รัฐบาลไทยได้พูดเรื่องนี้มากว่า 20 ปีแล้ว แต่ด้วยปัจจัยหลายประการทำให้ยังไม่ได้ให้ความร่วมมือที่สอดคล้องกันเท่าใดนัก บทบาทของสถาบันอาคารเขียวไทย คือการจัดทำเกณฑ์และคู่มืออาคารเขียวที่เหมาะสมสำหรับบริบทของเมืองไทย และอบรมให้ความรู้สู่สาธารณชน
เน้นการมีส่วนปลุกกระแสอาคารเขียวในประเทศ โดยเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมาตรฐานการออกแบบจากแหล่งต่างๆ และกระจายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาคารเขียว รวมทั้งการสร้างกลไกรองรับ นั่นก็คือสร้างทั้งดีมานด์ และ ซัพพลายให้แก่ตลาด และขับเคลื่อนไปพร้อมกัน
สำหรับปัญหาที่ประเทศไทยต้องเผชิญเมื่อต้องเข้าสู่กระแสการแข่งขัน นั่นคือการขาดแคลนบุคลากรและองค์ความรู้อย่างรุนแรง ต้องนำเข้าองค์ความรู้ มาตรฐาน เทคนิควิธี รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผลลัพธ์ก็คือค่าใช้จ่ายสูง หาจุดคุ้มทุนได้ยาก
จะเห็นว่าผู้ที่ยอมลงทุนทำอาคารเขียวจึงมักจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขณะที่อาคารเขียวสำหรับผู้บริโภคทั่วไปยังไม่เกิดขึ้น ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอมริกา ตลาดอาคารเขียวสำหรับผู้บริโภคทั่วไปได้เกิดขึ้นแล้ว และพบว่าขายได้จริงเพราะประชาชนของเขามีความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่าในประเทศไทย
ส่วนด้านประโยชน์ที่เจ้าของอาคารได้รับก็ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของเป็นใคร หากเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ก็จะได้ภาพลักษณ์ที่ดี หากเจ้าของอาคารเป็นผู้สร้างอาคารให้เช่า ก็จะได้กลุ่มลูกค้าชาวต่างประเทศที่ต้องการภาพลักษณ์ของการรักษาสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของบริษัทแม่ในต่างประเทศ
ทั้งนี้ กลไกราคา และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะหากไม่มีดีมานด์จาก End Users หรือผู้ที่เป็นคนจ่ายเงินซื้อบ้านหรืออาคาร อาคารเขียวก็จะเกิดได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลูกค้าไม่เห็นความสำคัญว่า อาคารเขียวทำให้อยู่สบาย และประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงๆ และเกิดความคุ้มค่าในระยะยาว
ปัจจุบัน องค์กรขนาดใหญ่ของไทยหลายองค์กรที่มีอาคารที่ทำการมากมาย ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ กำลังเล็งเห็นความสำคัญของการปรับปรุงอาคารให้เขียวตามเกณฑ์อาคารเขียวไทย เพราะปัจจุบันนี้ก็ถึงเวลาที่อาคารเหล่านั้นต้องทำการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา และตามเทคโนโลยีใหม่
ในฐานะที่สถาบันอาคารเขียวไทย แม้ได้รับการก่อตั้งขึ้นไม่นาน แต่ก็จะประสานความร่วมมือกับองค์กรเหล่านั้นในการใช้อาคารเป็นกรณีศึกษาเพื่อทดสอบเกณฑ์ที่ได้ร่างกันขึ้นมา รวมทั้งผลที่ได้ก็จะสามารถนำไปเป็นตัวอย่างให้แก่อาคารอื่นๆ
ขอย้ำว่าหลักเกณฑ์อาคารเขียวของประเทศไทยนั้นมีต้นแบบมาจาก LEED กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และกรมควบคุมมลพิษ เป็นการใช้หลักเกณฑ์อาคารเขียวที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ สภาพเศรษฐกิจของไทย และเน้นให้ใช้วัสดุภายในประเทศเป็นหลัก
การสร้างอาคารเขียวไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูงหรือราคาแพงมากนักก็ได้ เพียงแต่มีการออกแบบและบริหารจัดการที่ดี แต่แน่นอนว่าอาจทำให้ต้นทุนการก่อสร้างสูงขึ้นบ้างในช่วงแรก แต่จะคืนทุนได้ในระยะเวลา 3-5 ปี ขณะเดียวกันสามารถช่วยลดผลกระทบและเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการสร้างสำนึกในการทำธุรกิจที่ดี เพราะในอนาคตผู้คนจะคำนึงเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น
สถาบันอาคารเขียวไทยเป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดตั้งขึ้นมาเป็นองค์กรอิสระโดยไม่ขึ้นกับเงินงบประมาณของภาครัฐ ยืนยันในการทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในการออกแบบก่อสร้างอาคารเขียวที่จะประหยัดพลังงานได้มากกว่าอาคารทั่วไป 20-40% พร้อมทั้งทำหน้าที่ในการประเมินอาคารเขียวในประเทศไทย เพื่อให้รางวัลแก่อาคารที่เป็นตัวอย่างของอาคารเขียวที่ดี
ในปีนี้ สถาบันฯ ได้จัดงานสัมมนาทางวิชาการและแสดงนิทรรศการ ประจำปี 2558 “2015 Thai Green Building Expo and Conference” เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พร้อมการออกเกณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้นมาสองเกณฑ์
เกณฑ์แรก สำหรับอาคารเก่า เนื่องจากที่ผ่านเราเน้นอาคารที่ก่อสร้างใหม่ ส่วนอาคารเก่าที่สร้างใกล้เสร็จแล้วก็จะสามารถยื่นได้
เกณฑ์ที่สอง เป็นพวกอาคารให้เช่า เช่น ออฟฟิศให้เช่า ช็อปปิ้ง มอลล์ ให้เช่า
ส่วนในอนาคตเราก็มองไปที่เกณฑ์เกี่ยวกับอินทีเรีย หรือการตกแต่งภายใน ซึ่งในการสร้างหลักเกณฑ์บางอย่างก็อาจจะดึงเนื้อหาของ LEED มาใช้ ถ้าหากว่าไม่มีมาตรฐานเหล่านั้นในประเทศไทย
“กลไกราคา และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะหากไม่มีดีมานด์จาก End Users หรือผู้ที่เป็นคนจ่ายเงินซื้อบ้านหรืออาคาร อาคารเขียวก็จะเกิดได้ยาก”
ผศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร
รองประธานสถาบันอาคารเขียวไทย
เน้นการมีส่วนปลุกกระแสอาคารเขียวในประเทศ โดยเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมาตรฐานการออกแบบจากแหล่งต่างๆ และกระจายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาคารเขียว รวมทั้งการสร้างกลไกรองรับ นั่นก็คือสร้างทั้งดีมานด์ และ ซัพพลายให้แก่ตลาด และขับเคลื่อนไปพร้อมกัน
สำหรับปัญหาที่ประเทศไทยต้องเผชิญเมื่อต้องเข้าสู่กระแสการแข่งขัน นั่นคือการขาดแคลนบุคลากรและองค์ความรู้อย่างรุนแรง ต้องนำเข้าองค์ความรู้ มาตรฐาน เทคนิควิธี รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผลลัพธ์ก็คือค่าใช้จ่ายสูง หาจุดคุ้มทุนได้ยาก
จะเห็นว่าผู้ที่ยอมลงทุนทำอาคารเขียวจึงมักจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขณะที่อาคารเขียวสำหรับผู้บริโภคทั่วไปยังไม่เกิดขึ้น ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอมริกา ตลาดอาคารเขียวสำหรับผู้บริโภคทั่วไปได้เกิดขึ้นแล้ว และพบว่าขายได้จริงเพราะประชาชนของเขามีความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่าในประเทศไทย
ส่วนด้านประโยชน์ที่เจ้าของอาคารได้รับก็ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของเป็นใคร หากเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ก็จะได้ภาพลักษณ์ที่ดี หากเจ้าของอาคารเป็นผู้สร้างอาคารให้เช่า ก็จะได้กลุ่มลูกค้าชาวต่างประเทศที่ต้องการภาพลักษณ์ของการรักษาสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของบริษัทแม่ในต่างประเทศ
ทั้งนี้ กลไกราคา และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะหากไม่มีดีมานด์จาก End Users หรือผู้ที่เป็นคนจ่ายเงินซื้อบ้านหรืออาคาร อาคารเขียวก็จะเกิดได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลูกค้าไม่เห็นความสำคัญว่า อาคารเขียวทำให้อยู่สบาย และประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงๆ และเกิดความคุ้มค่าในระยะยาว
ปัจจุบัน องค์กรขนาดใหญ่ของไทยหลายองค์กรที่มีอาคารที่ทำการมากมาย ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ กำลังเล็งเห็นความสำคัญของการปรับปรุงอาคารให้เขียวตามเกณฑ์อาคารเขียวไทย เพราะปัจจุบันนี้ก็ถึงเวลาที่อาคารเหล่านั้นต้องทำการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา และตามเทคโนโลยีใหม่
ในฐานะที่สถาบันอาคารเขียวไทย แม้ได้รับการก่อตั้งขึ้นไม่นาน แต่ก็จะประสานความร่วมมือกับองค์กรเหล่านั้นในการใช้อาคารเป็นกรณีศึกษาเพื่อทดสอบเกณฑ์ที่ได้ร่างกันขึ้นมา รวมทั้งผลที่ได้ก็จะสามารถนำไปเป็นตัวอย่างให้แก่อาคารอื่นๆ
ขอย้ำว่าหลักเกณฑ์อาคารเขียวของประเทศไทยนั้นมีต้นแบบมาจาก LEED กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และกรมควบคุมมลพิษ เป็นการใช้หลักเกณฑ์อาคารเขียวที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ สภาพเศรษฐกิจของไทย และเน้นให้ใช้วัสดุภายในประเทศเป็นหลัก
การสร้างอาคารเขียวไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูงหรือราคาแพงมากนักก็ได้ เพียงแต่มีการออกแบบและบริหารจัดการที่ดี แต่แน่นอนว่าอาจทำให้ต้นทุนการก่อสร้างสูงขึ้นบ้างในช่วงแรก แต่จะคืนทุนได้ในระยะเวลา 3-5 ปี ขณะเดียวกันสามารถช่วยลดผลกระทบและเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการสร้างสำนึกในการทำธุรกิจที่ดี เพราะในอนาคตผู้คนจะคำนึงเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น
สถาบันอาคารเขียวไทยเป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดตั้งขึ้นมาเป็นองค์กรอิสระโดยไม่ขึ้นกับเงินงบประมาณของภาครัฐ ยืนยันในการทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในการออกแบบก่อสร้างอาคารเขียวที่จะประหยัดพลังงานได้มากกว่าอาคารทั่วไป 20-40% พร้อมทั้งทำหน้าที่ในการประเมินอาคารเขียวในประเทศไทย เพื่อให้รางวัลแก่อาคารที่เป็นตัวอย่างของอาคารเขียวที่ดี
ในปีนี้ สถาบันฯ ได้จัดงานสัมมนาทางวิชาการและแสดงนิทรรศการ ประจำปี 2558 “2015 Thai Green Building Expo and Conference” เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พร้อมการออกเกณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้นมาสองเกณฑ์
เกณฑ์แรก สำหรับอาคารเก่า เนื่องจากที่ผ่านเราเน้นอาคารที่ก่อสร้างใหม่ ส่วนอาคารเก่าที่สร้างใกล้เสร็จแล้วก็จะสามารถยื่นได้
เกณฑ์ที่สอง เป็นพวกอาคารให้เช่า เช่น ออฟฟิศให้เช่า ช็อปปิ้ง มอลล์ ให้เช่า
ส่วนในอนาคตเราก็มองไปที่เกณฑ์เกี่ยวกับอินทีเรีย หรือการตกแต่งภายใน ซึ่งในการสร้างหลักเกณฑ์บางอย่างก็อาจจะดึงเนื้อหาของ LEED มาใช้ ถ้าหากว่าไม่มีมาตรฐานเหล่านั้นในประเทศไทย
“กลไกราคา และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะหากไม่มีดีมานด์จาก End Users หรือผู้ที่เป็นคนจ่ายเงินซื้อบ้านหรืออาคาร อาคารเขียวก็จะเกิดได้ยาก”
ผศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร
รองประธานสถาบันอาคารเขียวไทย