คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์ประณาม “หมัก” กระหายเลือด บกพร่องบริหารบ้านเมืองอย่างร้ายแรง หนุน นปช.เผชิญหน้าพันธมิตรฯ หวังใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยืมมือทหารสลายการชุมนุม ยื่นคำขาดลาออกลูกเดียว
วันนี้ (2 ก.ย.) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลต้องยุติสถานการณ์กันยายนทมิฬ โดย นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ต้องรับผิดชอบด้วยการ “ลาออก” สืบเนื่องจากเหตุการณ์ปะทะกันจากความขัดแย้งทางการเมืองของกองกำลังมวลชนระหว่างกลุ่มแนวร่วมประชาชนขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) เมื่อเช้าวันนี้ จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก และได้ถูกนำมาเป็นข้ออ้างในการออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี โดยให้อำนาจผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามอำนาจของ พ.ร.ก.ดังกล่าว รวมทั้งการประกาศเคอร์ฟิว การห้ามการเดินทางและคมนาคม การห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป และการตรวจควบคุมการเสนอข่าวและความคิดเห็นของสื่อมวลชนทุกประเภทนั้น
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่ติดตามสอดส่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เห็นว่า รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช บกพร่องในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างร้ายแรง ไม่สามารถทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิในชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพในการชุมนุมและแสดงความคิดเห็น ตลอดจนทรัพย์สินของประชาชนได้ โดยเพิกเฉยต่อสถานการณ์ความรุนแรงของกองกำลังมวลชนที่มีการจัดตั้งทางการเมืองเข้าปะทะกัน ทั้งยังปรากฏชัดว่า คนของรัฐบาลส่วนหนึ่งอยู่เบื้องหลังและเบื้องหน้าในการสนับสนุนให้กองกำลังมวลชนของ นปช.เดินขบวนจากสนามหลวงมาปะทะมวลชนของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ถนนราชดำเนิน หน้าอาคารสำนักงานองค์การสหประชาชาติ (UN) มีการทำร้ายและคุกคามทางร่างกายทั้งสองฝ่ายจนเกิดวิกฤตการณ์ความรุนแรง โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเพิกเฉยและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ควบคุมสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งสมควรต้องถูกประณาม โดยเฉพาะ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และ รักษาการผู้บัญชาการกองบังคับการตำรวจนครบาล (บช.น.)
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ขอเรียกร้องอย่างจริงจัง ให้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี รับผิดชอบความบกพร่องและการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงของคนในรัฐบาลด้วยการ “ลาออก” จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเปิดทางให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาบริหารราชการแทนตามวิถีประชาธิปไตย เพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง และเป็นทางออกของสังคมในสถานการณ์วิกฤตการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในปัจจุบัน
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ขอประณามการใช้ความรุนแรงของกองกำลังมวลชนทั้งสองฝ่าย โดยเฉพา นปช.ที่ส่งกำลังมวลชนเข้าโจมตีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ จนเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยเฉพาะแกนนำ ผู้ควบคุมและผู้อยู่เบื้องหลัง จะต้องมีส่วนรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถึงที่สุด
รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้รับผิดชอบควบคุมสถานการณ์กรุงเทพมหานคร จะต้องไม่ใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เข้าปราบปรามและสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะจะเป็นการเดินซ้ำรอยประวัติศาสตร์อย่างกระหายเลือด ภายใต้การบงการและกำกับของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ไม่ต่างจากการล้อมปราบนักศึกษาประชาชนในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเขาเคยมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ดังกล่าวมาแล้ว
รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ต้องหยุดเดินตามเส้นทางของอดีตรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยประกาศภาวะฉุกเฉินฯ ดำเนินนโยบายอำนาจนิยมและนำพาสังคมไทยไปสู่ความขัดแย้งไม่สิ้นสุด ทั้งนี้ การออกประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนอกจากไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเกิดจากสถานการณ์ความรุนแรงที่รัฐบาลสร้างขึ้นมาเองแล้ว รัฐบาลไทยจะต้องแจ้งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติตามพันธกรณีที่กำหนดไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง (ICCPR.) มาตรา 4 ที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกผ่านเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ (UN) ก่อนบังคับใช้ เพื่ออธิบายความชอบธรรมของรัฐภาคีในการประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งมีข้อบังคับในการรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชน
วันนี้ (2 ก.ย.) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลต้องยุติสถานการณ์กันยายนทมิฬ โดย นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ต้องรับผิดชอบด้วยการ “ลาออก” สืบเนื่องจากเหตุการณ์ปะทะกันจากความขัดแย้งทางการเมืองของกองกำลังมวลชนระหว่างกลุ่มแนวร่วมประชาชนขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) เมื่อเช้าวันนี้ จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก และได้ถูกนำมาเป็นข้ออ้างในการออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี โดยให้อำนาจผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามอำนาจของ พ.ร.ก.ดังกล่าว รวมทั้งการประกาศเคอร์ฟิว การห้ามการเดินทางและคมนาคม การห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป และการตรวจควบคุมการเสนอข่าวและความคิดเห็นของสื่อมวลชนทุกประเภทนั้น
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่ติดตามสอดส่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เห็นว่า รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช บกพร่องในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างร้ายแรง ไม่สามารถทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิในชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพในการชุมนุมและแสดงความคิดเห็น ตลอดจนทรัพย์สินของประชาชนได้ โดยเพิกเฉยต่อสถานการณ์ความรุนแรงของกองกำลังมวลชนที่มีการจัดตั้งทางการเมืองเข้าปะทะกัน ทั้งยังปรากฏชัดว่า คนของรัฐบาลส่วนหนึ่งอยู่เบื้องหลังและเบื้องหน้าในการสนับสนุนให้กองกำลังมวลชนของ นปช.เดินขบวนจากสนามหลวงมาปะทะมวลชนของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ถนนราชดำเนิน หน้าอาคารสำนักงานองค์การสหประชาชาติ (UN) มีการทำร้ายและคุกคามทางร่างกายทั้งสองฝ่ายจนเกิดวิกฤตการณ์ความรุนแรง โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเพิกเฉยและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ควบคุมสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งสมควรต้องถูกประณาม โดยเฉพาะ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และ รักษาการผู้บัญชาการกองบังคับการตำรวจนครบาล (บช.น.)
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ขอเรียกร้องอย่างจริงจัง ให้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี รับผิดชอบความบกพร่องและการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงของคนในรัฐบาลด้วยการ “ลาออก” จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเปิดทางให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาบริหารราชการแทนตามวิถีประชาธิปไตย เพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง และเป็นทางออกของสังคมในสถานการณ์วิกฤตการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในปัจจุบัน
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ขอประณามการใช้ความรุนแรงของกองกำลังมวลชนทั้งสองฝ่าย โดยเฉพา นปช.ที่ส่งกำลังมวลชนเข้าโจมตีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ จนเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยเฉพาะแกนนำ ผู้ควบคุมและผู้อยู่เบื้องหลัง จะต้องมีส่วนรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถึงที่สุด
รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้รับผิดชอบควบคุมสถานการณ์กรุงเทพมหานคร จะต้องไม่ใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เข้าปราบปรามและสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะจะเป็นการเดินซ้ำรอยประวัติศาสตร์อย่างกระหายเลือด ภายใต้การบงการและกำกับของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ไม่ต่างจากการล้อมปราบนักศึกษาประชาชนในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเขาเคยมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ดังกล่าวมาแล้ว
รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ต้องหยุดเดินตามเส้นทางของอดีตรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยประกาศภาวะฉุกเฉินฯ ดำเนินนโยบายอำนาจนิยมและนำพาสังคมไทยไปสู่ความขัดแย้งไม่สิ้นสุด ทั้งนี้ การออกประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนอกจากไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเกิดจากสถานการณ์ความรุนแรงที่รัฐบาลสร้างขึ้นมาเองแล้ว รัฐบาลไทยจะต้องแจ้งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติตามพันธกรณีที่กำหนดไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง (ICCPR.) มาตรา 4 ที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกผ่านเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ (UN) ก่อนบังคับใช้ เพื่ออธิบายความชอบธรรมของรัฐภาคีในการประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งมีข้อบังคับในการรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชน