สัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต้องได้รับความเดือดร้อนจากการจราจรติดขัดเนื่องจากฝนตกหนักจนน้ำท่วมผิวจราจรเกือบทั้งเมือง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายจังหวัดในภาคกลางและภาคเหนือที่สื่อโทรทัศน์หลายช่องรายงานว่าฝนตกหนักที่สุดในรอบ 10-15 ปี เป็นต้น
เพื่อความชัดเจน ผมได้พยายามเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ของหน่วยงานที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ พบว่าบางเว็บไซต์ได้ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดถึงปี 2542 เท่านั้นเอง บางเว็บไซต์(หลัก)ดีหน่อยหนึ่งถึงปี 2558
นี่หรือครับท่านประยุทธ์ที่ท่านเรียกว่า“ไทยแลนด์ 4.0?”
อย่างไรก็ตาม ผมก็ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากกรมอุตุนิยมวิทยา นั่นคือ จากการพยากรณ์ของกรมฯ พบว่าในช่วง 3 เดือนคือ พฤษภาคมถึงกรกฎาคม อุณหภูมิอากาศของประเทศไทยจะสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง 30 ปี (คือปี 2523-2553) ในทุกภาคของประเทศและในเกือบทุกเดือน มียกเว้นอยู่หย่อมเดียวเท่านั้น คือในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในเดือนกรกฎาคมเท่านั้น (แต่ก็อย่าเพิ่งสรุปว่าเป็นคำพยากรณ์ที่ถูกต้อง) ที่เหลือแดงเทือกไปหมดครับ (ดูภาพประกอบ)
หากย้อนไปในฤดูร้อนที่เพิ่งผ่านมา เราได้ยินข่าวความเสียหายจาก “พายุฤดูร้อน” ในหลายจังหวัดในภาคอีสาน และน้ำท่วมใหญ่นอกฤดูกาลในเกือบทุกจังหวัดในภาคใต้ เช่น บางพื้นที่ของอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชที่ชาวบ้านบอกว่าท่วมมากที่สุดในรอบ 50 ปี
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเขาเรียกรวมๆ ว่า “ภูมิอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather)” ซึ่งเป็นผลมาจากปรากฏการณ์ใหญ่ของโลกที่เรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)” หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า “โลกร้อน”
ด้วยเหตุที่การจัดการกับข้อมูลของประเทศไทยเรายังล้าหลัง (น่าจะอยู่ในยุค 2.0) ผมจึงขอใช้ข้อมูลจากรายงานเรื่อง “ฤดูร้อนพิโรธ (Angry Summer)” ของประเทศออสเตรเลียซึ่งในช่วง 90 วันแรกของปี 2017 สถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโลกร้อนของประเทศเขาได้ถูกทุบทำลายไปแล้วถึง 205 สถิติ
รายงานดังกล่าวจัดทำโดย “คณะกรรมการภูมิอากาศ (Climate Council)” ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งเมื่อปี 2013 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลกับสาธารณะทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผมเข้าใจว่าไม่ใช่องค์กรของรัฐบาล แต่เป็นองค์กรที่ถูกตั้งขึ้นโดยเอกชนหลังจากองค์กรรัฐบาลกลางของออสเตรเลียได้ถูกยกเลิกไปเมื่อพรรคกรรมกรแพ้การเลือกตั้งในปี 2013
ผมได้นำภาพปกพร้อมกับสถิติสำคัญๆ มาให้ดูด้วยครับ (ดูเพิ่มเติม www.climatecouncil.org.au)
รายงานนี้ได้สรุปว่า “ฤดูร้อนพิโรธเกิดจากคลื่นความร้อนที่รุนแรงมากขึ้น ในภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น เกิดไฟป่า ในขณะที่ภาคตะวันตกเกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในรัฐนิวเซาท์เวลส์อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยถึง 2.57 องศาเซลเซียส”
“การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้อากาศร้อนกว่าเดิม นานกว่าเดิม และเกิดขึ้นบ่อยกว่าเดิม ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาเกิดขึ้นอย่างน้อย 50 เท่าตัวของค่าเฉลี่ย” (ลองเปรียบเทียบกับกรณีในประเทศไทยเราซึ่งกรมอุตุฯ คาดการณ์อย่างกว้างๆ ว่า “สูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย” )
รายงานฉบับ 24 หน้านี้ได้ระบุว่า “การป้องกันออสเตรเลียจากผลกระทบของฤดูร้อนที่ฉกาจฉกรรจ์นี้ได้มี 2 อย่างคือ อย่างแรก ใช้พลังงานหมุนเวียนที่มีราคาถูก สะอาด และมีประสิทธิภาพ และอย่างที่สอง เลิกการใช้พลังงานฟอสซิล”
อีกตอนหนึ่งของรายงานนี้กล่าวว่า “ออสเตรเลียได้ร่วมลงนามในข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก 26-28% ภายในปี 2030 แต่ในปี 2016 ออสเตรเลียได้ปล่อยเพิ่มขึ้น 0.8% ในขณะที่ประเทศจีนปล่อยคงที่ และสหรัฐอเมริกาปล่อยลดลง”
ในตอนท้ายของรายงานฉบับนี้กล่าวว่า นี่เป็นทศวรรษที่สำคัญที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงแรกของทศวรรษนี้ อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วเลวร้ายกว่าเดิม เกิดบ่อยขึ้น ระยะเวลาที่เกิดนานกว่าเดิม “ฤดูร้อนพิโรธ” กลายเป็น “สิ่งปกติใหม่” และจะรุนแรงขึ้นกว่าเดิมในอนาคต ดังนั้น ทั้งโลกจะต้องลดการปล่อยให้เร็วขึ้นและมากขึ้นกว่าเดิม
ออสเตรเลียเป็น 1 ใน 15 ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก หากแต่ละประเทศยังคงปล่อยไปตามปกติ อุณหภูมิของอากาศโลกจะสูงถึง 2.8-5.1 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมในปี 2090 หากเป็นไปเช่นนี้ พื้นที่จำนวนมากของออสเตรเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ห่างไกลจากฝั่งทะเลจะไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้เลย นี่คือ สาระสำคัญที่ผมสรุปมาจากรายงานฉบับดังกล่าวครับ
กลับมาที่ประเทศไทยเราครับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงปารีสว่าจะลดการปล่อยก๊าซลง 20-25% ภายในปี 2030 ท่านประยุทธ์ได้นำเรื่องนี้มาเล่าให้คนไทยฟังด้วยความรู้สึกภูมิใจ คนไทยเราก็คงภูมิใจตามไปด้วย แต่ท่านจะทราบไหมหนอว่า หลังจากนั้น 12 เดือน การปล่อยก๊าซของไทยได้เพิ่มขึ้นถึง 1.4% จาก 254 ล้านตัน เป็น 258 ล้านตัน นี่ยังไม่ได้นับการปล่อยจากโรงไฟฟ้าลิกไนต์หงสา ที่บริษัทของคนไทยไปสร้างโรงไฟฟ้าไว้ในประเทศลาว แล้วส่งไฟฟ้ากลับมาให้คนไทยใช้ แต่คิดโควตาการปล่อยในนามประเทศลาว
อีกเรื่องหนึ่งที่ท่านประยุทธ์ เข้าใจผิด คือท่านมักพูดอยู่เสมอๆ ว่า ถ้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศทรุดหรือไม่เติบโต
ผมมีรายงานจาก World Resources Institute มาแย้งท่านครับ กล่าวคือมีอย่างน้อย 20 ประเทศที่ในช่วง 2000-2014 ที่ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่เศรษฐกิจของประเทศกลับเติบโตครับ (ดูภาพประกอบ) ผมเข้าใจว่าขนาดมูลค่าทางเศรษฐกิจของ 20 ประเทศนี้น่าจะเกินครึ่งของโลก
ในจำนวนนี้มีประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนได้มีการจ้างงานจำนวนมาก (รายงานล่าสุดระบุว่า ทั่วโลกประมาณ 10 ล้านคนในปี 2016) เมื่องานกระจาย เงินก็กระจาย เมื่อเงินกระจายเงินมันก็จะหมุนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ในขณะที่การใช้พลังงานฟอสซิล นอกจากเงินไม่กระจายตัวแล้ว มลพิษจากพลังงานฟอสซิลยังทำลายแหล่งอาหารตามธรรมชาติของชุมชนอีกด้วย
เรื่องนี้ ผมเชื่อว่าถ้าท่านนายกฯ ประยุทธ์มีเวลาได้ครุ่นคิดดีๆ ไม่ฟังแต่รายงานด้านเดียวจากกลุ่มผลประโยชน์ ท่านก็ต้องเข้าใจได้ไม่ยาก
โดยสรุปครับ ทางออกจากปรากฏการณ์ภูมิอากาศสุดขั้ว ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝนก็คือต้องร่วมมือกับชาวโลกลดคาร์บอนไดออกไซด์เหมือนกับที่ท่านได้ลงนามในข้อตกลงปารีสไปแล้ว แต่ขอให้ทำจริงเถอะ อย่าดีแต่ปาก อย่ามัวแต่แก้ตัว แต่จงใช้ความกล้าหาญเพื่อทำลายผลประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานฟอสซิลที่หากินมานาน แล้วผลประโยชน์โดยรวมของชาติไทยและของโลกก็จะปรากฏเป็นจริงอย่างแน่นอนครับ
เพื่อความชัดเจน ผมได้พยายามเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ของหน่วยงานที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ พบว่าบางเว็บไซต์ได้ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดถึงปี 2542 เท่านั้นเอง บางเว็บไซต์(หลัก)ดีหน่อยหนึ่งถึงปี 2558
นี่หรือครับท่านประยุทธ์ที่ท่านเรียกว่า“ไทยแลนด์ 4.0?”
อย่างไรก็ตาม ผมก็ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากกรมอุตุนิยมวิทยา นั่นคือ จากการพยากรณ์ของกรมฯ พบว่าในช่วง 3 เดือนคือ พฤษภาคมถึงกรกฎาคม อุณหภูมิอากาศของประเทศไทยจะสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง 30 ปี (คือปี 2523-2553) ในทุกภาคของประเทศและในเกือบทุกเดือน มียกเว้นอยู่หย่อมเดียวเท่านั้น คือในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในเดือนกรกฎาคมเท่านั้น (แต่ก็อย่าเพิ่งสรุปว่าเป็นคำพยากรณ์ที่ถูกต้อง) ที่เหลือแดงเทือกไปหมดครับ (ดูภาพประกอบ)
หากย้อนไปในฤดูร้อนที่เพิ่งผ่านมา เราได้ยินข่าวความเสียหายจาก “พายุฤดูร้อน” ในหลายจังหวัดในภาคอีสาน และน้ำท่วมใหญ่นอกฤดูกาลในเกือบทุกจังหวัดในภาคใต้ เช่น บางพื้นที่ของอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชที่ชาวบ้านบอกว่าท่วมมากที่สุดในรอบ 50 ปี
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเขาเรียกรวมๆ ว่า “ภูมิอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather)” ซึ่งเป็นผลมาจากปรากฏการณ์ใหญ่ของโลกที่เรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)” หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า “โลกร้อน”
ด้วยเหตุที่การจัดการกับข้อมูลของประเทศไทยเรายังล้าหลัง (น่าจะอยู่ในยุค 2.0) ผมจึงขอใช้ข้อมูลจากรายงานเรื่อง “ฤดูร้อนพิโรธ (Angry Summer)” ของประเทศออสเตรเลียซึ่งในช่วง 90 วันแรกของปี 2017 สถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโลกร้อนของประเทศเขาได้ถูกทุบทำลายไปแล้วถึง 205 สถิติ
รายงานดังกล่าวจัดทำโดย “คณะกรรมการภูมิอากาศ (Climate Council)” ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งเมื่อปี 2013 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลกับสาธารณะทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผมเข้าใจว่าไม่ใช่องค์กรของรัฐบาล แต่เป็นองค์กรที่ถูกตั้งขึ้นโดยเอกชนหลังจากองค์กรรัฐบาลกลางของออสเตรเลียได้ถูกยกเลิกไปเมื่อพรรคกรรมกรแพ้การเลือกตั้งในปี 2013
ผมได้นำภาพปกพร้อมกับสถิติสำคัญๆ มาให้ดูด้วยครับ (ดูเพิ่มเติม www.climatecouncil.org.au)
รายงานนี้ได้สรุปว่า “ฤดูร้อนพิโรธเกิดจากคลื่นความร้อนที่รุนแรงมากขึ้น ในภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น เกิดไฟป่า ในขณะที่ภาคตะวันตกเกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในรัฐนิวเซาท์เวลส์อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยถึง 2.57 องศาเซลเซียส”
“การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้อากาศร้อนกว่าเดิม นานกว่าเดิม และเกิดขึ้นบ่อยกว่าเดิม ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาเกิดขึ้นอย่างน้อย 50 เท่าตัวของค่าเฉลี่ย” (ลองเปรียบเทียบกับกรณีในประเทศไทยเราซึ่งกรมอุตุฯ คาดการณ์อย่างกว้างๆ ว่า “สูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย” )
รายงานฉบับ 24 หน้านี้ได้ระบุว่า “การป้องกันออสเตรเลียจากผลกระทบของฤดูร้อนที่ฉกาจฉกรรจ์นี้ได้มี 2 อย่างคือ อย่างแรก ใช้พลังงานหมุนเวียนที่มีราคาถูก สะอาด และมีประสิทธิภาพ และอย่างที่สอง เลิกการใช้พลังงานฟอสซิล”
อีกตอนหนึ่งของรายงานนี้กล่าวว่า “ออสเตรเลียได้ร่วมลงนามในข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก 26-28% ภายในปี 2030 แต่ในปี 2016 ออสเตรเลียได้ปล่อยเพิ่มขึ้น 0.8% ในขณะที่ประเทศจีนปล่อยคงที่ และสหรัฐอเมริกาปล่อยลดลง”
ในตอนท้ายของรายงานฉบับนี้กล่าวว่า นี่เป็นทศวรรษที่สำคัญที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงแรกของทศวรรษนี้ อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วเลวร้ายกว่าเดิม เกิดบ่อยขึ้น ระยะเวลาที่เกิดนานกว่าเดิม “ฤดูร้อนพิโรธ” กลายเป็น “สิ่งปกติใหม่” และจะรุนแรงขึ้นกว่าเดิมในอนาคต ดังนั้น ทั้งโลกจะต้องลดการปล่อยให้เร็วขึ้นและมากขึ้นกว่าเดิม
ออสเตรเลียเป็น 1 ใน 15 ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก หากแต่ละประเทศยังคงปล่อยไปตามปกติ อุณหภูมิของอากาศโลกจะสูงถึง 2.8-5.1 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมในปี 2090 หากเป็นไปเช่นนี้ พื้นที่จำนวนมากของออสเตรเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ห่างไกลจากฝั่งทะเลจะไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้เลย นี่คือ สาระสำคัญที่ผมสรุปมาจากรายงานฉบับดังกล่าวครับ
กลับมาที่ประเทศไทยเราครับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงปารีสว่าจะลดการปล่อยก๊าซลง 20-25% ภายในปี 2030 ท่านประยุทธ์ได้นำเรื่องนี้มาเล่าให้คนไทยฟังด้วยความรู้สึกภูมิใจ คนไทยเราก็คงภูมิใจตามไปด้วย แต่ท่านจะทราบไหมหนอว่า หลังจากนั้น 12 เดือน การปล่อยก๊าซของไทยได้เพิ่มขึ้นถึง 1.4% จาก 254 ล้านตัน เป็น 258 ล้านตัน นี่ยังไม่ได้นับการปล่อยจากโรงไฟฟ้าลิกไนต์หงสา ที่บริษัทของคนไทยไปสร้างโรงไฟฟ้าไว้ในประเทศลาว แล้วส่งไฟฟ้ากลับมาให้คนไทยใช้ แต่คิดโควตาการปล่อยในนามประเทศลาว
อีกเรื่องหนึ่งที่ท่านประยุทธ์ เข้าใจผิด คือท่านมักพูดอยู่เสมอๆ ว่า ถ้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศทรุดหรือไม่เติบโต
ผมมีรายงานจาก World Resources Institute มาแย้งท่านครับ กล่าวคือมีอย่างน้อย 20 ประเทศที่ในช่วง 2000-2014 ที่ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่เศรษฐกิจของประเทศกลับเติบโตครับ (ดูภาพประกอบ) ผมเข้าใจว่าขนาดมูลค่าทางเศรษฐกิจของ 20 ประเทศนี้น่าจะเกินครึ่งของโลก
ในจำนวนนี้มีประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนได้มีการจ้างงานจำนวนมาก (รายงานล่าสุดระบุว่า ทั่วโลกประมาณ 10 ล้านคนในปี 2016) เมื่องานกระจาย เงินก็กระจาย เมื่อเงินกระจายเงินมันก็จะหมุนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ในขณะที่การใช้พลังงานฟอสซิล นอกจากเงินไม่กระจายตัวแล้ว มลพิษจากพลังงานฟอสซิลยังทำลายแหล่งอาหารตามธรรมชาติของชุมชนอีกด้วย
เรื่องนี้ ผมเชื่อว่าถ้าท่านนายกฯ ประยุทธ์มีเวลาได้ครุ่นคิดดีๆ ไม่ฟังแต่รายงานด้านเดียวจากกลุ่มผลประโยชน์ ท่านก็ต้องเข้าใจได้ไม่ยาก
โดยสรุปครับ ทางออกจากปรากฏการณ์ภูมิอากาศสุดขั้ว ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝนก็คือต้องร่วมมือกับชาวโลกลดคาร์บอนไดออกไซด์เหมือนกับที่ท่านได้ลงนามในข้อตกลงปารีสไปแล้ว แต่ขอให้ทำจริงเถอะ อย่าดีแต่ปาก อย่ามัวแต่แก้ตัว แต่จงใช้ความกล้าหาญเพื่อทำลายผลประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานฟอสซิลที่หากินมานาน แล้วผลประโยชน์โดยรวมของชาติไทยและของโลกก็จะปรากฏเป็นจริงอย่างแน่นอนครับ