xs
xsm
sm
md
lg

บ้านปู เพาเวอร์ฯ เดินหน้าเต็มสูบขยายโรงไฟฟ้าและพอร์ตพลังงานสะอาดในจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


สุธี สุขเรือน
•ปีที่แล้ว ดันเมกะวัตต์เพิ่มจากโรงไฟฟ้า 7 แห่ง กำลังผลิตรวมเพิ่มเป็น 2,901 เมกะวัตต์เทียบเท่า
•ปีนี้ เตรียม COD โรงไฟฟ้าในจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม รวมอีก 451 เมกะวัตต์เทียบเท่า
•ลงทุนธุรกิจซื้อขายไฟและโรงไฟฟ้าเสมือน พร้อมขยายพอร์ตพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีพลังงานผ่าน Banpu NEXT

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Base-Load Power Business) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Business) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รายงานผลประกอบการปี 2562 มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี
ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ที่ 4,802 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 19 และมีกำไรจากการดำเนินงานรวม 3,191 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรที่ลดลงของโรงไฟฟ้าหงสาและโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี
อย่างไรก็ดี โรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งยังคงเดินเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยรายงานดัชนีค่าความพร้อมจ่าย (Equivalent Availability Factor: EAF) ที่ร้อยละ 81 และร้อยละ 90 ตามลำดับ สำหรับปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการขยายกำลังผลิตในจีนและญี่ปุ่นทั้งจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) โรงไฟฟ้าตามแผนและการลงทุนเพิ่มในโรงไฟฟ้าที่ COD แล้ว ซึ่งช่วยสร้างรายได้กลับคืนสู่บริษัทฯ ได้ทันที อีกทั้งเมื่อไม่นานมานี้ มีการจัดพิธีเปิดหน้าดินเพื่อเริ่มการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ระยะที่ 1 ขนาด 30 เมกะวัตต์ ที่เวียดนาม ถือเป็นการเดินหน้าสร้างการเติบโตในเวียดนาม ควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายกับภาครัฐและชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบ้านปู เพาเวอร์ฯ ในการขยายการเติบโตให้ถึงเป้าหมาย 5,300 เมกะวัตต์เทียบเท่า ภายในปี 2568

สุธี สุขเรือน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในปี
ที่ผ่านมา บ้านปู เพาเวอร์ฯ ไม่หยุดที่จะเดินหน้าสร้างการเติบโตด้วยการบริหารพอร์ตการลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพ ดังจะเห็นได้จากความสำเร็จในการ COD โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์คุโรคาวะ (Kurokawa)
ในญี่ปุ่น และส่วนขยายโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมหลวนหนาน (Luannan) ระยะที่ 3 ในจีนตามแผน
ที่วางไว้ พร้อมกับการลงทุนใหม่ในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ COD แล้วและพร้อมรับรู้รายได้ทันที รวม
5 แห่ง ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จีซิน (Jixin) ในจีน และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อีก 4 แห่งในญี่ปุ่น ได้แก่ มูโรรัง 1 และ 2 (Muroran 1 & 2) ในจังหวัดฮอกไกโด และเท็นซัง (Tenzan) และทาเคโอะ 2 (Takeo 2) ในจังหวัดซะกะ ทำให้กำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าที่ COD แล้วเพิ่มขึ้น 102 เมกะวัตต์ ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทฯ ยังเข้าลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant: VPP) และธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า
(Energy Trading) ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ในประเทศญี่ปุ่นแต่สามารถสร้างรายได้กลับมาทันทีเช่นกัน ตอกย้ำถึง
การดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์ Greener & Smarter โดยคำนึงถึงการสร้างผลตอบแทนและกระแสเงินสดที่มั่นคงและสม่ำเสมอ

ในปี 2562 บ้านปู เพาเวอร์ฯ มีรายได้รวม 5,687 ล้านบาท จากธุรกิจไฟฟ้าในจีน ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 7 แห่ง จำนวน 755 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 40 ล้านบาท เป็นผลมาจากปริมาณการขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต และรายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม จำนวน 4,790 ล้านบาท นอกจากนี้ยังรับรู้รายได้จากธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า (Energy Trading) จำนวน 142 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไรภายใต้การลงทุนตามโครงสร้าง TK จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่น
อีกจำนวน 39 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ รับรู้ส่วนแบ่งกำไร 3,673 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีมีการลดลงของค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment: AP) ตามโครงสร้างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าหงสาที่หยุดเดินเครื่องเพื่อตรวจสอบอุปกรณ์หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวใน สปป.ลาว เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าหงสาทั้ง 3 หน่วยผลิตสามารถกลับมาเดินเครื่องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพพร้อมสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องตามปกติ

ณ ปัจจุบัน บ้านปู เพาเวอร์ฯ มีโรงไฟฟ้าและโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมด 33 แห่ง แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ COD แล้ว 24 แห่ง และอยู่ระหว่างการพัฒนา 9 โครงการ กำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 2,901 เมกะวัตต์เทียบเท่า คิดเป็นกำลังผลิตที่ COD แล้ว 2,247 เมกะวัตต์เทียบเท่า สำหรับปี 2563 บริษัทฯ คาดว่าจะมีโรงไฟฟ้าที่ COD เพิ่มอีก 4 แห่ง กำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 451 เมกะวัตต์เทียบเท่า ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าซานซี ลู่กวงในจีน โรงไฟฟ้าพลังงานลม ระยะที่ 1 ในเวียดนาม โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยามางาตะ (Yamagata) และยาบูกิ (Yabuki) ในญี่ปุ่น

“สำหรับการปรับเป้าหมายขยายกำลังผลิตเพิ่มเป็น 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 แบ่งเป็นพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป 4,500 เมกะวัตต์เทียบเท่า และพลังงานหมุนเวียน 800 เมกะวัตต์ ส่วนหลังจะมาจากการ
เข้าถือหุ้นร้อยละ 50 ในบริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด (Banpu NEXT) ที่มุ่งดำเนินธุรกิจพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีพลังงาน นั่นหมายความว่าพอร์ตธุรกิจไฟฟ้าของบ้านปู เพาเวอร์ฯ จะมีความหลากหลายขึ้น
และสอดรับกับกระแสด้านพลังงานแห่งโลกอนาคตได้ดียิ่งขึ้น ในปีนี้ นอกจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โครงการโรงไฟฟ้าต่างๆ ตามแผนแล้ว บ้านปู เพาเวอร์ฯ ยังคงมองหาโอกาสในการขยายการลงทุนทั้งในประเทศที่ดำเนินธุรกิจอยู่และประเทศที่มีศักยภาพ รวมถึงมุ่งผนึกพลังร่วมกับกลุ่มบ้านปูฯ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการวางแผนและพัฒนาธุรกิจผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะการศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไปที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในสหรัฐอเมริกาและเวียดนาม พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance: ESG) ควบคู่กับการรักษาสมดุลระหว่างผลตอบแทนและกระแสเงินสดอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสีย” สุธี กล่าวปิดท้าย


กำลังโหลดความคิดเห็น