“คำว่า “พอเพียง” ก็หมายความว่า ให้มีพอในการบริโภค ในการใช้ ทั้งในด้านการบริโภคในบ้าน ทั้งในการใช้เพื่อการเกษตรกรรม อุตสาหกรรมต้องมีพอ ถ้าไม่มีทุกสิ่งทุกอย่างก็ชะงักลง แล้วทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เราภาคภูมิใจ ว่าประเทศเราก้าวหน้าเจริญก็ชะงัก ไม่มีทางที่จะมีความเจริญ ถ้าไม่มีน้ำ...
หลักการสำคัญว่า ต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตนั้นอยู่ที่น้ำ ถ้ามีน้ำ...คนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชข้างต้น สะท้อนพระราชดำริเรื่องการบริหารจัดการน้ำ และพระราชปณิธานที่มุ่งมั่นในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลทรัพยากรเพื่อให้เป็นต้นทางที่สมบูรณ์อย่างยั่งยืนในการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน
“พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ทรงครองแผ่นดิน ซึ่งหมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ทรงครองราชย์ ทรงพัฒนาแนวทางในการดูแลและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ด้วยทรงตระหนักว่าประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ประเทศไทยยังคงเดิม ดังนั้นทรัพยากรที่ถูกใช้ไปจะต้องมีการนำกลับมาฟื้นฟูให้คืนกลับมา และสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นกับทุกๆ อย่างรอบๆ ตัว” ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ หนึ่งในบุคคลที่ทำงานใกล้ชิดในหลากหลายโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าว
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน ตลอดจนเป็นการสืบสานพระราชปณิธานในการดูแลและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “น้ำ” ที่ทรงให้ความสำคัญ เพราะเป็นต้นกำเนิดของความอุดมสมบูรณ์และชีวิต เอสซีจี จึงรวมพลังจากหลายองค์กรทุกภาคส่วน ร่วมใจสร้างฝายชะลอน้ำจำนวนทั้งสิ้น 70,000 ฝาย ในพื้นที่ป่าต้นน้ำทั่วประเทศ เป็นการรวมใจจิตอาสา พร้อมขยายผลการทำงานสู่การสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชน ในเรื่องกระบวนการจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง และน้ำท่วมอย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อให้แนวทางการอนุรักษ์น้ำนี้สามารถเกิดผลสัมฤทธิ์ สร้างประโยชน์แก่ชุมชน และประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน
กิจกรรม “70,000 ฝายรวมพลังรักษ์น้ำทั่วไทย” จัดขึ้นในพื้นที่ 6 จังหวัดพร้อมกันในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ได้แก่ กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช ลำปาง ระยอง สระบุรี และขอนแก่น โดยมีคณะผู้บริหารและพนักงานของเอสซีจี กลุ่มชุมชน เครือข่ายที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ รวมทั้งน้องๆ อาชีวศึกษา และประชาชน นอกจากนั้นยังมีกลุ่มจิตอาสาจากเพจเครือข่ายสังคมออนไลน์ “เอสซีจี รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต” เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้นกว่า 6,000 คน
“เอสซีจีได้น้อมนำแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นแนวทางในการดูแลและวางแผนจัดการบริหารทรัพยากรน้ำ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญ และด้วยสำนึกในหน้าที่ขององค์กรที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล เริ่มต้นจากการศึกษาแนวพระราชดำริด้านการสร้างฝายที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่ารอบโรงงานของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด โดยใช้ชื่อโครงการว่า เอสซีจี รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต” รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าว
ผ่านไปเกือบ 2 ทศวรรษ เอสซีจีขยายผลการสร้างฝายไปสู่พื้นที่ป่ารอบโรงงานของเอสซีจีในจังหวัดอื่นๆ ในขณะเดียวกัน มีการสร้างเครือข่ายชุมชน และภาคประชาสังคมเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์น้ำนี้ไปพร้อมๆ กันกว่า 80 ชุมชนใน 12 จังหวัด
“วันนี้เราได้เห็นแล้วว่า ฝายที่สร้างเสร็จกว่า 68,000 ฝายนั้น แก้ไขปัญหาของชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องปัญหาน้ำแล้ง และน้ำท่วม รวมทั้งยังคืนสภาพป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์พืชตามธรรมชาติ เกิดการต่อยอดเพื่อประโยชน์แก่ชุมชนได้ จากการประกอบอาชีพ ทั้งการทำการเกษตร ซึ่งถือเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าว ปลูกผลไม้ เกิดกลุ่มสมุนไพร ผักปลอดสารพิษ ในขณะที่บางชุมชนที่เข้มแข็ง ก็สามารถรวมตัวกันพัฒนาตนเองเป็น “สถานีรักษ์น้ำ” เป็นศูนย์การเรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องการทำฝาย ประโยชน์ของฝาย และการประกอบอาชีพ เป็นชุมชนต้นแบบที่มีความสุขได้อย่างยั่งยืน”
ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชย์ ทรงอุทิศพระวรกายทรงงานอย่างหนัก เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนของพระองค์อย่างแท้จริง วันนี้ฝายชะลอน้ำทั้งสิ้น 70,000 ฝายที่สร้างเสร็จแล้วจากจิตอาสารักษ์น้ำทั้งหมด จะสร้างประโยชน์มหาศาลอย่างยั่งยืนแก่พื้นที่เกษตรทั่วประเทศไทย เป็นการถวายพระเกียรติ และเป็นการน้อมรำลึกถึงพระเจ้าแผ่นดินที่รักยิ่งของประชาชนชาวไทย
“ที่บ้านของผม เแม้จะเป็นจังหวัดชายทะเล แต่ก็มีปัญหาขาดแคลนน้ำ เพราะในฤดูแล้งน้ำจืดจากภูเขาก็ไม่ค่อยมี ส่วนน้ำฝนก็ยังไม่เพียงพอ การสร้างฝายจึงเป็นองค์ความรู้ที่เราสามารถนำกลับไปปรับใช้กับพื้นที่อยู่อาศัยของเราได้ และผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนของเราต่อไป” เมธี ขำพวง ตัวแทนนักศึกษาอาชีวะ จากวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรมสืบสานพระราชปณิธาน 70,000 ฝาย รวมพลังรักษ์น้ำทั่วไทย ในจังหวัดกาญจนบุรี กล่าว
ในขณะที่ พิพัฒน์ แก้วจิตคงทอง ประธานป่าชุมชนหมู่บ้านพุเตย อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ยอมรับว่า ในอดีตพื้นที่แห่งนี้ถูกแผ้วถาง เป็นป่าต้นน้ำที่แห้งแล้ง เนื่องจากมีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เมื่อถึงฤดูฝน น้ำป่าไหลท่วม เมื่อถึงฤดูร้อนก็ไม่มีน้ำใช้ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก มีปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่
“พอเราเริ่มเรียนรู้พระราชดำริด้านการอนุรักษ์ป่า อนุรักษ์น้ำ และในหลวงท่านทรงทำให้เห็นในหลายพื้นที่ว่าจะแก้ปัญหาปากท้องได้จริง เราเริ่มกลับมาฟื้นฟู ดูแลอนุรักษ์ การสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าที่ยังเหลืออยู่ ทำให้เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างง่ายๆ ที่พวกเราชุมชนก็ทำเองได้ เวลาน้ำหลากช่วงฤดูฝน ฝายก็ช่วยกั้นไม่ให้น้ำไหลไปจนหมด ปลายน้ำน้ำก็ไม่ท่วม ต้นน้ำก็ยังมีน้ำใช้แม้จะเป็นฤดูแล้ง พอป่าคืนความอุดมสมบูรณ์ ทรัพยากรก็กลับมา เราเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต และปรับวิธีคิด กินอยู่อย่างพอเพียงตามพระเจ้าอยู่หัว แล้วเราก็มีความสุขอย่างพอเพียงได้ ยั่งยืนได้”
ไม่มีกษัตริย์องค์ใด ที่จะทรงงานหนักเพื่อราษฎร
ไม่มีกษัตริย์องค์ใด ที่จะใช้เวลา 70 ปีเพื่อแก้ไขความเดือดร้อน
ไม่มีพื้นที่ทุรกันดารใด ที่พระองค์ไม่เคยเสด็จไป
ไม่มีพื้นที่ห่างไกลใด ที่พระองค์ไม่เคยไปถึง
ที่ที่แล้ง พระองค์ท่านทรงดำริให้สร้างฝายชะลอน้ำ อ่างเก็บน้ำ ขุดลอกหนองบึงที่ตื้นเขิน กักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก
ที่ที่น้ำท่วม พระองค์ท่านทรงดำริให้ สร้างเขื่อนอเนกประสงค์ ทำแก้มลิง และเพิ่มศักยภาพการผันน้ำ
ที่ใดที่น้ำเสีย พระองค์ท่านทรงดำริให้ ใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย นำผักตบชวามาบำบัดและเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสียด้วย “กังหันน้ำชัยพัฒนา”
ที่ใดที่ทุรกันดาร พระองค์ท่านประทาน "ฝนหลวง" หรือ ฝนเทียม ให้ชาวประชาชื่นใจ และประทาน “เครื่องดักหมอก” ให้หมอกกลายเป็นหยดน้ำ หล่อเลี้ยงต้นไม้น้อยใหญ่
เพื่อสร้างประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับประชาชนชาวไทยของพระองค์สืบไป เอสซีจีขอมุ่งมั่นสืบสานพระราชปณิธาน น้อมนำแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจังและต่อเนื่องต่อไป โดยจะร่วมกับชุมชน และเครือข่ายต่างๆ ขยายพื้นที่สร้างฝายชะลอน้ำและสระพวง เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแหล่งน้ำได้ด้วยตนเอง จนนำไปสู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศได้ในที่สุด
หลักการสำคัญว่า ต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตนั้นอยู่ที่น้ำ ถ้ามีน้ำ...คนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชข้างต้น สะท้อนพระราชดำริเรื่องการบริหารจัดการน้ำ และพระราชปณิธานที่มุ่งมั่นในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลทรัพยากรเพื่อให้เป็นต้นทางที่สมบูรณ์อย่างยั่งยืนในการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน
“พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ทรงครองแผ่นดิน ซึ่งหมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ทรงครองราชย์ ทรงพัฒนาแนวทางในการดูแลและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ด้วยทรงตระหนักว่าประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ประเทศไทยยังคงเดิม ดังนั้นทรัพยากรที่ถูกใช้ไปจะต้องมีการนำกลับมาฟื้นฟูให้คืนกลับมา และสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นกับทุกๆ อย่างรอบๆ ตัว” ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ หนึ่งในบุคคลที่ทำงานใกล้ชิดในหลากหลายโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าว
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน ตลอดจนเป็นการสืบสานพระราชปณิธานในการดูแลและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “น้ำ” ที่ทรงให้ความสำคัญ เพราะเป็นต้นกำเนิดของความอุดมสมบูรณ์และชีวิต เอสซีจี จึงรวมพลังจากหลายองค์กรทุกภาคส่วน ร่วมใจสร้างฝายชะลอน้ำจำนวนทั้งสิ้น 70,000 ฝาย ในพื้นที่ป่าต้นน้ำทั่วประเทศ เป็นการรวมใจจิตอาสา พร้อมขยายผลการทำงานสู่การสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชน ในเรื่องกระบวนการจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง และน้ำท่วมอย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อให้แนวทางการอนุรักษ์น้ำนี้สามารถเกิดผลสัมฤทธิ์ สร้างประโยชน์แก่ชุมชน และประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน
กิจกรรม “70,000 ฝายรวมพลังรักษ์น้ำทั่วไทย” จัดขึ้นในพื้นที่ 6 จังหวัดพร้อมกันในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ได้แก่ กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช ลำปาง ระยอง สระบุรี และขอนแก่น โดยมีคณะผู้บริหารและพนักงานของเอสซีจี กลุ่มชุมชน เครือข่ายที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ รวมทั้งน้องๆ อาชีวศึกษา และประชาชน นอกจากนั้นยังมีกลุ่มจิตอาสาจากเพจเครือข่ายสังคมออนไลน์ “เอสซีจี รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต” เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้นกว่า 6,000 คน
“เอสซีจีได้น้อมนำแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นแนวทางในการดูแลและวางแผนจัดการบริหารทรัพยากรน้ำ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญ และด้วยสำนึกในหน้าที่ขององค์กรที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล เริ่มต้นจากการศึกษาแนวพระราชดำริด้านการสร้างฝายที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่ารอบโรงงานของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด โดยใช้ชื่อโครงการว่า เอสซีจี รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต” รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าว
ผ่านไปเกือบ 2 ทศวรรษ เอสซีจีขยายผลการสร้างฝายไปสู่พื้นที่ป่ารอบโรงงานของเอสซีจีในจังหวัดอื่นๆ ในขณะเดียวกัน มีการสร้างเครือข่ายชุมชน และภาคประชาสังคมเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์น้ำนี้ไปพร้อมๆ กันกว่า 80 ชุมชนใน 12 จังหวัด
“วันนี้เราได้เห็นแล้วว่า ฝายที่สร้างเสร็จกว่า 68,000 ฝายนั้น แก้ไขปัญหาของชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องปัญหาน้ำแล้ง และน้ำท่วม รวมทั้งยังคืนสภาพป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์พืชตามธรรมชาติ เกิดการต่อยอดเพื่อประโยชน์แก่ชุมชนได้ จากการประกอบอาชีพ ทั้งการทำการเกษตร ซึ่งถือเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าว ปลูกผลไม้ เกิดกลุ่มสมุนไพร ผักปลอดสารพิษ ในขณะที่บางชุมชนที่เข้มแข็ง ก็สามารถรวมตัวกันพัฒนาตนเองเป็น “สถานีรักษ์น้ำ” เป็นศูนย์การเรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องการทำฝาย ประโยชน์ของฝาย และการประกอบอาชีพ เป็นชุมชนต้นแบบที่มีความสุขได้อย่างยั่งยืน”
ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชย์ ทรงอุทิศพระวรกายทรงงานอย่างหนัก เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนของพระองค์อย่างแท้จริง วันนี้ฝายชะลอน้ำทั้งสิ้น 70,000 ฝายที่สร้างเสร็จแล้วจากจิตอาสารักษ์น้ำทั้งหมด จะสร้างประโยชน์มหาศาลอย่างยั่งยืนแก่พื้นที่เกษตรทั่วประเทศไทย เป็นการถวายพระเกียรติ และเป็นการน้อมรำลึกถึงพระเจ้าแผ่นดินที่รักยิ่งของประชาชนชาวไทย
“ที่บ้านของผม เแม้จะเป็นจังหวัดชายทะเล แต่ก็มีปัญหาขาดแคลนน้ำ เพราะในฤดูแล้งน้ำจืดจากภูเขาก็ไม่ค่อยมี ส่วนน้ำฝนก็ยังไม่เพียงพอ การสร้างฝายจึงเป็นองค์ความรู้ที่เราสามารถนำกลับไปปรับใช้กับพื้นที่อยู่อาศัยของเราได้ และผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนของเราต่อไป” เมธี ขำพวง ตัวแทนนักศึกษาอาชีวะ จากวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรมสืบสานพระราชปณิธาน 70,000 ฝาย รวมพลังรักษ์น้ำทั่วไทย ในจังหวัดกาญจนบุรี กล่าว
ในขณะที่ พิพัฒน์ แก้วจิตคงทอง ประธานป่าชุมชนหมู่บ้านพุเตย อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ยอมรับว่า ในอดีตพื้นที่แห่งนี้ถูกแผ้วถาง เป็นป่าต้นน้ำที่แห้งแล้ง เนื่องจากมีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เมื่อถึงฤดูฝน น้ำป่าไหลท่วม เมื่อถึงฤดูร้อนก็ไม่มีน้ำใช้ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก มีปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่
“พอเราเริ่มเรียนรู้พระราชดำริด้านการอนุรักษ์ป่า อนุรักษ์น้ำ และในหลวงท่านทรงทำให้เห็นในหลายพื้นที่ว่าจะแก้ปัญหาปากท้องได้จริง เราเริ่มกลับมาฟื้นฟู ดูแลอนุรักษ์ การสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าที่ยังเหลืออยู่ ทำให้เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างง่ายๆ ที่พวกเราชุมชนก็ทำเองได้ เวลาน้ำหลากช่วงฤดูฝน ฝายก็ช่วยกั้นไม่ให้น้ำไหลไปจนหมด ปลายน้ำน้ำก็ไม่ท่วม ต้นน้ำก็ยังมีน้ำใช้แม้จะเป็นฤดูแล้ง พอป่าคืนความอุดมสมบูรณ์ ทรัพยากรก็กลับมา เราเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต และปรับวิธีคิด กินอยู่อย่างพอเพียงตามพระเจ้าอยู่หัว แล้วเราก็มีความสุขอย่างพอเพียงได้ ยั่งยืนได้”
ไม่มีกษัตริย์องค์ใด ที่จะทรงงานหนักเพื่อราษฎร
ไม่มีกษัตริย์องค์ใด ที่จะใช้เวลา 70 ปีเพื่อแก้ไขความเดือดร้อน
ไม่มีพื้นที่ทุรกันดารใด ที่พระองค์ไม่เคยเสด็จไป
ไม่มีพื้นที่ห่างไกลใด ที่พระองค์ไม่เคยไปถึง
ที่ที่แล้ง พระองค์ท่านทรงดำริให้สร้างฝายชะลอน้ำ อ่างเก็บน้ำ ขุดลอกหนองบึงที่ตื้นเขิน กักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก
ที่ที่น้ำท่วม พระองค์ท่านทรงดำริให้ สร้างเขื่อนอเนกประสงค์ ทำแก้มลิง และเพิ่มศักยภาพการผันน้ำ
ที่ใดที่น้ำเสีย พระองค์ท่านทรงดำริให้ ใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย นำผักตบชวามาบำบัดและเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสียด้วย “กังหันน้ำชัยพัฒนา”
ที่ใดที่ทุรกันดาร พระองค์ท่านประทาน "ฝนหลวง" หรือ ฝนเทียม ให้ชาวประชาชื่นใจ และประทาน “เครื่องดักหมอก” ให้หมอกกลายเป็นหยดน้ำ หล่อเลี้ยงต้นไม้น้อยใหญ่
เพื่อสร้างประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับประชาชนชาวไทยของพระองค์สืบไป เอสซีจีขอมุ่งมั่นสืบสานพระราชปณิธาน น้อมนำแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจังและต่อเนื่องต่อไป โดยจะร่วมกับชุมชน และเครือข่ายต่างๆ ขยายพื้นที่สร้างฝายชะลอน้ำและสระพวง เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแหล่งน้ำได้ด้วยตนเอง จนนำไปสู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศได้ในที่สุด