เดินหน้า Social Value International เชื่อมเครือข่ายองค์กรสากลที่มุ่งส่งเสริมมาตรฐานการประเมินคุณค่าทางสังคม
จัดหลักสูตรอบรมผู้เชี่ยวชาญไทยตามกรอบ SROI สากลที่มุ่งส่งเสริมมาตรฐานการประเมินคุณค่าทางสังคม
ผู้บริหารกิจการชั้นนำและรัฐวิสาหกิจเข้าอบรมคึกคัก หวังได้เครื่องมือประเมินบทบาท CSR ตอบโจทย์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
SROI มาตรฐานโลก คืบหน้าในประเทศไทย
เมื่อเร็วๆ นี้ ในประเทศไทย Social Value International ซึ่งมีเครือข่ายองค์กรชั้นนำทั่วโลกกว่า 700 องค์กรร่วมกับกิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป หรือ NISE จัดตั้ง Social Value Thailand เพื่อจะยกระดับมาตรฐานการประเมินและสะท้อนคุณค่าทางสังคมสู่ประเทศไทย ตลอดจนให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในสาขาหน่วยงานต่างๆ ล่าสุดเตรียมเปิดหลักสูตร Social Return on Investment (SROI) Accreditation Training เป็นครั้งแรกในภูมิภาคอาเซียน
หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า SROI (Social Return on Investment) หรือแนวทางการประเมินผลตอบแทนทางสังคมนั้นเป็นทั้งหลักการและมาตรฐานกระบวนการในการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงานขององค์กร/โครงการ/กิจกรรมที่ครอบคลุมมิติ “คุณค่าทางสังคม” ซึ่งต่างจากรายงานผลประกอบการขององค์กร หรือโครงการส่วนใหญ่ที่สะท้อนเพียงมิติของผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
ปัจจุบันนานาอารยประเทศเร่งขับเคลื่อนมาตรฐาน SROI ผ่านเครือข่าย Social Value International ตามวัตถุประสงค์ร่วมกำหนดมาตรฐาน และพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคุณค่าทางสังคม (Social Value Practitioner) และพยายามขยายการดำเนินงานร่วมกับภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกเพื่อรวบรวมฐานข้อมูล พัฒนามาตรฐานตลอดจนสร้างการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม
เปิด 2 หลักสูตร SROI มิ.ย.นี้
สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ กรรมการผู้จัดการกิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป หรือ NISE เปิดเผยว่า หลักสูตร Social Return on Investment (SROI) Accreditation Training เปิดอบรม 2 หลักสูตรๆ ละ 2 วัน คือ หลักสูตรภาษาอังกฤษ เปิดอบรมวันที่ 5-6 มิ.ย. และ 9-10 มิ.ย. หลักสูตรภาษาไทยเปิดอบรมวันที่ 19-20 มิ.ย. และ 23-24 มิ.ย. ทั้งสองหลักสูตรจะนำเสนอกรอบแนวคิดของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) ซึ่งเป็นหัวใจของการกำหนด วิธี/กลยุทธ์การดำเนินโครงการ นำเสนอหลักการ SROI Principle
ที่สำคัญในการดำเนินโครงการถึงแม้จะไม่มีการวัดผลรายงาน การนำหลักการไปเป็นกรอบในการบริหารโครงการด้านสังคมก็ช่วยให้เกิดความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ให้ความสำคัญของการดำเนินโครงการที่นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นแกนกลางสำคัญในการทำงาน ตลอดจนการให้เทคนิคในการจัดทำ Impact Value Chain ตลอดห่วงโซ่ของผลกระทบ เพื่อให้การวัดผลไม่ซ้ำซ้อน (Double Counting) นอกจากนั้น ผู้เข้าอบรมยังลงลึกถึงการประเมินมูลค่าทางสังคมเทียบกับมูลค่าทางการเงิน (Value for Money) และการหาค่าตัวแทนทางการเงินที่เหมาะสม (Financial Proxy) การนำเสนอกรณีศึกษาของผู้เข้าร่วมหลักสูตรตัวต่อตัว และการแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาของผู้ร่วมหลักสูตร ทำให้ผู้เรียนรู้ได้เพิ่มพูนทักษะ และนำแนวทางไปประยุกต์ใช้ได้จริง
ทั้งนี้ ผู้เข้าอบรมในหลักสูตรดังกล่าวจะได้รับประกาศนียบัตรจาก Social Value International (สำหรับหลักสูตรภาษาอังกฤษ) และจาก Social Value Thailand ร่วมกับ HK Social Impact Analyst : HKSIA (สำหรับหลักสูตรภาษาไทย) และยังได้รับสมาชิก 1 ปี ในการเข้าถึงเครือข่าย ฐานข้อมูล SROI จาก Practitioner ทั่วโลก
ผู้เข้าอบรมจะเข้าใจถึงเครื่องมือวัด SROI เหมาะกับองค์กรยุคใหม่อย่างไร สามารถนำไปเป็นเครื่องมือช่วยผู้บริหารตัดสินใจในการดำเนินงาน/กิจกรรม/โครงการ ที่สะท้อนถึงความคุ้มค่าของโครงการ จากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วน นอกจากมุมมองของผู้ทำโครงการซึ่งทำให้เกิดการบริหารงานในภาพรวมที่สร้างผลลัพธ์สูงสุด (Portfolio Management)
“มิใช่เพียงการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น แต่ SROI ยังแทรกในกระบวนการบริหารงานในระดับปฏิบัติ ที่ทำหน้าที่ติดตามควบคุมผลลัพธ์เป้าหมายที่คาดหวัง ตลอดจนเป็นกระบวนการบริหารงานข้อมูลที่นำไปสู่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การปรับแผน/รูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการสร้างผลลัพธ์ตลอดการดำเนินโครงการ (Monitoring & Managing) เราจึงคาดหวังจะช่วยเปลี่ยนแปลงมุมมองทางการเงินสู่การสะท้อนความคุ้มค่าและความยั่งยืนของการดำเนินงานองค์กรที่ครอบคลุมผลประกอบการในมิติทางสังคม (ESG Index)” สกุลทิพย์ กล่าว
ทั่วโลกขานรับมาตรฐาน SROI
สกุลทิพย์ กล่าวถึงนานาอารยประเทศได้ขับเคลื่อนมาตรฐาน SROI กันแล้ว ที่น่าสนใจ เช่น ประเทศอังกฤษออกกฏหมาย Social Value Act ในปี 2013 โดยมีสาระสำคัญในการส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐที่กำกับบริการสาธารณะของประเทศในการขยายผลดีทั้งในมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ในกระบวนการจัดหาบริการสาธารณะ โดยครอบคลุม ทั้งในส่วนรัฐบาลกลางในการจัดซื้อวงเงินที่เกินกว่า 5.6 ล้านบาท และส่วนราชการ อื่นๆ รวมในวงเงินที่เกิน 8.6 ล้านบาท
ด้านรัฐบาลสก๊อตแลนด์ จัดโครงการระดับประเทศในการยกระดับมาตรฐานการทำงานขององค์กรในภาคสังคม (Third Sector) โดยพัฒนากรอบมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติ สร้างความเข้าใจให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และสังคมในวงกว้าง ในการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการประเมินผลตอบแทนทางสังคม ตลอดจนส่งเสริมให้หน่วยงานกำกับ/กองทุนกำหนดแนวทางการการสนับสนุนงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพตลอดกระบวนการบริหารโครงการโดยกรอบแนวคิด SROI
โดยจัดทำแคมเปญ Public-Social Partnership (PSP) หรือคล้ายโมเดลประชารัฐของบ้านเรา ในการส่งเสริมการพัฒนาสังคมในพื้นที่โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานแกนนำในภาครัฐและและแกนนำในภาคสังคม และรวมถึงการเชื่อมโยงภาคีต่างๆในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 10 โมเดลนำร่องของประเทศ เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดสรรบริการสาธารณะที่จะเปลี่ยนแปลงสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมมากขึ้นและตรงตามความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง โดยเปิดโอกาสให้ความร่วมมือในการนำเสนอโมเดลนำร่องดังกล่าวนำสู่การเปลี่ยนแปลงระเบียบและรูปแบบการให้บริการของภาครัฐที่ดีขึ้นโดยตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการนำร่องนั้นจะต้องมีกรอบการวัดประเมินติดตามโดยใช้ SROI
นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้ใช้กรอบ SROI ในการพิจารณาเลือกแนวทางการดำเนินโครงการจัดสรรที่อยู้อาศัยสำหรับผู้สูงอายุและ จัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ที่ส่งผลความคุ้มค่า ถึง 5 เท่าของการลงทุน ขณะที่ในประเทศออสเตรเลีย ภาครัฐได้ใช้ SROI ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการปรับปรุงพื้นที่ชายฝั่ง Barangaroo กว่าหลายพันล้านดอลลาร์ ที่ได้พิจารณาจัดสรรโดยนำเกณฑ์ผลตอบแทนทางมิติสังคมมาพิจารณาด้วยเช่นกัน
เครื่องมือนี้ ตอบโจทย์ใคร
•ภาครัฐ นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงบประมาณและวางแผนกลยุทธ์การดำเนินงานที่ครอบคลุมมิติความคุ้มค่า และสะท้อนผลดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนช่วยวิเคราะห์และขยายผลสัมฤทธิ์ทางสังคมผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
•ภาคเอกชน เป็นเครื่องมือในการพัฒนากลยุทธ์ในการดำเนินงานทางสังคม บริหารติดตาม ปรับปรุงแนวทางดำเนินงานเพื่อสะท้อนกลยุทธ์เป้าหมายขององค์กร เสริมกระบวนการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือต่อองค์กร/กิจกรรมโครงการเพื่อสังคมที่เกิดประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่ชี้วัดได้จริง
•ภาคสังคม เสริมสร้างความน่าเชื่อถือขององค์กร พัฒนายกระดับมาตรฐานการดำเนินงานด้านสังคมขององค์กร เสริมสร้างความมั่นใจแก่ผู้ให้ทุน ความร่วมมือภาคีเครือข่าย
•หน่วยงานกำกับ / กองทุน ช่วยในกระบวนการกำกับบริหารเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงาน/โครงการ/กิจกรรม ของหน่วยงานในกำกับ/หน่วยงานรับทุน ช่วยการบริหารความเสี่ยงในภารวมของการบริหารงาน ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร
•นักลงทุน ช่วยกำหนดและบริหารแผนกลยุทธ์การลงทุน
จะเห็นว่ามาตรฐาน SROI ช่วยวางกรอบมาตรฐานกระบวนการติดตามสื่อสารอย่างเป็นระบบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้ผลการประเมินได้การยอมรับ และเกิดประโยชน์ต่อการออกแบบโครงการและเกิดอิมแพคที่แท้จริง (Improve Communication & Transparency) ทำให้ผู้ปฏิบัติงาน มีเครื่องมือ/เป้าหมายร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร ในการรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์/การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่โครงการคาดหวัง
ดังนั้น SROI จะช่วยสร้างสัมพันธภาพและสร้างกระบวนการให้ผู้เกี่ยวข้องกำหนดเป้าหมายและมีความเป็นเจ้าของร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ เสริมสร้างการทำงานร่วมกับชุมชน สังคมต่างๆขององค์กรได้อย่างมีประเสิทธิภาพมากขึ้น (Increase Stakeholder Engagement) ทำให้เกิดประเมินได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เป็นอิสระที่รวมตัวจากเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก สร้างความน่าเชื่อถือของการรายงานผลลัพธ์ทางสังคม (Credibility)
ส่วนกิจกรรม CSR/งานพัฒนาสังคม การกุศลต่างๆ ก็ได้เครื่องมือในการออกแบบรูปแบบกิจกรรมที่จะสร้างประสิทธิผลสูงสุด สร้างประโยชน์ Impact ต่อสังคมอย่างแท้จริง ตลอดจนมีการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
สุดท้ายทำให้เกิดเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญงานสังคมที่มีเครื่องมือและมุมมองทางเศรษฐกิจมากขึ้นในประเทศไทยเพื่อการสร้างความเข้มแข็งและขับเคลื่อนภาคส่วนสำคัญของประเทศสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ไทยพัฒน์-ซีพีเอฟ หนุนองค์กรใช้
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่าการวัดผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาสังคมให้เป็นรูปธรรม ถือเป็นเรื่องดี และมีความท้าทายอยู่มาก เนื่องจากบรรทัดสุดท้าย (Bottom Line) ของการพัฒนาสังคม ไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขที่แสดงถึงผลประกอบการว่ามีกำไร/ขาดทุน เหมือนบรรทัดสุดท้ายในทางธุรกิจ เช่น อัตราการเข้าถึงโภชนาการที่ดีของกลุ่มเป้าหมาย อัตราการละเมิดด้านแรงงาน หรือการคุกคามทางเพศที่ลดลง หรือการไม่เลือกปฏิบัติ หรือกรณีทุจริตและการติดสินบนที่ลดลง เป็นต้น
ด้วยเหตุที่ผลลัพธ์ทางสังคม ไม่ได้เป็นตัวเลขทางการเงินเสมอไป จึงมีความพยายามในการแปลงผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นหน่วยเงิน หรือคำนวณผลได้นั้นให้เป็นตัวเลขทางการเงิน โดยเทียบกับทรัพยากรที่ใช้ไปในรูปของผลตอบแทนทางสังคม (Social Return) ต่อหน่วยของเงินลงทุน (Investment) และเป็นที่มาของเครื่องมือ Social Return on Investment (SROI)
ดังกล่าว ผู้ที่จะนำเครื่องมือนี้ไปใช้ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง การประเมินค่า (Evaluation) กับการวัดผล (Measurement) ก่อนเป็นเบื้องต้น SROI จัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องมือประเมินค่า ที่อาศัยตัวแทนค่า (Proxies) ทางการเงิน เพื่อแปลงผลลัพธ์จากโครงการเพื่อสังคม (ซึ่งเป็น CSR-after-process ในมุมขององค์กรธุรกิจ) ให้เป็นตัวเลข โดยตัวแทนค่าทางการเงินที่เลือกมาคำนวณ จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจผู้ประเมิน ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในการประเมินโครงการเดียวกัน
ขณะที่ วุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวเสริมว่า โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ดังนั้น ในการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับการสนับสนุนสังคม พร้อมทั้งมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนย่อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประเมินผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ทำให้สามารถรับรู้ถึงคุณค่าของโครงการที่บริษัทได้ลงทุนไป โดยเฉพาะการได้ใช้เครื่องมือวัดที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและเป็นแนวทางที่สามารถสร้างการยอมรับได้
อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องมือ SROI จะต้องเตรียมความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ที่ต้องพัฒนางานทางสังคม โดยคำนึงถึงบริบทแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีปัจจัยที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดผลต่อแนวทางการสร้างความยั่งยืนในที่สุด
จัดหลักสูตรอบรมผู้เชี่ยวชาญไทยตามกรอบ SROI สากลที่มุ่งส่งเสริมมาตรฐานการประเมินคุณค่าทางสังคม
ผู้บริหารกิจการชั้นนำและรัฐวิสาหกิจเข้าอบรมคึกคัก หวังได้เครื่องมือประเมินบทบาท CSR ตอบโจทย์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
SROI มาตรฐานโลก คืบหน้าในประเทศไทย
เมื่อเร็วๆ นี้ ในประเทศไทย Social Value International ซึ่งมีเครือข่ายองค์กรชั้นนำทั่วโลกกว่า 700 องค์กรร่วมกับกิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป หรือ NISE จัดตั้ง Social Value Thailand เพื่อจะยกระดับมาตรฐานการประเมินและสะท้อนคุณค่าทางสังคมสู่ประเทศไทย ตลอดจนให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในสาขาหน่วยงานต่างๆ ล่าสุดเตรียมเปิดหลักสูตร Social Return on Investment (SROI) Accreditation Training เป็นครั้งแรกในภูมิภาคอาเซียน
หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า SROI (Social Return on Investment) หรือแนวทางการประเมินผลตอบแทนทางสังคมนั้นเป็นทั้งหลักการและมาตรฐานกระบวนการในการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงานขององค์กร/โครงการ/กิจกรรมที่ครอบคลุมมิติ “คุณค่าทางสังคม” ซึ่งต่างจากรายงานผลประกอบการขององค์กร หรือโครงการส่วนใหญ่ที่สะท้อนเพียงมิติของผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
ปัจจุบันนานาอารยประเทศเร่งขับเคลื่อนมาตรฐาน SROI ผ่านเครือข่าย Social Value International ตามวัตถุประสงค์ร่วมกำหนดมาตรฐาน และพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคุณค่าทางสังคม (Social Value Practitioner) และพยายามขยายการดำเนินงานร่วมกับภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกเพื่อรวบรวมฐานข้อมูล พัฒนามาตรฐานตลอดจนสร้างการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม
เปิด 2 หลักสูตร SROI มิ.ย.นี้
สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ กรรมการผู้จัดการกิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป หรือ NISE เปิดเผยว่า หลักสูตร Social Return on Investment (SROI) Accreditation Training เปิดอบรม 2 หลักสูตรๆ ละ 2 วัน คือ หลักสูตรภาษาอังกฤษ เปิดอบรมวันที่ 5-6 มิ.ย. และ 9-10 มิ.ย. หลักสูตรภาษาไทยเปิดอบรมวันที่ 19-20 มิ.ย. และ 23-24 มิ.ย. ทั้งสองหลักสูตรจะนำเสนอกรอบแนวคิดของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) ซึ่งเป็นหัวใจของการกำหนด วิธี/กลยุทธ์การดำเนินโครงการ นำเสนอหลักการ SROI Principle
ที่สำคัญในการดำเนินโครงการถึงแม้จะไม่มีการวัดผลรายงาน การนำหลักการไปเป็นกรอบในการบริหารโครงการด้านสังคมก็ช่วยให้เกิดความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ให้ความสำคัญของการดำเนินโครงการที่นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นแกนกลางสำคัญในการทำงาน ตลอดจนการให้เทคนิคในการจัดทำ Impact Value Chain ตลอดห่วงโซ่ของผลกระทบ เพื่อให้การวัดผลไม่ซ้ำซ้อน (Double Counting) นอกจากนั้น ผู้เข้าอบรมยังลงลึกถึงการประเมินมูลค่าทางสังคมเทียบกับมูลค่าทางการเงิน (Value for Money) และการหาค่าตัวแทนทางการเงินที่เหมาะสม (Financial Proxy) การนำเสนอกรณีศึกษาของผู้เข้าร่วมหลักสูตรตัวต่อตัว และการแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาของผู้ร่วมหลักสูตร ทำให้ผู้เรียนรู้ได้เพิ่มพูนทักษะ และนำแนวทางไปประยุกต์ใช้ได้จริง
ทั้งนี้ ผู้เข้าอบรมในหลักสูตรดังกล่าวจะได้รับประกาศนียบัตรจาก Social Value International (สำหรับหลักสูตรภาษาอังกฤษ) และจาก Social Value Thailand ร่วมกับ HK Social Impact Analyst : HKSIA (สำหรับหลักสูตรภาษาไทย) และยังได้รับสมาชิก 1 ปี ในการเข้าถึงเครือข่าย ฐานข้อมูล SROI จาก Practitioner ทั่วโลก
ผู้เข้าอบรมจะเข้าใจถึงเครื่องมือวัด SROI เหมาะกับองค์กรยุคใหม่อย่างไร สามารถนำไปเป็นเครื่องมือช่วยผู้บริหารตัดสินใจในการดำเนินงาน/กิจกรรม/โครงการ ที่สะท้อนถึงความคุ้มค่าของโครงการ จากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วน นอกจากมุมมองของผู้ทำโครงการซึ่งทำให้เกิดการบริหารงานในภาพรวมที่สร้างผลลัพธ์สูงสุด (Portfolio Management)
“มิใช่เพียงการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น แต่ SROI ยังแทรกในกระบวนการบริหารงานในระดับปฏิบัติ ที่ทำหน้าที่ติดตามควบคุมผลลัพธ์เป้าหมายที่คาดหวัง ตลอดจนเป็นกระบวนการบริหารงานข้อมูลที่นำไปสู่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การปรับแผน/รูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการสร้างผลลัพธ์ตลอดการดำเนินโครงการ (Monitoring & Managing) เราจึงคาดหวังจะช่วยเปลี่ยนแปลงมุมมองทางการเงินสู่การสะท้อนความคุ้มค่าและความยั่งยืนของการดำเนินงานองค์กรที่ครอบคลุมผลประกอบการในมิติทางสังคม (ESG Index)” สกุลทิพย์ กล่าว
ทั่วโลกขานรับมาตรฐาน SROI
สกุลทิพย์ กล่าวถึงนานาอารยประเทศได้ขับเคลื่อนมาตรฐาน SROI กันแล้ว ที่น่าสนใจ เช่น ประเทศอังกฤษออกกฏหมาย Social Value Act ในปี 2013 โดยมีสาระสำคัญในการส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐที่กำกับบริการสาธารณะของประเทศในการขยายผลดีทั้งในมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ในกระบวนการจัดหาบริการสาธารณะ โดยครอบคลุม ทั้งในส่วนรัฐบาลกลางในการจัดซื้อวงเงินที่เกินกว่า 5.6 ล้านบาท และส่วนราชการ อื่นๆ รวมในวงเงินที่เกิน 8.6 ล้านบาท
ด้านรัฐบาลสก๊อตแลนด์ จัดโครงการระดับประเทศในการยกระดับมาตรฐานการทำงานขององค์กรในภาคสังคม (Third Sector) โดยพัฒนากรอบมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติ สร้างความเข้าใจให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และสังคมในวงกว้าง ในการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการประเมินผลตอบแทนทางสังคม ตลอดจนส่งเสริมให้หน่วยงานกำกับ/กองทุนกำหนดแนวทางการการสนับสนุนงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพตลอดกระบวนการบริหารโครงการโดยกรอบแนวคิด SROI
โดยจัดทำแคมเปญ Public-Social Partnership (PSP) หรือคล้ายโมเดลประชารัฐของบ้านเรา ในการส่งเสริมการพัฒนาสังคมในพื้นที่โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานแกนนำในภาครัฐและและแกนนำในภาคสังคม และรวมถึงการเชื่อมโยงภาคีต่างๆในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 10 โมเดลนำร่องของประเทศ เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดสรรบริการสาธารณะที่จะเปลี่ยนแปลงสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมมากขึ้นและตรงตามความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง โดยเปิดโอกาสให้ความร่วมมือในการนำเสนอโมเดลนำร่องดังกล่าวนำสู่การเปลี่ยนแปลงระเบียบและรูปแบบการให้บริการของภาครัฐที่ดีขึ้นโดยตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการนำร่องนั้นจะต้องมีกรอบการวัดประเมินติดตามโดยใช้ SROI
นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้ใช้กรอบ SROI ในการพิจารณาเลือกแนวทางการดำเนินโครงการจัดสรรที่อยู้อาศัยสำหรับผู้สูงอายุและ จัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ที่ส่งผลความคุ้มค่า ถึง 5 เท่าของการลงทุน ขณะที่ในประเทศออสเตรเลีย ภาครัฐได้ใช้ SROI ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการปรับปรุงพื้นที่ชายฝั่ง Barangaroo กว่าหลายพันล้านดอลลาร์ ที่ได้พิจารณาจัดสรรโดยนำเกณฑ์ผลตอบแทนทางมิติสังคมมาพิจารณาด้วยเช่นกัน
เครื่องมือนี้ ตอบโจทย์ใคร
•ภาครัฐ นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงบประมาณและวางแผนกลยุทธ์การดำเนินงานที่ครอบคลุมมิติความคุ้มค่า และสะท้อนผลดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนช่วยวิเคราะห์และขยายผลสัมฤทธิ์ทางสังคมผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
•ภาคเอกชน เป็นเครื่องมือในการพัฒนากลยุทธ์ในการดำเนินงานทางสังคม บริหารติดตาม ปรับปรุงแนวทางดำเนินงานเพื่อสะท้อนกลยุทธ์เป้าหมายขององค์กร เสริมกระบวนการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือต่อองค์กร/กิจกรรมโครงการเพื่อสังคมที่เกิดประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่ชี้วัดได้จริง
•ภาคสังคม เสริมสร้างความน่าเชื่อถือขององค์กร พัฒนายกระดับมาตรฐานการดำเนินงานด้านสังคมขององค์กร เสริมสร้างความมั่นใจแก่ผู้ให้ทุน ความร่วมมือภาคีเครือข่าย
•หน่วยงานกำกับ / กองทุน ช่วยในกระบวนการกำกับบริหารเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงาน/โครงการ/กิจกรรม ของหน่วยงานในกำกับ/หน่วยงานรับทุน ช่วยการบริหารความเสี่ยงในภารวมของการบริหารงาน ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร
•นักลงทุน ช่วยกำหนดและบริหารแผนกลยุทธ์การลงทุน
จะเห็นว่ามาตรฐาน SROI ช่วยวางกรอบมาตรฐานกระบวนการติดตามสื่อสารอย่างเป็นระบบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้ผลการประเมินได้การยอมรับ และเกิดประโยชน์ต่อการออกแบบโครงการและเกิดอิมแพคที่แท้จริง (Improve Communication & Transparency) ทำให้ผู้ปฏิบัติงาน มีเครื่องมือ/เป้าหมายร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร ในการรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์/การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่โครงการคาดหวัง
ดังนั้น SROI จะช่วยสร้างสัมพันธภาพและสร้างกระบวนการให้ผู้เกี่ยวข้องกำหนดเป้าหมายและมีความเป็นเจ้าของร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ เสริมสร้างการทำงานร่วมกับชุมชน สังคมต่างๆขององค์กรได้อย่างมีประเสิทธิภาพมากขึ้น (Increase Stakeholder Engagement) ทำให้เกิดประเมินได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เป็นอิสระที่รวมตัวจากเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก สร้างความน่าเชื่อถือของการรายงานผลลัพธ์ทางสังคม (Credibility)
ส่วนกิจกรรม CSR/งานพัฒนาสังคม การกุศลต่างๆ ก็ได้เครื่องมือในการออกแบบรูปแบบกิจกรรมที่จะสร้างประสิทธิผลสูงสุด สร้างประโยชน์ Impact ต่อสังคมอย่างแท้จริง ตลอดจนมีการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
สุดท้ายทำให้เกิดเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญงานสังคมที่มีเครื่องมือและมุมมองทางเศรษฐกิจมากขึ้นในประเทศไทยเพื่อการสร้างความเข้มแข็งและขับเคลื่อนภาคส่วนสำคัญของประเทศสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ไทยพัฒน์-ซีพีเอฟ หนุนองค์กรใช้
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่าการวัดผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาสังคมให้เป็นรูปธรรม ถือเป็นเรื่องดี และมีความท้าทายอยู่มาก เนื่องจากบรรทัดสุดท้าย (Bottom Line) ของการพัฒนาสังคม ไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขที่แสดงถึงผลประกอบการว่ามีกำไร/ขาดทุน เหมือนบรรทัดสุดท้ายในทางธุรกิจ เช่น อัตราการเข้าถึงโภชนาการที่ดีของกลุ่มเป้าหมาย อัตราการละเมิดด้านแรงงาน หรือการคุกคามทางเพศที่ลดลง หรือการไม่เลือกปฏิบัติ หรือกรณีทุจริตและการติดสินบนที่ลดลง เป็นต้น
ด้วยเหตุที่ผลลัพธ์ทางสังคม ไม่ได้เป็นตัวเลขทางการเงินเสมอไป จึงมีความพยายามในการแปลงผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นหน่วยเงิน หรือคำนวณผลได้นั้นให้เป็นตัวเลขทางการเงิน โดยเทียบกับทรัพยากรที่ใช้ไปในรูปของผลตอบแทนทางสังคม (Social Return) ต่อหน่วยของเงินลงทุน (Investment) และเป็นที่มาของเครื่องมือ Social Return on Investment (SROI)
ดังกล่าว ผู้ที่จะนำเครื่องมือนี้ไปใช้ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง การประเมินค่า (Evaluation) กับการวัดผล (Measurement) ก่อนเป็นเบื้องต้น SROI จัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องมือประเมินค่า ที่อาศัยตัวแทนค่า (Proxies) ทางการเงิน เพื่อแปลงผลลัพธ์จากโครงการเพื่อสังคม (ซึ่งเป็น CSR-after-process ในมุมขององค์กรธุรกิจ) ให้เป็นตัวเลข โดยตัวแทนค่าทางการเงินที่เลือกมาคำนวณ จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจผู้ประเมิน ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในการประเมินโครงการเดียวกัน
ขณะที่ วุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวเสริมว่า โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ดังนั้น ในการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับการสนับสนุนสังคม พร้อมทั้งมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนย่อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประเมินผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ทำให้สามารถรับรู้ถึงคุณค่าของโครงการที่บริษัทได้ลงทุนไป โดยเฉพาะการได้ใช้เครื่องมือวัดที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและเป็นแนวทางที่สามารถสร้างการยอมรับได้
อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องมือ SROI จะต้องเตรียมความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ที่ต้องพัฒนางานทางสังคม โดยคำนึงถึงบริบทแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีปัจจัยที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดผลต่อแนวทางการสร้างความยั่งยืนในที่สุด