ในวงของภาคเอกชนที่เรื่องการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือ Corporate Social Responsibility (CSR) ได้กลายเป็นบรรทัดฐาน (Norm) ในทุกสาขาอุตสาหกรรม และในทุกองค์กร โดยไม่จำกัดขนาดของกิจการ
ทำให้บรรดาองค์กรธุรกิจที่ต้องการพัฒนาสร้างความแตกต่างและคุณค่าในรูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง พยายามแสวงหาเครื่องมือทางสังคมใหม่ๆ เพื่อมาตอบโจทย์การพัฒนา และหนึ่งในนั้น คือ การลงทุนทางสังคม หรือ Social Investment ที่ปัจจุบัน ได้มีองค์กรธุรกิจไทยหลายแห่ง นำมาใช้ในการสร้างคุณค่าทางสังคม นอกเหนือจากรูปแบบการบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy)
จากข้อมูลการสำรวจ 2016 Global Sustainable Investment Review ของ Global Sustainable Investment Alliance (GSIA) ระบุว่า การเติบโตของการลงทุนที่มุ่งผลกระทบหรือเป็นการลงทุนเพื่อชุมชน (Impact/Community Investing) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงการลงทุนในกิจการที่มีความมุ่งประสงค์ (Purpose) ทางสังคม มียอดรวมการลงทุนอยู่ราว 2.48 แสนล้านเหรียญ ในปี พ.ศ.2559 เพิ่มขึ้นร้อยละ 146 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2557
ในปี พ.ศ.2553 UN Global Compact หน่วยงานในสังกัดองค์การสหประชาชาติ ได้ออกหลักการว่าด้วยการลงทุนทางสังคม หรือ Principles for Social Investment (PSI) 4 ข้อ คือ เป็นการลงทุนที่มุ่งประสงค์ (Purposeful) ให้เกิดผลดีแก่สังคม พร้อมให้ตรวจสอบ (Accountable) เอาใจใส่ (Respectful) และมีจริยธรรม (Ethical)
การลงทุนทางสังคม ตามหลักการดังกล่าว เป็นการเข้ามีส่วนร่วมทั้งทางการเงินและในรูปแบบอื่นที่มิใช่ตัวเงินโดยสมัครใจ เพื่อช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น และสังคมในวงกว้าง ในการพัฒนาหรือจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่
ด้วยเหตุที่ กิจกรรมการเข้าร่วมพัฒนาสังคมของภาคธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดระหว่างการพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจกับการพัฒนาในเชิงสังคม แนวโน้มของการยอมรับความเกี่ยวโยงดังกล่าว ก่อให้เกิดรูปแบบของการพัฒนาใหม่ๆ ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการให้น้ำหนักที่เคลื่อนไปมาระหว่างวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ (Commercial) กับวัตถุประสงค์เพื่อชุมชน (Community) ดังรูป
จากซ้ายสุด ธุรกิจคือใจกลาง (Core Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่เป็นไปเพื่อแสวงหากำไรและสร้างความมั่งคั่งเป็นที่ตั้ง ดำเนินงานในแนวทางที่นักเศรษฐศาสตร์ อย่างมิลตั้น ฟรีดแมน กล่าวไว้ว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจทั้งมวล คือ การแสวงหากำไร ด้วยเหตุนี้ การบริหารกิจการ จึงต้องเป็นไปเพื่อสนองตอบต่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น รูปแบบดังกล่าว มาจากฐานคิดที่เชื่อว่าเป้าประสงค์ในเชิงพาณิชย์กับเป้าประสงค์เพื่อชุมชนไปด้วยกันไม่ได้ ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง
ธุรกิจที่รับผิดชอบ (Responsible Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่คำนึงถึงการดูแลผลกระทบทางลบ อันเกิดจากการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างผลกำไรตามวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ กิจการประเภทนี้ ยึดหลัก “Do No Harm” โดยจะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลมิให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายต่อธุรกิจ
ธุรกิจที่ไม่ปิดกั้น (Inclusive Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ให้ความสนใจในการเข้าถึงตลาดเป้าหมายในกลุ่มที่มีรายได้น้อย หรือเปิดกว้างให้กลุ่มดังกล่าว เข้ามาเป็นผู้ส่งมอบ (Suppliers) ในห่วงโซ่ธุรกิจ สามารถสร้างให้เกิดการจ้างงาน อาชีพ รายได้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือเกิดส่วนตลาดใหม่ เป็นกิจการที่ดำเนินงานตามแนวทาง “Do Good” โดยใช้กระบวนงานหลักทางธุรกิจ ซึ่งมีความยั่งยืนกว่าการให้ความช่วยเหลือในแบบให้เปล่าที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่
ธุรกิจแบบเน้นคุณค่าร่วม (Shared Value) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ผสานการดำเนินงานเพื่อสร้างให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงพาณิชย์ควบคู่กับผลประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ ก่อให้เกิดเป็นความสำเร็จทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางสังคมไปพร้อมกัน ประโยชน์ที่สังคมได้รับจากรูปแบบดังกล่าว มิใช่การจัดสรรปันส่วนใหม่ (Re-distribute) ที่ทำให้ธุรกิจได้รับประโยชน์น้อยลงจากเดิม แต่เป็นการเพิ่มผลิตภาพในห่วงโซ่คุณค่า การปรับรื้อช่องทางการจัดจำหน่าย การสร้างนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณค่ามวลรวมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง
ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ตั้งอยู่บนความมุ่งประสงค์เดียว คือ การแก้ปัญหาสังคมด้วยวิถีทางที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ กิจการประเภทนี้ มีการบริหารจัดการแบบธุรกิจที่สามารถแสวงหากำไรได้ และต้องมีขีดความสามารถในการคืนเงินทุนตั้งต้นให้แก่ผู้ลงทุนภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกัน ตามหลัก “Non-loss, Non-dividend” โดยกำไรที่ได้รับ จะนำกลับมาลงทุนในกิจการทั้งหมด เพื่อต่อยอดขยายผลการประกอบกิจการ ให้สังคมได้รับประโยชน์เพิ่มทวีขึ้น รูปแบบของธุรกิจเพื่อสังคม มักเกี่ยวข้องกับการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน (ปัจจัยสี่) การแก้ปัญหาความยากจน และการขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น
การลงทุนทางสังคมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Social Investment) เป็นรูปแบบการให้การสนับสนุนทางการเงินและทรัพยากรที่มิใช่ตัวเงินแก่ชุมชน หรือกับประเด็นทางสังคมที่ต้องการแก้ไขหรือพัฒนา โดยเฉพาะกับชุมชนที่มีแหล่งดำเนินงานหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ การลงทุนในรูปแบบนี้ แตกต่างจากการบริจาคในแบบให้เปล่า ตรงที่วัตถุประสงค์ของการลงทุน เป็นไปในทางที่สอดรับเป้าประสงค์ทางธุรกิจในระยะยาว คล้ายคลึงกับการให้การอุปถัมภ์ (Sponsorship) ที่ช่วยเสริมสร้างให้เกิดการรับรู้ในภาพลักษณ์องค์กร การตอบรับจากลูกค้า และความภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกับองค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถที่จะรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ ในขณะเดียวกัน ก็สามารถที่จะชักชวนบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการ ให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรเพิ่มเติม
การบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy) เป็นรูปแบบของการให้หรือการจัดสรรทรัพยากรที่เอกชนเป็นเจ้าของ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยมิได้มุ่งหวังผลตอบแทน หรือมีประโยชน์เชื่อมโยงกลับมายังองค์กรผู้บริจาคในทางตรง การดำเนินงานตามรูปแบบนี้ องค์กรสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายระดับ นับตั้งแต่การคัดเลือกโครงการ การตรวจสอบสถานะโครงการ การจัดสรรทรัพยากรให้แก่โครงการ การบริหารจัดการโครงการ การติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ หรือองค์กรผู้บริจาคที่มีกิจการขนาดใหญ่ หรือมีหลายกิจการในเครือ อาจมีการตั้งมูลนิธิในสังกัดขึ้น เพื่อให้มีการประสานการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
(เรียบเรียงจากเอกสาร Foundations of Social Investment โดย UN Global Compact และ Principles for Social Investment Secretariat (PSIS), 2012.)
"รูปแบบการดำเนินงานที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็น บทบาทของภาคเอกชนที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ไล่เรียงจากน้อยสุดไปมากสุด เป็นการเลือกทำธุรกิจที่แสวงหากำไร (ให้สังคม) ตามอัธยาศัยของแต่ละกิจการครับ"
ทำให้บรรดาองค์กรธุรกิจที่ต้องการพัฒนาสร้างความแตกต่างและคุณค่าในรูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง พยายามแสวงหาเครื่องมือทางสังคมใหม่ๆ เพื่อมาตอบโจทย์การพัฒนา และหนึ่งในนั้น คือ การลงทุนทางสังคม หรือ Social Investment ที่ปัจจุบัน ได้มีองค์กรธุรกิจไทยหลายแห่ง นำมาใช้ในการสร้างคุณค่าทางสังคม นอกเหนือจากรูปแบบการบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy)
จากข้อมูลการสำรวจ 2016 Global Sustainable Investment Review ของ Global Sustainable Investment Alliance (GSIA) ระบุว่า การเติบโตของการลงทุนที่มุ่งผลกระทบหรือเป็นการลงทุนเพื่อชุมชน (Impact/Community Investing) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงการลงทุนในกิจการที่มีความมุ่งประสงค์ (Purpose) ทางสังคม มียอดรวมการลงทุนอยู่ราว 2.48 แสนล้านเหรียญ ในปี พ.ศ.2559 เพิ่มขึ้นร้อยละ 146 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2557
ในปี พ.ศ.2553 UN Global Compact หน่วยงานในสังกัดองค์การสหประชาชาติ ได้ออกหลักการว่าด้วยการลงทุนทางสังคม หรือ Principles for Social Investment (PSI) 4 ข้อ คือ เป็นการลงทุนที่มุ่งประสงค์ (Purposeful) ให้เกิดผลดีแก่สังคม พร้อมให้ตรวจสอบ (Accountable) เอาใจใส่ (Respectful) และมีจริยธรรม (Ethical)
การลงทุนทางสังคม ตามหลักการดังกล่าว เป็นการเข้ามีส่วนร่วมทั้งทางการเงินและในรูปแบบอื่นที่มิใช่ตัวเงินโดยสมัครใจ เพื่อช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น และสังคมในวงกว้าง ในการพัฒนาหรือจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่
ด้วยเหตุที่ กิจกรรมการเข้าร่วมพัฒนาสังคมของภาคธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดระหว่างการพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจกับการพัฒนาในเชิงสังคม แนวโน้มของการยอมรับความเกี่ยวโยงดังกล่าว ก่อให้เกิดรูปแบบของการพัฒนาใหม่ๆ ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการให้น้ำหนักที่เคลื่อนไปมาระหว่างวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ (Commercial) กับวัตถุประสงค์เพื่อชุมชน (Community) ดังรูป
จากซ้ายสุด ธุรกิจคือใจกลาง (Core Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่เป็นไปเพื่อแสวงหากำไรและสร้างความมั่งคั่งเป็นที่ตั้ง ดำเนินงานในแนวทางที่นักเศรษฐศาสตร์ อย่างมิลตั้น ฟรีดแมน กล่าวไว้ว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจทั้งมวล คือ การแสวงหากำไร ด้วยเหตุนี้ การบริหารกิจการ จึงต้องเป็นไปเพื่อสนองตอบต่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น รูปแบบดังกล่าว มาจากฐานคิดที่เชื่อว่าเป้าประสงค์ในเชิงพาณิชย์กับเป้าประสงค์เพื่อชุมชนไปด้วยกันไม่ได้ ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง
ธุรกิจที่รับผิดชอบ (Responsible Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่คำนึงถึงการดูแลผลกระทบทางลบ อันเกิดจากการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างผลกำไรตามวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ กิจการประเภทนี้ ยึดหลัก “Do No Harm” โดยจะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลมิให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายต่อธุรกิจ
ธุรกิจที่ไม่ปิดกั้น (Inclusive Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ให้ความสนใจในการเข้าถึงตลาดเป้าหมายในกลุ่มที่มีรายได้น้อย หรือเปิดกว้างให้กลุ่มดังกล่าว เข้ามาเป็นผู้ส่งมอบ (Suppliers) ในห่วงโซ่ธุรกิจ สามารถสร้างให้เกิดการจ้างงาน อาชีพ รายได้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือเกิดส่วนตลาดใหม่ เป็นกิจการที่ดำเนินงานตามแนวทาง “Do Good” โดยใช้กระบวนงานหลักทางธุรกิจ ซึ่งมีความยั่งยืนกว่าการให้ความช่วยเหลือในแบบให้เปล่าที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่
ธุรกิจแบบเน้นคุณค่าร่วม (Shared Value) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ผสานการดำเนินงานเพื่อสร้างให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงพาณิชย์ควบคู่กับผลประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ ก่อให้เกิดเป็นความสำเร็จทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางสังคมไปพร้อมกัน ประโยชน์ที่สังคมได้รับจากรูปแบบดังกล่าว มิใช่การจัดสรรปันส่วนใหม่ (Re-distribute) ที่ทำให้ธุรกิจได้รับประโยชน์น้อยลงจากเดิม แต่เป็นการเพิ่มผลิตภาพในห่วงโซ่คุณค่า การปรับรื้อช่องทางการจัดจำหน่าย การสร้างนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณค่ามวลรวมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง
ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ตั้งอยู่บนความมุ่งประสงค์เดียว คือ การแก้ปัญหาสังคมด้วยวิถีทางที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ กิจการประเภทนี้ มีการบริหารจัดการแบบธุรกิจที่สามารถแสวงหากำไรได้ และต้องมีขีดความสามารถในการคืนเงินทุนตั้งต้นให้แก่ผู้ลงทุนภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกัน ตามหลัก “Non-loss, Non-dividend” โดยกำไรที่ได้รับ จะนำกลับมาลงทุนในกิจการทั้งหมด เพื่อต่อยอดขยายผลการประกอบกิจการ ให้สังคมได้รับประโยชน์เพิ่มทวีขึ้น รูปแบบของธุรกิจเพื่อสังคม มักเกี่ยวข้องกับการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน (ปัจจัยสี่) การแก้ปัญหาความยากจน และการขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น
การลงทุนทางสังคมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Social Investment) เป็นรูปแบบการให้การสนับสนุนทางการเงินและทรัพยากรที่มิใช่ตัวเงินแก่ชุมชน หรือกับประเด็นทางสังคมที่ต้องการแก้ไขหรือพัฒนา โดยเฉพาะกับชุมชนที่มีแหล่งดำเนินงานหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ การลงทุนในรูปแบบนี้ แตกต่างจากการบริจาคในแบบให้เปล่า ตรงที่วัตถุประสงค์ของการลงทุน เป็นไปในทางที่สอดรับเป้าประสงค์ทางธุรกิจในระยะยาว คล้ายคลึงกับการให้การอุปถัมภ์ (Sponsorship) ที่ช่วยเสริมสร้างให้เกิดการรับรู้ในภาพลักษณ์องค์กร การตอบรับจากลูกค้า และความภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกับองค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถที่จะรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ ในขณะเดียวกัน ก็สามารถที่จะชักชวนบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการ ให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรเพิ่มเติม
การบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy) เป็นรูปแบบของการให้หรือการจัดสรรทรัพยากรที่เอกชนเป็นเจ้าของ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยมิได้มุ่งหวังผลตอบแทน หรือมีประโยชน์เชื่อมโยงกลับมายังองค์กรผู้บริจาคในทางตรง การดำเนินงานตามรูปแบบนี้ องค์กรสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายระดับ นับตั้งแต่การคัดเลือกโครงการ การตรวจสอบสถานะโครงการ การจัดสรรทรัพยากรให้แก่โครงการ การบริหารจัดการโครงการ การติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ หรือองค์กรผู้บริจาคที่มีกิจการขนาดใหญ่ หรือมีหลายกิจการในเครือ อาจมีการตั้งมูลนิธิในสังกัดขึ้น เพื่อให้มีการประสานการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
(เรียบเรียงจากเอกสาร Foundations of Social Investment โดย UN Global Compact และ Principles for Social Investment Secretariat (PSIS), 2012.)
"รูปแบบการดำเนินงานที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็น บทบาทของภาคเอกชนที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ไล่เรียงจากน้อยสุดไปมากสุด เป็นการเลือกทำธุรกิจที่แสวงหากำไร (ให้สังคม) ตามอัธยาศัยของแต่ละกิจการครับ"