กรมโรงงานอุตสาหกรรมเผยเตรียมผลักดันดำเนินโครงการอุตสาหกรรมสะอาด ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมนำร่อง 200 โรงงานลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป้าหมายลดการใช้พลังงานกว่า 1,000 ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ(toe) หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า 5,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า(ton Co2eq) ต่อปี
ประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรอ. อยู่ระหว่างดำเนินโครงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยหลักการ BCG (Bio Circular Green) โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด โดยมีเป้าหมายที่จะบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการป้องกันการเกิดมลพิษ และสร้างจิตสำนึกให้กับโรงงาน ชุมชน และภาคส่วนต่างๆ ในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมตามนโยบาย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยนำร่องในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืน
“พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หรือพื้นที่ใกล้เคียงก็จะเน้นกลุ่มเป้าหมายภาคอุตสาหกรรม ชุมชน สถาบันการศึกษา และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยจะส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดให้โรงงานที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 2 ลุ่มน้ำรวมกัน 200 โรงงาน นำไปปฏิบัติใช้จริงสำหรับการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมถึงถ่ายทอดความรู้ การสร้างความตระหนัก และจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานให้กับภาคประชาชนในส่วนต่างๆ อย่างไรก็ตามหากโครงการประสบความสำเร็จในอนาคต กรอ. ก็จะพิจารณาขยายโครงการไปยังพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป” ประกอบ กล่าว
ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ 200 แห่งสามารถนำวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการป้องกันมลพิษไปปฏิบัติใช้จริงเพื่อสามารถจัดการพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม จนสามารถลดการใช้พลังงานได้ไม่น้อยกว่า 1,000 ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ(toe) หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ไม่น้อยกว่า 5,000 ตันคาร์บอนออกไซด์เทียบเท่า(ton Co2eq) รวมถึงการผลักดันให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 800 ราย ได้รับความรู้และเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
สำหรับโครงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยหลักการ BCG โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด เกิดจากรัฐบาลได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทยและการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเน้นเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ด้วยการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงพัฒนาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่า ประกอบกับภารกิจของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องส่งเสริม สนับสนุน และเพิ่มองค์ความรู้ด้านเครื่องจักร การผลิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย วัตถุอันตราย พลังงาน และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งภาคการผลิต บริการ และภาคประชาชน ด้วยการมีมาตรการจูงใจที่เหมาะสมและส่งเสริมการพัฒนาควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม
“นอกจากจะช่วยลดปัญหามลพิษในพื้นที่ใกล้เคียงแล้วยังสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการสามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยลดต้นทุนด้านการผลิตและต้นทุนพลังงาน และที่สำคัญยังสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางการค้าของประกอบการเอสเอ็มอีได้เป็นอย่างดีด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 20 ปี (ตั้งแต่ปี 2561-2580) ด้านการสร้างความสามารถการแข่งขัน ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม”
ประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรอ. อยู่ระหว่างดำเนินโครงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยหลักการ BCG (Bio Circular Green) โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด โดยมีเป้าหมายที่จะบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการป้องกันการเกิดมลพิษ และสร้างจิตสำนึกให้กับโรงงาน ชุมชน และภาคส่วนต่างๆ ในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมตามนโยบาย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยนำร่องในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืน
“พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หรือพื้นที่ใกล้เคียงก็จะเน้นกลุ่มเป้าหมายภาคอุตสาหกรรม ชุมชน สถาบันการศึกษา และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยจะส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดให้โรงงานที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 2 ลุ่มน้ำรวมกัน 200 โรงงาน นำไปปฏิบัติใช้จริงสำหรับการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมถึงถ่ายทอดความรู้ การสร้างความตระหนัก และจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานให้กับภาคประชาชนในส่วนต่างๆ อย่างไรก็ตามหากโครงการประสบความสำเร็จในอนาคต กรอ. ก็จะพิจารณาขยายโครงการไปยังพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป” ประกอบ กล่าว
ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ 200 แห่งสามารถนำวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการป้องกันมลพิษไปปฏิบัติใช้จริงเพื่อสามารถจัดการพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม จนสามารถลดการใช้พลังงานได้ไม่น้อยกว่า 1,000 ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ(toe) หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ไม่น้อยกว่า 5,000 ตันคาร์บอนออกไซด์เทียบเท่า(ton Co2eq) รวมถึงการผลักดันให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 800 ราย ได้รับความรู้และเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
สำหรับโครงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยหลักการ BCG โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด เกิดจากรัฐบาลได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทยและการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเน้นเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ด้วยการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงพัฒนาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่า ประกอบกับภารกิจของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องส่งเสริม สนับสนุน และเพิ่มองค์ความรู้ด้านเครื่องจักร การผลิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย วัตถุอันตราย พลังงาน และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งภาคการผลิต บริการ และภาคประชาชน ด้วยการมีมาตรการจูงใจที่เหมาะสมและส่งเสริมการพัฒนาควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม
“นอกจากจะช่วยลดปัญหามลพิษในพื้นที่ใกล้เคียงแล้วยังสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการสามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยลดต้นทุนด้านการผลิตและต้นทุนพลังงาน และที่สำคัญยังสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางการค้าของประกอบการเอสเอ็มอีได้เป็นอย่างดีด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 20 ปี (ตั้งแต่ปี 2561-2580) ด้านการสร้างความสามารถการแข่งขัน ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม”