คำถาม 4 ข้อที่นายกรัฐมนตรีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยากรับฟังความเห็นจากสังคมขณะนี้ ได้สร้างความฮือฮาและกระตุ้นให้เกิดการวิจารณ์ในหลายวงการ
บ้างก็มองว่าเป็นการสร้างกระแสเพื่อสนับสนุนการอยู่ในอำนาจต่อไปเพื่อจัดการปัญหา ราวกับคาดว่าผู้ตั้งคำถามรู้คำตอบในความรู้สึกของสังคม เพราะเป็นที่ประจักษ์มากขึ้นว่าในวงการนักการเมือง รวมทั้งข้าราชการที่ร่วมมือด้วย จนมีส่วนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาและดำเนินคดีด้วยข้อหาทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็ล้วนมีสาเหตุจากการขาดธรรมาภิบาล
ลองมาดูคำถาม 4 ข้อ ก็น่าจะสะท้อนความเห็นว่าผู้ถามคิดอย่างไร...
1.ท่านคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่
2.หากไม่ได้จะทำอย่างไร
3.การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตยและการเลือกตั้งอย่างเดียว โดยไม่กำหนดถึงอนาคตของประเทศ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปนั้นถูกต้องหรือไม่
4.ท่านคิดว่ากลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ควรจะมีโอกาสเข้าสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาแล้วจะให้ใครแก้ไขและแก้ไขด้วยวิธีอะไร?
อย่างน้อยก็แสดงว่าผู้นำรัฐบาลเห็นความสำคัญของ “ธรรมาภิบาล” หรือ Good Governance ซึ่งหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี หรือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
นั่นคือ ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้
การที่รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารซึ่งขัดกับความรู้สึกของสากลโลกที่เชื่อว่า การยึดอำนาจด้วยกำลังทหารเพื่อล้มอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน คิดแบบนี้ก็ “ไม่ผิด” แต่ “ไม่ใช่” สำหรับกรณีประเทศไทยที่เบื้องหลังการลงคะแนนจำนวนมากมาจากอำนาจเงินและอิทธิพลคน
เราจึงมักได้คณะรัฐมนตรีที่มาจากระบบ “ธุรกิจการเมือง” ที่คิดแบบนักลงทุนที่ใช้เงิน เพื่อให้ได้รับเลือกมีตำแหน่งทางการเมืองนำไปสู่อำนาจและก็ต้องถอนทุนคืน
สังคมไทยจึงอยู่ในภาวะที่ทุกวงการน่าจะรับรู้ “ผลพลอยเสีย” จากการอ้างประชาธิปไตยที่มีนักวิชาการฝรั่งเคยสงสัยว่า “ทำไมคนไทยจึงยอมเลือกคนไม่มีคุณภาพมาเป็นผู้ปกครองตัวเอง”
เมื่อมาถึงตอนนี้ที่ผู้ได้อำนาจรัฐมีการชูเรื่อง “การปฏิรูป” และ “ธรรมาภิบาล” จึงเป็นความหวังครั้งใหม่ของสังคมไทย
ก็อาจเป็นข้อดีของความไม่ดี ที่เราได้ผ่านระบบการเมืองที่ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจการเมืองที่ขาดคุณธรรม จนทำให้คำว่า “นักการเมือง” กลายเป็นสถานะอาชีพที่คนไม่ศรัทธาเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่ควรจะเป็นคนอุทิศตัวเพื่อรักษาผลประโยชน์สาธารณะอย่างมีอุดมการณ์ที่สังคมเชื่อถือและชื่นชม
เมื่อเทียบกับด้านธุรกิจเอกชนส่วนใหญ่มีการปรับตัว ใฝ่ดี และบริหารกิจการที่คำนึงถึงผลประกอบการที่ดี (Profit) พร้อมกับดูแลสังคมทั้งภายในกิจการและภายนอก (People) รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Planet)
ขณะที่การสื่อสารกับนักลงทุนมืออาชีพเพื่อประกาศตัวว่าเป็นกิจการที่ “เก่ง” ด้วยการสร้างผลประกอบการที่เป็นเลิศ และ “ดี” ด้วยการไม่ทำร้ายสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมีการวัดด้วยดัชนี E S G คือ Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม,ชุมชน) Governance (ธรรมาภิบาล) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ลดความเสี่ยงและนำไปสู่การพัฒนาอย่าง “ยั่งยืน”
ทั้งนี้ ด้วยการมีจิตสำนึกที่เป็นแกนการขับเคลื่อนกิจการด้านหลัก CSR ก็จะยิ่งเสริมความแกร่งและทางสู่ความมั่นคงและยั่งยืน
ด้วยสภาวะการแข่งขันในระบบทุนนิยมเสรียุคใหม่ ในปัจจุบันรายงานทางการเงินเพื่ออวดผลการลงทุน ผลกำไรหรือส่วนครองตลาด จึงไม่เพียงพอที่จะยืนยันต่อนักลงทุนที่ต้องการความยั่งยืน ผลการถูกกำกับด้วยหลักมาตรฐานสากลหลายมิติ ทั้งด้านมาตรฐานการผลิตและดำเนินการดูแลทรัพยากร แรงงาน สิ่งแวดล้อม รวมทั้งแนวทางการลงทุนและการบริหารจัดการที่ไม่ทำร้ายสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการไม่สนับสนุนการทุจริตคอร์รัปชัน กลายเป็นกติกาใหม่ที่ธุรกิจจะตัดสินใจคบค้าหรือร่วมลงทุน
การเกิดขึ้นและเพิ่มบทบาทอย่างเห็นชัดขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชันต่างๆ เป็นปรากฏการณ์ที่จะตรวจสอบและกดดันภาคส่วนต่างๆ ให้เข้าสู่วิถีความถูกต้อง เป็นธรรมและปลอดทุจริต เช่นปัจจุบันมีบริษัทที่ร่วมประกาศนโยบายไปปฏิบัติ ล่าสุดมี 838 บริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์กับโครงการ CAC (เป็นบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ 437 บริษัท)
เอาละ...ถ้านายกรัฐมนตรีมีความคิด ความเชื่อเรื่องหลักธรรมาภิบาล จนถึงขนาดจุดกระแสเป็นคำถาม ซึ่งท่านย่อมมีความคิดตอบคำถามได้เองอยู่แล้ว
ดังนั้น จำนวนประชาชนที่เข้าไปตอบด้วยตัวเองหรือส่งคำถามตามช่องทางเปิดเพิ่มขึ้น มากหรือน้อยจึงไม่เป็นประเด็นสำคัญ
ที่สำคัญแท้จริง คือ เมื่อรู้ปัญหา รู้สาเหตุอยู่แล้ว ก็ต้องจริงใจต่อสังคม เร่งแก้กฎกติกา อุดช่องโหว่เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทุกด้าน และสื่อสารความเข้าใจให้สังคมเกิดจิตสำนึกใฝ่ดีร่วมกัน
ข้อคิด....
น่ายินดีที่ให้ความสำคัญกับ “ธรรมาภิบาล” ในการเป็นหลักเกณฑ์การทำงานของทุกวงการมากขึ้น
ยิ่งถ้าให้เกิดความตระหนักทั้งผู้บริหาร ผู้นำองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีแนวปฏิบัติด้วยจุดยืนที่มีธรรมาภิบาล โดยเฉพาะยุคนี้สังคมและผู้มีส่วนได้เสียก็มีเครื่องมือติดตามและตรวจสอบการกระทำแล้วพร้อมแสดงออก
สภาพการณ์เช่นนี้จะกดดันให้ต้องปรับตัวแสดงผลงานที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและความคุ้มค่า แน่นอนคนที่เกี่ยวข้องย่อมพอใจที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยหลักธรรมาภิบาล
หมายถึง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้
นี่คือ คุณลักษณะที่สังคมคาดหวังให้เกิดขึ้นกับนักการเมืองและข้าราชการซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายและมีหน้าที่บริหารจัดการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข”
เมื่อผู้นำรัฐบาลขณะนี้ที่มีพันธกิจสำคัญ คือการปฏิรูประบบต่างๆ ของสังคมในการขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนายุคใหม่ เพื่อให้หลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง และสร้างสังคมที่มีคุณภาพ มีความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ โดยส่งเสริมการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในยุค “Thailand 4.0”
แต่ความเจริญก้าวหน้า คุณภาพ ประสิทธิภาพและมีคุณธรรมจะเกิดไม่ได้ถ้าการบริหารจัดการขาดหลัก “ธรรมาภิบาล”
DNAของผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงาน ก็คือมี CSR หรือมีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม การพิจารณาตัดสินใจจะมุ่งให้ได้ผลที่คุ้มค่าในการเลือกใช้ทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็น คน เงิน หรือวัตถุอุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น คำถามทั้ง 4 ข้อ จึงเป็นโจทย์ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นำภารกิจการปฏิรูปต้องทำให้ได้ คำตอบด้วยการเผด็จปัญหาและสร้างตัวอย่างที่ดีในขณะผู้บริหาร ก็จะเป็นความสำเร็จที่สามารถนำประเทศไทยสู่การเปลี่ยนผ่านอย่างคุ้มค่าต่อการได้อำนาจพิเศษมาจัดการขณะนี้
suwatmgr@gmail.com
บ้างก็มองว่าเป็นการสร้างกระแสเพื่อสนับสนุนการอยู่ในอำนาจต่อไปเพื่อจัดการปัญหา ราวกับคาดว่าผู้ตั้งคำถามรู้คำตอบในความรู้สึกของสังคม เพราะเป็นที่ประจักษ์มากขึ้นว่าในวงการนักการเมือง รวมทั้งข้าราชการที่ร่วมมือด้วย จนมีส่วนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาและดำเนินคดีด้วยข้อหาทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็ล้วนมีสาเหตุจากการขาดธรรมาภิบาล
ลองมาดูคำถาม 4 ข้อ ก็น่าจะสะท้อนความเห็นว่าผู้ถามคิดอย่างไร...
1.ท่านคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่
2.หากไม่ได้จะทำอย่างไร
3.การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตยและการเลือกตั้งอย่างเดียว โดยไม่กำหนดถึงอนาคตของประเทศ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปนั้นถูกต้องหรือไม่
4.ท่านคิดว่ากลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ควรจะมีโอกาสเข้าสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาแล้วจะให้ใครแก้ไขและแก้ไขด้วยวิธีอะไร?
อย่างน้อยก็แสดงว่าผู้นำรัฐบาลเห็นความสำคัญของ “ธรรมาภิบาล” หรือ Good Governance ซึ่งหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี หรือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
นั่นคือ ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้
การที่รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารซึ่งขัดกับความรู้สึกของสากลโลกที่เชื่อว่า การยึดอำนาจด้วยกำลังทหารเพื่อล้มอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน คิดแบบนี้ก็ “ไม่ผิด” แต่ “ไม่ใช่” สำหรับกรณีประเทศไทยที่เบื้องหลังการลงคะแนนจำนวนมากมาจากอำนาจเงินและอิทธิพลคน
เราจึงมักได้คณะรัฐมนตรีที่มาจากระบบ “ธุรกิจการเมือง” ที่คิดแบบนักลงทุนที่ใช้เงิน เพื่อให้ได้รับเลือกมีตำแหน่งทางการเมืองนำไปสู่อำนาจและก็ต้องถอนทุนคืน
สังคมไทยจึงอยู่ในภาวะที่ทุกวงการน่าจะรับรู้ “ผลพลอยเสีย” จากการอ้างประชาธิปไตยที่มีนักวิชาการฝรั่งเคยสงสัยว่า “ทำไมคนไทยจึงยอมเลือกคนไม่มีคุณภาพมาเป็นผู้ปกครองตัวเอง”
เมื่อมาถึงตอนนี้ที่ผู้ได้อำนาจรัฐมีการชูเรื่อง “การปฏิรูป” และ “ธรรมาภิบาล” จึงเป็นความหวังครั้งใหม่ของสังคมไทย
ก็อาจเป็นข้อดีของความไม่ดี ที่เราได้ผ่านระบบการเมืองที่ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจการเมืองที่ขาดคุณธรรม จนทำให้คำว่า “นักการเมือง” กลายเป็นสถานะอาชีพที่คนไม่ศรัทธาเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่ควรจะเป็นคนอุทิศตัวเพื่อรักษาผลประโยชน์สาธารณะอย่างมีอุดมการณ์ที่สังคมเชื่อถือและชื่นชม
เมื่อเทียบกับด้านธุรกิจเอกชนส่วนใหญ่มีการปรับตัว ใฝ่ดี และบริหารกิจการที่คำนึงถึงผลประกอบการที่ดี (Profit) พร้อมกับดูแลสังคมทั้งภายในกิจการและภายนอก (People) รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Planet)
ขณะที่การสื่อสารกับนักลงทุนมืออาชีพเพื่อประกาศตัวว่าเป็นกิจการที่ “เก่ง” ด้วยการสร้างผลประกอบการที่เป็นเลิศ และ “ดี” ด้วยการไม่ทำร้ายสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมีการวัดด้วยดัชนี E S G คือ Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม,ชุมชน) Governance (ธรรมาภิบาล) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ลดความเสี่ยงและนำไปสู่การพัฒนาอย่าง “ยั่งยืน”
ทั้งนี้ ด้วยการมีจิตสำนึกที่เป็นแกนการขับเคลื่อนกิจการด้านหลัก CSR ก็จะยิ่งเสริมความแกร่งและทางสู่ความมั่นคงและยั่งยืน
ด้วยสภาวะการแข่งขันในระบบทุนนิยมเสรียุคใหม่ ในปัจจุบันรายงานทางการเงินเพื่ออวดผลการลงทุน ผลกำไรหรือส่วนครองตลาด จึงไม่เพียงพอที่จะยืนยันต่อนักลงทุนที่ต้องการความยั่งยืน ผลการถูกกำกับด้วยหลักมาตรฐานสากลหลายมิติ ทั้งด้านมาตรฐานการผลิตและดำเนินการดูแลทรัพยากร แรงงาน สิ่งแวดล้อม รวมทั้งแนวทางการลงทุนและการบริหารจัดการที่ไม่ทำร้ายสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการไม่สนับสนุนการทุจริตคอร์รัปชัน กลายเป็นกติกาใหม่ที่ธุรกิจจะตัดสินใจคบค้าหรือร่วมลงทุน
การเกิดขึ้นและเพิ่มบทบาทอย่างเห็นชัดขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชันต่างๆ เป็นปรากฏการณ์ที่จะตรวจสอบและกดดันภาคส่วนต่างๆ ให้เข้าสู่วิถีความถูกต้อง เป็นธรรมและปลอดทุจริต เช่นปัจจุบันมีบริษัทที่ร่วมประกาศนโยบายไปปฏิบัติ ล่าสุดมี 838 บริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์กับโครงการ CAC (เป็นบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ 437 บริษัท)
เอาละ...ถ้านายกรัฐมนตรีมีความคิด ความเชื่อเรื่องหลักธรรมาภิบาล จนถึงขนาดจุดกระแสเป็นคำถาม ซึ่งท่านย่อมมีความคิดตอบคำถามได้เองอยู่แล้ว
ดังนั้น จำนวนประชาชนที่เข้าไปตอบด้วยตัวเองหรือส่งคำถามตามช่องทางเปิดเพิ่มขึ้น มากหรือน้อยจึงไม่เป็นประเด็นสำคัญ
ที่สำคัญแท้จริง คือ เมื่อรู้ปัญหา รู้สาเหตุอยู่แล้ว ก็ต้องจริงใจต่อสังคม เร่งแก้กฎกติกา อุดช่องโหว่เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทุกด้าน และสื่อสารความเข้าใจให้สังคมเกิดจิตสำนึกใฝ่ดีร่วมกัน
ข้อคิด....
น่ายินดีที่ให้ความสำคัญกับ “ธรรมาภิบาล” ในการเป็นหลักเกณฑ์การทำงานของทุกวงการมากขึ้น
ยิ่งถ้าให้เกิดความตระหนักทั้งผู้บริหาร ผู้นำองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีแนวปฏิบัติด้วยจุดยืนที่มีธรรมาภิบาล โดยเฉพาะยุคนี้สังคมและผู้มีส่วนได้เสียก็มีเครื่องมือติดตามและตรวจสอบการกระทำแล้วพร้อมแสดงออก
สภาพการณ์เช่นนี้จะกดดันให้ต้องปรับตัวแสดงผลงานที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและความคุ้มค่า แน่นอนคนที่เกี่ยวข้องย่อมพอใจที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยหลักธรรมาภิบาล
หมายถึง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้
นี่คือ คุณลักษณะที่สังคมคาดหวังให้เกิดขึ้นกับนักการเมืองและข้าราชการซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายและมีหน้าที่บริหารจัดการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข”
เมื่อผู้นำรัฐบาลขณะนี้ที่มีพันธกิจสำคัญ คือการปฏิรูประบบต่างๆ ของสังคมในการขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนายุคใหม่ เพื่อให้หลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง และสร้างสังคมที่มีคุณภาพ มีความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ โดยส่งเสริมการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในยุค “Thailand 4.0”
แต่ความเจริญก้าวหน้า คุณภาพ ประสิทธิภาพและมีคุณธรรมจะเกิดไม่ได้ถ้าการบริหารจัดการขาดหลัก “ธรรมาภิบาล”
DNAของผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงาน ก็คือมี CSR หรือมีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม การพิจารณาตัดสินใจจะมุ่งให้ได้ผลที่คุ้มค่าในการเลือกใช้ทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็น คน เงิน หรือวัตถุอุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น คำถามทั้ง 4 ข้อ จึงเป็นโจทย์ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นำภารกิจการปฏิรูปต้องทำให้ได้ คำตอบด้วยการเผด็จปัญหาและสร้างตัวอย่างที่ดีในขณะผู้บริหาร ก็จะเป็นความสำเร็จที่สามารถนำประเทศไทยสู่การเปลี่ยนผ่านอย่างคุ้มค่าต่อการได้อำนาจพิเศษมาจัดการขณะนี้
suwatmgr@gmail.com