xs
xsm
sm
md
lg

ไทยซัมมิทฯ เผยแนวคิด Happy Workplace ตอบโจทย์การสร้างสุขให้พนักงาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ควันหลงงานเสวนา Happy Workplace Forum 2015 ครั้งที่ 7 ที่ผ่านมา จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มีบริษัทภาคีเครือข่ายและองค์กรต้นแบบเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

พยัพ แจ้งสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และธุรการ บริษัทไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทภาคีเครือข่ายแนะนำให้องค์กรต่างๆ สร้างสุขภาวะในองค์กร ว่าเรื่องการบริหารงานบุคคล สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในส่วนของการบริหารจัดการนั้น ต้องคำนึงว่า ปัจจุบัน คน เจเนอเรชั่น วาย เริ่มเข้ามาในองค์กร มากขึ้น ฉะนั้นถ้าองค์กรไม่เปลี่ยนแปลงก่อนที่การเปลี่ยนแปลงจะโถมทับเข้ามาในองค์กรนั้น สิ่งที่องค์กรจะโดนผลกระทบคือ องค์กรจะหาคนเก่งไม่ได้
ฉะนั้นองค์กรจำเป็นจะต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทำให้องค์กรของตนเองมีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น เพื่อเรียกร้องความสนใจให้คนมาทำงานกับองค์กร

“กระบวนการในการบริหารจัดการองค์กรความสุขของไทยซัมมิส ฮาร์เนส คือ เราทำเงินเดือนกับสวัสดิการ เรามีเงินเดือนดี มีสวัสดิการเยี่ยม ไม่ได้หมายความว่าพนักงานจะอยู่กับเรานะ การมีเงินเดือนดีสวัสดิการเยี่ยมไม่ได้สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของพนักงานอย่างแท้จริงนะ ฉะนั้นต้องมีกระบวนการอะไรที่มาทำให้คุณภาพชีวิตของพนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ การใช้ Happy Workplace กล่องความสุข 8 ตัวนี้ มันตอบโจทย์คุณภาพชีวิตเลย เพียงแต่ว่าเราจัดการให้ดี คุณภาพชีวิตของคนมี 4 มิติด้วยกัน คือ สุขภาวะทางร่างกาย ตัวที่สองคือ สุขภาวะทางจิต ตัวที่สามคือ สุขภาวะทางสังคม และตัวที่สี่ สุขภาวะทางปัญญา การมีสุขภาพร่างกายที่ดี มีสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสังคมที่ดีได้ เขามีปัญญาพอไหมที่จะอยู่ในสภาวะนี้ได้ เราเอา Happy Workplace มาตอบโจทย์ครับ”
โดยกระบวนการจัดการ ถ้าจะทำ Happy Workplace ให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารต้องลงมาทำด้วย เนื่องจากเป็นคีย์แมนจะทำให้ทุกอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จได้ง่าย และ Happy 8 สามารถตอบทฤษฎีของมาสโลว์ และองค์กรควรตั้งคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานการสร้างองค์กรสุขภาวะ ซึ่ง HR ไม่สามารถทำได้คนเดียว และจะไม่มีทางประสบความสำเร็จ โดยคณะทำงานมาจากผู้บริหาร สำนักงาน สหภาพแรงงาน และพนักงานแต่ฝ่าย หรือพนักงานแต่ละแผนกดึงเข้ามามีส่วนร่วม มีการแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน
และสิ่งสำคัญที่สุดคือ การประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมนั้นๆ เพื่อดูว่าได้ผลลัพธ์หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ซึ่งการประเมินผลทุกกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย หากทำได้เช่นนี้แล้ว พนักงานมีความสุข องค์กรก็มีความสุข
กำลังโหลดความคิดเห็น