xs
xsm
sm
md
lg

พม่าประชด "ช่วยน้อยไม่ต้องมา หากบกินได้"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF>ภาพวันที่ 29 พ.ค.2551 : เด็กผู้หญิงชาวพม่าคนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในที่พักชั่วคราวกำลังเตรียมทำอาหาร ในเมืองทวันเตย์ (Twantay) ที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางใต้ประมาณ 30 ไมล์ ทั้งนี้องค์กรบรรเทาทุกข์ต่างๆ ได้ทยอยเข้าไปในเขตพื้นที่ภัยพิบัติหลังจาก UN รายงานว่าทางการพม่าอนุมัติวีซ่าแก้เจ้าหน้าที่ทั้งหมดแล้ว.</CENTER>
ผู้จัดการออนไลน์-- คณะปกครองทหารพม่าโจมตีประเทศผู้บริจาคเมื่อวันศุกร์ (30 พ.ค.) โดยกล่าวว่าผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์พายุนาร์กิสพัดถล่มไม่ต้องการ "ช็อกโกแลตแท่ง" เพื่อประทังชีวิต แต่พวกเขายังคงสามารถอยู่รอดได้ด้วยการหากบหาปลากินเป็นอาหาร

หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์กล่าวแสดงความไม่พอใจต่อจำนวนเงินที่ได้รับจากบริจาคจากนานาชาติ ซึ่งจนถึงขณะนี้มีผู้บริจาคเงินช่วยเหลือเพียง 150 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่รัฐบาลต้องการเงินเพื่อฟื้นฟูความเสียหายต่างๆ เป็นจำนวนเงินถึง 11 พันล้านดอลลาร์

"ผู้ประสบภัยชาวพม่ามีความสามารถพอที่จะอยู่รอดหลังจากเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้นเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา แม้พวกเขาจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากต่างชาติก็ตาม" หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันกล่าว

"พวกเขาสามารถหาปลาเพื่อมาทำเป็นอาหารโดยยออกไปตกปลาตามทุ่งนาหรือคูน้ำต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูมรสุมซึ่งจะมีกบชุกชุมมาก"
<CENTER><FONT color=#3366FF>ภาพวันที่ 29 พ.ค.2551 : ชายชาวพม่าคนหนึ่งกำลังจับปลาในบ่อน้ำ ในเมืองทวันเตย์ (Twantay) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางใต้ 30 ไมล์.</CENTER>
หนังสือพิมพ์ฉบับนี้กล่าวต่อว่า "เหยื่อพายุที่อาศัยในบริเวณที่ราบปากแม่น้ำอิรวดีสามารถหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเองแม่พวกเขาจะไม่ได้รับแจกช็อกโกแลตแท่งจากประชาคมระหว่างประเทศก็ตาม"

เป็นที่รู้กันว่าองค์กรบรรเทาทุกข์ต่างๆ มักจะให้แจกจ่าย "ช็อกโกแลตแท่ง" ให้แก่ผู้ประสบภัยจากไซโคลนพัดถล่มซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายกว่า 133,000 ราย

โครงการอาหารโลก ( World Food Programme) ได้แจกจ่ายข้าว ถั่ว รวมทั้งขนมปังกรอบที่ให้พลังงานสูงเพื่อให้ประชาชนได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนโดยไม่จำเป็นต้องบริโภคอาหารพื้นฐานทั่วไป

องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่ามีผู้ประสบเคราะห์ประมาณ 1 ล้านคนในบริเวณที่ราบปากแม่น้ำอิรวดีที่ยังคงไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

คณะรัฐบาลทหารถูกวิจารณ์จากต่างชาติถึงความล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยจากเหตุพายุพัดถล่มซึ่งผ่านมาเป็นเวลากว่า 3 สัปดาห์ แม้ว่าองค์การสหประชาชาติจะออกมากล่าวเมื่อวันพฤหัส (29 พ.ค.)ที่ผ่านมาว่า เจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้รับการอนุมัติวีซ่าให้เข้าประเทศแล้วก็ตาม

หนังสือพิมพ์ของรัฐฉบับนี้ยังได้กล่าวโจมตีอย่างแรงต่อธนาคารโลกที่ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ โดยกล่าวว่าไม่สามารถให้กู้เงินได้อีกเพราะพม่ายังค้างชำระหนี้อยู่

นอกจากนี้ยังกล่าวโจมตีบรรดาประเทศต่างๆ ที่ยังคงมีมาตการลงโทษคว่ำบาตรต่อพม่าแม้จะได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาตินี้

"ประเทศเหล่านี้มีความมุ่งมั่นในด้านมนุษยธรรมหรือไม่" หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์กล่าว

หนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลทหารยังได้กล่าวถึงสหรัฐฯ ที่ยังคงต่ออายุคว่ำบาตรพม่าต่อไปด้วยข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลทหารใช้ความรุนแรงในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุนประท้วงเพื่อประชาธิปไตย โดยการคว่ำบาตรครั้งใหม่นี้ออกมา 2 สัปดาห์หลังจากที่เกิดเหตุพายุพัดถล่ม

สหรัฐฯ ยืนยันว่าการต่ออายุคว่ำบาตรนี้จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ ต่อความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ที่ผ่านมาเครื่องบินทางการทหารของสหรัฐฯ ได้ลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปช่วยเหลือยังพม่า.
กำลังโหลดความคิดเห็น