xs
xsm
sm
md
lg

พม่าคงจะยุ่งไม่พอสั่งขังต่อ "อองซานซูจี"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099> ขังอีกแล้ว-- ภาพถ่ายวันที่ 27 พ.ค.2551 สมาชิกพรรคฝ่ายค้านของนางอองซานซูจี กำลังฝ่าสายฝนมุ่งไปยังบ้านพักที่ถนนมหาวิทยาลัยในกรุงย่างกุ้ง มีผู้ถูกทางการจับไปกว่า 10 คน ขณะที่รัฐบาลทหารสั่งกักบริเวณผู้นำฝ่ายค้านต่ออีก 1 ปี แต่อีกทางหนึ่งก็อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือต่างชาติเดินทางเข้าสู่เขตภัยพิบัติได้เป็นครั้งแรก (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน-- วงการทูตกำลังชื่นชมทางการพม่าที่เริ่มอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือขององค์การระหว่างประเทศในกรุงย่างกุ้ง สามารถออกไปยังเขตภัยพิบัติรุนแรงปากที่น้ำอิรวดีได้แล้วเมื่อวันอังคาร (27 พ.ค.) แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลทหารก็ได้สั่งขยายเวลากักบริเวณนางอองซานผู้นำพรรคฝ่ายค้านต่ออีกปี

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในบ้านพักมาเป็นเวลากว่า 12 ปีในช่วง 18 ปีมานี้ สตรีวัย 63 ปีก็ยังคงเป็นฝ่ายตรงข้ามที่ทรงอำนาจอิทธิพลที่สุดของคณะปกครองทหาร ที่นำโดยนายพลเอกอาวุโสตานฉ่วย

คำสั่งกักบริเวณต่อออกมาอย่างเงียบๆ ในขณะที่วงการทูตกำลังพยายามหาทางออกไปช่วยเหลือประชาชนที่รอดชีวิตจากพายุนาร์กิสเมื่อวันที่ 2-3 พ.ค. ซึ่งองค์การสหประชาชาติกล่าวว่ายังมีอยู่อีกประมาณ 1.4 ล้านคนที่ยังไม่เคยได้รับกาสรช่วยเหลือใดๆ จากทางการ

องค์การระหว่างประเทศกล่าวว่ารับบาลทหารจะต้องเร่งนำความช่วยเหลือไปยังผู้ประสบเคราะห์ราวทั้ง 2.4 ล้านคนมาตลอด เพราะเพียง 40% ของทั้งหมดเท่านั้นที่เพิ่งวจะได้รับการช่วยเหลือหลังพายุผ่านไปเกือบ 1 เดือน
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพถ่ายวันที่ 30 ม.ค.2551 นางอองซานซูจี ขณะที่เตรียมพบหารือกับนายอิบรอฮิม แกมบารี ทูตพิเศษสหประชาชาติในกรุงย่างกุ้ง ความพยายามรไกล่เกลี่ยเพื่อความปรองดองของสหประชาชาติไม่เกิดผล ทางการพม่าสั่งกักบริเวณผู้นำฝ่ายค้านต่ออีก 1 ปีเมื่อวันอังคารนี้ (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>
รัฐบาลทหารพม่าได้ห้ามเจ้าหน้าที่กู้ภัยระหว่างประเทศเข้าไปยังเขตภัยพิบัติ โดยอ้างว่าสามารถช่วยเหลือประชาชนเองได้ แต่ในช่วงเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมาสิ่งของช่วยเหลือส่วนมากยังคงตกค้างอยู่ในกรุงย่างก้งเนื่องจาก รัฐบาลไม่มียานหานะเพียงพอในการขนส่งออกไปยังเขตภัยพิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เรือยนตร์กับเฮลิคอปเตอร์

ไซโคลนนาร์กิสทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายกว่า 133,000 คน ความล่าช้าและการไม่เอาใจใส่ต่อคำสวิงวอนของประชาคมระหว่าสงประเทศที่ให้อนุญาตเจ้าหน้าที่กู้ภัยเข้าไปปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ ทำให้รัฐบาลทหารได้รับการประณามและเผชิญแรงกดดันอย่างหนัก

เจ้าหน้าที่กู้ภัยกล่าวว่ารับบาลทหารได้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่เดินทางเข้าไปเขตภัยพิบัติได้แล้ววันอังคารนี้ ขณะเดียวกันก็เล่นงานผู้นำฝ่ายค้านต่อ

ตามรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี ทางการได้แจ้งให้นางซูจีทราบเกี่ยวกับการขยายเวลากักบริเวณอีก 1 ปีในตอนบ่ายวันอังคาร หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นย่านถนนมหาวิทยาลัย (University Avenue) ที่ตั้งของบ้านพักนางซูจี จับกุมผู้สนับสนุนไป 16 คนรวมทั้งเด็กอายุ 12 ขวบ 1 คนด้วย ทั้งหมดพยายามเดินขบวนไปให้กำลังใจผู้นำฝ่ายค้าน

เรียนสำเร็จจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สมรสกับชาวอังกฤษ กลับสู่พม่าในปี 2531 ขณะที่ประชาชนและนักศึกษากำลังเดินขบวนต่อต้านระบอบปกครองทหาร ซึ่งนำไปสู่การปราบปรามนองเลือดในช่วงปลายปีทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 3,000 คน

นางซูจีประกาศก่อตั้งสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League of Democracy) ในปีเดียวกัน และในปี 2533 ก็สามารถนำพรรคชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นแต่ทางการทหารไม่ยอมมอบอำนาจสู่มือพลเรือน

อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ทางการกล่าวว่า ได้รับการรับรองอย่างท่วมท้นจากการจัดลงประชามติเมื่อวันที่ 10 กับวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา

ผู้นำฝ่ายค้านพม่าเป็นบุตรีของนายพลอองซาน มหาบุรุษ "บิดาแห่งเอกราช" ของพม่า ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2534 เป็นเจ้าของรางวัลเกียรติยศนี้เพียงคนที่สองที่ได้รับรางวัลนี้ขณะยังถูกกักบริเวณ หลังนายเนลสัน แมนเดลา ผู้นำในแอฟริกาใต้

คณะปกครองทหารเรียกนางซูจีว่า "เดอะเลดี้" (The Lady) แต่ในสายตาของประชาคมระหว่างประเทศนางซูจีเป็นสัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตย
กำลังโหลดความคิดเห็น