xs
xsm
sm
md
lg

เกาหลีใต้สะดุด แนวทาง Decarbonization

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


Decarbonization หรือการใช้พลังงานที่ไม่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ มีโอกาสพัฒนาด้วยการใช้เศรษฐกิจกรีนเป็นธงนำนั้น หลายประเทศก้าวหน้าและล้ำไปไกลแล้ว จากผลการศึกษาล่าสุดของ Journal of Cleaner Production (Elsevier) ระบุว่าเพราะการเห็นพ้องต้องกันของภาคการศึกษาและนโยบายรัฐ ว่านี่คือ win-win solution แต่การใช้นโยบายนี้ที่เกาหลีใต้กลับไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจน


ผลการศึกษาล่าสุดของ Journal of Cleaner Production (Elsevier) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แสดงถึงความก้าวหน้าที่โลกจะอยู่ได้โดยลดการสร้างคาร์บอน หรือการใช้พลังงานที่ปลอดการสร้างคาร์บอน เป็นแหล่งพลังงานใหม่ในศตวรรษหน้าด้วยการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างและการแปลงสภาพความเป็นอยู่กับพลังงานรูปแบบใหม่ในระยะยาว เพียงแต่ต้องหาทางประเมินและวัดผลลัพธ์ในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้ชัดเจนและเชิงประจักษ์ของเศรษฐกิจ Decarbonization
กรณีตัวอย่างของเกาหลีใต้ พบว่า ผลที่เห็นในระยะสั้น ระหว่างปี 2008-2012 ที่ผ่านมาจากนโยบายDecarbonization คือ การปล่อยคาร์บอนจากการใช้พลังงาน พบว่าปีแรกให้ผลเศรษฐกิจในทางลบมากมาย ทำให้รายได้ประชาชาติลดลง เพราะภาคธุรกิจที่พึ่งพาพลังงานไม่อาจลดการใช้พลังงานได้ แม้รัฐบาลจะส่งเสริมเทคโนโลยีด้านพลังงานที่สร้างคาร์บอนต่ำอย่างต่อเนื่อง แสดงว่านโยบาย Decarbonization ยังไม่เกิดผลรูปธรรม แต่โครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจของเกาหลีเปลี่ยนไปอย่างชัดเจนแล้ว
ตามการประเมินของ UN ชี้ว่าคงใช้เวลาไม่น้อยกว่าครึ่งศตวรรษ กว่าประเทศจะปรับตัวสู่เศรษฐกิจแบบ Decarbonization จะเกิดผลเป็นรูปธรรมจากการศึกษาใน 15 ประเทศของสถาบันวิจัยชั้นนำภายใต้โครงการความร่วมมือที่ชื่อ The Deep Decarbonization Pathways Project (DDPP) วางเป้าหมายการลดลงของคาร์บอนไว้ในปี 2050
การศึกษาของ Donghyun Choi, Taewon Hwang จาก Operations Management Research (Springer) เกี่ยวกับผลการใช้มาตรการบริหารห่วงโซ่อุปทานแนวกรีนของผู้ประกอบการเกาหลี 230 ราย เพื่อไปสู่ Pathways to Deep Decarbonization ยืนยันว่า ผู้ประกอบการได้ผลประกอบการทางการเงินที่ดีขึ้น ขณะที่มีผลดีต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย หากทำงานร่วมกันทั้งห่วงโซ่อุปทานพร้อมๆ กัน
นอกจากนั้น การศึกษาด้วยดัชนีวัดประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรแนวกรีน หรือ Indicators for a Resource Efficient and Green Asia and the Pacific ของ UNEP ชี้ว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ เมื่อมีการปรับโครงสร้างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยตัวชี้วัด 118 รายการใน 26 ประเทศในเอเชีย แปซิฟิก ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา มีการใช้ทรัพยากรแบบไร้ประสิทธิภาพบางส่วน แบบยั่งยืนบางส่วน สะท้อนว่าบางประเทศยังปรับลดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพไม่ได้ และคงยากจะเกิดประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ Pathways to Deep Decarbonization
การวิเคราะห์ของ Futures (Elselvier) ยังพบว่าภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีความก้าวหน้าที่สุดเทียบกับภาคพื้นอื่นในการแปลงโฉมเศรษฐกิจสู่กรีน โดยผ่านการใช้มาตรการทางการคลังอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับความต้องการใช้และจัดสรรทรัพยากร และการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน และน่าจะมีอนาคตในการช่วยโลกได้มากที่สุดเหมือนกัน

ตัวเลขสำคัญของเกาหลีใต้

ฐานทรัพย์สินด้านทรัพยากรธรรมชาติเปลี่ยนแปลง
การลดลงของพื้นที่ที่เป็นป่าไม้ เฉลี่ยต่อปี 0.11% ต่อปี
การนำน้ำสะอาดมาใช้บริโภคต่อคนต่อปี 507.2 ลูกบาศก์เมตร
พื้นที่เกษตรกรรม 18.4% ของพื้นที่รวมทั้งหมด
พื้นที่คุ้มครองเพื่อการปกป้อง 5.26% ของพื้นที่ทั้งหมด
ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร
การปล่อยคาร์บอนต่อคน 11.5 เมตริกตันต่อปี
ประสิทธิภาพการบริหารคาร์บอน 1.94 กิโลกรัมของคาร์บอนต่อ GDP
คุณภาพชีวิตในด้านสภาพแวดล้อม
สถานะอากาศเสียที่ประชากรต้องเผชิญหน้า 7.86 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ประชากรที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพการดำรงชีวิตให้ดีขึ้น 100% ของประชากรทั้งหมด
ประชากรที่ได้รับการปรับปรุงแหล่งน้ำดีขึ้น 97.8% ของประชากรทั้งหมด
ผลการดำเนินนโยบายรัฐ
การทดแทนการบริโภคพลังงานฟอสซิล 0.19 พันล้านดอลลาร์
รายรับภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ 2.57 % ของ GDP
การใช้ไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน 1.25 % ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
กำลังโหลดความคิดเห็น