xs
xsm
sm
md
lg

ไทยพัฒน์หนุนธุรกิจปรับโจทย์ CSR

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

Dr.Faiz Shah ผู้อำนวยการศูนย์ยูนุสประจำเอไอที, ดร.สุนทร คุณชัยมัง คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงาน Social Business ของกระทรวงมหาดไทย และ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ชูธงขับเคลื่อนซีเอสอาร์ ด้วย Social Business
•เผยทิศทาง CSR ปี 59 เอกชนไทยต้องปรับโจทย์ธุรกิจให้รองรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายโลก หรือ SDGs (Sustainable Development Goals)
•สถาบันไทยพัฒน์ แนะสร้างคุณค่าในแบบ Win-Win ด้วยโมเดล Social Business แบบไม่สูญเงินต้น

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “ขณะนี้โลกก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs ซึ่งเป็นแผนที่นำทางนับจากปีนี้ไปอีก 15 ปี ซึ่งทำให้องค์กรธุรกิจได้มองเห็น SDGs เป็นโอกาสที่จะนำกิจการของตนเข้ามีส่วนร่วมด้วยการปรับโจทย์ทางธุรกิจให้มีความสอดคล้องกับ SDGs เพื่อสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจและสังคมไปควบคู่กัน ซึ่งจะทิ้งระยะห่างจากองค์กรที่ยังมองไม่เห็นความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจของตนเองกับ SDGs ไปอีกหลายช่วงตัว”
ความจำเป็นในการปรับกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อรักษา หรือคงไว้ซึ่งเสถียรภาพของกิจการ โดยเปลี่ยนจุดโฟกัสจากกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโต มาสู่กลยุทธ์มุ่งความยั่งยืนที่ตอบสนองต่อมิติทางธุรกิจ โดยใช้ประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยหรือโอกาสในการเสริมหนุนขีดความสามารถทางการแข่งขัน และการได้มาซึ่งกำไรที่มั่นคง คือหนึ่งในทิศทาง CSR ปี 2559 ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับกิจการที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนและความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจและการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ
“ส่วนกิจการที่ดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบกิจกรรมเพื่อสังคม ก็จำต้องปรับวงเงินงบประมาณให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้การทำ CSR ในแบบที่ไม่สูญเงินต้น หรือแบบที่ใช้เงินงบประมาณ CSR ก้อนเดิม แต่หมุนเวียนทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้หลายรอบ กลายเป็นทางเลือกที่หลายกิจการจะพิจารณานำมาใช้ในปี 2559 และหนึ่งในทางเลือก ก็คือ โมเดล Social Business ตามแนวคิดของ ศ.มูฮัมหมัด ยูนุส” ดร.พิพัฒน์ กล่าว
งานเสวนา “Social Business: A Solution to achieve SDGs” ( 10 มี.ค.ที่ผ่านมา) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการที่จะนำ Social Business มาใช้แก้ไขปัญหาในสังคมไทย
ผู้แทนองค์กรธุรกิจเข้าร่วมงานเสวนากว่า 200 คน ได้รู้ถึงแนวทางการปรับโจทย์ CSR เพื่อรองรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า “6 ทิศทาง CSR ปี 2559 : New SD Paradigm” เพื่อให้เป็นแนวทางในการปรับโจทย์เพื่อรองรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ในระดับสากล ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ เกิดผลลัพธ์ที่เป็นการสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจและสังคมควบคู่กัน พร้อมกันนี้ร่วมมือกับ Thailand Social Business Initiative (TSBI) จัดเสวนาเรื่อง “Social Business: A Solution to achieve SDGs” ( 10 มี.ค.ที่ผ่านมา) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการที่จะนำ Social Business มาใช้แก้ไขปัญหาในสังคมไทย โดยมี Dr.Faiz Shah ผู้อำนวยการศูนย์ยูนุสประจำเอไอที และ ดร.สุนทร คุณชัยมัง คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงาน Social Business ของกระทรวงมหาดไทย เป็นวิทยากร
Dr.Faiz Shah ผู้อำนวยการศูนย์ยูนุสประจำเอไอที กล่าวว่า ธุรกิจเพื่อสังคมตามนิยามของ ศ.มูฮัมหมัด ยูนุส แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน
1. ธุรกิจที่ไม่สูญเงินต้น-ไม่ปันผลกำไร (Type I social business) มุ่งที่จะแก้ปัญหาสังคมเป็นหลัก มีการถือหุ้นโดยผู้ลงทุน หรือบุคคลทั่วไป และนำกำไรทั้งหมดที่ได้กลับมาพัฒนาและขยายธุรกิจต่อ โดยเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินลงทุนคืนเฉพาะเงินต้นเท่านั้น ไม่มีการให้ดอกเบี้ย หรือชดเชยค่าเงินเฟ้อใดๆ รวมถึงไม่ได้รับเงินปันผลจากกำไรที่เกิดขึ้นจากธุรกิจด้วย ส่วนกำไรจะคงไว้ในกิจการเพื่อใช้แก้ปัญหาสังคม
2.ธุรกิจที่แสวงหากำไรและสามารถปันได้ (Type II social business) แต่อยู่บนเงื่อนไขว่าเจ้าของธุรกิจหรือผู้ถือหุ้นจะต้องเป็นผู้ยากไร้ หรือผู้ด้อยโอกาส เพราะการปันผลกำไรนั้นถือเป็นการขจัดความยากจน แก้ปัญหาสังคมตามจุดมุ่งหมายของธุรกิจเพื่อสังคม ตัวอย่างที่มองเห็นในปัจจุบัน คือ ธนาคารกรามีน ในบังกลาเทศ ซึ่งถือหุ้นโดยคนยากจนที่เป็นทั้งผู้ฝากเงินและลูกค้าสินเชื่อ โดยที่นำสินเชื่อไปใช้ในการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้หลุดพ้นจากความยากไร้
ด้าน ดร.สุนทร คุณชัยมัง คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงาน Social Business ของกระทรวงมหาดไทย บอกว่า หลายคนอาจจะสงสัยกิจการที่เป็นมูลนิธิ หรือองค์กรสาธารณกุศลซึ่งเป็นองค์กรทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว แต่หากมองกลับไปยังแหล่งที่มาของรายได้ ซึ่งได้มาจากการบริจาคหรือมีผู้อุปถัมถ์ และหากไม่มีกิจการก็อยู่ไม่ได้จึงไม่ใช่ธุรกิจเพื่อสังคม
อย่างในกรณีที่ภาครัฐเชิญชวนเอกชนให้เข้าร่วมแก้ไขปัญหาสังคมในรูปแบบความร่วมมือทวิภาคี หรือรัฐร่วมเอกชน โดยภาคเอกชนต่างออกมาขานรับเข้าร่วมและไม่ต้องการแสวงหาประโยชน์จากจากงบประมาณของรัฐ หรือคิดที่จะหาประโยชน์แอบแฝงกับโครงการช่วยเหลือชุมชนใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีนี้โมเดลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการนำไปใช้ก็คือธุรกิจเพื่อสังคม
"เช่นเดียวกับผู้ประกอบการสังคมสายเอ็นจีโอที่ไม่ต้องการถูกครหาว่า มีประโยชน์ส่วนตัวบนการแก้ไขปัญหาชุมชน โมเดลธุรกิจเพื่อสังคมก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า ส่วนธุรกิจปกติทั่วไปที่มีการทำ CSR-after-process ในรูปของการบริจาค หรือเป็นการกุศล ธุรกิจเพื่อสังคมก็เป็นทางเลือกใหม่ในการทำ CSR โดยไม่สูญเงินต้น"
กำลังโหลดความคิดเห็น