•จากการเป็นธนาคารเพื่อสังคมมากว่า 100 ปี ธนาคารออมสินกำลังต่อยอดกลยุทธ์จากจุดแข็งให้ทันการณ์ทันเกม
•เป็นต้นไม้ใหญ่หนึ่งเดียวในโลกที่มีสีชมพู ด้วยคุณลักษณะพิเศษ “3 ออม”
•การปรับตัวครั้งใหม่ เพื่อสามารถแข่งขันได้ในทุกสถานการณ์และก้าวหน้าต่อไปในยุคดิจิทัล
•ด้วย 3 ยุทธศาสตร์ : 1.ธนาคารเพื่อการพาณิชย์ 2.ธนาคารเพื่อสังคม 3.ธนาคารล้ำสมัย
ธนาคารออมสิน เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่เติบโตเคียงคู่สังคมไทยและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจระดับฐานรากมาจนถึงปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 108 ด้วยวิสัยทัศน์
“เป็นผู้นำในการส่งเสริมการออม เสริมสร้างความสุขและความมั่นคงของประชาชน เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล”
มิติใหม่ธนาคารออมสิน
แม้มีสถานภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องดำเนินการตามแนวนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการมีภาพลักษณ์เป็นธนาคารเพื่อสังคมที่เน้นเรื่องการส่งเสริมการออมและสร้างวินัยทางการเงินเป็นหลัก แต่ด้วยความท้าทายต่างๆ และภาวะการแข่งขันที่รุนแรง บทบาทของธนาคารในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา จึงเปลี่ยนแปลงไป ด้วยภาพลักษณ์ที่ทันสมัยขึ้น พร้อมปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุก มุ่งสู่การเป็นธนาคารดิจิทัล แต่ยังคงความเป็นธนาคารออมสินที่ดูแลลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง จนภาพลักษณ์ “แบงก์สีชมพู” เป็นที่ประทับใจ มีลูกค้าไปใช้บริการฝากเงิน กู้เงิน และซื้อสลากออมสินกันแน่นสาขา ขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ บริการ Mobile Banking (MyMo) เติบโตอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 มีการประชุมประจำปีของผู้บริหารระดับผู้จัดการสาขาขึ้นไป ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ประกาศขับเคลื่อน “เป้าหมายสู่ความสำเร็จ ความมั่นคง ด้วย 3 DNA ของธนาคารออมสิน ธนาคารแห่งความยั่งยืน” เปรียบเสมือน “การปลูกต้นไม้” หากส่วนประกอบของต้นไม้ ทั้ง ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ และราก ไม่มีความมั่นคง แข็งแรง ต้นไม้ของเราก็จะไม่สามารถเติบโตได้อย่างยิ่งใหญ่และยั่งยืน
เริ่มที่ “ลำต้น” ซึ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้วยกลยุทธ์ “3 ออม” คือ ออมเศรษฐกิจ ออมสังคม และออมสิ่งแวดล้อม
“เราส่งเสริมให้คนไทยรักการออม มีวินัยในการออมและฉลาดในการใช้เงิน ก็จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ส่วนการออมเศรษฐกิจ ดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล ทำสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม” ดร. ชาติชาย กล่าวถึงบทบาทธนาคารออมสินได้ช่วยแก้ปัญหาความยากจน และการดูแลสิ่งแวดล้อม ล้วนช่วยให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
ให้ทันการเปลี่ยนแปลง
ด้วยความตระหนักที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อความแข็งแกร่งและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เช่น ด้านเทคโนโลยีความต้องการของลูกค้า กฎระเบียบและการ
ผมจึงเชิญชวนพวกเราให้ต้องเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงและให้ล้ำสมัย ไม่ใช่แค่ทันสมัย เพราะนั่นแปลว่า เราตามคนอื่น เราจึงต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา” ดร.ชาติชายกล่าวย้ำ
ธุรกิจธนาคาร 3 มิติ
ธนาคารออมสินได้จัดวางยุทธศาสตร์การดำเนินกิจการธนาคารเป็น 3 กลุ่มงาน ได้แก่1. Traditional Banking ธนาคารเพื่อการพาณิชย์ เช่นเดียวกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ทั่วไป มีบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุดในการแข่งขันและเพื่อสร้างผลกำไร2. Social Development Banking ธนาคารเพื่อสังคม ซึ่งเป็นธนาคารเดียวในประเทศไทยที่กำหนดบทบาทในการดูแลสังคมด้วย3. Digital Banking ธนาคารล้ำสมัย ขณะนี้ ธนาคารออมสินอยู่ในระดับที่นับเป็นธนาคารที่ทันสมัยในยุคดิจิทัล และยังจะพัฒนาต่อไปไม่หยุดยั้ง
1) Traditional Banking ยุคใหม่ งานธุรกิจเพื่อการพาณิชย์ของออมสินมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รูปแบบธุรกิจสาขา (Re-Brand) ให้มีประสิทธิภาพมาตรฐาน มีความทันสมัย เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วให้แก่ลูกค้ายิ่งขึ้น ทั้งการจัดตั้งศูนย์แก้ไขหนี้ เพื่อให้ติดตามการแก้ปัญหาให้ลูกหนี้ได้ทันสถานการณ์ และศูนย์อนุมัติสินเชื่อ จะทำหน้าที่ในการอนุมัติสินเชื่อแทนสาขาในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการอนุมัติสินเชื่อได้
การเพิ่มรถตู้เคลื่อนที่ (โมบาย) และเรือเคลื่อนที่รูปแบบใหม่ ด้วยการนำระบบ “ซูโม่” ซึ่งใช้ไอแพดมาให้บริการผ่านระบบออนไลน์ ทำให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้เหมือนอยู่หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร ทั้งรับฝาก-ถอนเงิน เปิดบัญชีเงินฝาก ฝากสลากออมสิน ฝากเงินกองทุนต่างๆ รวมถึงเปิดใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ และรับชำระสินเชื่อ นอกจากนี้ยังมีบริการให้คำปรึกษาด้านการเงินแก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลที่ยังไม่มีสาขาให้บริการ
ขณะที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (GSB Contact Center) ได้มีการนำเทคโนโลยี AI , Chatbot , Speech Recognition เข้ามาใช้ เพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นช่องทางการสื่อสารสำคัญในการให้บริการข้อมูล ข่าวสาร และผลิตภัณฑ์ของธนาคารออมสินให้กับลูกค้า ซึ่งจะช่วยสร้างความพึงพอใจ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้
ปัจจุบัน นับว่าลูกค้าของธนาคารออมสินส่วนใหญ่ได้เข้าสู่บริการอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบออนไลน์ถึง 85% มีเพียง 15% ที่ไปใช้บริการสาขา จึงจำเป็นต้องสร้างรายได้เพิ่มให้สาขามีกำไรมากขึ้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดสาขาหรือปิดสาขาเสริมพันธมิตรสร้างรายได้มีการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่งและมีศักยภาพ เพื่อสร้างรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มผ่าน 1,062 สาขาทั่วประเทศของธนาคารออมสิน เช่น บริการรับขึ้นเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นจุดให้ลูกค้าต่อทะเบียนรถยนต์ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น บริการลิสซิ่งรถยนต์ ขายประกันภัย และขายกองทุน ผ่านบริการ Mobile Banking (MyMo) เป็นต้น
ร่วมลงทุนในธุรกิจมีอนาคต
ธนาคารออมสินยุคใหม่ยังมองหาโอกาสการลงทุนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Investment) และเพิ่มแหล่งรายได้ใหม่ในลักษณะธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital) สำหรับธุรกิจใหม่และธุรกิจดิจิทัลที่มีโอกาสเติบโต ซึ่งได้มีการอนุมัติการลงทุนแล้ว 28 ราย มูลค่า 594 ล้านบาท และยังอยู่ระหว่างเจรจาอีก 25 ราย เป็นวงเงิน 1,220 ล้านบาท
กล่าวโดยรวมแล้ว ปัจจุบันธนาคารมีการลงทุนในธุรกิจหลายประเภท ทั้งธุรกิจประกันภัย ธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจจัดการกองทุนรวม ซึ่งมีลักษณะเชื่อมโยงธุรกิจธนาคารและสามารถให้ผลตอบแทนที่ดี
นอกจากนี้ ยังร่วมลงทุนในธุรกิจบริการที่อยู่ในกระแสของสังคมยุคใหม่ เช่น ลงทุนในบริษัท Globish ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษทางออนไลน์ เป็นต้น
2) Social Development Banking ธนาคารเพื่อสังคม ซึ่งออมสินมีแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย โดยดูแลลูกค้าทุกกลุ่ม ด้วยกลไก “3 สร้าง” ได้แก่ “สร้างความรู้/สร้างอาชีพ” “สร้างรายได้/สร้างตลาด” และ “สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน” มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐ
ในปี 2563 ธนาคารมีแผนขับเคลื่อนกลไก “3 สร้าง” เพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่ม ตั้งแต่เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย กลุ่มฐานราก รวมทั้งชุมชนที่จะเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ หรือ SMEs Start-up ประสบความสำเร็จต่อไป ด้วยการยกระดับสาขาสู่การเป็นศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืน หรือ Social Branch ให้ครอบคลุม 100 สาขาทั่วประเทศ เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน ศูนย์แก้ไขหนี้นอกระบบ ศูนย์พัฒนาอาชีพ ศูนย์แสดงสินค้าชุมชน ส่งเสริม Smart Homestay , อาหารริมทาง (Street Food) , ส่งเสริมวิถีชุมชน เป็นต้น รวมถึงการจัดตั้ง SMEs Development Center จำนวน 82 ศูนย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางพัฒนาส่งเสริม SMEs เพื่อความยั่งยืน ซึ่งบทบาทของ 3 สร้าง ประกอบด้วย
สร้างความรู้ ด้วยการเป็นศูนย์ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ศูนย์สนับสนุนข้อมูลแก่ผู้ประกอบการ
สร้างตลาด จากการสร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และการจับคู่ธุรกิจที่สร้างประโยชน์ร่วม
สร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน ด้วยการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อ SMEs และการเกิดกลไกร่วมลงทุน (Venture Capital)
บทบาทด้านธนาคารเพื่อสังคม หรือ Social Development Banking ของธนาคารออมสิน จึงโดดเด่นมากที่สุดในวงการธนาคาร และเป็นคุณลักษณะพิเศษที่ส่งเสริมให้แบรนด์ของธนาคารออมสินเข้มแข็งที่สุดในการดูแลสังคม การส่งเสริมดูแลเด็ก เยาวชน และผู้สูงวัย มาอย่างยาวนาน
3) Digital Banking ธนาคารล้ำสมัยยุคดิจิทัล แนวทางที่สร้างองค์ประกอบแวดล้อมที่เอื้อต่อความก้าวหน้าในด้านนี้ก็คือ
1. Digital Transformation การปรับเปลี่ยนการใช้บริการที่หน้าเคาน์เตอร์ ไปสู่ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งลูกค้าจะได้รับความสะดวกรวดเร็วกว่าเดิม ขณะที่ธนาคารก็สามารถลดต้นทุนได้ด้วย
2. Digital Service Innovation นวัตกรรมการบริการดิจิทัล ซึ่งมีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
3. Digital Lifestyle Ecosystem จะทำให้ระบบธนาคารดิจิทัลของธนาคารออมสินกลายเป็นความคุ้นเคยในวิถีการใช้ชีวิตของลูกค้า
เป้าหมายเป็น 1 ในวงการ
ช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมา กระแสโลกออนไลน์ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค เช่นเดียวกับลูกค้าธนาคารออมสินได้หันไปใช้ Digital Banking มากขึ้น จนเติบโตอย่างก้าวกระโดด เมื่อสิ้นปี 2562 มีผู้ใช้บริการธนาคารบนมือถือ ผ่าน Mobile Banking (MyMo) จำนวน 8 ล้านราย นับเป็นอันดับ 4 ของธนาคารทั้งหมด
ในปีนี้ ออมสินมีเป้าหมายจะเพิ่มผู้ใช้บริการด้านนี้อีก 5 ล้านราย รวมเป็น 13 ล้านราย และในปีต่อๆไป หากมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 4-5 ล้านราย การเป็นผู้นำทั้งด้านเทคโนโลยีและจำนวนลูกค้าอันดับ 1 ของประเทศไทย เป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินเอื้อม เพราะปัจจุบันธนาคารออมสินมีฐานลูกค้ากว่า 22 ล้านราย ขณะที่ธนาคารอื่นมีฐานลูกค้าน้อยกว่า
ผลการดำเนินงานปี 2562
ผลประกอบการปีที่ผ่านมา ธนาคารออมสินได้ดำเนินการตามพันธกิจได้อย่างดี
สินทรัพย์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2562 มีสินทรัพย์ 2.8 ล้านล้านบาท
เงินฝาก ปัจจุบันมี 2.41 ล้านล้านบาท เติบโตจาก 2.08 ล้านล้านบาท และเป้าหมายปีนี้จะเติบโต 2.46 ล้านล้านบาท หรือ ประมาณ 1-1.5 เท่าของ GDP
สินเชื่อ จะเห็นว่าปี 2560 เป็นปีแรกและเป็นธนาคารแรกในประเทศไทยที่มีสินเชื่อทะลุ 2 ล้านล้านบาท ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างมาก ปัจจุบันมีสินเชื่อ 2.15 ล้านล้านบาท ถือว่ามีการเติบโตที่มีคุณภาพ
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ 2.65%
กำไร เติบโตอย่างต่อเนื่องขึ้นไปแตะระดับ 3 หมื่นล้านบาท แต่ปี 2561 ต้องสำรองเพิ่ม ทำให้ปี 2562 มีผลกำไรสุทธิ 24,208 ล้านบาท
ณ ปัจจุบัน ธนาคารออมสินนำส่งรายได้เข้ากระทรวงการคลัง เพื่อนำไปพัฒนาประเทศกว่า 1.9 แสนล้านบาท
“ต้นไม้ต้นนี้เติบโตมากว่า 107 ปี เราอยากจะทำอะไรเพื่อให้ต้นไม้นี้ยังแข็งแรงต่อไป สิ่งที่จะฝากให้ดูแล คือต้องรวมพลังขับเคลื่อนสู่การเป็น “ธนาคารเพื่อความยั่งยืน” GSB Sustainable Banking ด้วยการสร้างความสามารถในการทำกำไร Profitability ดูแล Stakeholder ให้ดี ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดี ต้องมีธรรมาภิบาล ผสานพลังทำกลยุทธ์แบงก์ให้แข็งแรง ปฎิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ขยายพันธมิตร และสร้าง New Business เพราะเราทำคนเดียวต่อไปไม่ได้อีกแล้ว และควบคุมคุณภาพหนี้ Asset Quality” ดร.ชาติชาย กล่าวทิ้งท้าย
++++++++++++++++