xs
xsm
sm
md
lg

“ข้อมูลที่ฉลาดขึ้น” พลังขับเคลื่อนอนาคตสาธารณูปโภค /มงคล ตั้งศิริวิช

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ปลายปีที่ผ่านมา เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก เปิดตัวสารคดีที่ให้ดูฟรี โดยพูดถึงประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งหยิบยกบทสนทนาเกี่ยวกับอนาคตที่ยั่งยืนขึ้นมาพูดอีกครั้งในการอภิปรายต่อหน้าชุมชน

เพียงแค่ 4 วันหลังจากที่มีการเปิดตัวหนังสารดคีเรื่องดังกล่าว มียอดคนดูในยูทูปราวห้าแสนวิว และจากการที่ได้ดาราดังซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอย่าง ลีโอนาโด ดีคาปรีโอ มาเป็นผู้ให้ข้อมูล ก็ยิ่งทำให้หนังเรื่องดังกล่าวก็กลายเป็นหัวข้อสนทนาในวงกว้างเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เน้นให้เห็นถึงความสนใจของสาธารณะชนที่ต้องการให้มีการดำเนินการเพื่อสร้างความยั่งยืน
สิ่งอยู่แถวหน้าของการเคลื่อนไหว ไม่ใช่ทั้งดาราดังและไม่ใช่เหล่าตัวแทนด้านการเมืองที่สนับสนุนระเบียบวาระเรื่องการสร้างความยั่งยืน แต่กลับเป็นผู้บริโภคที่ใช้พลังงาน ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชนที่กำลังเรียกร้องอำนาจในการดูแลเรื่องการบริโภคพลังงาน และการเคลื่อนไหวที่ว่าก็เป็นสิ่งที่สนับสนุนทิศทางแห่งอนาคตด้านสาธารณูปโภค
การปฏิวัติด้านสาธารณูปโภค
โมเดลด้านพลังงานแบบดั้งเดิมยังคงอยู่เหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนมากว่าทศวรรษ เป็นพลังงานที่ไหลไปในทิศทางเดียว คือจากแหล่งผลิตถึงผู้บริโภค อุตสาหกรรมด้านสาธารณูปโภคกำลังเพลิดเพลินกับความมีอิสระในส่วนงานปฏิบัติการที่เกือบสมบูรณ์ทีเดียว ในบทบาทสำคัญคือการผลักดันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อเร็วๆ นี้เอง โมเดลด้านพลังงานแบบดั้งเดิมกลับกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปเสียแล้ว
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นตัวขับเคลื่อนให้คนหันมาสนใจนโยบายด้านพลังงานหมุนเวียน ความมีประสิทธิภาพด้านพลังงานกลายเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นในระบบโครงสร้างพลังงาน ค่าใช้จ่ายของเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ เริ่มถูกลง ผู้มีอำนาจตัดสินใจในธุรกิจ รวมถึงผู้ใช้งานตามบ้านต่างเข้าถึงข้อมูลของโลกได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ด้วยอานิสงส์จากอุปกรณ์สมาร์ทต่างๆ ขณะเดียวกันโครงข่ายไฟฟ้า หรือ กริดก็เริ่มมีความฉลาดมากขึ้น รองรับแหล่งพลังงานใหม่ๆ ได้
และด้วยเทคโนโลยี มุมมองเชิงลึกและแรงจูงใจในการสร้าง จัดเก็บและแปลงพลังงานเป็นรายได้ ทำให้ผู้บริโภค หรือ คอนซูเมอร์ มีการหลอมรวมและเปลี่ยนไปสู่บทบาทของ “โปรซูเมอร์” ที่เป็นทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตพลังงานในขณะเดียวกัน เพื่อตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้น
ปัจจุบัน โมเดลด้านพลังงานที่เรารู้จักกันดีเริ่มมีการกลับทาง และถูกแทนที่ด้วยการส่งผ่านพลังงานแบบสองทาง นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ทั้งสาธารณูปโภคและผู้บริโภคในปัจจุบัน อยู่ในบทบาทที่เกือบจะทัดเทียมกัน

อะไรเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่โปรซูเมอร์
อย่างแรกก็คือ ความพร้อมและความสามารถในการเข้าถึงความฉลาดด้านพลังงาน จากการมีข้อมูลที่ฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถควบคุมดูแลกิจวัตรหรือความเคยชินในเรื่องการใช้พลังงานของเราเองได้
ปัจจุบัน สมาร์ท มิเตอร์ ช่วยให้ธุรกิจและเจ้าของบ้าน ติดตามการใช้งานและระบุได้ว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างไรได้บ้าง เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้ามาก เช่นการทำเหล็ก ซึ่งปัจจุบันคนงานเองก็สามารถสังเกตรูปแบบที่ใช้ในการผลิตพลังงานและเน้นในจุดที่สามารถปรับใช้พลังงานอย่างพอเพียงได้
ในแง่ขององค์กร ควรแชร์ให้พนักงานได้รับรู้ถึงการใช้พลังงานอย่างฉลาด รวมถึงกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซึ่งเป็นอีกตัวอย่างของการกระจายความรู้เกี่ยวกับพลังงานในองค์กร
แนวโน้มประการที่สอง คือการออกโปรแกรมสมาร์ทกริด ทั้งนี้ ผู้ประกอบการด้านโครงข่ายพลังงานและสาธารนูปโภคด้านพลังงานในบางภูมิภาคได้มีการเปิดตัวโปรแกรมสมาร์ทกริด เพื่อกระตุ้นให้ภาคการค้าและผู้บริโภคในระดับอุตสาหกรรมนำวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านการบริหารจัดการพลังงานมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการใช้พลังงานสูงสุดเพราะอาจเกิดความเสี่ยงจากการที่โครงข่ายไม่มีไฟฟ้า (Grid Blackout) การให้ค่าตอบแทนในรูปของเงินสำหรับผู้ที่มีวิธีปฏิบัติด้านการใช้พลังงานได้ดีที่สุด ก็เป็นแนวทางที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและเป็นแนวทางที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ อีกทั้งยังเป็นการง่ายสำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจ ในการนำไปกระตุ้นให้เกิดวิธีปฏิบัติด้านการบริหารจัดการพลังงานที่ดียิ่งขึ้นไปอีก
องค์ประกอบที่สาม ที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ เทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียนมีราคาถูกลง ทำให้การสร้างและจัดเก็บพลังงานทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
ตามข้อมูลของสภาด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy Council) ธุรกิจของออสเตรเลียกว่า 15,000 แห่งได้นำแผงโซลาร์มาใช้ และเริ่มเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับ นอกจากจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่เข้มงวดยิ่งขึ้นเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้แล้ว สุดท้ายยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากถึง 64 ล้านเหรียญฯ เฉพาะแค่ในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าสนใจที่ช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเรื่องสำคัญนี้ นำมาใช้เป็นเหตุและผลรองรับการเปลี่ยนแปลงได้
แนวโน้มที่ว่าไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในธุรกิจ เพราะการผสมผสานการใช้พลังงานหมุนเวียนยังเป็นจริงได้สำหรับเจ้าของบ้านด้วย โดยมีชาวออสเตรเลียราว 2 ล้านคนได้นำแสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาบ้าน
สมาร์ทโฟน ยานยนต์แบบสมาร์ท สมาร์ทโฮม และสมาร์ทเกจ เหล่านี้ล้วนช่วยผลักดันการเคลื่อนไหวของโปรซูเมอร์ได้ทั้งสิ้น เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ช่วยให้สามารถวัดการใช้พลังงานในทุกที่ได้มากยิ่งขึ้น การปรับปรุงด้านเทคโนโลยี การได้มาซึ่งความรู้และการกระจายข้อมูลที่ช่วยในการดำเนินการได้ ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีการในการพิสูจน์ให้เห็นถึงเหตุและผลรวมถึงความคิดเชิงบวกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในธุรกิจ เพื่อธุรกิจ และเพื่อผู้บริโภคเช่นกัน

มองสาธารณูปโภคในกระบวนทัศน์แบบใหม่
การตอบสนองความต้องการในการขับเคลื่อนโปรซูเมอร์ให้เติบโต จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในส่วนสาธารณูปโภค
ในขณะที่เราทุกคนล้วนต้องการทำส่วนเล็กๆ เท่าที่ทำได้ คือลดการใช้พลังงาน แต่ในความเป็นจริงก็คือจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการใช้พลังงานในสังคมก็เพิ่มขึ้นตามซึ่งคาดว่าจะสูงถึง 41 เปอร์เซ็นต์เมื่อถึงปี 2578 และด้วยระบบโครงสร้างในการเปลี่ยนผ่านซึ่งมีประชาชนสูงวัยอยู่มาก การตอบสนองความต้องการจึงกลายเป็นเรื่องยากขึ้น
กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมยังบังคับให้อุตสาหกรรมต้องมองหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อบริหารจัดการผลกระทบจากการสร้างและใช้พลังงาน อีกทั้งโซลูชันในการสร้างพลังงานแบบดั้งเดิมไม่สามารถตอบสนองมาตรฐานที่เข้มงวดยิ่งขึ้นได้อีกต่อไป
พลังงานหมุนเวียนแบบใหม่เริ่มเข้ามาอย่างจริงจัง แต่ยังมาแบบไม่ต่อเนื่องตามสภาพเป็นจริง ซึ่งความไม่แน่นอนจากการที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้นับเป็นอุปสรรคต่อการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น การเกิดไฟดับในบริเวณตอนใต้ของออสเตรเลียเมื่อไม่นานมานี้ ถูกหยิบยกไปใช้ในการวิพากษ์เกี่ยวกับแหล่งที่มาของพลังงานหมุนเวียน แม้สิ่งที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่ความผิดจากการที่โครงการข่ายไฟฟ้าล่มก็ตาม
ปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมด ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมด้านสาธารณูปโภคซึ่งต้องเผชิญความท้าทายอย่างแท้จริงในการสร้างสมดุลให้กับความต้องการโครงข่ายไฟฟ้าที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งปัจจัยที่ว่ากำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วจากความผันผวนของพลังงาน ที่ทำให้เกิดการแบ่งฝ่ายในการอภิปรายด้านพลังงาน และทำให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้ยาก
ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ ยังมีอีกหนึ่งทางออกที่อยู่ในข้อมูล
เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลทั้งหมดที่อยู่บนโลก ถูกสร้างขึ้นภายในระยะเวลาเพียงแค่สองปีที่ผ่านมาเท่านั้น ทั้งคนและเครื่องจักรกลกำลังเข้าถึงความฉลาดได้มากขึ้นและมากขึ้นไปอีก พร้อมทั้งคาดหวังโซลูชันที่จะมาเชื่อมต่อความฉลาดและช่วยให้ใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาลเหล่านี้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด
ข้อมูลที่ว่า เป็นตัวผลักดันการเคลื่อนไหวของโปรซูเมอร์ และเป็นข้อมูลที่ช่วยให้อุตสาหกรรมสาธารณูปโภคก้าวข้ามความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดได้ ที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราเชื่อว่าบทต่อไปของการปฏิวัติด้านพลังงานกำลังเริ่มขึ้น ด้วยการเรียนรู้ว่าจะนำข้อมูลที่มีการเติบโตมหาศาลมาใช้อย่างฉลาดได้อย่างไร
นำประโยชน์ของข้อมูล มาตอบสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การตอบสนองความต้องการเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกอบการโครงข่ายบอกได้ว่าลูกค้าใช้พลังงานไปมากแค่ไหนพร้อมทั้งร้องขอให้ลูกค้ารายนั้นๆ จำกัดการใช้พลังงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง บ่อยครั้งที่มีการยื่นข้อเสนอเรื่องผลตอบแทน เช่น การลดราคาค่าไฟลงเป็นการแลกเปลี่ยน
กระบวนการนี้ นำพาเสถียรภาพมาสู่กริดเป็นการชั่วคราวในเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง เช่น ในช่วงอากาศร้อนมากหรือหนาวมาก การนำโปรแกรมที่ช่วยตอบสนองความต้องการเหล่านี้มาใช้ ทำให้สาธารณูปโภคสามารถใช้กริดที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม แทนที่จะขยายระบบโครงสร้างซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง เมื่อเร็วๆนี้ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีก็ทำให้สาธารณูปโภคมีกระบวนการทำงานในแบบอัตโนมัติ ทำให้เรื่องนี้เป็นทางเลือกที่นำไปปฏิบัติได้เกิดผลจริง
การตอบสนองความต้องการยังเอื้อประโยชน์ให้ผู้บริโภคสามารถปรับการใช้พลังงานได้ในเวลาที่ต้องการแบบเรียลไทม์ เพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขของกริด หรือสัญญาณในเรื่องของราคา เพื่อช่วยควบคุมพลังงานและลดความต้องการใช้พลังงาน พร้อมขายคืนพลังงานที่ลดให้กับตลาดพลังงาน ซึ่งผู้บริโภคบางรายเลือกที่จะเปิดตัวผลิตไฟฟ้า (Local Generators) และไม่จำกัดการใช้พลังงานเลย หรือเปลี่ยนพลังงานที่เกินมาเป็นเงิน เพื่อสนับสนุนความต้องการของกริด ณ เวลานั้น ซึ่งเงินตอบแทนประเภทนี้ยังช่วยรักษาลูกค้าเอาไว้ได้นาน
เปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้กลายเป็นเรื่องที่ทำได้จริง
การปฏิวัติที่ส่งผ่านมาถึงกำแพงห้องประชุมขององค์กรด้านสาธารณูปโภคได้เริ่มขึ้นแล้ว แนวทางในอดีตที่ผ่านมาซึ่งถูกผูกขาดด้วยพลังงานฟอสซิลที่บริหารจัดการจากส่วนกลาง กำลังถูกท้าทายด้วยเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่โถมเข้ามาอย่างรวดเร็วจากการผลักดันในแต่ละส่วน ทั้งกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการยอมรับที่แพร่หลายเกี่ยวกับความต้องการความสามารถในการสร้างความยั่งยืนเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นกระแสหลัก
ในขณะที่ทั้งสาธารณูปโภคและโปรซูเมอร์ ต่างได้รับประโยชน์จากโมเดลพลังงานใหม่นี้ แต่ก็ยังมีความท้าทายที่รอให้แก้ไขเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านดำเนินไปอย่างราบรื่น
การผสานรวมของพลังงานหมุนเวียนนำมาซึ่งความเสี่ยงในแง่ของความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพ การได้พลังงานอาจไม่ต่อเนื่อง จะเกิดอะไรขึ้นหากลมไม่พัดหรือดวงอาทิตย์ไม่ส่องแสง เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนสามารถเสื่อมไปตามสภาพได้เช่นกัน ซึ่งโปรแกรมที่ตอบสนองความต้องการนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความท้าทาย โดยทั้งสาธารณูปโภคและธุรกิจต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ เกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวในเรื่องของค่าใช้จ่าย และความต้องการด้านพลังงานที่แตกต่างกันไป ซึ่งต้องมอนิเตอร์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบงานสำคัญจะไม่ถูกทิ้งขว้างเพราะไม่มีพลังงานให้ใช้
อย่างไรก็ดี ด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างภาคสาธารณูปโภคและผู้บริโภค กฏระเบียบข้อบังคับที่สนับสนุน และเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดที่พร้อมรองรับแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน

"วิวัฒนาการของโปรซูเมอร์ด้านพลังงานนับเป็นการป่าวประกาศให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญเรื่องการสร้างพลังงาน การกระจาย และการใช้พลังงานในอนาคต สำหรับผู้ที่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ก็จะได้รับสิ่งต่างๆ ตามมามากมายเช่นกัน"

มงคล ตั้งศิริวิช
รองประธานหน่วยธุรกิจพลังงาน และธุรกิจบริการ
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย

กำลังโหลดความคิดเห็น