จากรายงานของ WASTEDIVE ระบุว่ากว่า 12 มลรัฐในสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นตัวอย่างของภาวะตื่นตัวในกลุ่มผู้ประกอบการ หลังจากพบว่าหน่วยงานนิติบัญญัติปรับเป้าหมายปี 2021 จากการปรับหนักและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้ที่ไม่ใส่ใจกับการรีไซเคิล โดยหันมาผลักดันให้ผู้ประกอบการด้านบรรจุภัณฑ์ปรับเปลี่ยนรูปโฉมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นสินค้าหลักของตนตามแนวคิด EPR : Extended Producer Responsibility ที่กำหนดให้ผู้ผลิตรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น
แนวโน้มดังกล่าวเป็นภาวการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลกที่พบว่าแต่ละปี มีปริมาณขยะพลาสติกเกิดกว่า 26 ล้านตันต่อปี และมีไม่ถึง 30% ของขยะทั้งหมดได้นำกลับมาผ่านกระบวนการรีไซเคิล และพบว่าขยะทั้งหมดกว่า 50% ยังคงเป็นขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หีบห่อสินค้า
ความจริง กฎหมาย EPR ที่กำหนดให้ผู้ผลิตรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่เคยทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะนิติบัญญัติไม่ได้เข้ามาร่วมผลักดันอย่างจริงจัง ตั้งแต่ต้นทาง ณ จุดที่มีการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์
แม้ว่าเนื้อหาของกฎหมาย EPR ในแต่ละมลรัฐของสหรัฐจะแตกต่างกัน แต่มลรัฐส่วนใหญ่ออกแบบกฎหมายให้มุ่งไปที่ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะกลุ่มพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือผลิตภัณฑ์ที่ว่ายากและไม่คุ้มค่าที่จะนำกลับมารีไซเคิล โดยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนที่ต้องบริหารบรรจุภัณฑ์ของผู้ผลิตแต่ละรายในระยะที่กลายเป็นขยะแล้ว หรือที่นำเข้ากระบวนการรีไซเคิล
โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2021 จะเกิดแรงขับเคลื่อนผลักดันให้เกิดความใส่ใจอย่างเข้มงวด โดยมีองค์กรไม่แสวงหากำไรเข้ามารองรับกฎหมายในการจดทะเบียนเพื่อขึ้นทำเนียบ EPR เหมือนอย่างที่ The Product Stewardship Institute (PSI) ดูแลในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย โคโลราโด ฮาวาย แมรี่แลนด์ นิวแฮมเชียร์ นิวยอร์ก โอเรกอน เวอร์ม้อนท์ และวอชิงตัน
ที่ผ่านมานั้น ขยะพลาสติกยังคงครองแชมป์การสร้างวิกฤตต่อโลก รวมถึงสหรัฐฯ ทำร้ายสิ่งแวดล้อมทั้งน้ำทะเล ชีวิตสัตว์ในทะเล สภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตบนบก และสุขภาพของชุมชน ขณะเดียวกันผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้สร้างขยะเอง รวมถึงหน่วยงานเทศบาลที่มีหน้าเก็บขยะต้องแบกรับภาระในการจ่ายค่าเก็บและบริหารขยะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี จนกระทั่งเกิดแนวคิด EPR ที่เป็นทางออกซึ่งเชื่อว่าจะขยายวงกว้างจนครอบคลุมทั่วประเทศสหรัฐในที่สุด และคงจะมีผลสำเร็จมากกว่านี้ หากไม่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19
ที่ผ่านมาผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารแทนผู้ผลิตขยะอันตราย แต่ปัญหาขยะไม่เคยลดลง มีแต่เพิ่มขึ้นนั้นกลายเป็นแรงผลักดันให้ทุกมลรัฐในสหรัฐ มองหนทางแก้ไขด้วยกฎหมาย EPR พร้อมมองว่าจะประสบความสำเร็จเรื่องนี้ภายในปี 2021 และคาดด้วยว่ามลรัฐที่เหลือก็จะออกกฎหมายมาบังคับใช้เช่นเดียวกัน
ขณะที่ สหภาพยุโรป ซึ่งเป็นต้นแบบแนวคิด EPR ได้มีการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับพลาสติกอยู่แล้ว คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการมากขึ้นในปี 2021 เช่นเดียวกัน
การปรับเปลี่ยนทางกฎหมายที่เข้มงวดหีบห่อพลาสติกพร้อมๆ กันในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งมาตรการในระดับนโยบายรัฐ และการปฏิรูปทางกฎหมายพร้อมกัน เชื่อว่าจะส่งผลกระทบแบบฉับพลันและสร้างความอ่อนไหวให้กับผู้ประกอบการผลิตหีบห่อและผู้ใช้หีบห่อต้องห้ามนี้ นับจากปี 2021 เป็นต้นไป ผ่านการจัดเก็บภาษีต่อหน่วยที่เรียกโดยรวมว่า Plastic Tax เริ่มจากหีบห่อพลาสติกที่นำไปรีไซเคิลไม่ได้ ตามน้ำหนักของพลาสติก ในอัตราประมาณ 0.80 ยูโรต่อกิโลกรัม โดยคาดว่าผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตและผู้ใช้หีบห่อนี้จะต้องรับภาระร่วมกัน
ปัญหาและอุปสรรคสำคัญของ EPR ในปี 2021
ระยะต่อจากนี้คือการสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ให้เหมาะสมเพื่อความสําเร็จของการยอมรับและดำเนินการจริง เพราะแนวคิดด้านความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิตครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางของผู้ผลิต หรือ EPR เพิ่งจะโผล่ขึ้นมาอย่างจริงจังในปี 2020 นี้เอง
ผู้ประกอบจำนวนมากอยู่บนพื้นฐานของการสร้างความรู้ความเข้าใจ เมื่อกิจการไม่ได้อยู่บนความเข้าใจ ไม่ได้ยอมรับถึงความเท่าเทียมกัน เมื่อช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เคยพบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบางภาคส่วนมีท่าทีชัดเจนในการต่อต้านเรื่องนี้ ดังนั้นการสร้างความเข้าใจด้วยการสื่อสารอย่างช้าๆ ซ้ำ ๆ เพื่อให้เห็นแนวคิดที่เป็นกลาง ไม่เข้าข้างใคร ไม่ทำร้ายใครเฉพาะกลุ่มมากเกินไป และสร้างเงื่อนไขบางอย่างที่เป็น win-win จะต้องมีการพัฒนาอย่างมาก
ตัวอย่างเช่น Republic Services ที่เป็นหนึ่งในผู้ทิ้งขยะที่เคยต่อต้านได้เริ่มกลับมาประกาศท่าทีทางบวกมากขึ้นเกี่ยวกับ EPR ในปี 2020 และกล่าวว่าจะสนับสนุนโปรแกรมการดำเนินงานที่มุ่งมั่นรักษาโครงสร้างพื้นฐานการรีไซเคิลที่มีอยู่อย่างมีเงื่อนไข และยอมรับว่ากฎหมายใหม่นี้อาจจะส่งผลกระทบต่อข้อกําหนดและวิธีการกำหนดราคาขายของสัญญาทางการค้าของผู้ผลิตหีบห่อทั้งหลาย
ในระหว่างการสัมมนาที่ดำเนินการผ่านทางออนไลน์และเว็บไซต์ เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมขยะมูลฝอยแห่งอเมริกาเหนือ (SWANA) และ PSI บริษัทผู้ดำเนินกระบวนการรีไซเคิลหลายแห่งก็ได้แสดงความกังวลในพัฒนาการของ EPR
ประการแรก ภาระทางการเงินที่อาจจะไม่ได้ลดลงในส่วนของครัวเรือน จึงไม่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนในชนบทและยังขาดความชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการจัดการเงินทุนที่คืนประโยชน์แก่ประชากรในพื้นที่
ประการที่สอง ความกังวลเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินตามกรอบ EPR ที่อาจกระทบทางลบด้านความสามารถในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเทศบาลกับสมาชิกในชุมชน ที่อาจจะรับผิดชอบต่อการบริหารขยะลดลง
ประการที่สาม ปัจจุบันมีการจัดเก็บค่าบริหารขยะอยู่แล้ว การเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านภาษีใหม่ ที่แยกออกต่างหาก จะเพิ่มความซับซ้อนและยุ่งยากมากขึ้น
แม้ว่าทั่วโลกได้เริ่มยอมรับมากขึ้นว่า EPR เป็น "องค์ประกอบสําคัญ" ในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มากขึ้น แต่ในเชิงบริหารจะต้องทบทวนและออกแบบให้ดีว่าจะเน้นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนของระบบ เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มผู้มีอํานาจตัดสินใจได้อย่างไร
CREDIT CLIP ERP UK Ltd