือง” ที่จะใช้วิธีการ “อารยะขัดขืน” ซึ่งสามารถกระทำได้ในบางสถานการณ์ แต่ผู้ใช้วิธีการอารยะขัดขืน ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังที่จะไม่ให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้อื่นโดยเกินสมควร และต้องใช้โดยสันติวิธี แม้เมื่อถูกใช้กำลัง หรือยั่วยุจากอีกฝ่ายหนึ่ง และผู้ใช้ต้องยอมรับผลทางกฎหมายที่ตามมาโดยไม่ขัดขืน
“พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” จะต้องควบคุมดูแลมวลชนกลุ่มผู้ชุมนุมของตน โดยเฉพาะกองกำลังรักษาความปลอดภัย โดยจะต้องหลีกเลี่ยงการปะทะ ด้วยการใช้กำลังอาวุธตอบโต้อีกฝ่ายหนึ่ง หรือสกัดกั้นผู้ชุมนุมบางคนที่นิยมความรุนแรงออกไปให้ได้ จะต้องมีการควบคุมและอบรมผู้ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยมวลชน ให้ตั้งอยู่ในสันติวิธี เคารพหลักสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน อย่าให้ปฏิบัติการของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เปลี่ยนแปลงจากขบวนการอหิงสา สันติวิธี และอารยะขัดขืน เปลี่ยนเป็น ขบวนการหิงสา อนารยะขัดขืน ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนความชอบธรรมของการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มลงอย่างน่าเสียดาย ดังเหตุการณ์การปะทะที่เกิดขึ้นช่วงที่ผ่านมา
3. กรณีที่กลุ่มผู้ชุมนุมของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ได้บุกรุกเข้าไปในสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย หรือ NBT เมื่อช่วงเช้ามืดของวันอังคารที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อบังคับให้พนักงานของสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวยุติการทำหน้าที่และตัดสัญญาณการออกอากาศนั้น เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน การข่มขู่และขัดขวางไม่ให้สื่อมวลชนทำหน้าที่เพื่อปิดกั้นไม่ให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชน แม้ให้เหตุผลว่าสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลนั้น ไม่สามารถอ้างได้เพื่อใช้กำลังกระทำการข่มขู่คุกคามสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนดังกล่าวได้ ซึ่งถือเป็นการรอนสิทธิของผู้อื่นและปิดกั้นทางเลือกข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วย
4. “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ควรเปิดการเจรจากับ “รัฐบาล” อย่างน้อยก็เพื่อตกลงกันในวิธีการต่อสู้ทางการเมือง เพื่อป้องกันมิให้ความขัดแย้งนำพาสังคมไทยไปสู่วิกฤติการณ์ความรุนแรง เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่มีความหมายและสถานการณ์ด้านบวก บรรทัดฐานด้านสิทธิทางการเมืองของพลเมืองไทยจะถูกยกระดับขึ้นหากทุกฝ่ายเคารพสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน ไม่ใช้วิธีการรุนแรงกระทบกระทั่งต่อกันด้วยความรุนแรง เราเห็นว่าเงื่อนไขความขัดแย้งเหล่านี้ สามารถยุติได้โดยกระบวนการประชาธิปไตยและหาทางออกโดยการเปิดโต๊ะเจรจาได้โดยไม่เกิดการสูญเสีย โดยทุกฝ่ายจะต้องหยุดการสร้างเงื่อนไขที่ปิดกั้นการเจรจา ไม่ว่าจะฝ่ายพันธมิตรหรือรัฐบาลเอง เช่น การตั้งข้อหากบฏ และช่วยกันแผ้วถางทางไปสู่การเจรจาเช่น ผู้ต้องหาทางการเมืองทั้งหมดควรได้รับการประกันตัวเพื่อต่อสู้พิสูจน์ความผิดในชั้นศาล เป็นต้น “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” สามารถต่อสู้บนข้อเรียกร้องทางการเมือง ขณะเดียวกันต้องต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมตามที่ถูกกล่าวหาด้วย เพื่อเคารพหลักนิติรัฐในสังคมไทย และจะต้องไม่เรียกร้องทางออกนอกครรลองสังคมประชาธิปไตยที่ฝืนต่อบรรทัดฐานสากล
องค์กรสิทธิมนุษยชน เห็นควรยืนยันว่า จะต้องมีการเจรจาทางการเมืองเพื่อแสวงหาทางออกจากความรุนแรงและความขัดแย้งทางการเมืองนี้ โดยวิถีประชาธิปไตย และ ขอคัดค้านความพยายามของกลุ่มใดๆ รวมทั้งรัฐบาลที่นำกองทัพจะต้องไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการต่อสู้ทางการเมืองซึ่งเป็นกิจการของพลเมือง ไม่ว่าจะโดยใช้อำนาจตามกฎหมายเช่น พ.ร.ก.บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ โดยการปฏิวัติรัฐประหาร เราปฏิเสธการรัฐประหารและการนำพาการรัฐประหาร ไม่ว่าจะมาในเงื่อนไขใดๆ ทั้งนี้ การแสวงหาทางออกจากวิกฤติความขัดแย้ง และการสร้างอนาคตสังคมการเมืองใหม่นี้ จะต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาสังคมทุกๆ กลุ่ม เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดอนาคตประเทศไทย ตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ว่า “ทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนในรัฐบาลของประเทศตน ทั้งโดยตรงหรือ โดยผ่านผู้แทนซึ่งได้เลือกตั้งโดยอิสระ”
วันนี้ (6 ก.ย.) องค์กรพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ)ด้านสิทธิมนุษยชนประกอบด้วย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.) คณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD) และ Amnesty International Thailand ได้ทำจดหมายเปิดผนึก ถึง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) มีเนื้อหาดังนี้
สืบเนื่องจากการปฏิบัติการทางการเมืองของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” โดยเฉพาะตั้งแต่วันอังคารที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยการใช้ยุทธศาสตร์ดาวกระจาย บุกเข้าไปปิดล้อมและชุมนุมในสถานที่ราชการหลายแห่ง เช่น ทำเนียบรัฐบาล กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีของรัฐบาล โดยต้องการที่จะบังคับให้เจ้าหน้าที่ยุติการดำเนินงาน เพื่อกดดันและเรียกร้องให้รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง และภายหลังได้ปักหลักยึดทำเนียบรัฐบาลเพื่อชุมนุมทางการเมืองกดดันรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่องนั้น
องค์กรสิทธิมนุษยชนตามรายนามข้างท้าย ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่ทำหน้าที่ติดตามสอดส่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เฝ้าติดตามสถานการณ์ในประเทศไทยด้วยความห่วงใยมาโดยตลอด มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการทางการเมืองของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ดังต่อไปนี้
1. ความขัดแย้งทางการเมืองได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมืองด้วยวิถีทางการใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเหตุการณ์ปะทะกันจากกลุ่มมวลชนแนวร่วมประชาชนขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา จนนำมาซึ่งการสูญเสียหนึ่งชีวิตฝ่ายแนวร่วมประชาชนขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เข้ามาควบคุมสถานการณ์นั้น เป็นเรื่องน่าเศร้าในสังคมไทยที่เราไม่สามารถยับยั้งสถานการณ์ความรุนแรงได้ กระทั่งความขัดแย้งหรือเห็นต่างทางความคิดทางการเมืองไม่สามารถพูดคุยกันได้ด้วยการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในชีวิตและร่างกายระหว่างกัน ความขัดแย้งอันขาดขันติและอหิงสาธรรมที่นำไปสู่การปะทะ การคุกคามต่อสิทธิในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินนี้ กำลังนำมาสู่วิกฤติเหตุการณ์ความรุนแรงในสังคมไทยจากความขัดแย้งทางการเมืองดังกล่าว และมีแนวโน้มขยายตัวรุนแรงขึ้นในอนาคตจนกระทั่งอาจตีบตันต่อหนทางออกของสภาพสังคมการเมืองไทย
ความหวังของสังคมไทยในขณะนี้ อยู่ที่ทุกฝ่าย หากสามารถเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด จะสามารถค้ำประกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงได้ในอนาคต ดังนั้นสำหรับ“พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เราขอเรียกร้องให้ยึดมั่นในหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน โดยปฏิบัติตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด รวมถึงกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR) ยุติเงื่อนไขภายในและภายนอกที่อาจทำให้เกิดความรุนแรงทางสังคม หรือการเผชิญหน้า หรือการสร้างความเกลียดชัง (ดังที่ฝ่าย นปช. ก็มีการปลุกระดมทางข่ายวิทยุให้จัดการพันธมิตรฯ ด้วยความรุนแรง) ซึ่งมีบทเรียนทางประวัติศาสตร์อันเลวร้ายจากประเทศรวันดาในปี พ.ศ. 2537 บนพื้นฐานที่ว่า “ทุกคนต่างเสมอกันในกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่เท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ และมีสิทธิในการเยียวยาอันเป็นผลจริงจังจากศาลที่มีอำนาจแห่งชาติ จากการกระทำอันละเมิดต่อสิทธิขั้นมูลฐาน ซึ่งตนได้รับตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทุกคนในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม มีสิทธิในความมั่นคงทางสังคม และมีสิทธิในการบรรลุถึงซึ่งสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคมและทางวัฒนธรรม อันจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกียรติศักดิ์ของตน การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการสงครามใดๆ เป็นสิ่งพึงต้องห้ามตามกฎหมาย และการสนับสนุนความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนา ซึ่งนำไปสู่การยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การจงเกลียดจงชัง หรือความโหดเหี้ยมเป็นสิ่งพึงต้องห้ามตามกฎหมาย” ซึ่งหากการปฏิบัติการของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยึดมั่นหลักการสิทธิมนุษยชนนี้อย่างเคร่งครัด ปฏิบัติการที่สังคมยังสามารถร่วมตั้งคำถามเพื่อสร้างบรรทัดฐานทางสังคมขึ้นใหม่นี้ จะยังสามารถนำไปสู่ทางออกบนวิถีทางการพัฒนาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยได้
2. การที่ประชาชนเข้าไปชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลและสถานที่ราชการอื่นๆ นั้น แม้จะถือเป็น “สิทธิทางการเมือง” ที่จะใช้วิธีการ “อารยะขัดขืน” ซึ่งสามารถกระทำได้ในบางสถานการณ์ แต่ผู้ใช้วิธีการอารยะขัดขืน ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังที่จะไม่ให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้อื่นโดยเกินสมควร และต้องใช้โดยสันติวิธี แม้เมื่อถูกใช้กำลัง หรือยั่วยุจากอีกฝ่ายหนึ่ง และผู้ใช้ต้องยอมรับผลทางกฎหมายที่ตามมาโดยไม่ขัดขืน
“พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” จะต้องควบคุมดูแลมวลชนกลุ่มผู้ชุมนุมของตน โดยเฉพาะกองกำลังรักษาความปลอดภัย โดยจะต้องหลีกเลี่ยงการปะทะ ด้วยการใช้กำลังอาวุธตอบโต้อีกฝ่ายหนึ่ง หรือสกัดกั้นผู้ชุมนุมบางคนที่นิยมความรุนแรงออกไปให้ได้ จะต้องมีการควบคุมและอบรมผู้ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยมวลชน ให้ตั้งอยู่ในสันติวิธี เคารพหลักสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน อย่าให้ปฏิบัติการของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เปลี่ยนแปลงจากขบวนการอหิงสา สันติวิธี และอารยะขัดขืน เปลี่ยนเป็น ขบวนการหิงสา อนารยะขัดขืน ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนความชอบธรรมของการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มลงอย่างน่าเสียดาย ดังเหตุการณ์การปะทะที่เกิดขึ้นช่วงที่ผ่านมา
3. กรณีที่กลุ่มผู้ชุมนุมของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ได้บุกรุกเข้าไปในสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย หรือ NBT เมื่อช่วงเช้ามืดของวันอังคารที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อบังคับให้พนักงานของสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวยุติการทำหน้าที่และตัดสัญญาณการออกอากาศนั้น เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน การข่มขู่และขัดขวางไม่ให้สื่อมวลชนทำหน้าที่เพื่อปิดกั้นไม่ให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชน แม้ให้เหตุผลว่าสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลนั้น ไม่สามารถอ้างได้เพื่อใช้กำลังกระทำการข่มขู่คุกคามสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนดังกล่าวได้ ซึ่งถือเป็นการรอนสิทธิของผู้อื่นและปิดกั้นทางเลือกข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วย
4. “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ควรเปิดการเจรจากับ “รัฐบาล” อย่างน้อยก็เพื่อตกลงกันในวิธีการต่อสู้ทางการเมือง เพื่อป้องกันมิให้ความขัดแย้งนำพาสังคมไทยไปสู่วิกฤติการณ์ความรุนแรง เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่มีความหมายและสถานการณ์ด้านบวก บรรทัดฐานด้านสิทธิทางการเมืองของพลเมืองไทยจะถูกยกระดับขึ้นหากทุกฝ่ายเคารพสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน ไม่ใช้วิธีการรุนแรงกระทบกระทั่งต่อกันด้วยความรุนแรง เราเห็นว่าเงื่อนไขความขัดแย้งเหล่านี้ สามารถยุติได้โดยกระบวนการประชาธิปไตยและหาทางออกโดยการเปิดโต๊ะเจรจาได้โดยไม่เกิดการสูญเสีย โดยทุกฝ่ายจะต้องหยุดการสร้างเงื่อนไขที่ปิดกั้นการเจรจา ไม่ว่าจะฝ่ายพันธมิตรหรือรัฐบาลเอง เช่น การตั้งข้อหากบฏ และช่วยกันแผ้วถางทางไปสู่การเจรจาเช่น ผู้ต้องหาทางการเมืองทั้งหมดควรได้รับการประกันตัวเพื่อต่อสู้พิสูจน์ความผิดในชั้นศาล เป็นต้น “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” สามารถต่อสู้บนข้อเรียกร้องทางการเมือง ขณะเดียวกันต้องต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมตามที่ถูกกล่าวหาด้วย เพื่อเคารพหลักนิติรัฐในสังคมไทย และจะต้องไม่เรียกร้องทางออกนอกครรลองสังคมประชาธิปไตยที่ฝืนต่อบรรทัดฐานสากล
องค์กรสิทธิมนุษยชน เห็นควรยืนยันว่า จะต้องมีการเจรจาทางการเมืองเพื่อแสวงหาทางออกจากความรุนแรงและความขัดแย้งทางการเมืองนี้ โดยวิถีประชาธิปไตย และ ขอคัดค้านความพยายามของกลุ่มใดๆ รวมทั้งรัฐบาลที่นำกองทัพจะต้องไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการต่อสู้ทางการเมืองซึ่งเป็นกิจการของพลเมือง ไม่ว่าจะโดยใช้อำนาจตามกฎหมายเช่น พ.ร.ก.บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ โดยการปฏิวัติรัฐประหาร เราปฏิเสธการรัฐประหารและการนำพาการรัฐประหาร ไม่ว่าจะมาในเงื่อนไขใดๆ ทั้งนี้ การแสวงหาทางออกจากวิกฤติความขัดแย้ง และการสร้างอนาคตสังคมการเมืองใหม่นี้ จะต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาสังคมทุกๆ กลุ่ม เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดอนาคตประเทศไทย ตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ว่า “ทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนในรัฐบาลของประเทศตน ทั้งโดยตรงหรือ โดยผ่านผู้แทนซึ่งได้เลือกตั้งโดยอิสระ”