xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวร้ายปลายปี!! พบสารเคมี 4,000 ชนิด ในแนวปะการังใหญ่สุดในโลก เหตุเต่าทะเลผิดปกติ!

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพ - เต่าทะเลถูกคลื่นซัดขึ้นมาอยู่บนชายหาดควีนส์แลนด์ มีอาการเซื่องซึม และบนตัวถูกปกคลุมไปด้วยเพรียง
หลังจากการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ (Griffith University) และ WWF ( World Wide Fund for Nature Australia) บนแนวปะการัง Great Barrier Reef ที่ออสเตรเลีย แนวปะการังใหญ่สุดในโลก พบสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งหลายชนิดไม่สามารถระบุได้ในหญ้าทะเล ในปะการัง และในเลือดของเต่าทะเลสีเขียวที่ใกล้สูญพันธุ์



นักพิษวิทยาทางทะเลกำลังเรียกร้องให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ให้มีการขยายการตรวจสอบสารเคมีในแนวปะการัง Great Barrier Reef โดย Jason van de Merwe นักพิษวิทยาด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นหนึ่งในสารเคมีที่ตรวจพบ นอกจากนี้ ยังพบโลหะหนัก เช่น โคบอลต์ในระดับสูงมาก และยังมีเภสัชภัณฑ์ต่างๆ เช่น ยารักษาโรคหัวใจ โรคไตโรคเกาต์ รวมทั้ง สารเคมีอุตสาหกรรม เช่น สารเคลือบหลุมร่องฟัน และสารหล่อลื่น ฯลฯ

ภาพ -การศึกษาโดยทดสอบเลือดของเต่าทะเลสีเขียว 1,000 ตัวเพื่อวัดการสัมผัสกับสารเคมี
“นี่เป็นการบอกเราว่า เต่าทะเลกำลังสัมผัสกับสารเคมีที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน และไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันยากมากที่จะหาว่ามันมาจากไหน อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะในบริเวณชายฝั่งซึ่งมีสารปนเปื้อนสูงกว่า เต่าทะเลบางตัวมีแผลที่ตาและอยู่ในสภาพย่ำแย่กว่าเต่าทะเลที่อยู่นอกชายฝั่ง”

Jennie Gilbert ผู้ร่วมก่อตั้ง Cairns Turtle Rehabilitation Center กล่าวว่า ยังพบว่ามีเต่าทะเลที่ไม่มีตาและพายหน้า ซึ่งเมื่อนำไปตรวจด้วย CAT scan พบว่า ปอดของเต่ามีรูปร่างผิดปกติมาก และไม่มีสารลดแรงตึงผิวในปอดหรือบริเวณปอดเลย ซึ่งเป็นความผิดปกติอย่างมาก

“หวังว่าการวิจัยจะสามารถบอกวิธีแก้ปัญหาการปนเปื้อนในทะเล โดยเฉพาะยาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ ฯลฯ และทุกอย่างถูกปล่อยลงไปในมหาสมุทร แล้วจะมีวิธีกรองเอามลพิษเหล่านี้ออกหรือไม่”

ภาพ - เต่าทะเลสีเขียวฟื้นจากอาการบาดเจ็บหลังจากได้รับการช่วยเหลือ
Great Barrier Reef เป็นแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลกครอบคลุมพื้นที่ 344,000 ตารางกิโลเมตร รองรับสัตว์และพืชต่างๆ มากถึงกว่า 5,500 ชนิด ช่วยให้ระบบนิเวศทางทะเลมีความสมบูรณ์ และตามปกติ หน่วยงานอุทยานทางทะเล Great Barrier Reef (GBRMPA) มีการตรวจสอบสารกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 40 ชนิด และศึกษาคุณภาพน้ำในแนวปะการัง พร้อมทั้งเผยแพร่รายงานต่อสาธารณะทุกปี อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องขยายการตรวจสอบต่อไปเพื่อช่วยให้เข้าใจว่า แนวปะการังอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างไร จึงจะสามารถระบุวิธีการเพิ่มการป้องกันหรือการฟื้นฟูธรรมชาติได้อย่างถูกต้อง

ที่มา-  https://www.abc.net.au/news/2020-12-29/study-finds-thousands-of-chemicals-in-great-barrier-reef-turtles/13012558
fbclid=IwAR2M3gMGvyto_2tXKPXlHx_7u13A1ILr6QiZPTESWqGByVT8a9kJtbdTaTU


กำลังโหลดความคิดเห็น