บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และบริษัทอีอีซี - ดีที กรีน พาวเวอร์ จำกัด ในการร่วมประเมินปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใน “โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์” เป็นเวลา 3 ปี ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 40% ผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียน ระบบพลังงานประสิทธิภาพสูง และระบบนิเวศที่สมบูรณ์ของผืนป่าภายในโครงการบนพื้นที่กว่า 398 ไร่ บริเวณถนนบางนา
บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และบริษัทอีอีซี - ดีที กรีน พาวเวอร์ จำกัด ในการร่วมประเมินปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใน “โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์” เป็นเวลา 3 ปี ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 40% ผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียน ระบบพลังงานประสิทธิภาพสูง และระบบนิเวศที่สมบูรณ์ของผืนป่าภายในโครงการบนพื้นที่กว่า 398 ไร่ บริเวณถนนบางนา
บรรยายใต้ภาพ: บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวลล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และบริษัท อีอีซี - ดีที กรีน พาวเวอร์ จำกัด ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือด้านการประเมินปริมาณการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายในโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ (THE FORESTIAS)โดยได้รับเกียรติจาก นายคีรินทร์ ชูธรรมสถิตย์ ประธานผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริการ MQDC (ซ้าย) นางประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (กลาง) และนายเกชา ธีระโกเมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีอีซี - ดีที กรีน พาวเวอร์ จำกัด (ขวา) ผู้เชี่ยวชาญระบบพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นตัวแทน ณ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)
นายคีรินทร์ ชูธรรมสถิตย์ ประธานผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริการ MQDC กล่าวว่า ความร่วมมือกันในครั้งนี้จะช่วยพัฒนาความรู้และแนวทางปฏิบัติเชิงลึกเพื่อต่อสู้กับสภาวะโลกร้อน “เดอะ ฟอเรสเทียส์” คือโครงการที่มีเพื่อนบ้านเป็นโครงการที่อยู่อาศัย โรงแรม โรงพยาบาล สำนักงาน และพื้นที่เชิงพาณิชย์ รวมถึงมีพื้นที่ป่าขนาดกว่า 30 ไร่ ที่ถูกพัฒนาภายในแนวคิด The Land of Everlasting Happiness จึงถือเป็นโครงการที่เหมาะสมอย่างมากสำหรับการลดการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะเป็นโครงการที่มีสิ่งมีชีวิตทุกชนิดอาศัยอยู่อย่างแท้จริงทั้งมนุษย์และต้นไม้ อีกทั้งประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่น่ากลัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งปัญหาความแห้งแล้งและอุทกภัย รวมถึงอุณหภูมิที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนวัฎจักรที่เลวร้ายเพราะแสดงถึงความต้องการทางพลังงานที่เพิ่มขึ้นเพื่อระบายความร้อนในที่พักอาศัยหรืออาคารสถานที่ต่างๆ
นางประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ อบก. กล่าวว่า การร่วมมือกันในครั้งนี้จะสามารถนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแบบใหม่ให้กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้น อันเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างร้อยละ 7-20% ภายในปี 2563 และลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20-25% ภายในปี 2573 เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน
อบก.ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการในการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้รายกิจกรรมและโครงการจากกิจกรรมลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกภายใต้การดำเนินงานของโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ ตามกลไกของ อบก. อันได้แก่โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) และโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS)
นายเกชา ธีระโกเมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทอีอีซี - ดีที กรีน พาวเวอร์ จำกัด กล่าวว่า การทำงานร่วมกันในครั้งนี้จะช่วยพัฒนาและประเมินแนวทางใหม่ที่สำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พันธกิจในการทำงานของ MQDC คือ ‘For All Well-Being’ จึงทำให้โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์มีความมุ่งมั่นในการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย ซึ่งในที่นี้หมายความรวมถึงทั้งมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ แมลง และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดภายในโครงการ
“การได้ร่วมทำงานกับ MQDC ซึ่งดำเนินงานภายในหลักการ “นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” ทำให้อีอีซี - ดีทีได้มีโอกาสช่วยพัฒนาระบบพลังงานและระบบสาธารณูปโภคในแนวทางที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ระบบทำความเย็นรวมศูนย์ (district cooling system) และ อาคารสาธารณูปโภคส่วนกลาง (CUP) รวมถึง “หุบความเย็น” (cooling basin) ที่ใช้คุณลักษณะของการออกแบบภูมิสถาปัตย์เพื่อสร้างสภาวะภูมิอากาศที่เย็นสบาย จากความร่วมมือในการพัฒนาดังกล่าวนี้ทำให้เราในฐานะผู้รับผิดชอบในการวางผังระบบวิศวกรรม และเป็นผู้ประเมินการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาดการณ์ว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 40% เมื่อเทียบกับโครงการโดยทั่วไป” นายเกชา กล่าว