xs
xsm
sm
md
lg

เขมรลุยปลูกข้าวหลังเศรษฐีกาตาร์ทำนาหมื่นไร่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099>ภาพถ่ายวันที่ 17 พ.ค.2551 ชาวนาที่ จ.กัมปงสะปือ (Kampong Speu) เร่งวิดน้ำออกจากผืนนาฟลังฝนตกลงมาห่าใหญ่คืนก่อนหน้านั้น ไม่ไกลลงไปทางใต้ที่ จ.สวายเรียง (Svay Rieng) ติดเขตแดนเวียดนาม เศรษฐีน้ำมันจากาตาร์ กำลังจะเข้าลงทุนทำนาหลายหมื่นไร่ (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน—ได้รับแรงส่งจากเศรษฐีน้ำมันกาตาร์ที่มีแผนหว่านเงิน 200 ล้านดอลลาร์เข้าลงทุนทำนาในประเทศ กัมพูชาประกาศเดินหน้าขยายระบบชลประทาน อัดเงินสินเชื่อชาวนาผลิต “ทองขาว” เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก

ราคาข้าวในตลาดโลกที่พุ่งขึ้นสูงลิ่วตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาได้ทำให้รัฐบาลกัมพูชามองเห็นช่องทางใหม่ในการสร้างรายได้โดยไม่ต้องขึ้นต่ออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ที่จะต้องมีการเจรจาอันสลับซับซ้อนกับโลกตะวันตกและกัมพูชามักเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

นายจอม ประสิทธิ์ (Cham Prasidh) รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมกล่าวว่า รัฐบาลกัมพูชาต้องสนับสนุนชาวนาให้ปลูกข้าวมากขึ้น ข้าวจะเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญยิ่งยวด

"เราควรที่จะสนับสนุนชาวนาให้ทำการเพาะปลูกมากยิ่งขึ้นโดยการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการชลประทาน ขยายสินเชื่อออกสู่ชนบทและหาทางที่สะดวกยิ่งขึ้นในการออกสู่ตลาดโลก” รมว.การค้าฯ กัมพูชากล่าว

“สำหรับกัมพูชาขณะนี้เรามองเห็นข้าวเป็นทอง” ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องทบทวนยุทธศาสตร์ใหม่ นายประสิทธิ์กล่าว

แทนที่จะมุ่งพัฒนาสร้างตลาดเฉพาะทางเช่น พัฒนาอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าที่เป็นมิตรกับแรงงานและเจรจาขอสิทธิประโยชน์ทางการค้ากับประเทศพัฒนาแล้ว การที่ราคาข้าวสูงขึ้นหมายถึงว่า กัมพูชามีโอกาสที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นอู่ข้าวโลกที่มีผลกำไร รมว.กัมพูชากล่าว

นายกรัฐมนตรีกัมพูชาสมเด็จฯ ฮุนเซน เป็นผู้หนึ่งที่ผลักดันให้มีการก่อตั้งประเทศหรือองค์การผู้ส่งออกข้าว หรือ OREC (Organization of Rice Exporting Countries) ตามที่นายกรัฐมนตรีไทย นายสมัคร สุนทรเวช ประกาศไปเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ถูกวิจารณ์อย่างหนักจากหลายฝ่ายว่า จะทำให้วิกฤตราคาอาหารโลกรุนแรงยิ่งขึ้น
<CENTER><FONT color=#660099> ทางการออกเรียกร้องเมื่อวันที่ 9 พ.ค. ให้ชาวนาทั่วประเทศขยายการทำนาออกไปอย่างกว้างขาง เพื่อผลิต ทองขาว ส่งออก (ภาพ: Reuters)  </FONT></CENTER>
แม้แต่เวียดนามซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกก็ไม่เห็นด้วยกับแผนการนี้ ทำให้รัฐมนตรีต่างประเทศไทย นายนพดล ปัทมะ ประกาศล้มเลิกแผนการไปในสัปดาห์ต้นเดือนนี้ หลังมีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของไทย กัมพูชา พม่า ลาวและเวียดนาม

อย่างไรก็ตามสมเด็จฯ ฮุนเซนยังคงต้องการหารือเรื่องนี้กับผู้นำอีก 4 ประเทศเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายว่า OREC จะไม่ส่งผลกระทบต่อวิกฤติอาหารโลกตามที่หวาดกลัวกัน

ตามตัวเลขของทางการ 2 ปีมานี้ กัมพูชามีข้าวเหลือส่งออกราว 2 ล้านตัน แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหากมีการส่งเสริมอย่างจริงจังก็อาจจะมีข้าวเหลือส่งออกปีละ 8 ล้านตันในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เกือบสองเท่าของข้าวที่เวียดนามส่งออกคือ 4.5 ล้านตันและเกือบเท่ากับปริมาณ 9.5 ล้านตันที่ไทยส่งออก

เจ้าหน้าที่กัมพูชาเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า นักลงทุนจากประเทศกาตาร์ที่ร่ำรวยด้วยน้ำมันแสดงความสนใจเข้าลงทุนทำนาในเนื้อที่ถึง 10,000 เฮกตาร์ หรือ กว่า 62,000 ไร่ โดยมองทำเลที่ จ.สวายเรียง (Svay Rieng) ติดเขตแดนเวียดนาม โดยจะใช้เงินทุนถึง 200 ล้านดอลลาร์

กาตาร์จะให้เงินกู้ช่วยกัมพูชาขยายระบบชลประทาน เข้าสู่พื้นที่นาหลายแสนไร่ สื่อในกัมพูชารายงานในสัปดาห์ต้นเดือน พ.ค.โดยอ้างการเปิดเผยของนายฮอร์นัมฮอง (Hor Nam Hong) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา

เรื่องนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ในอีกไม่นาน เมื่อผู้แทนรัฐบาลกาตาร์เดินทางเยือนกัมพูชาในเดือน มิ.ย.ศกนี้ ซึ่งจะมีการลงนามในเอกสารเกี่ยวกับความรวมมือด้านการเกษตรระหว่างกันถึง 6 ฉบับ หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันกล่าว

รมว.ต่างประเทศกัมพูชายังได้เปิดเผยแผนการที่จะใช้เงินกู้จากกาตาร์เพื่อขุดคลองจากแม่น้ำสายหนึ่งเชื่อมพื้นที่นาใน 3 จังหวัด คือ สวายเรียง เปรย์แวง (Prey Veng) และ กัมปงจาม (Kampong Cham) ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ทำนากว่า 300,000 เฮกตาร์ หรือเกือบ 2 ล้านไร่

รมว.การค้าฯ กัมพูชา จอม ประสิทธิ์ กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ ว่ารัฐบาลจะส่งเสริมให้ประชาชนทำนาปีละ 2-3 ครั้งเพื่อเพิ่มผลผลิต.
กำลังโหลดความคิดเห็น