xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ เสนอพม่า $20 ล้านแต่ต้องรับคนด้วย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพเมื่อวันที่ 24 พ.ค.2551 : หญิงพม่าคนหนึ่งกำลังหย่อนบัตรลงคะแนนประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่เมืองกุงย่างกุ้ง  (Kungyangon) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากรุงย่างกุ้งไปทางตอนใต้ประมาณ 48 กม. </CENTER>
ผู้จัดการออนไลน์-- สหรัฐฯ แสดงความผิดหวังต่อการจัดลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญรอบสองในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (24 พ.ค.) ขณะเดียวกันก็ยืนยันพร้อมช่วยเหลือเป็นเงินกว่า 20 ล้านดอลลาร์ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องเปิดกว้างรับเจ้าหน้าที่ประเมินความเสียหายเข้าไปปฏิบัติงาน

"สหรัฐฯ รู้สึกผิดหวังต่อความจริงที่ว่า คณะรัฐบาลทหารพม่ายังคงจัดให้มีการลงประชามติรอบสองเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ในบริเวณ 5 พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากพายุไซโคลนนาร์กิสพัดถล่มท่ามกลางภัยพิบัติทางด้านมนุษยธรรมซึ่งผู้ที่ประสบเคราะห์จำนวนมากยังคงไม่ได้รับความช่วยเหลือ" นายทอม เคซี (Tom Casey) รองโฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวในคำแถลง
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพเมื่อวันที่ 24 พ.ค.2551 : กิ่งไม้ที่หักล้มบริเวณที่พักแห่งหนึ่งใกล้กับกรุงย่างกุ้งมีคำว่า No Vote สลักไว้เพื่อเป็นการแสดงถึงการต่อต้านการจัดลงประชามติในวันที่ 24 พ.ค. ทั้งที่มีผู้ประสบภัยอีกเป็นจำนวนมากกำลังตกอยู่ในความลำบาก. </CENTER>
การลงประชามติรอบแรกถูกจัดขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2551 ในขณะที่รัฐบาลได้เลื่อนการลงประชามติในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุพัดถล่มออกไปเป็นวันเสาร์ที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา แม้จะมีการประกาศถึงผลคะแนนในรอบแรกว่าได้รับการยอมรับอย่างท่วมท้น

การประชุมนานาชาติเพื่อระดมเงินช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ในกรุงย่างกุ้ง เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นายบัน คี-มูน ได้เรียกร้องให้รัฐบาลพม่ารักษาสัญญาที่จะให้ทีมช่วยเหลือจากนานาชาติเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยกว่า 2.4 ล้านคนซึ่งกำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดต่อ และการขาดอาหาร
<CENTER><FONT color=#FF0000>ภาพนายบัน คี-มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ในระหว่างประประชุมเพื่อระดมเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่าที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2551. </CENTER>
นายเคซี กล่าวว่า สหรัฐฯ ได้ย้ำถึงข้อเสนอที่จะส่งทีมผู้เชี่ยวชาญบรรเทาทุกข์และทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมนี้จะถูกส่งไปถึงยังผู้ที่มีความต้องการอย่างแท้จริง และกล่าวเสริมว่าขณะนี้สหรัฐฯ สามารถระดมเงินช่วยเหลือเหยื่อพายุได้มากว่า 20.5 ล้านดอลลาร์

นายเคซี กล่าวต่อว่า "สหรัฐฯ ได้ร่วมกับประเทศผู้บริจาคอื่นๆ กระตุ้นให้รัฐบาลพม่าเร่งดำเนินการที่สำคัญและเร่งด่วนต่างๆ โดยเฉพาะการปฏิบัติตามพันธะสัญญาที่ให้แก่ประคมโลกในการอนุมัติให้ทีมช่วยเหลือจากภายนอกเข้าไปยังพื้นที่ที่ประสบภัย"

"เราจะทำงานร่วมกับอาเซียนและองค์การสหประชาชาติในการประเมินความต้องการของผู้ประสบเคราะห์และจะกระจายความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมในพม่า".
กำลังโหลดความคิดเห็น